“ อะเมซอน ” หนุนเกษตรกรเพาะพันธุ์ “กะพงทอง” แนะใช้เครื่องตีน้ำประสิทธิภาพ เพิ่มออกซิเจนสูง FCR ต่ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเพาะเลี้ยง  “กะพงสีทอง”  ถือเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก  สามารถสร้างรายได้ โกยกำไรให้ผลตอบแทนได้ดี ปัจจุบัน บริษัท อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอาหารปลากะพงคุณภาพ ได้สร้างตลาดปลากะพงสีทอง ซึ่งมีจุดเด่นที่หนังปลาจะมีสีเหลืองทอง เนื้อปลาแน่น ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ สีที่ดูพรีเมียมจำหน่ายขึ้นห้างสรรพสินค้าได้ดี และส่งออกขายต่างประเทศได้ราคาที่สูงกว่า

1.คุณพงศกร หน่อคำ (แจ๊ค) ผู้จัดการฟาร์ม
1.คุณพงศกร หน่อคำ (แจ๊ค) ผู้จัดการฟาร์ม

เทคนิคการเลี้ยงปลากะพง

“ปลากะพงสีทอง” เกิดจากการคัดเลือกลูกปลา และนำมาปรับปรุงพันธุ์ โดยหากต้องการให้ได้ปลากะพงสีทอง 100%  เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องใช้ระยะเวลาเพาะเลี้ยงจำนวน 3 รุ่น ราวๆ 10 ปี อย่างไรก็ตาม  ย่อมต้องคุ้มค่ากับการรอคอยอย่างแน่นอน ทั้งนี้การลี้ยงปลากะพง โดยเทคนิคและวิธีการเลี้ยงนั้น หัวใจสำคัญมีอยู่ 4-5 ปัจจัย ได้แก่ พันธุ์ลูกปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา การบริหารจัดการว่าด้วยเรื่องของระบบน้ำ และความเอาใจใส่ของเจ้าของฟาร์มผู้เลี้ยง ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายและผลตอบแทนที่ตั้งไว้

บริษัท อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอาหารปลากะพงรายใหญ่ รวมไปถึงจำหน่ายอุปกรณ์ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ใช้ในฟาร์มสัตว์น้ำ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเพาะเลี้ยงปลากะพงสีทอง เพื่อให้ลูกค้าหรือเกษตรกรประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยง เก็บเกี่ยวผลผลิตในการเลี้ยงแต่ละรุ่น ได้ค่า FCR ที่ต่ำ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นในการประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลากะพง ส่งขายตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณพงศกร หน่อคำ (แจ๊ค) ผู้จัดการฟาร์ม ซึ่งให้ข้อมูลแบบ Inside ของบ่อตัวอย่างที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงปลากะพงสีทอง ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของ “อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล” โดยได้เปิดเผยข้อมูลว่า ทางผู้บริหาร คุณเอเดอมอนด์ ไล่ ซึ่งเป็นชาวไต้หวัน ได้ให้ความสำคัญ และผลักดันให้เกษตรกรไทยปรับปรุงการเลี้ยงปลากะพง รวมไปถึงลดและย่นระยะเวลาการเลี้ยงแต่ละรุ่นให้น้อยลง

สำหรับบ่อเลี้ยงปลากะพงดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม มีการขุดบ่อเลี้ยงปลากะพงจำนวน 15 บ่อ บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ โดยจำแนกเป็นบ่ออนุบาลลูกปลา, บ่ออนุบาลลูกปลาในกระชัง และ บ่อพ่อแม่พันธุ์ ฯลฯ โดยเลี้ยงปลากะพงปริมาณ 10,000 ตัว/ไร่ ระยะเวลาการเลี้ยงทั้งหมด ตั้งแต่อนุบาลลูกปลาไปจนถึงจับขายประมาณ 165 วัน โดยจับขายที่ไซส์หรือขนาดเฉลี่ย 8-9 ขีด/ตัว

2.เนื้อปลาคุณภาพ เนื้อแน่น สีเหลืองทองสวย
2.เนื้อปลาคุณภาพ เนื้อแน่น สีเหลืองทองสวย

การเพาะพันธุ์ปลากะพง

สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการเพาะเลี้ยงกะพงทอง คุณแจ๊คกล่าวว่า ทำมาแล้วร่วม 4-5 ปี โดยใช้วิธีการเสาะแสวงหาซื้อลูกพันธุ์จากแหล่งจำหน่ายต่างๆ โดยคัดเลือกตัวที่มีลักษณะสีผิวเป็นสีทอง หรือสีเกล็ดมีสีทอง เพื่อเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และใช้เพาะพันธุ์ลูกปลาในอนาคตต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เราเริ่มคัดแยกโดยสังเกตจากลูกพันธุ์จะต้องมียีนของสีทองอยู่บ้าง คือ จะต้องมีการเพาะพันธุ์มาเรื่อยๆ สมมติว่า ใน 1 ล้านตัว จะเจอลูกปลาสีทองประมาณ 1,000 ตัว เราก็ต้องคัดเก็บไว้ และเลี้ยงไปอีกประมาณ 3-4 ปี ให้กลายเป็นพ่อแม่พันธุ์พร้อมที่จะผสมให้ออกลูกมา โดยจะต้องใช้วิธีคัดเลือกแบบนี้ทั้งหมด 3 รุ่น จึงจะได้สายพันธุ์ปลากะพงสีทองตามที่ต้องการ

จริงๆ แล้ว ปัจจัยหรือตัวแปรสำคัญที่จะสามารถกำหนดในการได้มาซึ่งปลากะพงสีทอง และแข็งแรงสมบูรณ์ โดนใจตามความต้องการของผู้เลี้ยงนั้น มีอยู่ไม่มาก และเป็นเคล็ดไม่ลับ โดยเรื่องของสูตรอาหารนั้นมาวินเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งการเลือกใช้อาหารปลาของ Uni-President ยูนิ-เพรสซิเดนท์ จะช่วยทำให้ปลากินเก่ง แข็งแรง เติบโตดี อัตราแลกเนื้อเป็นที่ต้องการของพ่อค้า และตลาด โดยคุณแจ๊คเผยว่า จากการสำรวจลูกค้าของ Uni-President ยูนิ-เพรสซิเดนท์ ที่เลี้ยงปลากะพง และให้อาหารประมาณ 90% จะเลี้ยงได้ปลากะพงเป็นสีทอง

3.ลูกปลากะพง
3.ลูกปลากะพง

จุดเด่นของลูกปลาของ “อะเมซอน กรุ๊ป” โดยใช้อาหารของ “ยูนิ-เพรสซิเดนท์”

-ผ่านการคัดเลือกจากฟาร์มที่มีมาตรฐานและมีชื่อเสียงมายาวนาน ก่อนรับลูกปลาก็มีส่งตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโรค ถ้าหากเจอเชื้อโรคหรือไวรัส ฟาร์มจะไม่รับ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงภายหลัง

-ฟาร์มรับลูกปลาตั้งแต่ Size ขนาดเซนติเมตร เพื่อนำมาอนุบาล ทำให้สามารถควบคุมแหล่งเชื้อที่ไม่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ในตัวลูกปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

-ระบบอนุบาลปลาของฟาร์ม มีการฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าลูกพันธุ์ดี ลูกปลาก็จะเติบโตเร็ว ได้ไซส์สม่ำเสมอ เมื่อนำไปเลี้ยงอัตรารอดก็จะสูง

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลากะพง ภายใต้แบรนด์ของ  Uni-President ยูนิ-เพรสซิเดนท์  จะมีโปรตีน 44-43% ขึ้นไปทุกเบอร์ โดยประโยชน์และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร มีจุลินทรีย์ที่ช่วยในระบบการย่อยสลาย ใช้ปลาป่นคุณภาพจากประเทศชิลี พิสูจน์แล้ว FCR 1.15-1.2 จริง มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับการตรวจสอบจากกรมประมง เนื้อปลาคุณภาพ เนื้อแน่น หนังเหนียว เกล็ดแข็งแรง ไม่หลุดง่าย ปลามีสีเหลืองทองสวย ตลาดต้องการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.บ่อเลี้ยงปลากะพง
4.บ่อเลี้ยงปลากะพง

เครื่องตีน้ำอะเมซอน หมุนแรง-รอบจัด ผู้ช่วยยุคใหม่ เข้าใจเจ้าของฟาร์มสัตว์น้ำ

ด้านการบริหารจัดการบ่อเลี้ยงปลากะพง คุณแจ๊คกล่าวว่า ฟาร์มให้ความสำคัญเรื่องการจัดการปริมาณการปล่อยปลาลงบ่อ เพราะเมื่อปลาหนาแน่นขึ้น ก็ต้องใช้ออกซิเจนเยอะขึ้น โดยเรื่องของการเติมอากาศ หรือออกซิเจนในบ่อ ทางฟาร์มเลือกใช้เครื่องตีน้ำของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ใช้งานง่าย สะดวก ลดต้นทุนค่าไฟ ทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีปัญหาบ่อย ไม่ซ่อมจุกจิก

โดยทางฟาร์มมีติดตั้งเครื่องตีน้ำตัวใบพัด 4 ใบพัด กำลังแรง 1.75 กิโลวัตต์ เป็นใบพัดรอบเร็ว 110 รอบ/นาที กล่าวคือ ใช้พลังงานไม่มาก แต่สามารถสร้างออกซิเจนได้สูง ซึ่งใบพัดตัวนี้กินไฟน้อยมาก เพราะจุดต่อหรือระบบติดตั้งไม่เยอะ ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งไม่มีปัญหาเรื่องการบำรุงรักษา โดยผ่านการใช้งานมา 4 ปี ค่าบำรุงรักษาจะมีแค่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกๆ 6 เดือน ส่วนมอเตอร์ และส่วนอื่นๆ ยังใช้งานได้อีกยาวนาน โดย 1 ไร่ ทางฟาร์มใช้เครื่องตีน้ำจำนวน 2 ตัว (หรือ 8 พัด) สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด คือ ใช้ใบพัดน้อยลง แต่ได้อัตราการหมุนเยอะขึ้น และได้ออกซิเจนที่เยอะขึ้น

นอกจากนี้ ในเรื่องการบำรุงและบำบัดน้ำ ยังไม่จบเพียงแค่การใช้เครื่องตีน้ำเพียงเท่านั้น โดยฟาร์มมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ บำบัดและปรับสภาพน้ำอยู่เสมอ โดยการใช้  “จุลินทรีย์” ภายใต้แบรนด์ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล มาช่วยในการบำบัดน้ำ

โดย คุณแจ๊คกล่าวเสริมว่า พอเราเลี้ยงปลาหนาแน่น อาหารที่เราให้ปลาก็จะมีปริมาณเยอะ ถ้าเราไม่นำออก มันจะตกค้างอยู่ในบ่อ ทำให้ปลาป่วยและตายง่าย และทำให้น้ำเน่าเสียเร็ว โดยเราจึงนำจุลินทรีย์ดังกล่าวลงไปย่อยของเสียก้นบ่อ โดยจุลินทรีย์ดังกล่าวจะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนของเสียให้เป็นไปในรูปแบบที่ไม่เป็นพิษและไม่เป็นอันตรายกับปลาหรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้

“จุลินทรีย์บำบัดน้ำตัวนี้ ค้นพบโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ต่อมานำหัวเชื้อไปขยายในประเทศเวียดนาม ซึ่งก็คือ แลปของ uni President ซึ่งจุลินทรีย์ตัวนี้ขายดีมาก ผลิตเยอะมาก จุลินทรีย์ตัวนี้ใช้บำบัดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงขยายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งที่ฟาร์มของเรามีห้องแลปเพื่อศึกษาวิจัยและผลิต และนำมาขยายใช้ทดสอบในบ่อของเราก่อน แล้วจึงทำการตลาดวางจำหน่ายให้กับลูกค้าที่สนใจ”

นอกจากนี้ทางฟาร์มได้เคยทดสอบ โดยนำเอาจุลินทรีย์ตัวอื่นมาทดลองเปรียบเทียบ ซึ่งของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จะเปลี่ยนของเสียได้เร็วกว่ายี่ห้ออื่น โดยเห็นผลภายใน 3 วัน จะสังเกตว่า ของเสียหรือพวกแอมโมเนียในบ่อเลี้ยงปลาจะลดลง และไม่มีผลเสียต่อปลาที่เลี้ยงอย่างที่กล่าวไป โดยจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทุกสภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย และทุกสภาพแวดล้อม หรือกล่าวคือ สภาพน้ำไม่มีผลทำให้ลดประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ตัวนี้ลดลงแต่อย่างใด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อัตราส่วนในการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำ

-อัตราส่วนที่แนะนำ คือ 10 ลิตร/ไร่

-ใส่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็เพียงพอ แต่ถ้าต้องการจะปรับสภาพน้ำแก้ไขแบบฉับพลัน ปริมาณการใส่ก็จะอยู่ที่ 20 ลิตร/ไร่ (โดยประมาณ) หรือเพิ่มความถี่ใส่ประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์

-ใช้จุลินทรีย์ควบคู่กับเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คุณแจ๊คกล่าวโดยสรุปถึงวิธีการใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่เป็นหัวใจสำคัญในการเลี้ยงปลากะพงให้ประสบผลสำเร็จในยุคปัจจุบัน ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงควรปฏิบัติตาม และจะขาดเสียมิได้ ได้แก่ เครื่องตีน้ำ ที่ได้มาตรฐานและประสิทธิภาพสูง ยกตัวอย่าง เครื่องตีน้ำของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล เกษตรกรผู้ใช้งานจะหมดปัญหาเรื่องการจัดการที่จุกจิก แถมยังเพิ่มออกซิเจนได้สูง รอบตีเร็ว 110 รอบ/นาที โดยเครื่องตีน้ำดีจะส่งผลให้ออกซิเจนดี มีเพียงพอต่อปลา ปลากินอาหารได้เยอะขึ้น เติบโตเร็ว ออกซิเจนในน้ำจะช่วยทำให้ของเสียในน้ำไม่เป็นพิษต่อปลาอีกด้วย

จุลินทรีย์ช่วยแก้ไขบำบัดน้ำ ช่วยเปลี่ยนของเสียที่เป็นพิษกับปลาให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษกับปลา และลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เครื่องให้อาหารออโต้ฟีด จะช่วยในเรื่องการจัดการแรงงาน ทุ่นแรง แบ่งเบาภาระในการให้อาหาร ตัวดูดเลน ซึ่งจะช่วยกำจัดของเสียระหว่างการเลี้ยงปลา แต่ว่าเกษตรกรไม่จำเป็นต้องดูดเลนออกทั้งหมด 100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่ดูด ซึ่งจะช่วยให้ปลากินอาหารได้เยอะ เติบโตดี ป่วยน้อย อัตรารอดสูง

“สิ่งต่างๆ ที่เราได้ R&D ทำมานี้ในรูปแบบของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล โดยเราได้นำเอาประสบการณ์ไปบอกต่อพี่น้องเกษตรกร สำหรับฟาร์มที่นี่ เราเปิดรับผู้สนใจตลอด ซึ่งจะมีลูกค้าเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนทีมงานได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังรุ่นน้องๆ ที่เป็นเซลล์ ส่วนตัวก็ลงพื้นที่เพื่อไปพบปะพูดคุยกับลูกค้า และบางครั้งบริษัทฯ ก็มีการจัดสัมมนาอย่างต่อเนื่องให้อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อนาคต อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล ยังคง R&D ในส่วนของลูกพันธุ์ปลากะพงของบริษัทเอง ให้โดดเด่นเป็น Signature ในเรื่องของความสวยงาม ภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่มอบหมายนโยบายเรื่องการลดย่นเวลาการเลี้ยง กล่าวคือ ให้อนุบาลลูกปลาขนาด 3 นิ้ว รอเอาไว้ก่อน 2 เดือน แล้วเลี้ยงให้ได้ขนาด 100 กรัม จากนั้นจึงให้ย้ายลงบ่อเลี้ยง ไม่ต้องกั้นคอก และเลี้ยงต่ออีกจนครบ 4 เดือน ซึ่งก็จะสามารถเทิร์นรอบบ่อเลี้ยงได้เร็วขึ้น จากเดิมที่เลี้ยง 6 เดือน ก็เหลือเลี้ยงประมาณ 4 เดือน จากที่เคยเลี้ยงได้ 1 บ่อ ปีละ 1 ครั้ง ก็จะเลี้ยงได้ปีละ 3 ครั้ง

5.ผลผลิตปลากะพงพร้อมจำหน่าย
5.ผลผลิตปลากะพงพร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายปลากะพงสีทอง

และในส่วนเรื่องการตลาด  ตอนนี้บริษัทฯ เราในเครืออะเมซอนฟู้ด  โดยผู้บริหารพยายามทำตลาดในเรื่อง ปลากะพงสีทอง โดยขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น  โดยบริษัทฯ จะร่วมกับแพปลาบางแห่งในการรับซื้อคืนจากฟาร์มของเกษตรกรผู้เลี้ยง ซึ่งบริษัทฯ จะช่วยเป็นคอนเน็คชั่น และผลักดันให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงได้มาพูดคุยกับแพปลาโดยตรง เป็นต้น รวมถึงการขยายผลผลิตทั้งในและต่างประเทศ

โดยในประเทศเราจะทำตลาดบน เข้าห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น ห้างฯ แม็คโคร และมีส่งไปยังร้านอาหาร และโรงแรมต่างๆ และส่วนการส่งออกไปต่างประเทศ บริษัทส่งออกไปที่ประเทศออสเตรเลีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องเอกสาร ซึ่งนับเป็นการเติบโตและก้าวเดินไปข้างหน้าระดับโลกของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล ไปอีกขั้น”

6.อะเมซอน06

เสียงความประทับใจจากผู้เลี้ยงกะพง เครื่องตีน้ำ-อาหาร ยูนิ-เพรสซิเดนท์ ใช้ดีจริง! เห็นผลจริง!

คุณพรชัย หิมารัตน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม หนึ่งในลูกค้า และผู้ใช้งาน เครื่องตีน้ำของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล ได้กล่าวว่า ปัจจุบันบ่อเลี้ยงของตนเองมีหลายขนาด เฉลี่ย 2-4 ไร่ แต่ละบ่อไม่เท่ากัน เช่น บ่อเลี้ยง 4 ไร่ ปล่อยปลาเลี้ยงประมาณ 20,000 ตัว อัตรารอดประมาณ 80% แต่ถ้าบ่อ 2 ไร่ ก็จะปล่อยเลี้ยงประมาณ 18,000 ตัว และใช้เครื่องตีน้ำ ของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน  2-4 ตัว ตามความเหมาะสม

โดยจุดเริ่มต้นการเลี้ยงปลากะพง คุณพรชัยเล่าว่า ตนเองเลี้ยงปลากะพงมาประมาณ 7-8 ปีแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นเดิมทีตนเพาะลูกพันธุ์ปลาน้ำจืดขาย แต่ต่อมาเริ่มมาสนใจปลากะพง เพราะเห็นคนเลี้ยงกันเยอะ โดยเฉพาะใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งเลี้ยงในน้ำกร่อย แต่ตนเองนำมาเลี้ยงในน้ำจืด โดยตอนแรกทดลองเพาะเลี้ยงในปริมาณที่ไม่มาก ซึ่งเลี้ยงแล้วได้กำไรดี จึงเลี้ยงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

7.อาหารปลากะพง
7.อาหารปลากะพง

การให้อาหารปลากะพง

ในเรื่องของอาหาร หลังจากใช้มาแล้วหลายยี่ห้อ ปัจจุบันคุณพรชัยเลือกใช้ของ ยูนิ-เพรสซิเดนท์ โดยเลือกใช้ตามเบอร์อาหารให้เหมาะสมกับอายุของลูกปลา โดยอัตราการรอด ซึ่งคุณพรชัยบอกว่า ขึ้นอยู่กับการจัดการบ่อเลี้ยงปลาของผู้เลี้ยงเองด้วย ยกตัวอย่าง ในช่วงแรกจะให้ปลากินเยอะเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ไม่ได้ ต้องประเมินและดูความเหมาะสม เพราะถ้าให้กินเยอะจนอ้วน มันจะท้องอืด และทำให้เกิดโรคตายได้ง่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ที่ฟาร์มของผม เราให้อาหารเป็นเวลา โดยใช้ระบบออโต้ฟีด ควบคู่ไปกับการให้ด้วยแรงงานคน ซึ่งต้องให้เป็นช่วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ช่วงเช้าจะให้ 6 โมงเช้า ส่วนตอนเย็นจะให้อาหารประมาณ 18.30 น. ซึ่งปลา 20,000 ตัว ผมใช้ปริมาณอาหารพอสมควร ปลาจะกินเยอะตามอายุของปลา โดยปลาที่เลี้ยงไว้ เมื่อถึงเวลาให้อาหารจะมารวมกันอยู่จุดๆ เดียว ถึงได้บอกว่าเราจะต้องให้อาหารเป็นเวลา แล้วปลาเค้าจะรู้เวลาเอง ทั้งนี้อาหารที่ให้จะเป็นรูปแบบลอยน้ำ ถ้าเห็นว่าปลาเริ่มไม่เข้ามาแล้ว แสดงว่ามันอิ่ม ไม่อยากกิน เราก็จะต้องลดปริมาณให้อาหารน้อยลง เพื่อไม่ให้อาหารเหลือ มันจะลอยน้ำ และจะเสียของด้วย”

8.อะเมซอน08

ขั้นตอนการเลี้ยงปลากะพง

ด้านการจัดการระบบน้ำและบำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงปลา อย่างที่บอกไปว่า นอกจากใช้เครื่องตีน้ำแล้วนั้น โดยคุณพรชัยก็เลือกใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล เช่นกัน ซึ่งข้อดี คือ ช่วยให้น้ำใสขึ้น กลิ่นคาวลดน้อยลง ความเหนียวข้นหนืดของน้ำจะลดน้อยลงด้วย โดยระยะเวลา 2-3 วัน ก็เห็นผลแล้ว จะสังเกตได้ว่าคุณภาพน้ำจะดีขึ้น ปลาจะกลับมากินอาหารได้เยอะขึ้น

โดยอัตราการใช้จุลินทรีย์ คุณพรชัยใช้ปริมาณ 1 ถัง (18 ลิตร/ไร่) โดยใช้ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ทั้งนี้ควบคู่ไปกับการวางระบบเติมน้ำดีเข้าไปในบ่อ เติมน้ำดีทุกวันเข้าไป โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้น้ำดีลงบ่อเลี้ยงทุกวัน เติมวันละชั่วโมง เมื่อระดับน้ำเติมเต็ม ก็จะล้นและไหลลงแนวท่อที่ติดตั้งเอาไว้ เหมือนเป็นการถ่ายน้ำไปในตัว เป็นการช่วยให้คุณภาพและสีของน้ำดีขึ้น ปลากินเก่ง แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย

สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงปลากะพง คุณพรชัยจะอนุบาลลูกปลาช่วงแรกใช้เวลาประมาณ 40 กว่าวัน แล้วค่อยย้ายไปบ่อเลี้ยงใหม่ โดยใช้อาหาร ยูนิ-เพรสซิเดนท์ แต่เปลี่ยนเป็นเบอร์ 4 โดยจริงๆ แล้วอาหารปลาของ ยูนิ-เพรสซิเดนท์ จะมีตั้งแต่ให้อนุบาลปลาไปจนถึงปลาที่จับ หลังจากย้ายไปเพาะเลี้ยงในบ่อที่ 2 ก็เลี้ยงจนถึงระยะจับได้เลย

โดยไซส์ที่ตลาดต้องการ คือ 7-8-9 ขีด จนไปถึง 1.2 กก. เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 180 วัน ก็จับขายได้ โดยราคาขึ้นอยู่กับราคากลไกตลาด และพ่อค้าคนกลางที่เข้ามาจับ และรับซื้อถึงหน้าฟาร์ม “ปลาที่เราเลี้ยงขนาดไล่เลี่ยๆ กัน มันก็ไม่ได้ขนาดเป๊ะๆ แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะเมื่อพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อ เค้าก็ต้องการปลาหลายๆ ไซส์ เพื่อนำไปตั้งราคาขายได้หลากหลายกลุ่มลูกค้า”

9.เครื่องตีน้ำ
9.เครื่องตีน้ำ

คุณสมบัติของเครื่องตีน้ำ

ในตอนท้าย คุณพรชัยได้กล่าวถึงการตัดสินใจเลือกใช้เครื่องตีน้ำ ภายใต้แบรนด์  “อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล” ไว้อีกด้วยว่า รู้สึกพึงพอใจและประทับใจ โดยสมัยก่อนก็เลือกใช้มาแล้วหลายๆ ยี่ห้อ แต่สุดท้ายก็หันกลับมาใช้เครื่องตีน้ำของ อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล เพราะการจัดการไม่ยุ่งยาก มีแค่ 4 ใบพัด แต่ตีแรงและรอบจัด การสึกหรอน้อยมาก ทนทานต่อการใช้งาน การติดตั้งง่ายกว่ายี่ห้ออื่นๆ และกินไฟไม่มากอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เทคนิคการควบคุมออกซิเจนในน้ำในฟาร์มของผม คือ ใช้การใส่ใจ โดยการหมั่นสังเกตและตรวจวัดดูของเสียในน้ำอย่าให้สะสมเยอะ อย่าให้ปริมาณแอมโมเนียขึ้นเยอะ ต้องหมั่นคอยดูสีน้ำ และดูออกซิเจนที่เราให้ ซึ่งถ้าวันไหน แดดดี ลมดี เราก็อาจจะลดการใช้เครื่องตีน้ำให้รอบมันเบาลง เพื่อให้ออกซิเจนน้อยลง เป็นการลดการจ่ายไฟได้ หรือเปิดใช้แค่ 2 ตัว จากทั้ง 4 ตัว เพียงเท่านี้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็สามารถประหยัดต้นทุน แถมยังได้เก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเพาะเลี้ยงปลากะพง ได้ FCR ต่ำ ในทุกรอบการเลี้ยงอีกด้วย”

ขอขอบคุณ บริษัท อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ติดต่อได้ที่ 138 หมู่ 2 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000 สายด่วน โทร.083-247-4400, เฟซบุ๊ก @amazongroupin หรือ www.amazongroup.in.th

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 399