ญี่ปุ่นหนุนปลากะพงไทย เป็นเมนูจานโปรด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลาเนื้อขาวที่ชื่อ กะพงขาว มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ เนื้อแน่น และมี โอเมก้า 3 สูง จึงเป็นปลาสุขภาพสำหรับคนทุกวัย มีการพัฒนาพันธุ์ให้เลี้ยงได้ ทั้งน้ำเค็ม น้ำกร่อย และ น้ำจืด เป็นปลา 3 น้ำ ที่เหมาะแก่การเลี้ยงเป็นธุรกิจ

ขณะนี้เป็นปลาอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ เพราะมีการพัฒนาตั้งแต่ พันธุกรรม อาหาร รูปแบบการเลี้ยงหลากหลายไซซ์ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเอเชียและยุโรป ยอมรับปลากะพงว่าเป็นปลาสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ที่นิยมกินปลาเป็นอาหารหลัก ได้ให้ความสำคัญกับปลากะพงขาวเป็นพิเศษ

1.ปลากะพง01

การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ดังนั้น คณะวิจัยญี่ปุ่น ได้จับมือกับ คณะวิจัยไทย ทำงานร่วมกัน ภายใต้ “โครงการการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมท้องถิ่นของประเทศไทย เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพื้นถิ่นสู่ตลาดโลก” (Utilization of Thailand Local Genetic Resources to Develop Novel Farmed Fish for Global Market) ที่มี องค์กรความร่วมมือด้านงานวิจัย ผ่าน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) และ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น (JST) ระยะเวลา 6 ปี (2562-2568) โดยมี “กรมประมง” ของไทย เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน เพื่อยกระดับการเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ของพันธุ์พื้นเมืองของไทย ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพทางพันธุกรรม การอนุรักษ์ทรัพยากร พันธุกรรม การพัฒนาเทคนิคการป้องกันโรค และการพัฒนาเพิ่มมูลค่าปลากะพงขาวของไทย

มีการประชุม Group Leaders Meeting of Thai Fish Project ครั้งที่ 8 ที่กรมประมง เมื่อวันที่ 13 เดือน ธันวาคม 2566 โดยมี นายประพันธ์ ลีปายคุณ รองอธิบดี เจ้าภาพ เปิดการประชุม ฝ่ายญี่ปุ่น ได้แก่ Mr. Kazuya Suzuki ผู้แทน JICA ประเทศไทย ศ.IKUO  HIRONO หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยโตเกียว (TUMSAT) และคณะนักวิจัย ทั้ง 2 ประเทศ ร่วมประชุม

ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยจากโครงการไทยฟิชโปรเจค เช่น การใช้ สาหร่ายทะเลขนาดเล็ก (SCHIZOCHYTRIUM SP.) เป็นอาหารเสริมปลากะพง และไฮไลท์พิเศษในงาน คือ ร่วมกันชิมเมนูปลากะพง รสชาติสดๆ ที่ผ่านการเพาะเลี้ยงจากโครงการวิจัยที่โดดเด่นด้าน DHA ที่สูงขึ้น

หลังโครงการเสร็จ กรมประมงจะนำ องค์ความรู้ ทั้งหมด มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเกษตรกรให้ผลิตปลากะพงขาวพรีเมียมป้อนตลาดโลก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ปลากะพง02

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายปลากะพง

สำหรับเกษตรกรส่วนหนึ่งยังยืนหยัดเลี้ยงด้วยความจำเป็น และบางคนก็เดินหน้าแปลงวิกฤตเป็นโอกาส ผู้นำพยายามจะปลุกวงการให้สู้ เช่น คุณสุทธิ มะหะเลา หรือ คุณเค นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย ที่มีสมาชิก 300 คน ได้ประชุมกับ คณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ ที่มี นายศักดินัย นุ่มหนู เป็นประธาน เพื่อจะเรียนให้ทราบว่าวงการปลากะพงอย่างน้อย 2 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ และ ฉะเชิงเทรา เดือดร้อน เพราะปลากะพงราคาถูกจากมาเลเซียมาแชร์ตลาด

ซึ่งผู้ใหญ่นรินทร์ แพปลากะพงขาว เปิดเผยว่า ต้นทุนไซซ์ที่ตลาดต้องการ กก.ละ 105 บาท พอปลาจากต่างประเทศเข้ามา กก.ละ 90 บาท ก็ต้องลดราคาลงมาจนขาดทุน ก็ต้องขาย เพื่อนำเงินมาเลี้ยงปลาที่เหลือในบ่อ ปลาโตขึ้น กก.กว่าๆ เกินไซซ์ที่ตลาดต้องการ เป็นปลาห้องเย็น เข้าแล่เนื้อทำผลิตภัณฑ์ซึ่งส่งต่างประเทศ ตลาดมีจำกัด

ดังนั้นรัฐควรตั้งกองทุนช่วยห้องเย็นให้รับซื้อปลาจากเกษตรกรในราคาที่ไม่ขาดทุน อยู่รอดทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนี้จะต้องเบรคปลานอกมิให้เข้ามา ผู้ผลิตและผู้ซื้อสามารถวางแผนร่วมกัน ได้ “เราวางแผนได้ว่าจะตัดปลาเล็กก่อน เมื่อปลาไซซ์เกิดขึ้นเหมือน 6-7 ปีก่อน ปลานิ่ง สมาคมก็ทำงานได้ตลอด แต่เกิดปรากฏการณ์ปลาต่างประเทศเข้ามาราคาถูก เราก็ต้องดั๊มราคาลง ถ้าเราเบรคให้เข้ามาน้อยลง หรือไม่ให้เข้ามา ของเราก็จะปกติ” ผู้ใหญ่นรินทร์ ยืนยัน ต่างจาก 7 ปีที่แล้ว แม้นำเข้ามาไม่มาก และราคาก็สูงกว่า จึงไม่กระทบต่อเกษตรกร

3.ปลากะพง03

ปัญหาและอุปสรรคด้านการส่งออกปลากะพง

คุณธนพล แย้มเกสร กรรมการสมาคมด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการตลาดโมเดิร์นเทรด ให้ความเห็นว่า กรมประมงออกมาตรฐานฟาร์ม GAP ปลากะพง เป็นเรื่องดี แต่เมื่อต้องแข่งขันด้านราคากับปลานำเข้าที่ไม่มาตรฐาน ต้นทุนต่ำกว่า และเป็นปลาไม่ปลอดสาร ราคาถูกกว่า จึงเป็นปัญหาปลากะพงไทยมาตรฐาน GAP และถ้าเราจะส่งออกก็มีปัญหามากมาย

“ปลากะพงเวลาเราจะส่งออกยังไม่รู้ว่าส่งที่ไหน และเกษตรกรตรวจยา ตรวจทุกอย่าง ค่าใช้จ่ายเป็นของเราทั้งหมด ถ้าส่งไปจีนต้องได้ใบรับรอง ทั้งไทยและจีน แต่เวลาของมาเลเซียเข้ามาใช้เงินไทยในการตรวจสอบ กรมประมงบ้านเรางบฯ ไม่พอที่จะตรวจ 100%” คุณเค ให้ความเห็นถึงจุดอ่อนของส่วนราชการไทย

ซึ่งเรื่องนี้คุณธนพลย้ำว่า ก่อนส่งออกฟาร์มเลี้ยงต้องขออนุญาต ต้องผ่าน GAP 1 ปี ตรวจยาสารตกค้าง 5 ครั้ง ถ้าเกิน 5 ครั้ง ต้องนับ 1 ใหม่ ต่างจากปลาต่างประเทศแรนด้อม ตรวจเจอยังไม่หยุด ครั้ง 2 ต้องปล่อยให้ผ่านเข้ามาก่อน ถึงจะเก็บตัวอย่างตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ของเราตรวจ 1 ตัวอย่าง 1 สินค้า ค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เราทำเอกสารส่งออก ตรวจครั้งแรกใบอนุญาตเราถูกเปิดเลย แต่กติกานำเข้าดูครั้งที่ 1 ถึงนำได้อยู่ และครั้งที่ 2 ถ้าเจออีกโดนพัก 14 วัน แต่นำเข้ามาได้ เขาฉลาด ปีนี้เจอ 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เปลี่ยนชื่อส่ง แต่เกษตรกรไทยถ้าส่งออกเจอครั้งแรกส่งเอกสารโดนล็อคเลย ส่งออกไม่ได้แล้ว จึงต้องมีคณะกรรมาธิการเข้ามาช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ให้เรา” คุณเค ให้ความเห็นเพิ่มเติม

ต้องยอมรับความจริงว่า คนไทยที่บริโภคปลากะพงในห้างโมเดิร์นเทรดดังๆ เวลานี้กินปลากะพงคุณภาพต่ำที่นำเข้าและราคาถูก แต่ห้างขายในราคาต่ำกว่าปลา GAP คุณภาพของไทย ผู้บริโภคกินของถูก นึกว่าปลาคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณธนพลยอมรับว่าน่ากลัวมาก เพราะผู้บริโภคไม่รู้ ดังนั้นคุณเคต้องการให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนฟาร์มกับกรมประมง จะได้ใบทะเบียน (FMD) เป็นหลักฐาน ไม่ต้องกลัวเสียภาษี เพราะไม่มาก

ที่สำคัญสมาคมต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งบอร์ดปลา หรือ ฟิชบอร์ด “ต้องทำ ไม่งั้นไม่ยุติธรรมสำหรับพวกเรา ในเมื่อมีองค์กรเฉพาะของกุ้ง ก็ต้องมีองค์กรเฉพาะของปลา” คุณเค ให้ความเห็น และปัญหาทุกอย่างจะแก้ได้ เพราะตัวแทนเกษตรกรอยู่ในบอร์ดนั่นเอง ถ้ารัฐแก้ปัญหาดังกล่าวได้ทั้งหมด ปลากะพงไทยจะอยู่รอด โอกาสเปิดตลาดต่างประเทศมีสูง เพราะมีทั้งกะพงแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ปลากะพง ปลาทุกไซซ์จะมีราคา เพราะ “คุณภาพ” เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่การผลิต

4.ปลากะพง04

การแปรรูปปลากะพงขาว

ตัวอย่าง ขาวผ่องฟาร์ม ฉะเชิงเทรา เกิดจากฟาร์มเลี้ยงปลากะพงขาว โดย คุณประโยชน์ โสรัจจกิจ คนดังเมืองแปดริ้ว ที่ใช้ฝีมือการเลี้ยงปลากะพงยักษ์ให้ได้คุณภาพ พร้อมๆ กับเกษตรกรลูกข่ายหลายฟาร์ม เมื่อได้ปลาจำนวนหนึ่งก็ตัดสินใจลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปอยู่ในฟาร์มเลี้ยง ในนาม บริษัท ขาวผ่องฟาร์ม จำกัด จดทะเบียน 26 ม.ค. 65 ที่ ต.ท่าพลับ ต.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อนำปลานิลยักษ์ขนาด 5 กก./ตัวขึ้นไป มาแปรรูปตัดแต่งเนื้อปลา แล่หั่นชิ้นปลา ให้มีขนาดใกล้เคียงกันทุกชิ้น ภายใต้มาตรฐาน GHPS และ HACCP ที่โลกยอมรับ

โดยถ่ายทอดองค์ความรู้จาก คุณนิรันดร์ แสงสุขเอี่ยม บริษัท ศิริคุณ ซีฟูดส์ จำกัด ซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญของ บริษัท ขาวผ่องฟาร์ม จำกัด ผลิตภัณฑ์ขาวผ่องโกอินเตอร์หลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชีย ส่วนตลาดในประเทศกระจายอยู่ในโมเดิร์นเทรด และตลาดสด เป็นต้น หลายแห่ง

จึงเป็นไปได้ว่า ศักราช 2567 เมื่อไจก้า กรมประมง ห้องเย็น ผู้แปรรูป และอีกหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน เข้ามาร่วมพัฒนา เช่น คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ที่มีนวัตกรรม “โอโซน” รักษาคุณภาพ ปลาทะเลและกุ้ง ปลากะพงขาว น่าจะขยับตัวเป็นปลาเศรษฐกิจ มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 412