การปลูกถั่วฝักยาว ขั้นตอนการบำรุงดูแล พร้อมประโยชน์และโทษของถั่วฝักยาว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าให้พูดถึงพืชตระกูลถั่ว คงจะบอกได้เลยว่ามีหลากหลายชนิดมากในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ถั่วลันเตา ถั่วแระ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีในประเทศ แต่ถ้าพูดถึงถั่วที่สามารถนำมาประกอบอาหาร หรือเป็นส่วนประกอบ หลายๆ คนคงนึกถึง “ถั่วฝักยาว” ทำไมถั่วฝักยาวถึงนิยมนำมาประกอบอาหารมากกว่าถั่วชนิดอื่นๆ เพราะถั่วฝักยาว สามารถทำเมนูอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัดพริกแกงถั่ว ผัดกะเพรา ผัดถั่วฝักยาว ผัดผักรวมมิตร เป็นต้น นอกจากนี้ถั่วฝักยาวยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองไทยอีกชนิดหนึ่งอีกด้วย

ถั่วฝักยาวเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นพืชแบบไม้เถาเลื้อย โดยลำต้นเป็นแบบเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว มีลักษณะคล้ายกับถั่วพู โดยลักษณะของถั่วฝักยาวจะเป็นฝักที่กลมยาว มีสีเขียว และสามารถรับประทานได้เมื่อฝักยังอ่อน ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีความนิยมมากในแถบทวีปเอเชีย โดยชาวเอเชียส่วนใหญ่นิยมทานถั่วฝักยาวกันมาก ไม่ว่าจะนำมาประกอบเป็นอาหารจานหลัก หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารจานหลักก็ได้

โดยการรับประทานนั้นสามารถทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบ นอกจากจะนำไปประกอบอาหารแล้ว ถั่วฝักยาวยังมีสรรพคุณทางยาในทางสมุนไพรได้อีกทาง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นสมุนไพรในการบำรุงรักษาโรคได้ แต่การทานถั่วฝักยาวก็มีข้อควรระวังที่จำเป็นต้องศึกษาความเข้าใจอีกทางหนึ่งด้วย

1 ต้นถั่วฝักยาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons44dYardlong_Bean_-_E0B4AAE0B4AFE0B5BC_04

การปลูกถั่วฝักยาว

การปลูกถั่วฝักยาวนอกจากปลูกเพื่อนำมาบริโภคภายในประเทศแล้วนั้น ยังสามารถที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยถั่วฝักยาวจัดอยู่ในกลุ่มพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกของประเทศไทย การส่งออกนั้นจะทำในรูปแบบแช่แข็ง และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้การปลูกถั่วฝักยาวสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะนิยมปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤศจิกายน เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม และถั่วฝักยาวสามารถออกผลผลิตได้อย่างเต็มที่และสมบูรณ์ที่สุด โดยการปลูกถั่วฝักยาวนั้นในประเทศไทยนิยมปลูกกันแทบทั่วทุกภูมิภาค เพราะปลูกง่าย ดูแลง่าย แต่จัดเป็นพืชที่ปลูกได้ครั้งเดียว และต้องปลูกใหม่ เพราะพอได้ผลผลิตตัวเถาของต้นถั่วฝักยาวจะตายลงหลังจากเก็บผลผลิตเสร็จ จึงต้องทำการปลูกใหม่อยู่ตลอด แต่เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ได้ผลผลิตไว ทำให้เกษตรกรที่ปลูกถั่วฝักยาวจึงยังคงปลูกอยู่มาตลอด

ถั่วฝักยาวจัดอยู่ในพืชประเภทเดี่ยวกับพืชตระกูลถั่ว โดยมีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย มีลำต้นเดี่ยวเป็นเถาเลื้อย จะคล้ายกับถั่วพู มีฝักที่กลมยาว โดยเป็นที่นิยมในแถบทวีปเอเชีย และผู้บริโภคในแถบเอเชียส่วนใหญ่นิยมบริโภคถั่วฝักยาวเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีนและอินเดีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังมีเป็นพืชที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพืชที่ถูกจัดให้เป็นพืชส่งออกเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศ โดยการส่งออกนั้นจะเป็นการส่งออกในลักษณะแช่แข็งไปยังประเทศต่างๆ และการส่งออกแบบการบรรจุกระป๋อง นอกจากนี้ถั่วฝักยาวเองก็ยังเป็นที่นิยมของศัตรูพืชเช่นกัน จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกถั่วฝักยาวจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังเรื่องหนอนและแมลงต่างๆ ที่จะเข้ามากัดกินถั่วฝักยาวอยู่ตลอด นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นสายพันธุ์ใหม่ๆ ของถั่วฝักยาวขึ้นมาถึง 12 สายพันธุ์

การปลูกถั่วฝักยาวนั้นไม่ใช่เรื่องยาก

การปลูกถั่วฝักยาวนั้นไม่ใช่เรื่องยาก และเกษตรกรที่ปลูกถั่วฝักยาวมีอยู่ทุกที่ในประเทศไทย เพราะเป็นพืชที่ค่อนข้างจะปลูกง่าย ดูแลง่าย ที่สำคัญเลยใน การปลูกถั่วฝักยาว จะต้องปลูกใกล้ที่ๆ มีแหล่งน้ำ เพราะน้ำสำคัญต่อการปลูกถั่วฝักยาวมาก เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ และดูแลง่าย ไม่ตายง่าย เพราะถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำอยู่ตลอดเวลา หรือจะปลูกไว้ตามครัวเรือนก็ทำได้อีกเช่นกัน

โดยลักษณะทั่วไปของถั่วฝักยาวนั้นจะมีลำต้นเป็นข้อปล้อง กิ่งก้านจะเลื้อยเกี่ยวพันกับสิ่งที่นำมาหลักเพื่อยึดลำต้นไว้ ลักษณะของรากจะมีทั้งรากแก้วและรากแขนง ระดับของรากนั้นจะอยู่ไม่ลึกมาก เพราะถั่วฝักยาวจะมีการสะสมอากาศเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้

นอกจากนี้ตัวใบจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยจะเกิดใบเลี้ยงเป็นคู่แรก และจะมีการเกิดใบต่อๆ กันมา โดยขนาดของใบจะเล็กและแหลม ดอกจะเป็นช่อกระจะ โดยดอกจะเริ่มบานในช่วงเช้า และหุบเข้าในช่วงบ่าย และดอกของถั่วฝักยาวจะมีการฝักตัวในช่วง 1 สัปดาห์ หลังจากดอกเริ่มบาน

อีกทั้งตัวฝักของถั่วฝักยาวจะมีความยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร โดยจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ข้างในตัวฝักของถั่วฝักยาวจะมีเมล็ดเล็กๆ อยู่ด้านใน มีลักษณะคล้ายไต และมีหลากหลายสีขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์

2.แปลงถั่วฝักยาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00bSitaw4jf
2.แปลงถั่วฝักยาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00bSitaw4jf

สภาพพื้นที่ปลูกถั่วฝักยาว

การเตรียมดินเราสามารถปลูกถั่วฝักยาวได้ตลอดปีก็จริง ถั่วฝักยาวสามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพดินก็จริง แต่ดินที่ถั่วฝักยาวสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเหมาะกับถั่วฝักยาวจริงๆ  นั้นคือ “ดินร่วนปนทราย” ที่มีค่า pH ในระดับกลาง (ระดับ 6 หน่วย) โดยการเติบโตของถั่วฝักยาวนั้นความชื้นในดินต้องเหมาะสม เพราะถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีระบบรากที่ละเอียดอ่อน จึงต้องการดินที่มีความชื้นที่เหมาะสม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และความเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดีด้วย และควรไถพรวนดินให้หน้าดินมีความลึกประมาณ 25 เซนติเมตร พอเสร็จให้ทำการตากดิน โดยสังเกตว่าแสงแดดนั้นแรงหรือไม่ ถ้าแสงแดดดีให้ตากทิ้งไว้ 4-5 วัน แต่ถ้าเป็นช่วงที่ท้องฟ้าปิด แดดน้อย ให้ทำตามความเหมาะสม โดยการตากหน้าดินนั้น เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค หรือไข่แมลงต่างๆ ที่อยู่ในดิน เพื่อเป็นการกำจัดศัตรูของถั่วฝักยาวอีกทางด้วย

ให้ทำการเก็บวัชพืชต่างๆ ออกให้หมด หลังจากทำการเก็บวัชพืชหมดแล้วให้โรยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ในสัดส่วนประมาณ 3 ตันต่อไร่ และต้องวัดค่า pH ในดินโดยดูว่าเหมาะสมพอแล้วหรือยัง แต่ถ้าทำการปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกหรือกลางตอนล่าง ต้องทำการโรยปูนขาวเพื่อปรับค่าในดินให้เป็นกลาง หรือเป็นการลดกรดในดิน โดยใช้สัดส่วนอยู่ที่ 400 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วทำการไถพรวนหน้าดิน และตากดินไว้ประมาณ 3 วัน

หลังจากทำ 2 ขั้นตอนแรกเสร็จแล้ว ขั้นตอนนี้ให้ทำการยกร่องแปลงถั่วฝักยาว ให้มีขนาดความกว้างโดยประมาณ 90 เซนติเมตร และให้ความยาวขนานกับพื้นที่ดิน และให้ทำการไถยกร่องระหว่างแปลงปลูกถั่วฝักยาวให้มีขนาด 70 เซนติเมตร เพื่อเป็นการทำทางเดินเพื่อการเข้าและออกแปลง

การเตรียมเมล็ดพันธุ์นี้สามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์ได้จากตลาดที่มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ได้ทั่วไป แต่ต้องดูว่าเมล็ดพันธุ์ที่จะซื้อมานั้นต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีและสมบูรณ์ ไม่ควรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ค้างหรือเก่าอย่างเด็ดขาด หลังจากนั้นนำมาคัดเมล็ดพันธุ์ โดยเมล็ดที่แตกออกนั้นให้นำไปแช่น้ำที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อรา โดยทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งขั้นตอนนี้ถ้ามีเมล็ดไหนลอยขึ้นมาบนน้ำให้ทำการคัดออกอีกรอบหนึ่ง

โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ในการเพาะนั้น ถ้ามีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ควรจะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ต่อการเพาะ อีกทั้งต้องไม่ลืมกำจัดแมลงต่างๆ ก่อนที่จะปลูกให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันการมาทำลายถั่วฝักยาวในระยะยาว

3.ผลผลิตถั่วฝักยาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsffd33_-_CIMG0838
3.ผลผลิตถั่วฝักยาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsffd33_-_CIMG0838

ขั้นตอนการปลูกและบำรุงดูแลถั่วฝักยาว

ทำการขุดหลุมโดยให้มีความลึกประมาณ 10 เซนติเมตร โดยแต่ละหลุมนั้นให้มีความห่างกันตามความเหมาะสม หลังจากนั้นให้ใส่ใบคูนแห้ง หรือใบหางนกยูงแห้ง ที่ก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ และใส่ปุ๋ยเคมีตามสูตรที่ถั่วฝักยาวชอบ เช่น 5-10-5 หรือ 15-15-15 หรือ 6-12-12 โดยใส่ประมาณครึ่งช้อนโต๊ะคลุกเคล้าให้เข้ากัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากนั้นให้หยอดเมล็ดถั่วฝักยาวลงประมาณ 3-4 เมล็ด แล้วกลบดินในหลุม โดยให้ความหนาประมาณ 3-4 เซนติเมตร พร้อมรดน้ำทันที ในระยะแรกควรรดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือให้ดูความเหมาะสมของสภาพอากาศเป็นหลักด้วยก็ได้ และพอเริ่มเห็นยอดอ่อนเริ่มงอกขึ้นมาจากเมล็ด ก็ปล่อยให้เห็นใบจริงประมาณ 3-4 ใบก่อน แล้วค่อยถอนแยกเก็บเอาเฉพาะต้นที่ดีและแข็งแรงไว้ประมาณ 2-3 ต้นต่อหลุม และโรยแกลบกลบรอบโคนหลุม และเก็บวัชพืชต่างๆ ออก หลังจากนั้นรดน้ำให้ฉ่ำแต่ไม่ควรแฉะเกินไป

การให้ปุ๋ยเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการนำเอามูลสัตว์ต่างๆ รำข้าว แกลบ ปลาป่น และแคลเซียมฟอสเฟตแมกนีเซียม โดยการนำมาหมักรวมกัน และเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM เพื่อให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะมีธาตุเสริม คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมที่สูง เหมาะกับ การปลูกถั่วฝักยาว เป็นอย่างยิ่ง

อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในดินได้เป็นอย่างดี และยังช่วยในการลดต้นทุนของเกษตรกรในการดูแลรักษาอีกด้วย เพราะตัวปุ๋ยอินทรีย์ยังมีสรรพคุณในการช่วยขับไล่แมลงศัตรูพืชของถั่วฝักยาวได้อีกทางหนึ่ง ส่วนการให้น้ำควรให้น้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง และหลังจากถอนต้นแล้วควรให้น้ำวันละ 2-3 วันต่อครั้ง โดยพิจารณาจากความชื้นในดินเป็นหลักของการให้น้ำในแต่ละครั้ง

การทำค้างจะเริ่มต้นก็ต่อเมื่อต้นถั่วฝักยาวมีความสูง 15-20 เซนติเมตร โดยต้นถั่วฝักยาวจะเริ่มมีมือในการเกาะเกี่ยวสิ่งยึดเหนี่ยว โดยใช้ไม้ไผ่ปักระหว่างหลุม โดยความสูงจะอยู่ประมาณ 2-3 เมตร และปักห่างกันประมาณ 2-3 เมตร แล้วรัดขึงด้วยเชือกหรือลวดตามความสูงเป็นชั้นๆ ห่างกันประมาณ 30-40 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้ปลายไม้ไผ่ที่มีแขนงปักเป็นช่วงๆ ตามระยะความกว้างของแขนงไม้ไผ่

4.ถั่วฝักยาวพร้อมจำหน่าย-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsdd6Long_beans
4.ถั่วฝักยาวพร้อมจำหน่าย-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsdd6Long_beans

การป้องกันกำจัดโรค-แมลง และศัตรูพืช ในแปลงถั่วฝักยาว

การกำจัดวัชพืชจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอในระยะ 1 เดือนแรก โดยควรทำอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง โดยทำจนต้นถั่วฝักยาวมีความสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร จึงจะหยุดทำ ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ต้นถั่วนั้นสามารถเติบโตได้เต็มที่ และเติบโตแข่งกับวัชพืชอื่นๆ ได้

การสังเกตว่าถั่วฝักยาวนั้นติดโรคหรือมีเชื้อราหรือไม่นั้นสามารถสังเกตได้บริเวณใต้ใบส่วนกลางก่อน ถ้าใบมีจุดสีน้ำตาลแดงและลุกลามไปบนลำต้น จะทำให้ลำต้นเหี่ยวตาย ใบจะแห้ง โดยจะเกิดขึ้นในช่วงที่ออกดอก วิธีการแก้ไข คือ “ให้พ่นยาชนิด ไดเทนเอนทีเอ็ม 45 ทุกๆ 5-7 วัน” แต่ถ้าใบมีจุดด่างเหลืองอ่อนแกมขาวจะทำให้ใบม้วนงอเป็นคลื่นและเหี่ยว ลำต้นแห้งตาย โดยราชนิดนี้มีชื่อว่า “Oidium sp.” วิธีการแก้ไข คือ นำกำมะถันผงไปผสมกับน้ำแล้วนำมาฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แมลงศัตรูพืชของถั่วฝักยาวจะมี เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ โดยแมลงพวกนี้จะเป็นพาหะในการนำโรคมา โดยจะระบาดหนักในช่วงหน้าฝน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงใน การปลูกถั่วฝักยาว ในช่วงหน้าฝน การป้องกันนั้นให้นำน้ำยาล้างจานมาผสมกับน้ำส้มสายชู และทำการผสมกับน้ำเปล่าประมาณ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นให้ทั่ว โดยการฉีดพ่นควรจะทำในช่วงเวลาที่แดดจัด ซึ่งน้ำยาล้างจานเมื่อถูกเพลี้ยอ่อนนั้นจะทำให้ผิวหนังของเพลี้ยเปราะบางขึ้น และเมื่อเพลี้ยโดนแสงแดดจัดๆ จะทำให้ยุบตายในที่สุด ซึ่งถ้าใช้วิธีนี้ได้ผลดี ก็จะช่วยในการลดต้นทุนในการซื้อสารเคมีอีกทางหนึ่ง แต่ถ้ายังไม่ได้ผลแนะนำให้ใช้สารเคมีชนิดเมธารอนโซนาต้ามอลต้าผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่กำหนด แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงถั่วฝักยาว

การเก็บเกี่ยวถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มเก็บผลอ่อนได้ในช่วงประมาณ 60-80 วัน หลังจากที่เริ่มปลูก หรือหลังจากที่ออกดอกแล้วประมาณ 15-20 วัน โดยสามารถทยอยเก็บฝักอ่อนเป็นระยะๆ ทุกๆ 2-4 วัน และสามารถเริ่มเก็บฝักได้นาน ประมาณ 1-2 เดือน หรือเก็บได้ 20-40 ครั้ง โดยในการเก็บแต่ละครั้งปริมาณในการเก็บอาจจะไม่เท่ากัน เพราะจะขึ้นอยู่กับการดูแลของแต่ละสวนว่ามีวิธีการดูแลอย่างไร

5.บำรุงร่างกายให้แข็งแรง-และป้องกันโรคต่างๆ-https.pixabay.comphotosyardlong-beans-string-beans-1098530
5.บำรุงร่างกายให้แข็งแรง-และป้องกันโรคต่างๆ-https.pixabay.comphotosyardlong-beans-string-beans-1098530

ประโยชน์และโทษของถั่วฝักยาว

  • ถั่วฝักยาวมีส่วนช่วยในเรื่องของผิวพรรณ เนื่องจากในถั่วฝักยาวมีวิตามินซีเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก จึงมีส่วนช่วยในการดูแลผิวพรรณได้เป็นอย่างดี ช่วยยืดอายุผิว ทำให้ผิวไม่แห้งง่าย
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยในการทำงานของฮีโมโกลบิน ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้นส่งผลให้เราไม่อ่อนเพลียง่าย แถมยังช่วยป้องกันโรคหวัดได้ด้วย
  • ช่วยในการนอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากในถั่วฝักยาวมีแมกนีเซียมอยู่ เมื่อเราทานถั่วฝักยาวเข้าไป แมกนีเซียมที่เป็นแร่ธาตุที่ช่วยลดความเครียดจะช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย ทำให้หลับได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ถั่วฝักยาวยังมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา ป้องกันจอประสาทตาไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยทำให้การมองเห็นนั้นชัดเจนขึ้น เนื่องจากในถั่วฝักยาวมีวิตามินเอ และบี1 ที่ช่วยบำรุงสายตานั่นเอง
  • ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย
  • ป้องกันโรคเบาหวาน ถั่วฝักยาวมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลที่ดีต่อสุขภาพ แถมมีไฟเบอร์เยอะ ช่วยให้น้ำตาลย่อยช้าและทำให้ควบคุมประมาณน้ำตาลในเลือดได้ดี
  • มีการศึกษาพบว่าในถั่วฝักยาวมีวิตามินบี 9  เยอะ ช่วยในการบำรุงครรภ์ในผู้หญิง ช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดบุตร และช่วยลดความเสี่ยงที่บุตรจะเสี่ยงพิการได้อีกด้วย
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกสารพิษทำลาย และช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ได้ดี
  • ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ลดระดับคลอเลสเตอรอล และความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน บำรุงหัวใจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

นอกจากถั่วฝักยาวจะมีคุณประโยชน์มากมายแล้วนั้น ข้อเสียหรือข้อควรระวังในการบริโภคก็มีเช่นกัน นั่นก็คือ การบริโภคถั่วฝักยาวแบบสดๆ ดิบๆ การทานแบบนี้ถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ เนื่องจากถั่วฝักยาวมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนอยู่ ซึ่งแก๊สพวกนี้จะทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ แถมการทานแบบดิบๆ ยังทำให้ได้รับสารไกลโคโปรตีน ซึ่งสารตัวนี้จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน คลื่นไส้ และเวียนหัวได้

นอกจากนี้ถ้าทานแบบดิบๆ แล้วทำการเคี้ยวไม่ละเอียดอาจจะทำให้เข้าไปอุดตันในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ เนื่องจากถั่วฝักยาวแบบดิบนั้นจะมีความเหนียวและค่อนข้างแข็ง ถ้าไม่ทำการเคี้ยวเพื่อย่อยให้ดีอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้

ในความคิดของผู้เขียนคิดว่า การปลูกถั่วฝักยาว ก็ดี หรือพืชอื่นๆ ต่างก็มีข้อจำกัดในการลงมือปลูกกันทั้งนั้น เพราะพืชแต่ละชนิดถึงแม้จะอยู่ในตระกูลสาขาเดียวกัน แต่การปลูก การดูแล ต่างๆ นั้นก็ย่อมต่างกันเป็นของธรรมดา ทั้งนี้ การปลูกถั่วฝักยาว พืชที่เป็นเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของเมืองไทยก็เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เพราะถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดแทบทั้งปีเลยก็ว่าได้

ถ้าคิดว่าการที่ได้เขียนบทความครั้งนี้ขึ้นมาก็ย่อมอยากให้เป็นความรู้สำหรับผู้ที่สนใจที่จะลองปลูกจริงๆ ไม่ใช่แค่ปลูกเพื่อจะจำหน่ายอย่างเดียว ความเป็นจริงแล้ว การปลูกถั่วฝักยาว ยังสามารถทำได้ตามครัวเรือนทั่วไปเช่นกัน เพราะหลายๆ ครอบครัวที่พอจะแบ่งพื้นที่ในบ้านให้เป็นแหล่งที่ปลูกผักสวนครัวก็มีแล้วหลายครอบครัว เพราะคิดว่าการปลูกผักทานเองย่อมดีกว่าเสมอ หวังว่าบทความครั้งนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้ามาอ่าน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกถั่วฝักยาว ให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงเลย คือ การดูแลเอาใจใส่ เพราะไม่ว่าจะปลูกอะไรก็แล้วแต่ ทุกสิ่งต้องเริ่มจากการใส่ใจ และมีใจรักที่จะทำในสิ่งนั้นๆ และเริ่มศึกษาสิ่งที่ลงมือทำ การปลูกถั่วฝักยาว ก็เช่นกัน ถ้าเริ่มเรียนรู้และเอาใจใส่ ผลผลิตที่ได้ก็จะมีคุณภาพอย่างแน่นอน

อีกทั้งต้องคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลักด้วยว่าการที่เราปลูกถั่วฝักยาวเอย หรือพืชอื่นๆ แล้วเราใช้แต่วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ไม่ใช้สารเคมี ย่อมส่งผลดีต่อเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างแน่นอน ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังสามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว ไม่เสียเวลานาน

นอกจากนี้ การปลูกถั่วฝักยาว ยังสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และภายในครัวเรือนเองก็สามารถทำได้ เห็นได้เลยว่า การปลูกถั่วฝักยาว นั้นไม่ยากเลย เพียงแค่เรียนรู้ และลงมือทำ ก็สามารถที่จะปลูกได้แล้ว  และยังมีคุณประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรค อีกด้วย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.greennet.or.th/article/1437,https://www.plookphak.com/how-to-plant-yard-long-bean/,https://www.kasetorganic.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html, https://decor.mthai.com/garden/45503.html