ไม้ประดับมีพิษ 5 ชนิด คิดสักนิดก่อนจะปลูก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

ไม้ประดับมีพิษ 5 ชนิด คิดสักนิดก่อนจะปลูก

ทุกคนอยากมีบ้านที่สวย น่าอยู่ และร่มรื่น ไม้ประดับที่สวยมีส่วนที่ทำให้บ้านน่าอยู่ ไม้ประดับที่มีสีดอก รูปร่าง ทรงต้น และใบที่สวยงามสามารถจะนำไปประดับในสำนักงาน สนามเด็กเล่น หรือสวนสาธารณะ

แต่ใครจะคิดว่าไม้ประดับที่สวยงามนั้นมีหลายชนิดที่มี “พิษ” ตั้งแต่ก่อเกิดพิษเล็กน้อยไปจนถึงทำให้เสียชีวิตได้ ความเป็นพิษขึ้นกับปริมาณที่สัมผัสหรือรับประทานเข้าไป และความทนทานต่อสารพิษของแต่ละบุคคล

ฉะนั้นพวกเราทุกคนควรจะต้องเรียนรู้ และศึกษาอย่างถ่องแท้ถึงชนิดและลักษณะของ ไม้ประดับมีพิษ สาระสำคัญที่เป็นพิษ วิธีการป้องกันและรักษาขั้นเบื้องต้น เพื่อจะช่วยป้องกันการเกิดความเสียหาย และการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

ไม้ประดับที่อาจจะก่อให้เกิดพิษได้ ได้แก่

ไม้ประดับมีพิษ 5 ชนิด

Agavaceae-พืชวงศ์-
Agavaceae-พืชวงศ์-

Agavaceae ( พืชวงศ์ )

ไม้ประดับมีพิษ ชนิดที่ 1 เป็นพืชที่มีใบและทรงต้นที่สวย นำมาปลูกในสวนกันอย่างแพร่หลาย ในใบมีสารแคลเซียมออกซาเลท มีผลทำให้ปากและลำคอเกิดการระคายเคืองได้ ถ้ารับประทานเข้าไป นอกจากนี้ขอบใบจะมีหนามแหลมถ้าสัมผัสถูกจะเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ ตัวอย่างเช่น ป่านศรนารายณ์ (Agave americana L.) และ พระรามแผลงศร (A. americana L. var. marginata) เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
amaryllis-ritterstern_hippeastrum-hybriden
amaryllis-ritterstern_hippeastrum-hybriden

Amaryllidaceae พืชวงศ์ )

พืชวงศ์นี้มีสารพิษกลุ่มแอลคาลอยด์ เช่น lycorine, crinamine, criridine และnarciclasine เป็นต้น พบได้ในส่วนหัวของพืช สารพิษเหล่านี้ถ้ารับประทานเข้าไปจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และมีผลระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตัวอย่างพืช เช่น พลับพลึงดอกแดง (Crinum amabile) พลับพลึงดอกขาว (C. asiaticum)

การรักษา ไม่แนะนำทำให้อาเจียนเพราะคนไข้จะมีอาการอาเจียนอยู่แล้ว ควรจะล้างท้อง และใช้ถ่าน (activated charcoal) ในการดูดพิษแอลคาลอยด์ และควรให้เกลือแร่ป้องกันการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุ

Apocynaceae_-_Vinca
Apocynaceae_-_Vinca

Apocynaceae พืชวงศ์ )

พืชวงศ์นี้จะมีสารกลุ่มคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ (Cardiac Glycoside) ซึ่งมีผลกระตุ้นการเต้นของหัวใจ พืชกลุ่มนี้จะมีพิษเมื่อรับประทานเกินขนาด ส่วนใหญ่จะเกิดพิษกับเด็ก เนื่องจากรับประทานผลหรือดอกของพืชพิษเหล่านี้ มักจะมีสีสวย จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุปากและกระเพาะอาหาร เกิดอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและปวดท้อง หลังจากสารพิษถูกดูดซึมเข้าเส้นเลือด จะไปกระตุ้นหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเต้นผิดปกติ อาการดังกล่าวอาจอยู่ได้นานถึง 2-3 อาทิตย์ สารพิษนี้พบได้ในทุกส่วนของพืช โดยเฉพาะในส่วนเมล็ด

ตัวอย่างพืช เช่น ชวนชม (Adenium obesum), บานบุรีสีเหลือง (Allamanda cathartica), ยี่โถ (Nerium indicum), รำเพย (Thevetia peruviana) และ พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris) เป็นต้น

Arum_flower
Arum_flower

Araceae พืชวงศ์ )

เป็นพืชพิษที่มีน้ำยางใส และแคลเซียมออกซาเลท ถ้าสัมผัสทำให้ผิวหนังอักเสบ และถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ปากและลิ้นพอง น้ำลายไหล ลิ้น เพดานปาก และหน้าบวมอย่างเห็นได้ชัด บางครั้งอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

ตัวอย่างพืช เช่น ใบ้สามสี (Aglaonema costatum), กระดาด (Alocasiaindica), กระดาดแดง (A. indicavar.metallica), กระดาดดำ (A. macrorhiza), บอนสี (Caladium bicolor), สาวน้อยประแป้ง (Dieffenbachia sequine), พลูฉีก (Monstera deliciosa)

โฆษณา
AP Chemical Thailand
Begoniaceae
Begoniaceae

Begoniaceae พืชวงศ์ )

เป็นไม้ประดับต่างถิ่นที่นำเข้ามา ใบและดอกมีสีสวยงาม แต่มีสารพิษ คือแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้ารับประทานเข้าไปจะระคายเคืองปากและลำคอ ตัวอย่างพืช เช่น บีโกเนีย (Begonia semperflorencultorum) เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าไม้ประดับที่เป็นพิษที่ได้กล่าวมาข้างต้นยังเป็นไม้พิษที่มีปัญหาในประเทศไทย จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักภูมิทัศน์ต้องพิจารณาถึงพิษของไม้ประดับด้วย มิใช่พิจารณาเพียงแต่ความสวยงามของพืชเท่านั้น ทั้งนี้จะได้เป็นการลดความเสี่ยงจากไม้ประดับที่เป็นพิษได้

โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย และสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล