นายกสมาคมชาวนา ส่งเสริม ข้าวกข43 น้ำตาลต่ำ ต้านโรค ป้อนตลาดในและนอก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต้องยอมรับความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า “ประชากร” ส่วนใหญ่ของประเทศไทยนั้นอยู่ในภาคการเกษตรมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชาวนา” ที่อยู่เป็นจำนวนมากกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 15-16 ล้านคน ทั่วประเทศ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรไทยทั้งประเทศ ที่เปรียบเสมือนเป็น “ฐานราก” ที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา

ดังนั้นการพัฒนาประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนนั้น คือ การมุ่งเน้นพัฒนาประชากรในภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ เป็นเกษตรเชิงคุณภาพ เป็นเกษตรยุคนวัตกรรมแบบผสมผสาน เมื่อเกษตรเหล่านี้มีความมั่นคงก็จะเกิดพลังมหาศาลในการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ข้าวหอม-กข43
ข้าวหอม-กข43
1.การปลูกข้าวคุณภาพ-ข้าวกข-43-ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ
1.การปลูกข้าวคุณภาพ-ข้าวกข-43-ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ภาพรวมการปลูกข้าวของไทย

ในภาพรวมของประเทศให้เดินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวนาในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง  นั่นเป็นเพราะชาวนาในอดีตเป็นสังคมที่มักอยู่กันแบบเรียบง่าย  มุ่งเน้นการทำนา   ปลูกข้าว  เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนเป็นหลัก  ส่วนที่เหลือค่อยนำมาขายให้กับพ่อค้า  เพื่อสร้างรายได้ให้กับ ครอบครัว

แต่ปัจจุบันนี้สังคมชาวนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เพราะการทำนาในทุกวันนี้มุ่งเน้นการปลูกข้าวเพื่อขายเป็นหลัก แล้วค่อยกลับไปซื้อข้าวกิน ทำให้ชาวนาเกิดการขัดแย้งและแย่งชิงในเรื่องต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินในการเพาะปลูก แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูก  มีการใช้สารเคมีมากขึ้น  จนเกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปทุกวัน

ที่สำคัญที่สุด คือ ชาวนามี “ต้นทุนการผลิตข้าวสูงขึ้น” ในขณะที่ “ผลผลิตราคาตกต่ำ” แม้ว่าจะมีโครงการต่างๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยเหลือทุกปี แต่ใช่ว่าปัญหาของชาวนาจะหมดไป และเกิดความยั่งยืนได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวนาจะเอาความยั่งยืนมาจากไหน? ดังนั้นปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับชาวนาต่อไป ชาวนาต้องหันมาทำข้าวปลอดภัย เป็นข้าวคุณภาพ เพื่อผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือ “ ข้าวกข43 ข้าวน้ำตาลต่ำ” เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคอื่นๆ

2.นายกประสิทธื์-บุญเฉย-นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย
2.นายกประสิทธื์-บุญเฉย-นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย

การจัดตั้งองค์กรชาวนา

นายกประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย ได้เปิดใจถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับข้าวและชาวนาไทยไว้ว่า ก่อนที่ชาวนาจะให้ใครช่วย ชาวนาหรือขบวนการชาวนาจะต้องหันมาช่วยเหลือตนเอง เริ่มต้นจากการ “เปลี่ยนความคิดด้านอาชีพ”  ต้องรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรของชาวนาที่เข้มแข็ง  มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ    ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องชาวนาทั้งประเทศไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงได้รวมตัวกับแกนนำชาวนาทั้งประเทศ ในช่วงนั้นจัดตั้งองค์กรชาวนาขึ้นมาในนาม “สมาคมชาวนาไทย” เมื่อปี พ.ศ.2543 เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับชาวนาทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ต่อมาแกนนำชาวนาได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์กรชาวนาขึ้นมาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เป็นกระบอกเสียงให้กับชาวนาได้ จึงได้มีการจัดตั้งสมาคมชาวนาขึ้นมาอีกหลายสมาคม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนชาวนาอย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาสมาคมชาวนาไทยจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมชาวนาข้าวไทย ในปีพ.ศ.2550 เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมครอบคลุมทั้งเรื่องชาวนาและเรื่องข้าวอย่างครบวงจร

3.นายกสมาคมและคณะกรรมการทุกคนทำงานอย่างเสียสละ-ไม่มีค่าตอบแทน
3.นายกสมาคมและคณะกรรมการทุกคนทำงานอย่างเสียสละ-ไม่มีค่าตอบแทน
การทำงานร่วมกับภาครัฐ ส่งเสริมปลูก ข้าวกข43
การทำงานร่วมกับภาครัฐ ส่งเสริมปลูก ข้าวกข43

แนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับชาวนา

การดำเนินงานในช่วงแรก นายกประสิทธิ์ยืนยันว่าต้องการเรียกร้องเรื่องราคาข้าวที่เป็นธรรมให้กับชาวนา แม้ในช่วงวิกฤติสมาคมฯ ก็ได้เป็นตัวแทนพี่น้องชาวนาในการปิดถนนเพื่อมุ่งเน้นอยากให้ราคาข้าวสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ทว่าชาวนาไม่มีความยั่งยืนและมั่นคงอย่างแท้จริง

สมาคมฯ จึงได้รวมแกนนำชาวนาในแต่ละพื้นที่ปรับเปลี่ยนวิธีการขับเคลื่อนมาเป็นการเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกับทุกฝ่าย  เพื่อให้อุตสาหกรรมข้าวและชาวนาไทยเดินต่อไปได้  ตลอดจนการเป็นสื่อกลางในการเรียกร้องระหว่างชาวนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขต่อไป สมาคมฯ จึงเป็นสื่อกลางระหว่างชาวนาในแต่ละพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐที่จะนำเสนอความต้องการต่างๆ

นอกจากนี้ยังนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวนาโดยตรงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวนาในการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้สมาคมฯ ยังมีโครงการที่ช่วยเหลือและส่งเสริมชาวนาให้มีความมั่นคงในอาชีพอย่างแท้จริง ด้วยการแก้ไขปัญหาของพี่น้องชาวนาได้อย่างตรงจุด เพื่อให้ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้น

จากประสบการณ์และได้ศึกษาหาความรู้ในหลายด้านก็พบความจริงหลายอย่างที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ การทำนาที่ขาดทุน การใช้ปุ๋ย สารเคมี ที่ยังขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ดังนั้นการทำนาจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการทำเพื่อสังคมโดยไม่หวังประโยชน์ส่วนตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันคุณประสิทธิ์จะไม่ได้ทำนาแล้ว  แต่ก็ยังคลุกคลีกับชาวนา  รับทราบถึงปัญหาต่างๆ และยังหาทางแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาตลอดมาเพื่อความยั่งยืนและมั่นคง ดังนั้นสมาชิกทุกคนของสมาคมฯ ที่เข้ามาทำงานล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เสียสละ เพราะการดำเนินงานในแต่ละครั้งไม่มีค่าตอบแทน เป็นการช่วยเหลือชาวนาให้สามารถผลิตข้าวเพื่อเลี้ยงคนไทยทั้งประเทศและชาวโลกต่อไปได้

4.ข้าวคุณภาพจากชาวนาไทย-เน้นลดต้นทุน-เพิ่มคุณค่า-และเพิ่มมูลค่า
4.ข้าวคุณภาพจากชาวนาไทย-เน้นลดต้นทุน-เพิ่มคุณค่า-และเพิ่มมูลค่า

รายได้จากผลผลิตข้าว

แม้ว่าราคาข้าวในปัจจุบันจะมีการปรับตัวขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า “รายได้” ของชาวนาจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย เพราะราคาปัจจัยในการผลิตสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยา ฮอร์โมนต่างๆรวมทั้งสารปราบศัตรูพืช อีกทั้งเกษตรกรมีการใช้สิ่งเหล่านี้ในปริมาณที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมีค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าแรงงาน ที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว  ทำให้ชาวนามี “ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น”  เพราะฉะนั้นจะมองเพียง “ราคาข้าวที่สูงขึ้น” เป็นตัวตั้งเพียงอย่างเดียวไม่ได้  แต่เกษตรกรชาวนาต้องมองถึงการปรับตัวโดยลดต้นทุน  เพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่า  เพราะต้นทุนของเกษตรกรแต่ละคน แต่ละพื้นที่ ไม่เท่ากัน เมื่อจำหน่ายผลผลิต หักลบต้นทุนแล้วเหลือไม่เท่าไรเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังมีรายได้ที่น้อยเหมือนเดิม

5.การส่งเสริมชาวนาในโครงการชาวนามหาเศรษฐี
5.การส่งเสริมชาวนาในโครงการชาวนามหาเศรษฐี

เป้าหมายของโครงการชาวนามหาเศรษฐี

ดังนั้นนายกประสิทธิ์จึงได้ร่วมกับแกนนำชาวนา ภาครัฐ และเอกชน ในการส่งเสริมชาวนาไทย ภายใต้โครงการต่างๆ มากมาย  อาทิ  โครงการชาวนามหาเศรษฐีคันนามหาสมบัติ โครงการร่วมมือเพื่อกู้วิกฤติชาวนาไทย โครงการชาวนามหาเศรษฐีชัยนาทโมเดล  (เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-เพิ่มผลผลิต-ชุบชีวิต-ชาวนาไทย)  เป็นต้น  โดยเฉพาะโครงการที่ โดดเด่นในอดีตที่ผ่านมา คือ “โครงการชาวนามหาเศรษฐี” ที่มีเป้าหมาย คือ

1.การลดต้นทุน ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว ไม่เกิน 4,000 บาท/ไร่

2.เพิ่มผลผลิตมากกว่า 10% ขึ้นไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.ชาวนาได้รับการการประกันราคาจากรัฐบาล ข้าวสาร 15,000 บาท /ตัน ข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท/ตัน

4.รัฐบาลรับประกันการซื้อโดยไปผูกกับโครงการจำนำของรัฐบาล

5.เป็นการรวมกันซื้อ รวมกันขาย เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง และผู้ขายปุ๋ย ยา จะต้องสนับสนุนทางด้านวิชาการ

6.วิธีการทำนาเป็นแบบทดสอบในเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เป็นแบบแปลงสาธิต จะทำให้สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง

7.เมื่อมีสมาชิกมากขึ้น สมาคมจะสามารถจัดสวัสดิการให้กับชาวนาได้ เพื่อกู้วิกฤติชาวนาไทย ชาวนามีความภูมิใจในอาชีพ มีอาชีพที่มั่นคง

6.การนำผลผลิตเข้าสู่โรงสีที่ได้มาตรฐาน
6.การนำผลผลิตเข้าสู่โรงสีที่ได้มาตรฐาน
คุณภาพข้าวเกรดพรีเมียมเพื่อการส่งออก
คุณภาพข้าวเกรดพรีเมียมเพื่อการส่งออก

คุณสมบัติโดดเด่นของ ข้าวกข43

ล่าสุดนายกประสิทธิ์ได้หันมาส่งเสริม “ ข้าวกข43 ” ซึ่งเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นพิเศษ ภายใต้การดำเนินงานของ “สมาคมชาวนาข้าวไทย” โดยการร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนและผลักดันให้  “ ข้าวกข43 ”  เป็นข้าวเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง  เป็นทางเลือกให้กับตลาดและผู้บริโภค  ทั้งในและต่างประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เนื่องจาก ข้าวกข43 (RD43) เป็นข้าวเจ้าที่ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีและพันธุ์สุพรรณบุรี1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรีในฤดูนาปรังพ.ศ.2542 และปลูกคัดเลือกชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ปลูกทดสอบผลผลิตในสถานี ระหว่างสถานีในนาราษฎร์ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ก่อนจะได้รับการรับรองพันธุ์จากคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ “กรมการข้าว

มีมติรับรองพันธุ์ชื่อ “ ข้าวกข43 ” เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูกเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ที่ลักษณะสำคัญประจำสายพันธุ์ คือ เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง สูงประมาณ 103 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 95 วัน ทรงกอตั้ง ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงเอนปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว  รูปร่างเรียว เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.9 x 2.6 x 2.1 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลสต่ำ (18.82%)

คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 สัปดาห์  ให้ผลผลิตประมาณ 561 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทานดี  ข้าวสุกนุ่ม  มีกลิ่นหอมอ่อน  ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้  และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แต่มีข้อควรระวัง คือ เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมาก อาจจะเสียหายจากการทำลายของนกและหนูได้  ข้าวพันธุ์นี้มีลำต้นเล็ก การใส่ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้ข้าวล้มได้ และข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่พิษณุโลก พื้นที่แนะนำ คือ พื้นที่นาชลประทาน พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่นๆ หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด

7.การจำหน่ายข้าว-กข43-ข้าวน้ำตาลต่ำ-เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
7.การจำหน่าย ข้าวกข43 -ข้าวน้ำตาลต่ำ-เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค

ประโยชน์ของ ข้าวกข43

จากการศึกษาวิจัยของกองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าวร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาและใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวในเชิงสุขภาพ โดยคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์ พบว่า ข้าวเจ้าพันธุ์ กข43 ให้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าข้าวอมิโลสต่ำชนิดอื่นๆ

ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ในมนุษย์จากคณะแพทยศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ข้าวกข43  มีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวขาวน้อยกว่าข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และมีค่าใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์หอมกระดังงา ซึ่งเป็นข้าวอมิโลสสูง และร่วนแข็ง ดังนั้น ข้าวเจ้าพันธุ์ กข43 จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคอื่นๆ ที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหาร ข้าวเหนียว นุ่ม กลิ่นหอม ทานอร่อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ “สมาคมชาวนาข้าวไทย” ยังได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชนส่งเสริมชาวนาแปลงใหญ่และชาวนาทั่วไปหันมาปลูก “ข้าวเจ้าพันธุ์กข43” ให้เป็นข้าวปลอดภัย หลังจากนั้นสมาคมฯ จะรับซื้อผลผลิตคืนจากชาวนาในราคา 10,000 บาท/ตัน ในความชื้นที่ 15% ก่อนจะนำผลผลิตเข้าสู่โรงสีที่ได้มาตรฐาน ก่

อนจะมีการคัดคุณภาพข้าวให้เป็น “ข้าวปลอดภัย” เพื่อการบริโภคภายในประเทศ รวมไปถึงการผลิต “ข้าวเกรดพรีเมียม” เพื่อการส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับภาครัฐที่ต้องการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพข้าวไทย เพิ่มมูลค่า อย่างครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมชาวนาข้าวไทย

15/3 ม.1 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี 11150โทร.061-940-0819