รวมข้อดี-ข้อเสีย และเทคนิคการ เลี้ยงปลาช่อน เชิงธุรกิจ ราคาตลาดซื้อค่อนข้างนิ่ง 110-130 บาท/กิโลกรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลาช่อน (อังกฤษ: Common snakehead, Chevron snakehead, Striped snakehead; ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa striata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียว ปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอก หรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยง สีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำ มีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร

โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาชนิดอื่นๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า “ปลาช่อนจำศีล” พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่า และอินโดนีเซีย

นิยมนำมาบริโภคปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งสด และตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อ และกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ

1.พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน เลี้ยงปลาช่อน เชิงธุรกิจ ราคาตลาดซื้อค่อนข้างนิ่ง 110-130 บาท/กิโลกรัม
1.พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน เลี้ยงปลาช่อน เชิงธุรกิจ ราคาตลาดซื้อค่อนข้างนิ่ง 110-130 บาท/กิโลกรัม
2.ผู้ใหญ่พร-สินตรีขันธ์-เพาะเลี้ยงปลาช่อน-จ.พระนครศรีอยุธยา-และครอบครัว
2.ผู้ใหญ่พร-สินตรีขันธ์-เพาะ เลี้ยงปลาช่อน -จ.พระนครศรีอยุธยา-และครอบครัว

การเพาะ เลี้ยงปลาช่อน

ฟาร์มปลาผู้ใหญ่พรเริ่มตั้งแต่เมื่อปี 2521 โดย ผู้ใหญ่พร สินตรีขันธ์ เปิดเผยกับนิตยสารสัตว์น้ำว่า เมื่อก่อนตนเป็นชาวนา ไม่ได้เลี้ยงปลา แต่สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรปลาในธรรมชาติจากเด็กจนโต พบว่าปลาลดน้อยลงไปทุกวัน และเมื่อมองถึงการเลี้ยงปลาอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปลาในธรรมชาติลดลง

แรกเริ่มได้ศึกษาความรู้มาจากศูนย์ศีลปาชีพบางไทรรุ่นที่ 2 และศึกษาเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับ อาจารย์มานพ ตั้งตรงไพโรจน์ นักวิชาการประมง แล้วออกมาทำเองแบบผิดๆ ถูกๆ อาจารย์ก็ตามมาให้ข้อมูลจนประสบความสำเร็จขึ้นมา เมื่อได้เลี้ยงจริงก็ประสบปัญหาการขาดทุน เพราะไม่เข้าใจเรื่องของการเลี้ยง ไม่รู้ว่าจะให้อะไรเป็นอาหาร ซื้ออาหารเม็ดก็เพิ่มต้นทุน ทำให้ขาดทุน

ทำให้เกิดเป็นความคิดที่ว่า “เราต้องเพาะพันธุ์ปลา”เพื่อที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนในเรื่องของลูกพันธุ์ได้ จึงทำมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ โดยเริ่มเพาะพันธุ์จากลูกปลาตะเพียนยี่สก นวลจันทร์ ปลาจีน ปลานิล ทับทิม และสุดท้ายที่เพิ่งเริ่มเพาะพันธุ์ได้ไม่นานคือ “ปลาช่อน” นั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พื้นที่ที่เลี้ยงมีทั้งหมดประมาณ 50 ไร่ แบ่งเป็นปลาช่อน 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลือ 8ไร่ อนุบาลปลาตะเพียน ปลายี่สก ส่วนปลานิลและปลาทับทิมประมาณ 20 ไร่

3.คุณสุฑิพงศ์-สินตรีขันธ์-ทดลองเลี้ยงปลาช่อน
3.คุณสุฑิพงศ์-สินตรีขันธ์-ทดลอง เลี้ยงปลาช่อน

ข้อดี-ข้อเสียของการ เลี้ยงปลาช่อน

ในเรื่องของปลาช่อน คุณสุฑิพงศ์ สินตรีขันธ์ ลูกชายของผู้ใหญ่พร กล่าวว่า ตนมีโอกาสไปส่งปลาทราบว่าเกษตรกรคุยกันเรื่องลูกพันธุ์ปลาช่อนราคาสูง จึงกลับมาหาข้อมูลก็พบว่าราคาดีจริง บวกกับลูกพันธุ์ขาดตลาด จึงไปศึกษาดูว่าที่ไหนพอจะให้ความรู้ได้บ้าง

โดยเริ่มเข้าอบรมการเพาะพันธุ์กับประมงบางไทร รุ่น 1 นำโดย ผอ.วินัย จั่นทับทิม และคณะ จากการนำลูกพันธุ์มาอนุบาลก่อนเพื่อดูว่ารอดหรือไม่ ให้อาหารเม็ดว่ากินไหม พอผ่านกระบวนการเรียนรู้ครบ ก็จะรู้วิธีการทั้งหมด ก่อนหน้านี้ทำการทดลองเลี้ยงทั้งหมด 3 รูปแบบ

  1. เลี้ยงปลาช่อน ในกระชัง มีข้อดี คือ สามารถลงลูกปลาได้หลายๆ รุ่น เนื่องจากสามารถแยกกระชังได้ ซึ่งลักษณะนิสัยของปลาช่อนจะมีการกินกันเอง หากเกิดการแตกไซส์ แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าหากในบ่อมีปลาใหญ่แล้วกะชังรั่ว จะเป็นปัญหาทำให้ลูกปลาหลุดออกไปเป็นเหยื่อของปลาใหญ่

2. เลี้ยงปลาช่อน ในบ่อปูน ข้อดี คือ น้ำจะใสเห็นตัวปลา สามารถรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ดูแลง่าย แต่ข้อเสีย คือ น้ำต้องถ่ายตลอดเวลาเพื่อให้มีการหมุนเวียน ซึ่งไม่เหมือนบ่อใหญ่ที่น้ำมีการไหลเวียนตลอด

3. เลี้ยงปลาช่อน ในบ่อดิน ข้อดี คือ อาหารในธรรมชาติมีมาก ปลาโตเร็ว แต่ปลาช่อนสามารถคุดหนีเวลาพาลออกจากบ่อ เสี่ยงต่อการสูญเสียมาก หากไม่มีระบบการจัดการบ่อที่ดี

4.บ่อพ่อแม่พันธุ์
4.บ่อพ่อแม่พันธุ์

การจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน

วิธีคัดพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนที่ดี สำคัญที่อายุ จะเลือกตัวที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป จนถึง 1 ปี ถึงปีกว่า และควรเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย หรือเลือกไข่ย้อยๆ ส่วนพ่อพันธุ์จะเลือกตัวที่ลักษณะทรงดี ไม่ควรเลือกปลาลักษณะที่มีรูปร่างอ้วน หรือผอม เกินไป แม่พันธุ์ปลา 1 ตัว จะใช้ประมาณ 3-4 รอบต่อปี ใช้เพียงแค่ประมาณ 1.5-2 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผสมพันธุ์และการฟักไข่

การผสมพันธุ์และการฟักไข่ โดยการจับคู่ 1:1 ฉีดน้ำเชื้อเข้าไปเพื่อเป็นการเร่งปฏิกิริยาของปลาให้ผสมพันธุ์กัน ระยะเวลาการผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 24 ชม. ปลาก็จะเริ่มวางไข่ เมื่อวางไข่เสร็จเราจะนำลูกปลาไปอนุบาลในกรวยเพาะฟัก

เนื่องจากที่บ่อกรวยเพาะฟักมีระบบน้ำมันหมุนวน แต่ปลาช่อนจะเป็นลักษณะหมุนวนแล้วไม่ต้องใช้ออกซิเจน ใช้น้ำเป็นตัวเติมออกซิเจนให้แทน ซึ่งไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง

5.อาหารพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
5.อาหารพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
อาหารลูกพันธุ์ปลาช่อน
อาหารลูกพันธุ์ปลาช่อน
กรวยเพาะฟัก
กรวยเพาะฟัก

การให้อาหารลูกปลาช่อน

การอนุบาลลูกปลา ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดง สีเหลืองใส ปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2-3วัน จึงพลิกกลับตัวลง และว่ายไปมาตามปกติ โดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบก็ฝึกให้อาหารเสริม

ตอนเล็กเราให้กินลูกไรดี พอถึงเวลาเราก็เอาปลาป่นผสมลูกไรลงไป ได้ไซส์ขนาดสักนิ้วครึ่ง ถึงสองนิ้ว เราก็ให้อาหารเม็ดเล็กพิเศษให้ต่อเนื่องไปสัก 3-4 วัน มันก็จะกินทั้งหมด ให้วันละ 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น การให้อาหารจะค่อยๆ หว่าน พอหมดค่อยให้ใหม่ ปลาช่อนต้องการโปรตีน 40%

ระยะเวลาของการเพาะเลี้ยง

ระยะเวลาของการเพาะเลี้ยง เริ่มจากไข่นำมาฟักในกรวยเพาะฟัก 5-6 วัน ให้ได้ขนาด หลังจากนั้นลงบ่อดินอีก 15-20 วัน แล้วก็นำขึ้นมาให้อาหารเม็ดก็ขายได้แล้ว สำหรับคนที่ต้องการไซส์เล็ก ไซส์ประมาณ 2 นิ้ว ถ้า 3 นิ้ว ต้องอนุบาลต่อจนครบ 1-1.5 เดือน และจะมีอัตรารอดอยู่ที่ 60-70%

ขั้นตอนการเตรียมบ่อ

ขั้นตอนการเตรียมบ่อ ที่ฟาร์มจะเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1-1.5 ไร่ แล้วจะเตรียมไรแดงไว้ให้ โดยการทำน้ำเขียวประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงปล่อยลูกปลาลงไป อัตราการปล่อยต่อไร่ในบ่อดิน 2-3 หมื่นตัวต่อไร่ ปลาช่อนจำเป็นต้องคลุมตาข่ายดักนกอย่างดี เพราะปลาช่อนจะมีลักษณะนิสัยลอยอยู่บนผิวน้ำ นกจะเห็นได้ง่าย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก และจะเจออีกหนึ่งปัญหาเมื่อปลาโตแล้ว คือ ตัวเงินตัวทอง เป็นศัตรูตัวฉกาจของบ่อเลี้ยง 

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ลูกพันธุ์ปลาช่อนเตรียมขาย
6.ลูกพันธุ์ปลาช่อนเตรียมขาย

มุมมองการ เลี้ยงปลาช่อน ในปัจจุบัน

คุณสุฑิพงศ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลาช่อนเป็นปลาพื้นบ้านของไทยมานาน และการทำอาหารก็ต้องมีปลาช่อน ยังไงตลาดก็ไม่น่าเจอทางตัน เพราะเมื่อดูแต่ละร้านอาหารยังไงก็มีเมนูปลาช่อน และราคาค่อนข้างนิ่งพอสมควร ปลาใหญ่ราคากิโลกรัมละ110-130 บาท ซึ่งเป็นไซส์ที่ตลาดต้องการ จะใช้ระยะเวลาเลี้ยง 7 เดือนขึ้นไป มีน้ำหนักต่อตัว 700 กรัม ถึง 1,000 กรัมขึ้นไป

วิธีแก้ปัญหาการแตกไซส์

ส่วนวิธีแก้ปัญหาการแตกไซส์ คือ จะซาวตอน 4 เดือน แล้วนำมาคัดไซส์ แล้วแยกบ่อ พอนำไปเลี้ยงต่ออีก 3-4 เดือน ก็จับได้ หรือหากใครที่ต้องการขายไซส์ปลาเค็มก็ใช้เวลา 3-4 เดือน เท่านั้น

โรคของปลา

คุณสุฑิพงศ์กล่าวทิ้งท้ายว่า โรคของปลาตอนนี้ยังไม่เจอ แต่ถ้าหากพบก็เตรียมป้องกันไว้แล้ว แต่ที่สำคัญ คือ เรื่องของเสียก้นบ่อ ถ้าเราใส่จุลินทรีย์บำบัดไว้เรื่อยๆ ของเสียไม่ตกค้าง ไม่เน่ามาก เรื่องเชื้อโรคก็ไม่ค่อยมี อีกเรื่องที่สำคัญ คือ เรื่องของการตากบ่อ ต้องตากให้แห้ง โดยใช้ปูนขาวหว่าน เตรียมน้ำ เตรียมบ่อ อีกที

เน้นที่ปลาใหญ่ต้องเอาออกให้หมดบ่อ เรื่องกันนก และปลาใหญ่ ที่จะหลุดลงไปสำคัญ แล้วจะมีปัญหากับตัวเงินตัวทอง และการขึงมุ้งเขียวข้างบ่อรอบๆ ถ้าขึงได้จะดี เลี้ยงปลาช่อน เนื้อต้องมีความสูง 50-80 ซม.

7.ลูกพันธุ์ปลาช่อน
7.ลูกพันธุ์ปลาช่อน
ลูกพันธุ์ปลานิล
ลูกพันธุ์ปลานิล

การจำหน่ายลูกพันธุ์ปลาช่อน และปลาชนิดอื่นๆ

ฟาร์มปลาผู้ใหญ่พรมั่นใจได้ว่าเน้นการเพาะพันธุ์ และผลิตลูกปลาที่มีคุณภาพ สุดท้ายนี้ทีมงานต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ผู้ใหญ่พร และ คุณสุฑิพงษ์ ที่ให้ข้อมูล และให้เยี่ยมชมฟาร์ม เกษตรกรท่านใดสนใจลูกพันธุ์ปลาช่อน และปลาชนิดอื่นๆ

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสุฑิพงษ์ สินตรีขันธ์ ฟาร์มปลาผู้ใหญ่พร 14 หมู่ 1 ต.มารวิชัย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13110 หรือสามารถโทรสอบถามได้โดยตรงที่ 095-607-5689, 094-006-8548, 087-647-9699

โฆษณา
AP Chemical Thailand