มะขามเทศ ประโยชน์มหาศาล พืชสมุนไพรเศรษฐกิจ ปลูกง่าย ขายได้กำไรดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าให้พูดถึงมะขามที่ยังคงเป็นที่ชื่นชอบ และสามารถปลูกได้ง่ายในทุกพื้นที่ ยิ่งเป็นสภาพอากาศแล้งยิ่งปลูกได้ดี ต้องนึกถึง มะขามเทศ อย่างแน่นอน ด้วยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกในพื้นที่แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี อีกทั้งปัจจุบันเอง วงการมะขามเทศนั้นก็มีการพัฒนาและต่อยอดสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ทำให้ได้รสชาติที่อร่อยมากขึ้น แถมยังมีฝักที่ใหญ่ขึ้น จนทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นด้วย

1.มะขามเทศ ปลูกง่าย โตเร็ว เหมาะแก่การปลูกในที่แล้ง
1.มะขามเทศ ปลูกง่าย โตเร็ว เหมาะแก่การปลูกในที่แล้ง

การปลูกมะขามเทศ 

มะขามเทศ ปัจจุบันถือได้ว่ามีผลไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับอดีต ด้วยรสชาติที่มีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ อยู่ตลอด ทำให้ได้รับความนิยมในท้องตลาดเป็นอย่างมาก อีกทั้งวิธีการปลูกนั้นก็แสนจะง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะว่าเป็นผลไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่มีความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี จึงนับว่าเป็นผลไม้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่แห้งแล้งจะนิยมปลูก ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้ในตระกูลมะขามที่ยังคงเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว

เรื่องราวของมะขามเทศนั้นยังคงเป็นที่พูดถึงกันเป็นวงกว้างว่าเป็นผลไม้ที่มีความหลากหลายในเรื่องรสชาติ มีทั้งหวาน กรอบ และฝาด ในบางครั้ง ถือว่าเป็นผลไม้ที่เริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในท้องตลาดของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ในปัจจุบันมีผลผลิตที่ออกมาในปริมาณที่พอสมควร จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมมะขามเทศถึงได้รับการยอมรับและกลับมาเป็นที่นิยมในตลาดอีกครั้ง

ลักษณะทั่วไปของมะขามเทศ

เรามาเริ่มทำความรู้จักกับมะขามเทศกันดีกว่าว่าผลไม้ชนิดนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ก่อนจะเข้าเรื่องราวให้ได้รู้จักกันมากขึ้น มะขามเทศ หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงบอกว่า มะขามเทศ ไม่ใช่มะขาม เพราะว่าแท้จริงแล้วนั้นเรารู้จักและเรียกมะขามเทศกันนั้น มันคือ พืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะและรูปร่างที่คล้ายกับมะขาม จึงทำให้เข้าใจว่ามะขามเทศนั้นเป็นมะขามอีกหนึ่งชนิดด้วยนั่นเอง

แต่ถึงยังไงคนส่วนใหญ่ก็ยังคงเรียกและพูดถึงผลไม้ชนิดนี้ว่า มะขามเทศ กันอยู่ดี ด้วยรสชาติที่มีความลงตัว ทั้งความหวานอ่อนๆ ที่มีความแตกต่างและไม่เหมือนใคร จึงกลายเป็นว่าผลไม้ชนิดนี้เริ่มเป็นที่นิยม และเข้าไปเป็นผลไม้ทานเล่นเป็นของว่างในใจของใครหลายคนเลยทีเดียว ถึงแม้ว่ารสชาติในช่วงที่ได้ลิ้มลองแรกๆ อาจจะมีรสชาติที่ฝาดไปบ้าง แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาและได้เปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จนได้รสชาติที่ดีกว่าเดิม

ถ้าใครไม่เคยรับประทานอาจจะไม่รู้ว่ามะขามเทศนั้นรสชาติดีขึ้นมากแล้ว เมื่อเทียบกับแต่ก่อน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเลยทีเดียว อีกทั้งตัวมะขามเทศเองก็ไม่ได้มีดีแต่เรื่องของรสชาติ แต่ยังรวมไปถึงคุณประโยชน์ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังถือว่ามีสรรพคุณทางยาด้วย ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์รอบด้านเลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ต้นมะขามเทศ ใบสีขาว สวยงาม
2.ต้นมะขามเทศ ใบสีขาว สวยงาม

สภาพพื้นที่ปลูกมะขามเทศ

โดยปกติแล้วมะขามเทศนั้นเราจะสามารถพบเห็นและพบเจอได้ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตามริมถนน สวนหลังบ้าน หรือบริเวณท้องทุ่งนา หรือแม้แต่พื้นที่บริเวณรกร้าง ก็อาจจะมีมะขามเทศให้ได้เห็นกันบ้าง เนื่องจากว่าผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ที่มีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว และยังทนทานต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นผลไม้ที่เหมาะอย่างมากในการปลูกไว้เพื่อบำรุงดินเลยทีเดียว

ในเบื้องต้นนั้นเราได้ทำความรู้จักกับมะขามเทศกันไปพอเล็กน้อยให้ได้รู้จักกันไปบ้างแล้ว ต่อมาเราจะมาดูวิธีการปลูกกันดีกว่าว่ากว่าจะเป็นมะขามเทศที่เราได้รู้จักและนำมาลิ้มลองกันนั้น การปลูก การเอาใจใส่ การดูแลต่างๆนั้นทำอย่างไรบ้าง กว่าจะได้มะขามเทศที่เราเห็นได้ทั่วไปกันในท้องตลาด

สำหรับมะขามเทศนั้นจะมีแหล่งเพาะปลูกที่มีความสำคัญอยู่ทั่วทุกภูมิภาคเลยก็ว่าได้ โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญในเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก ในจังหวัดราชบุรี ซึ่งที่นี่จะเป็นการปลูกแบบยกร่อง ซึ่งสามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนได้เป็นอย่างดี

นอกจากในจังหวัดราชบุรีแล้วยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกมะขามเทศเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นที่สระบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเอง ก็เป็นแหล่งที่สามารถพบการปลูกมะขามเทศได้มากที่สุดในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพราะว่าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกมะขามเทศได้ดีเลยก็ว่าได้ เมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นที่คงทนต่อสภาพอากาศได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก

3.ฝักมะขามเทศที่เก็บได้ต้องจำหน่ายทันที
3.ฝักมะขามเทศที่เก็บได้ต้องจำหน่ายทันที

การปลูกและบำรุงดูแลมะขามเทศ

สำหรับมะขามเทศนั้นรู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นพืชที่ปลูกและเติบโตได้ง่าย เพราะว่าปลูกใน 1 ปี ก็สามารถที่จะให้ผลผลิตได้แล้ว ยิ่งถ้าปลูกไปแล้วได้ผลผลิตที่มาจากสายพันธุ์ที่ดี และมีฝักที่โต จะยิ่งทำให้รสชาติของมะขามเทศนั้นมีความหวานอร่อยมากยิ่งขึ้นด้วย โดยปกติแล้วถ้าปลูกในพื้นที่มีสภาพอากาศและดินที่ดีจะช่วยให้ราคาขายต่อกิโลกรัมนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย

สำหรับการเริ่มปลูกมะขามเทศนั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีการเตรียมดินก่อนเป็นอันดับแรก โดยการเตรียมดินสำหรับการปลูกมะขามเทศนั้นอาจจะต้องมีการขุดหลุมเพื่อเตรียมการปลูก โดยขนาดของหลุมที่ต้องขุดเพื่อเตรียมปลูกนั้นจะต้องมีขนาดประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นก็ทำการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากขุดแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต่อมาก็ทำการผสมดินที่จะทำการปลูก โดยผสมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกใส่ในหลุม ประมาณหลุมละ 2-3 บุ้งกี๋ โดยในการปลูกนั้นสามารถปลูกได้ ทั้งแบบที่ราบ และแบบยกร่อง ก็ได้เช่นกัน ซึ่งถ้าหากปลูกแบบยกร่องนั้นก็ต้องใช้ขนาดประมาณ 8-10×8-10 เมตร ส่วนที่ราบก็จะใช้ขนาดประมาณ 10-12×10-12 เมตร เป็นขนาดของบุ้งกี๋ที่เหมาะสมมากที่สุด

การปลูกมะขามเทศก็เหมือนกับการปลูกผลไม้อื่นๆ ที่มีการขุดหลุม เตรียมหลุมปลูก และใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกัน ซึ่งในระยะที่ต้นยังเล็กอยู่อาจจะมีการปลูกผลไม้อื่นๆ แซมได้ เช่น ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น เมื่อเริ่มปลูกแล้วก็ควรจะรดน้ำทุกวัน จนต้นเริ่มแข็งแรง หลังจากนั้นก็ทิ้งระยะในการรดน้ำลงให้เหลือ 4-5 วัน ต่อครั้งก็ได้

ซึ่งการปลูกในพื้นที่ 1 ไร่นั้นจะสามารถปลูกต้นมะขามเทศได้ประมาณ 16-25 ต้น แต่เป็นกรณีที่ยกร่องปลูก ถ้าเป็นการปลูกในพื้นที่ราบ ในระยะที่กล่าวมานั้นถ้าปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ก็จะสามารถปลูกได้ประมาณ 10-16 ต้น เลยทีเดียว ทั้งนี้ด้วยที่ว่ารากของต้นมะขามเทศนั้นสามารถที่จะหาอาหารได้ไกล และมีความทนแล้งได้เป็นอย่างดี เมื่อต้นเริ่มเต็มที่แล้วแทบไม่จำเป็นเลยที่จะต้องให้น้ำมาก นอกจากจะได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติก็สามารถเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ แต่ถ้าจะให้น้ำและปุ๋ยเพิ่มก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ถ้าให้พูดถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกต้นมะขามเทศนั้น บอกเลยว่ามะขามเทศเป็นผลไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในทุกสภาพอากาศเลยก็ว่าได้ ต่อให้เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแห้งแล้งก็สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถที่จะทนต่อสภาพดินเค็มได้อีกด้วย

แต่ถ้าจะปลูกแบบการค้าจำเป็นจะต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำเป็นหลัก และเรื่องของตลาดด้วย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าถ้าอยากให้คุณภาพฝักที่ดี ต้องมีการดูแลในเรื่องของน้ำอย่างเพียงพอ นอกจากนี้แล้วการขนส่งผลผลิตจากแหล่งปลูกไปยังตลาดเพื่อจำหน่ายต้องทำได้สะดวกด้วย เพราะฝักมะขามเทศที่มีการเก็บมานานแล้วนั้นจะเก็บได้ไม่นานมากนักเพราะจะเน่าเสีย จึงจำเป็นที่จะต้องรีบจำหน่ายในทันที เพื่อไม่ให้ผลผลิตที่ได้เกิดการสูญเสียมากที่สุด

4.พันธุ์มะขามเทศ
4.พันธุ์มะขามเทศ

สายพันธุ์มะขามเทศ

เนื่องจากว่าปัจจุบันพันธุ์ของมะขามเทศนั้นยังไม่ได้มีการจำกัดสายพันธุ์ที่เด่นชัดได้อย่างชัดเจนมากนัก จึงมีการแบ่งพันธุ์ที่คิดว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีของมะขามเทศไว้ประมาณ 3 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ก็จะมีการแบ่งตามลักษณะของใบ ฝัก และขนาดของฝัก เพื่อจำแนกว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดี และได้คุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สายพันธุ์ฝักใหญ่

โดยสายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักของตัวมะขามเทศประมาณ 15-20 ฝัก ต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักนั้นจะมีสีเขียวอ่อน ขาวปนแดงและชมพู เนื้อสีขาวปนแดงเล็กน้อย ตัวฝักนั้นจะเป็นฝักโค้งเป็นวงกลม แต่ถ้าฝักยาวจะม้วนเป็นเกลียว รสชาตินั้นจะหวานมันค่อนข้างนุ่ม ทรงพุ่มจะใหญ่ และแผ่ออกด้านข้าง

อีกทั้งพันธุ์นี้จะมีหนามที่ยาวกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ตัวใบก็ค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์พื้นเมือง ขนาดใบจะมีความกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร นับว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความใหญ่กว่าสายพันธุ์อื่นๆ เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นขนาด 17-20 ฝัก ต่อกิโลกรัม ก็จะมีลักษณะที่คล้ายกับฝักที่มีขนาด 15-20 ฝัก ต่อกิโลกรัม เช่นกัน ในส่วนของเนื้อก็จะมีสีขาวล้วน และมีความหวานมันพอๆ กับฝัก ขนาด 15-20 ฝัก ต่อกิโลกรัม เลยทีเดียว

สายพันธุ์ฝักขนาดกลาง

สำหรับสายพันธุ์ฝักขนาดกลางนั้น ส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 ฝัก ต่อกิโลกรัม เป็นส่วนมาก เปลือกของฝักนั้นจะมีสีเขียวอ่อนปนสีชมพูแดง ลักษณะของฝักทั่วไปนั้นจะมีความโค้งเป็นวงกลม ทรงพุ่มเป็นวงกลม รสชาติหวานมัน ใบค่อนข้างใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีหนาม หรือถ้ามีก็จะเล็กมาก

สายพันธุ์พื้นเมือง

ปกติแล้วสายพันธุ์พื้นเมืองจะมีปริมาณฝักที่เยอะกว่า กว่าจะได้ 1 กิโลกรัม โดยทั่วไปจะเน้นที่ 30 ฝักขึ้นไป ต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักพื้นเมืองนั้นจะมีสีเขียวปนชมพูแดง ถ้าเป็นฝักแก่จะมีสีเขียวปนแดงเช่นกัน ตัวฝักโค้งเป็นวงกลม ทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่ รสชาติจะหวานปนฝาด ใบไม่ใหญ่มาก ปลายใบมน และเป็นพันธุ์ที่มีหนามพอสมควรเลยทีเดียว

5.ฝักมะขามเทศใหญ่ เนื้อแน่น
5.ฝักมะขามเทศใหญ่ เนื้อแน่น

การตอนกิ่งมะขามเทศ

สำหรับการขยายพันธุ์มะขามเทศนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนยอด การทาบกิ่ง หรือการตอนกิ่ง แต่ที่ได้รับความนิยมเลยนั้นจะเป็นการตอนกิ่งมากกว่า เพราะจะทำให้ต้นมะขามเทศนั้นเติบโตได้เร็ว แต่ถ้าเป็นต้นที่ปลูกจากวิธีการเพาะเมล็ดนั้นจะมีความคงทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นทนต่ออากาศแล้ง หรือแม้แต่ฤดูอื่นๆ ก็จะทนทานได้ดีที่สุดนั่นเอง

วิธีที่ได้รับความนิยมในการปลูกมะขามเทศนั้นจะเป็นวิธีการตอนกิ่ง เราจึงได้หยิบยกวิธีนี้มาให้ได้ทราบกัน เผื่อที่เกษตรกรหรือบุคคลที่สนใจในการปลูกจะนำวิธีดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเริ่มปลูกมะขามเทศได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับวิธีการตอนกิ่งในมะขามเทศนั้น อย่างแรกเลยต้องมีการควั่นกิ่งที่บริเวณใต้ตาประมาณ 1 นิ้วก่อน โดยใช้มีดคมควั่นเปลือกนอกแล้วทำการลอกออก ให้รอยควั่นนั้นมีความกว้างประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำหมาดๆ พันที่รอบแผลโดยใช้ถุงพลาสติกหุ้ม และใช้เชือกผูกให้แน่นทั้งหัวและท้ายต้องแน่นสนิท

จากนั้นก็ให้ทิ้งไว้แบบนั้นไม่ต้องรดน้ำประมาณ 20-25 วัน โดยใช้หลักพิจารณาว่าเป็นกิ่งเล็กหรือกิ่งใหญ่ ถ้ากิ่งเล็กก็ให้ทิ้งไว้ประมาณ 20 วัน ถ้ากิ่งใหญ่ก็เลื่อนระยะเวลาเป็น 24-25 วัน จึงค่อยตัดไปปักชำ เมื่อตัดกิ่งตอนจากต้นลงถุงเพาะชำ จะต้องทำการทิ้งไว้อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จึงค่อยนำไปปลูกได้ ซึ่งการตอนกิ่งนั้นควรจะทำในช่วงหน้าฝน เพราะจะช่วยให้ได้ผลดีมากขึ้น

6.ฝัก มะขามเทศ ชมพูรสชาติดี และมีคุณภาพ
6.ฝัก มะขามเทศ ชมพูรสชาติดี และมีคุณภาพ

การให้น้ำและปุ๋ยต้นมะขามเทศ

ถึงแม้ว่าต้นมะขามเทศจะเป็นต้นไม้ที่สามารถทนทานต่อสภาพอากาศแล้งได้เป็นอย่างดี แต่การให้น้ำก็ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพได้เป็นอย่างดี การให้ปุ๋ยเองก็เป็นเรื่องสำคัญที่มีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้การเติบโตของมะขามเทศนั้นสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ด้วย

ถ้าอยากให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นมะขามต้นเล็กหรือต้นที่โตแล้ว แต่ถ้าเป็นต้นที่โตนั้นก็ควรจะงดให้น้ำในช่วงก่อนออกดอกก็ได้เช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่นๆ เพื่อให้มะขามเทศนั้นได้มีการพักตัวและสะสมอาหารเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะออกดอก

เมื่อมะขามเทศติดดอก ออกฝัก แล้ว ก็สามารถที่จะให้น้ำได้ตามปกติ แต่ควรจะระวังในช่วงที่ฝักเริ่มแก่ เพราะถ้าให้น้ำในช่วงนั้นมากเกินไปอาจจะทำให้ฝักนั้นมีคุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควรนัก ฝักจะแตกเร็วขึ้น และเนื้อก็จะไม่แน่น จะทำให้เสียรสชาติได้

สำหรับการใส่ปุ๋ยในมะขามเทศนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง เพื่อให้ความสำคัญในแต่ละช่วงที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพและผลผลิตที่ดีได้เมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว โดยหลังจากเริ่มเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีอย่างละเท่าๆ กัน โดยใช้สูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 ก็ได้ เป็นการเตรียมให้ผลผลิตนั้นสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดียิ่งขึ้นด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต่อมาก็จะเป็นช่วงที่ก่อนเริ่มออกดอก ซึ่งช่วงนี้เกษตรกรสามารถที่จะเน้นในการใส่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยสูตรไนโตรเจนต่ำๆ ได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ สูตร 9-24-24 ก็ได้เช่นกัน เป็นช่วงที่อาจจะยังไม่มีการรดน้ำมากนัก แต่ก็ยังสามารถใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำได้ และช่วงสุดท้ายเป็นช่วงที่ฝักเริ่มแก่ ช่วงเวลานี้สามารถที่จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยสูตรดังกล่าวนั้นก็เพื่อที่จะทำให้คุณภาพของเนื้อมะขามเทศนั้นมีรสชาติที่ดีขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย

7.เก็บเกี่ยวฝักมะขามเทศ
7.เก็บเกี่ยวฝักมะขามเทศ

การป้องกันและกำจัด โรค แมลง ต้นมะขามเทศ

ในเรื่องของโรคและแมลงที่มักจะพบในมะขามเทศนั้นถือว่ามีน้อยมาก เพราะว่ามะขามเทศเป็นผลไม้ที่มีปัญหากับเรื่องดังกล่าวนี้น้อยในช่วงที่ออกดอกใหม่ๆ เพราะว่ามีการใช้สารฆ่าแมลงผสมกับสารกันราฉีดพ่นเพื่อให้ติดฝักดก แต่ก็ไม่ควรใช้บ่อยครั้งมากนัก

ในส่วนของแมลงก็มักจะไม่ค่อยพบปัญหามากเท่าไหร่ แต่ถ้าพบปัญหาแมลงมากัดกินผลผลิตที่ผิวและเมล็ด ก็สามารถใช้สารไมแทคพ่นทุกๆ 15-20 วัน ก็ได้เช่นกัน แต่ต้องหยุดใช้เมื่อฝักมะขามเทศเริ่มแตกแล้ว เพราะว่าถ้าใช้อยู่สารเคมีจะเข้าไปผสมกับเนื้อของมะขามเทศได้ อาจจะส่งผลเสียต่อผลผลิตและผู้บริโภคได้โดยตรง

สำหรับการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงนั้น ควรจะฉีดพ่นเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรหยุดฉีดก่อนเก็บฝักอย่างน้อยประมาณ 15-20 วัน เพื่อเป็นการป้องกันสารเคมีที่จะตกค้างในฝัก ซึ่งสารเคมีนั้นจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะมะขามเทศเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อจะเริ่มปริพองทำให้เปลือกของฝักนั้นแตกออก สารเคมีจะเข้าไปสัมผัสกับเนื้อได้โดยตรงเมื่อทำการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ ตรงนี้จะต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะว่าจะใช้สารเคมีใดๆ ก็แล้วแต่ควรจะหยุดใช้เมื่อใกล้เวลาเก็บเกี่ยว เพราะจะส่งผลดีต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

8.ฝักมะขามเทศบำรุงร่างกาย และรักษาโรคได้เป็นอย่างดี
8.ฝักมะขามเทศบำรุงร่างกาย และรักษาโรคได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์และสรรพคุณของมะขามเทศ

ยังไงก็แล้วแต่มะขามเทศนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้อยู่แล้ว การที่มีประโยชน์และมีวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายนั้นย่อมมีอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติของผักและผลไม้ทุกชนิด แต่การทานในปริมาณมากเกินไปบางทีก็ก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน นอกจากให้วิตามินแก่ร่างกายแล้ว ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการปรับปรุงดิน และนำมาทำเป็นรั้วได้อีกด้วย

สำหรับมะขามเทศนั้นถือว่าเป็นพืชท้องถิ่นที่มีเกษตรกรปลูกเป็นจำนวนไม่น้อยเพื่อสร้างอาชีพและเป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีประโยชน์ในเรื่องของการทำเป็นแนวรั้วด้วย เพราะว่าต้นมะขามเทศนั้นมีกิ่งเหนียวที่หนาม เมื่อเริ่มโตขึ้นหรือแก่มากก็ยังสามารถนำมาทำเป็นฟืนได้ด้วย อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี และยังสามารถปลูกในดินเค็มได้อีกด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งก็นิยมปลูกเพื่อทานฝัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการบำรุงและปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน โดยต้นมะขามเทศนั้นจะช่วยปรับปรุงดินที่มีความเสื่อมโทรม อีกทั้งยังช่วยป้องกันแนวลมและทำรั้วอย่างที่กล่าวข้างต้น และยังใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย ด้วยความที่เป็นผลไม้ท้องถิ่นและสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เลยเป็นผลไม้ที่กลับมาได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ได้มาพร้อมกับความอร่อยเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีคุณประโยชน์ที่จำเป็นต่อร่างกายด้วยเช่นกัน

โดยมะขามเทศนั้นจะมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 บี3 ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เส้นใย เป็นต้น และยังถือได้ว่ามะขามเทศนั้นเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งวิตามินต่างๆ นั้นจะช่วยในเรื่องของการมองเห็น บำรุงผิว และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอีที่ช่วยในเรื่องของการชะลอวัย วิตามินบี1-บี3 ช่วยในเรื่องของการบำรุงประสาทและสมอง ช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม อีกทั้งยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องแคลเซียมสูง มีฟอสฟอรัส ที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงด้วย นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยในเรื่องของการป้องกันความอ่อนเพลียของร่างกายด้วยเช่นกัน นอกจากคุณประโยชน์ทางด้านวิตามินแล้ว มะขามเทศเองยังมีคุณประโยชน์ในเรื่องของทางสมุนไพรอีกด้วยเช่นกัน โดยสามารถนำมาประกอบอาหาร หรือนำมาทำเป็นอบไอน้ำก็ได้เช่นกัน เพราะสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของมะขามเทศนั้นจะมีส่วนช่วยในเรื่องของการรักษาโลหิตจาง แก้ไอได้ดี ช่วยสมานแผลได้ และยังมีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้นด้วย

ฝากถึงผู้ที่สนใจปลูก มะขามเทศ 

เห็นได้ชัดเลยว่ามะขามเทศนั้นเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ง่าย และดูแลได้ไม่ยาก ยิ่งถ้าอยากให้ผลผลิตมีคุณภาพก็อาจจะมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเสียหน่อย ก็จะช่วยให้ได้ฝักที่ใหญ่ และมีราคาดี อีกทั้งยังมีประโยชน์ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่เยอะพอสมควรเลยทีเดียว ในเรื่องของการปลูกนั้นก็ไม่วุ่นวาย ดูแลได้ง่าย ทนแล้งดี ถือว่าเป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่เหมาะเป็นอย่างมากในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

เรื่องราวของ มะขามเทศ นั้นถือว่ายังมีความน่าสนใจอีกมากเลยทีเดียว นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการนำเรื่องราวคร่าวๆ มาให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบกัน ถือว่าวิธีการปลูก มะขามเทศ นั้นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปต่อยอดได้ ถึงแม้ว่า มะขามเทศ จะเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ก็ช่วยให้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ ได้ไม่ยากเลย เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำไปปลูกได้เลยทีเดียว

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

https://medthai.com,https://www.technologychaoban.com,https://www.rakbankerd.com

https://www.sentangsedtee.com,https://www.baanjomyut.com