แนวทางส่งเสริมเลี้ยงปลานิล 2 ลำน้ำ แบบมืออาชีพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเพาะเลี้ยงปลานิล

การเลี้ยงปลากระชังนั้น ปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามธรรมชาติ จากอดีตจนถึงปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก คุณภาพน้ำแย่ลง เกษตรกรเริ่มเลี้ยงปลายากขึ้น อาหารปลาก็มีหลากหลายให้เลือกมากขึ้น ฉบับนี้ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำนำเสนอการเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำให้ได้ผลผลิตที่ดีทั้ง 2 แห่ง คือ ลำน้ำอูน ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญของจังหวัดสกลนครก็ว่าได้ และอีกหนึ่งแหล่งน้ำ คือ แม่น้ำโขง ในส่วนของจังหวัดมุกดาหาร เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่แบ่งสองฝั่งระหว่างไทยและลาว แหล่งน้ำ 2 แห่งนี้สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมาก

1.ปลานิล
1.ปลานิล
2.คุณกิตติธัช-แก้วดี-และภรรยา
2.คุณกิตติธัช-แก้วดี-และภรรยา

จุดเริ่มต้น การเพาะเลี้ยงปลานิล

คุณกิตติธัช แก้วดี หรือคุณแชมป์ เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จแห่งลำน้ำอูน กล่าวว่า แต่เดิมนั้นตนเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียบจบคุณพ่อย้ายมาทำงานที่สกลนคร และเล็งเห็นว่าชาวบ้านในพื้นที่เลี้ยงปลากันเยอะจึงอยากที่จะลองเลี้ยงบ้าง ลูกพันธุ์ปลาในตอนแรกรับจากพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องด้วยไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย ลองผิดลองถูกมามาก และหลังจากนั้นเริ่มรู้จักบริษัทที่ผลิตลูกปลาที่เป็นฟาร์มใหญ่ ๆ

แต่ก็มีข้อจำกัด คือ ต้องสั่งทีครั้งละมาก ๆ เนื่องจากอยู่ไกล และในเรื่องของอาหารจากแต่ก่อนซื้อตามร้านขายปลีก แต่เราเลี้ยงในปริมาณมากจึงใช้อาหารเยอะ เลยมีความคิดที่จะติดต่อตามบริษัทอาหารและรับมาลง การสั่งต้องสั่งครั้งละมาก แต่ก็จะเอามาแบ่งเกษตรกรละแวกนั้น และได้ราคาอาหารในราคาที่ถูก ได้ช่วยเหลือเกษตรกรไปในตัวด้วย นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันเลี้ยงปลามาได้ 4 – 5 ปีแล้ว จากเกษตรกรตัวเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จ 40 กระชัง จนผันตัวเองมาเป็นเอเย่นต์ขายอาหารสำเร็จรูปสัตว์น้ำให้กับลูกกระชังกว่า 500 กระชัง อย่างเต็มตัว

3.กระชังเลี้ยงปลานิล
3.กระชัง การเพาะเลี้ยงปลานิล

สภาพพื้นที่ การเพาะเลี้ยงปลานิล

จากประสบการณ์การเลี้ยงปลาทำให้รู้ว่าลูกพันธุ์ปลานิลที่ดีควรมีลักษณะเช่นใด แรกๆ ที่ยังไม่มีความรู้ในด้านการเลี้ยงก็ซื้อลูกปลาในบริเวณนั้นมาเลี้ยง ไม่ได้สั่งจากบริษัทใหญ่ๆ ที่มีมาตรฐาน แต่พอเวลาผ่านไปได้ลองสั่งบริษัทใหญ่ดูก็ทำให้รู้ว่าลูกพันธุ์ปลาจากบริษัทใหญ่มีคุณภาพมากกว่าในเรื่องการเจริญเติบโต การทนโรค อัตรารอด และเรื่องอื่นๆ อีก ตอนแรกซื้อเป็นปลารุ่นขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม แต่หลังๆ มาซื้อเป็นปลาไฟล์มาชำเองทำให้ประหยัดต้นทุนขึ้นอีก และใช้เป็นปลาวัคซีน และเมื่อได้ลูกพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพมาแล้ว ก็จะปล่อยลงกระชังขนาด 3×3 อัตราการปล่อยจะอยู่ที่ 500-700 ตัว แล้วแต่ช่วงสภาพอากาศ แต่ในบริเวณนี้นิยมเลี้ยงเพียงฤดูกาลเดียว คือ ช่วงหน้าน้ำ เพราะที่นี่น้ำจะน้อยกว่าที่อื่น เนื่องจากเป็นลำน้ำที่เล็ก และใช้อาหารที่มีคุณภาพ

4.การให้อาหารปลานิล
4.การให้อาหารปลานิล

การให้อาหารปลานิล

การให้อาหารของเกษตรกรลำน้ำอูนต้องดูสภาพแวดล้อม จะให้ตามหลักการไม่ได้ เพราะหากเขตไหนมีคุณภาพน้ำที่ดีก็สามารถให้อาหารได้มาก แต่ที่นี่จะให้น้อยลง เนื่องจากเมื่อให้เยอะปลาจะเริ่มตาย เหตุจากคุณภาพน้ำเป็นตัวจำกัด และจากการที่ลองอาหารมาเกือบทุกยี่ห้อนั้นพบความแตกต่างจากอาหารที่ใช้ คือ อาหารปลาโมโม่ ที่ใช้เลี้ยงปลาในกระชังที่เห็นได้ชัด คือ ปลาจะขยับไซส์ได้ดีขึ้นในระยะเวลาที่เท่าเดิม สามารถได้ผลผลิตที่เร็วขึ้น อัตรารอดเพิ่มมากขึ้น เหตุเพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผสมอาหาร การใช้ยาลดลง เมื่อปลาเป็นโรคก็สามารถรักษาได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ลงปลา 10,000 ตัว ปกติแล้วจะใช้อาหาร 600-700 กระสอบ กว่าจะขาย แต่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับการใช้อาหารปลาโมโม่ใช้อาหารยังไม่ถึง 500 กระสอบ ผลออกมาได้ไซส์ปลา 700-800 กรัม

เริ่มแรกขายอาหารหมูและอาหารปลา 2 อย่าง ก็มีปัญหาในเรื่องเขตการขาย จึงตัดสินใจเริ่มต้นกับโมโม่ด้วยระบบของการทำงานที่แตกต่างจากบริษัทอาหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องจากช่วยเหลือของทีมงานที่ลงมาเก็บข้อมูลแบบจริงจัง และนำกลับไปพัฒนา ปรับปรุง มาให้เห็นผล มีการแก้ปัญหาที่ไว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.คุณกิตติธัช-แก้วดี-และทีมงานโมโม่
5.คุณกิตติธัช-แก้วดี-และทีมงานโมโม่

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายปลานิล

ในด้านการตลาดปลาเนื้อตอนนี้มีพ่อค้าจับอิสระ และเมื่อก่อนจะมีปัญหาเรื่องการติคุณภาพของปลาว่าไม่ได้มาตรฐาน ตัวใหญ่แต่ไม่มีน้ำหนัก เนื้อหลวม แต่เมื่อใช้อาหารปลาโมโม่นั้นน้ำหนักดี เนื้อแน่น โดยเฉพาะเวลานำไปเผาเนื้อจะไม่ยุบเห็นผลได้ชัด แม้กระทั่งคนที่เลี้ยงปลามาเป็น 10 ปี ยังยกนิ้วให้

เมื่อรูปแบบงานชัดเจนขึ้น และมีจุดขายเรื่องปลาคุณภาพ ที่ผ่านการเลี้ยงเชิงออร์แกนิกแบบปลอดสารโดยใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์เข้ามาช่วย ในอาหารโมโม่ก็มีจุดขายที่ต่างออกไปจากแบรนด์อื่น สามารถขยายตลาดในกลุ่ม 500 กระชัง ที่ยังไม่ได้ใช้ให้เพิ่มมากขึ้น และในอนาคตทางร้านจะมีโครงการส่งเสริมและเป็นศูนย์รวมการกระจายปลา หากพ่อค้า แม่ค้า ปลา คนใดสนใจในรัศมีใกล้เคียงสามารถมาติดต่อร่วมงานกันได้ สามารถควบคุมปริมาณปลาที่มีคุณภาพให้ได้ผลผลิตตามกำลังการผลิต และสามารถผลิตได้ในระบบปลายทาง มั่นใจได้ว่ามีปลาป้อนตลาดอย่างต่อเนื่อง

6.ร้านเพิ่มพูนอาหารสัตว์
6.ร้านเพิ่มพูนอาหารสัตว์

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงปลานิล

คุณกิตติชัยอยากเห็นเกษตรกรประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดได้ สรุปปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักแห่งความสำเร็จ ได้แก่

-สายพันธุ์ : ควรเลือกสายพันธุ์ที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน

-การจัดการ : มีการจัดการที่ดี แก้ไขได้ไวและตรงจุด

-ที่ปรึกษา : การมีที่ปรึกษาที่ดีจะทำให้แก้ไขปัญหาได้ทัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ยาที่จะต้องใช้ : ยาที่ใช้ควรได้มาตรฐาน มีคุณภาพที่ดี

สุดท้ายแล้วเมื่อทุกอย่างดี แต่การเลี้ยงมีปัญหา เราก็สามารถแก้ไขได้ตรงจุด ตลาดก็จะวิ่งเข้าหา เมื่อเรามีปลาที่มีคุณภาพ คือ อยากให้เกษตรกรสร้างคุณภาพของสินค้าก่อน หากเริ่มไม่ถูกหรือคิดริเริ่มที่จะทำมาสอบถามได้ ตนยินดีให้คำปรึกษาตลอด

7.คุณอุทัย-อัครทรัพย์
7.คุณอุทัย-อัครทรัพย์

เทคนิคการเลี้ยงปลานิล

มาตามต่อกันที่ คุณอุทัย อัครทรัพย์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกระชังริมน้ำโขงจาก 10 กระชัง ในปี 2541 จากกำไรหลุมละ 10,000 บาท ส่งผลให้เริ่มเลี้ยงแบบจริงจัง เนื่องจากทำเลที่ตั้งเหมาะสม ปัจจุบันลงทุนเลี้ยงกว่า 100 กระชัง

การที่จะเลี้ยงปลาให้ประสบความสำเร็จนั้นมีหลายปัจจัย แต่หนึ่งในนั้นก็คือ การร่วมทุนกันระหว่าง 2 ฝ่าย คือ ลูกทีม และผู้ส่งเสริม โดยทางคุณอุทัยจะเป็นคนลงทุนทั้งหมด และมีคนเลี้ยงเป็นผู้ร่วมทุน แบ่งเปอร์เซ็นต์กันตามผลผลิต 60:40 ในส่วนของ 60 นั้นเป็นของตน และอีก 40 เป็นของลูกทีม เหตุที่มีนโยบายแบบนี้ คือ จะสามารถได้กำไรทั้งสองฝ่าย เมื่อเกษตรกรเลี้ยงผลผลิตดี เกษตรกรเองก็ได้กำไรเยอะตามไปด้วย ในส่วนของตนจะเป็นคนที่ออกค่าใช้จ่ายให้ก่อนทั้งหมด เมื่อมีทุนและคนเลี้ยงแล้วก็ต้องมีวิธีการเลี้ยงให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งรูปแบบการเลี้ยงตนจะมีอาหารและยาไว้บริการ

8.อาหารปลาโมโม่
8.อาหารปลาโมโม่

การอนุบาลลูกปลานิล

การอนุบาลลูกปลาจะอนุบาลในบ่อดิน ในการอนุบาลลูกปลาน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตรารอด จึงต้องปรับสภาพน้ำก่อน โดยการใช้ปูนขาวหว่านและฆ่าเชื้อในน้ำ บ่อชำขนาด 2 งาน 4 บ่อ ปล่อย 30,000 ตัว จากไซส์ใบมะขาม ตรงนี้จะใช้ระยะเวลาในการอนุบาลประมาณ 50 วัน เกษตรกรทุกคนจะช่วยกันดูแล พอชำเสร็จก็จะแยกลูกปลากันไปเลี้ยงในกระชัง และจะได้ลูกปลาขนาด 40-50 ตัว/กิโลกรัม แต่อัตราการเจริญเติบโตขึ้นอยู่กับความหนาแน่นในการปล่อยและช่วงฤดูกาลด้วย แต่อย่าลืมว่าต้องใช้ปลาที่ได้คุณภาพเท่านั้น

9.ผลผลิตปลานิล
9.ผลผลิตปลานิล

การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงปลานิล

อดีตอาหารและคุณภาพน้ำยังดีอยู่ วัตถุดิบในอาหารยังเป็นเกรดเอ คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มเปลี่ยนไป จากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เริ่มมีการหมักหมม น้ำเริ่มเสียจากคุณภาพน้ำที่ดี การเลี้ยงให้ได้ผลผลิต 100% ทุกวันนี้เหลือเพียง 40% เท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยอีกหลายประการ คือ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • พันธุกรรมของลูกพันธุ์ ปลาทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของสายพันธุ์ จากเคยลง 1,200 ตัว/กระชัง เหลือเพียง 800 ตัว/กระชัง แต่ผลผลิตออกมาในปริมาณที่เท่ากันจะได้ไซส์แทน และเหตุที่ลดความหนาแน่นลงมาเพราะการจัดการที่ยากขึ้น ลงหนาแน่นมากปลาก็ตาย และควรเลือกจากแหล่งที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือได้ ซึ่งอัตรารอดอยู่ที่ความเอาใจใส่ด้วย การให้ยาจะใส่เมื่อปลามีอาการเท่านั้น
  • คุณภาพของอาหารที่มีการพัฒนา เริ่มใช้อาหารโมโม่มากว่า 4 เดือนแล้ว รู้จักตามสื่อว่ามีจุดเด่น คือ อาหารมีการผสมจุลินทรีย์ เป็นผลดีต่อสุขภาพของปลา เมื่อทดลองใช้พบว่าตัวปลาจะขึ้นสัน ขี้เยอะและยาวใส เกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหาร เมื่อเวลาปลากินจะไปช่วยสร้างระบบการย่อย ประสิทธิภาพในระบบขับถ่ายดีขึ้น และเมื่อระบบการย่อยดีขึ้นจึงมีการดูดซึมสารอาหารไปแลกเปลี่ยนเป็นเนื้อได้มากขึ้นเช่นกัน 
10.อุทัยฟาร์ม-และทีมงานโมโม่
10.อุทัยฟาร์ม-และทีมงานโมโม่

แนวโน้มตลาดในอนาคต

การวางแผนการตลาดมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการระบบกระชัง จะต้องมีการวางแผนก่อนล่วงหน้าก่อนที่จะลงปลา ในช่วงเทศกาลจะมีการเพิ่มผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตั้งแต่ทำตลาดมากว่า 10 ปี ทำให้มีลูกค้าประจำวิ่งเข้าหาเสมอ ไม่เคยมีปัญหา มีแต่ปัญหาที่ราคาของปลาต่ำลง การเลี้ยงปลาที่นี่มีตลาดรองรับแน่นอน

เห็นได้ชัดเจน อาหารปลาโมโม่ ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยดึงจุดเด่นนวัตกรรมอาหารผสมจุลินทรีย์ออกมา จากการเดินทางไป 2 แหล่งน้ำนี้ ทางทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำขอขอบคุณ คุณกิตติธัช แก้วดี และคุณอุทัย  อัครทรัพย์ ที่เปิดโอกาสให้ทีมงานได้เข้าเยี่ยมชมและสัมภาษณ์มา ณ โอกาสนี้

เกษตรกรย่านลำน้ำอูนสามารถติดต่อสอบถาม หรืออยากร่วมงานกับ คุณกิตติธัช แก้วดี หรือคุณแชมป์โทร. 084-542-7590 และที่ร้านเพิ่มพูนอาหารสัตว์ 7 หมู่ 7 ตำบลพอกน้อย อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร และเกษตรกรในบริเวณแม่น้ำโขง ติดต่อคุณอุทัย อัครทรัพย์ หรืออุทัยฟาร์ม 8 ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร หรือสอบถามผลิตภัณฑ์อาหารโมโม่ได้ที่ฝ่ายขาย คุณพรศักดิ์ (เด่น) กิตติวิไลธรรม 086-812-0777