การเพาะพันธุ์ปลาช่อน เจาะลึกเทคนิคการผสมพันธุ์ และ ผลิตลูกปลาช่อนคุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว นี่แหละเกษตรเมืองไทย แต่คงใช้ไม่ได้ในยุคสมัยในปัจจุบัน ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณความต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้นตาม อีกทั้งแหล่งอาหารตามธรรมชาติในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้สัตว์น้ำในธรรมชาติลดน้อยลงไปเป็นจำนวนมาก การเพาะพันธุ์ปลาช่อน 

1.เลี้ยงและดูแลง่าย-แข็งแรงสมบูรณ์
1.เลี้ยงและดูแลง่าย-แข็งแรงสมบูรณ์

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้ จึงทำให้เกิด “การเพาะพันธุ์” เข้ามาในวงจรธุรกิจสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หรือปลา หลากหลายชนิด แต่ในวันนี้ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำจะพาทุกท่านมารู้จักกับฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาช่อนน้องใหม่ ที่ผลงานการผลิตและออเดอร์ที่ผ่านมาไม่น้อยหน้าใครเลยทีเดียว นั่นก็คือ “ฟาร์มปลาช่อน เจ้าสัว”

ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาช่อนแห่งนี้ต้องยอมรับว่าเป็นฟาร์มน้องใหม่ที่เกิดขึ้นจากคนรุ่นใหม่ อย่าง คุณชาญวิทย์ ธนะสัมบัญ เกษตรกรหนุ่มไฟแรง ที่ยอมรับกับทีมงานว่า เดิมทีตนนั้นไม่ได้อยู่ในวงการเกษตรเลย เรียกว่าห่างไกลเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องออกพื้นที่พบปะพูดคุยกับลูกค้าอยู่เป็นประจำ

จึงทำให้คุณชาญวิทย์ ได้ศึกษาเรื่องราวของการทำอาชีพต่างๆ จากลูกค้าเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งถึงจุดอิ่มตัวในอาชีพ คุณชาญวิทย์จึงเริ่มมองหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ทำแล้วมีเวลาอยู่กับบ้าน มีเวลาให้ครอบครัว อีกทั้งยังมีรายได้ที่ค่อนข้างมั่นคง ทำให้เขาเลือกอาชีพการ “เลี้ยงปลา” เพราะมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่ยุ่งยาก การบริหารจัดการง่าย อีกทั้งตลาดมีความต้องการผลผลิตเป็นจำนวนมาก

2.เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาช่อน
2.เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาช่อน

จุดเริ่มต้นการเพาะเลี้ยงปลาช่อน

คุณชาญวิทย์จึงเลือกการเลี้ยงปลาช่อนเป็นหลัก เนื่องจากปลาช่อนเป็นชนิดปลาที่มีราคาขายค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเลี้ยงง่าย ดูแลง่าย เป็นปลาที่มีความแข็งแรง ตายยาก ที่สำคัญสามารถขายได้ทุกขนาด ทั้งเล็กและใหญ่ เมื่อตัดสินใจที่จะเลี้ยงปลาช่อนแล้ว จึงติดต่อซื้อลูกพันธุ์

ซึ่งขณะนั้นลูกพันธุ์มีราคาตัวละ 2 บาท หากเลี้ยง 50,000 ตัวแบ่ง 5 บ่อ เท่ากับใช้เงินลงทุนมากถึง 100,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้คุณชาญวิทย์มองว่าซื้อแม่ปลามาเพาะเองดีกว่า เพราะลงทุนไม่สูงมาก อีกทั้งเรายังสามารถคัดเลือกแม่พันธุ์คุณภาพได้เอง เพื่อให้ได้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์เต็มที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยเหตุนี้เขาจึงเดินทางไปหาความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาช่อนถึง “ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร” เรียนรู้ศึกษาอยู่ช่วงหนึ่ง  บวกกับการศึกษาครูพักลักจำจากฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ  จนกระทั่งเริ่มทดลองซื้อพ่อแม่พันธุ์มาฉีดออร์โมนผสมพันธุ์เอง “ในช่วงแรกเราฉีดผสมพันธุ์เอง ติดบ้าง ไม่ติดบ้าง เพราะสูตรยาฮอร์โมนเรายังไม่คงที่ แต่เราก็ไม่ท้อนะ พยายามหาสูตร พยายามผสมพันธุ์ปลาให้ติด ทำอยู่นานเป็นปีกว่าจะสำเร็จ ได้ลูกปลามาเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ” คุณชาญวิทย์กล่าว

จากจุดเริ่มต้นที่คุณชาญวิทย์ตั้งใจจะเลี้ยงปลาช่อนเพื่อส่งขายยังท้องตลาด แต่เหมือนชะตาไม่ได้ลิขิตให้เขาเลี้ยงปลา แต่ให้เป็นเถ้าแก่เพาะพันธุ์ปลามากกว่า เนื่องจากในระหว่างที่ฟาร์มกำลังอนุบาลลูกปลาอยู่นั้น ได้มีเกษตรกรเข้ามาติดต่อขอแบ่งซื้อลูกปลาเป็นจำนวนมาก ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งคุณชาญวิทย์ได้แบ่งขายลูกปลาออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ตนไม่ได้เลี้ยงปลาช่อนดังความตั้งใจแรก

แต่ต้องมาเพาะปลาช่อนขายแทน เพราะผลผลิตลูกปลามีไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ฟาร์มน้องใหม่แห่งนี้มีลูกค้าและออเดอร์ลูกปลาแน่นตลอด นั่นคือ คำว่า “คุณภาพ” ถึงแม้ว่าฟาร์มปลาช่อน เจ้าสัว จะเป็นฟาร์มผลิตลูกปลาขนาดเล็กที่มีออเดอร์ต่อเดือนไม่มาก แต่สิ่งสำคัญที่ทางฟาร์มจะละเลยไม่ได้ นั่นคือ คุณภาพของลูกปลาที่ออกจากฟาร์มไป

 “ฟาร์มเรามองว่าธุรกิจลูกปลาที่เราทำอยู่นั้นมันจะไม่หยุดแค่นี้ มันจะต้องไปได้ไกล และขยายใหญ่มากกว่านี้ ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ นั่นคือ “คุณภาพของลูกปลา” ลูกปลาที่ออกจากฟาร์มเราไปทุกตัว เราต้องมั่นใจแล้วว่า ต้องแข็งแรง กินอาหารเม็ด100% ตัวสมบูรณ์ ที่เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพราะไม่ใช่แค่ลูกปลาเราที่ออกไป แต่ยังมีชื่อเสียงของฟาร์มเราด้วย ถ้าปลาเราดี ชื่อเสียงเราก็ดี แต่ถ้าปลาเราไม่ดี ไม่ได้คุณภาพ ชื่อเสียงของเรามันก็ไปตามปลา”

3.พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
3.พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน

การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ สิ่งสำคัญ คือ คุณภาพ และความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งเคล็ดไม่ลับของการผลิตลูกพันธุ์ปลาช่อนของฟาร์มแห่งนี้ นั่นคือ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อม และสมบูรณ์ที่สุด เพราะจะทำให้ได้ลูกปลาที่สมบูรณ์  แข็งแรงเต็มที่ การเพาะพันธุ์ปลาช่อน การเพาะพันธุ์ปลาช่อน การเพาะพันธุ์ปลาช่อน การเพาะพันธุ์ปลาช่อน

ด้วยเหตุนี้ลูกปลาในแต่ละรุ่น ทางฟาร์มจะแบ่งลูกปลาบางส่วนปล่อยลงบ่อดินเพื่อเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ โดยในระหว่างการเลี้ยงจะมีการดูแลให้อาหารอย่างเต็มที่ พร้อมอาหารเสริมและแร่ธาตุตามที่ปลาต้องการ เมื่อปลาได้อายุ 1 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 0.8-1 กิโลกรัมขึ้นไป จะนำขึ้นมาคัดแยกหาพ่อแม่พันธุ์ที่ทรงสวย แข็งแรง สมบูรณ์ เพื่อทำการผสมพันธุ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เทคนิคในการผสมพันธุ์และผลิตลูกปลาช่อนคุณภาพ

โดยทางฟาร์มมีเทคนิคในการผสมพันธุ์และผลิตลูกปลาช่อนคุณภาพ เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกแม่พันธุ์คุณภาพที่จะต้องมีทรงสวย ตัวป้อม ตัวสั้น ไข่พร้อม ขนาด 0.8-1 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนพ่อพันธุ์จะทรงยาว ตัวเรียวสวย น้ำหนักระหว่างพ่อและแม่พันธุ์ไม่ควรห่างกันเกิน 1-2 ขีด ถึงจะสามารถจับคู่ผสมพันธุ์กันได้ โดยให้พ่อพันธุ์มีความยาวและน้ำหนักมากกว่า

จากนั้นทำการฉีดฮอร์โมนเร่งผสมพันธุ์ แล้วจึงนำปลาทั้งคู่ใส่ลงถังพลาสติกสีดำ ปิดฝาด้วยตาข่ายสีดำทับ 2 ชั้น และรัดด้วยสายยืด ให้ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ปลาทำการผสมพันธุ์ โดยในระหว่างนี้ห้ามเปิดฝาถังเด็ดขาดเพราะจะทำให้ปลาไม่ผสมพันธุ์ โดยแม่ปลา 1 ตัว ทางฟาร์มจะทำการผสมพันธุ์เพียง 2 รุ่น เท่านั้น แล้วจะปลดขายเป็นปลาเนื้อทันที เพราะหากนำมาผสมพันธุ์ต่อก็จะได้ลูกพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ และแม่ปลาก็ให้ไข่ในจำนวนที่น้อยอีกด้วย

เมื่อปล่อยปลาลงถังครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาเพื่อช้อนไข่ปลาไปอนุบาลในบ่อปูนต่อไป ซึ่งแม่พันธุ์ 1 ตัว จะสามารถให้ไข่ได้มากถึง 8,000-10,000 ฟอง แต่เมื่อผ่านการอนุบาลแล้วจะมีอัตราการรอดเพียง 50-60% เท่านั้น เมื่อได้ไข่ปลาแล้วจะต้องนำมาอนุบาลในบ่อปูนต่อ เติมน้ำสูงประมาณ 30 ซม. โดยน้ำที่ใช้จะเป็นน้ำที่ผ่านบ่อพักน้ำมาแล้ว ซึ่งจะมีความสะอาด

นอกจากนี้จะต้องเติมยาฆ่าเชื้อในอ่างอนุบาลด้วย เพื่อฆ่าเชื้อในน้ำที่ยังคงเหลืออยู่ ซึ่งขั้นตอนการทรีตน้ำนั้นจะอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงใส่ไข่ปลาอัตราหนาแน่น 100,000-150,000 ฟอง จะเห็นว่าทางฟาร์มจะอนุบาลลูกปลาค่อนข้างบาง เพื่อให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็ว กินอาหารได้เยอะ

4.การเพาะพันธุ์ปลาช่อน คุณภาพ
4.การเพาะพันธุ์ปลาช่อน คุณภาพ

การให้อาหารลูกปลาช่อน

สำหรับการให้อาหารในช่วงอนุบาล 3 วันแรกหลังจากที่ไข่ออกจากท้องแม่ปลาจะยังไม่ให้อาหาร เพราะลูกปลาจะกินไข่ที่ติดมากับตัว ในช่วงนี้จะมีเมือกปลาลอยขึ้นมาให้ตัก เอาเมือกออกให้มากที่สุด ทำให้น้ำสะอาดที่สุด แต่ยังไม่เปลี่ยนน้ำ พอเข้าวันที่ 4 ทางฟาร์มจะให้ “ลูกไรแดงสด” เป็นอาหารหลัก

โดยจะแบ่งให้หลายมื้อต่อวัน (ให้น้อยแต่ให้บ่อย) เพื่อดูพัฒนาการการกินของลูกปลา ป้องกันอาหารเหลือในบ่อ โดยในบ่อจะมีจุดให้อาหารซึ่งด้านบนจุดจะห้อยหลอดไฟไว้ เพื่อให้ลูกปลามองเห็นอาหารในเวลากลางคืน เนื่องจากโดยธรรมชาติปลาช่อนจะชอบกินอาหารในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน การให้แสงสว่างก็เพื่อให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยทางฟาร์มจะให้ไรแดงสดเป็นอาหารนาน 15 วัน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นไรแช่แข็ง ให้กินต่ออีก 10 กว่าวัน จนครบ 1 เดือน แล้วจึงเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเม็ด ช่วงแรกของการฝึกให้ปลากินอาหารเม็ดจะนำอาหารเม็ดมาคลุกผสมกับไรแดง หรือน้ำไรแดง ปั้นเป็นก้อน แล้วให้ปลากิน

นอกจากเรื่องอาหารแล้ว หลังจากที่เริ่มนำไรน้ำแดงให้ปลากินจะต้องทำการถ่ายน้ำทุกครั้งที่ให้อาหาร เนื่องจากธรรมชาติของปลาช่อนจะกินอาหารที่ลอยน้ำเท่านั้น ดังนั้นเศษอาหารที่ตกอยู่ก้นบ่อจะกลายเป็นของเสียทันที ดังนั้นหลังจากให้อาหารเสร็จจึงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ พร้อมทั้งใส่เกลือช่วยในบางวัน เพราะในช่วงปลาเล็กบางทีจะมีเห็บระฆังติดตัวปลามาด้วย

5.ปลาช่อนพร้อมส่ง
5.ปลาช่อนพร้อมส่ง การเพาะพันธุ์ปลาช่อน การเพาะพันธุ์ปลาช่อน การเพาะพันธุ์ปลาช่อน การเพาะพันธุ์ปลาช่อน

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายลูกปลาช่อน

โดยปัจจุบันทางฟาร์มมีลูกปลาจำหน่ายทั้งหมด 3 ขนาด คือ 1.5 นิ้ว 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว และในอนาคตนอกจาก “ฟาร์มปลาช่อน เจ้าสัว” จะผลิตลูกปลาช่อนคุณภาพจำหน่ายแล้วนั้น ยังมีแผนธุรกิจต่อยอด นั่นคือ ธุรกิจปลาย่างเจ้าสัว โดยใช้วัตถุดิบปลาช่อนจากฟาร์มทั้งหมด

สนใจติดต่อสั่งซื้อลูกพันธุ์ปลาช่อนได้ที่

ฟาร์มปลาช่อน เจ้าสัว คุณชาญวิทย์ ธนะสัมบัญ  หรือคุณอ๊อฟ โทร : 093-052-8424

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 359/2562 การเพาะพันธุ์ปลาช่อน 

โฆษณา
AP Chemical Thailand