วิตามินเสริม “ซาโกร” เคล็ดลับธุรกิจฟาร์มสุกรสู่การทำโรงเชือด “บุญมีฟาร์ม” กว่า 30 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากพูดถึงธุรกิจเกี่ยวกับสุกร จะสามารถแยกได้เป็น ธุรกิจสุกรขุน สุกรอนุบาล สุกรพ่อแม่พันธุ์ แต่ที่ทีมงาน นิตยสารสัตว์บกจะพาผู้อ่านมารู้จัก คือ ครอบครัวที่ทำธุรกิจสุกรรายใหญ่แห่ง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ที่มีการดูแลจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ วิตามินเสริม

บรรยากาศด้านหน้า Shop
บรรยากาศด้านหน้า Shop

“บุญมีฟาร์ม” จากธุรกิจฟาร์มสุกรสู่การทำโรงเชือด เป็นการทำธุรกิจตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ ที่เริ่มตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์ในฟาร์ม สู่ลูกสุกรของฟาร์ม สู่การขุนสุกรเองเพื่อส่งโรงเชือดของบริษัท แล้ววางจำหน่ายที่ Shop ของตนเอง

1.คุณพิเชษฐ์ สว่างโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญมีฟาร์ม30 จำกัด
1.คุณพิเชษฐ์ สว่างโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญมีฟาร์ม30 จำกัด

การเปิด Shop จำหน่ายเนื้อหมู

คุณพิเชษฐ์ สว่างโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญมีฟาร์ม30 จำกัด ได้เล่าให้ทีมงานนิตยสารสัตว์บกฟังว่า ที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหมูมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ คุณแม่ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2530 ใช้ชื่อว่า บุญมีฟาร์ม ตอนนั้นมีสุกรแม่พันธุ์อยู่ประมาณ 30 ตัว และค่อยๆ ขยับขยายมาเรื่อยๆ ปัจจุบันมีสุกรแม่พันธุ์ 1,200 ตัว

และต่อมาในปี 2557 ได้เปิด Shop โดยใช้ชื่อว่า “บี.เอ็ม.พี เฟรช” ส่วนโรงเชือดเริ่มเปิดใช้เมื่อปลายปี 2562 ซึ่งคุณพิเชษฐ์ได้ให้เหตุผลที่ได้เปิด Shop ก่อนโรงเชือดนั้น เพราะมีความคิดว่าบริษัทใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเนื้อหมู เริ่มทำการตลาดด้านนี้ จึงมีความคิดว่าการทำฟาร์มหมูอย่างเดียวอาจมีความเสี่ยงเกินไป จึงได้ต่อยอดและพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ แต่ก็ได้มีการวางแผนที่จะสร้างโรงเชือดเมื่อปี 56 เพื่อให้ธุรกิจที่ทำอยู่ครบวงจร

“บังเอิญตอนนั้นผมไปซื้อตึกในตัวเมืองไว้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร ต่อมามองเห็นว่าธุรกิจต้องมีการปรับตัว ก็เลยใช้ตึกที่ซื้อไว้ตอนนั้นลองทำ Shop ดู จึงกลายมาเป็น บี.เอ็ม.พี เฟรช สาขาในเมืองเป็นสาขาแรก” คุณพิเชษฐ์เผยถึงที่มาของ Shop สาขาแรก

การทำธุรกิจของบุญมีฟาร์ม คือ เริ่มตั้งแต่การดูแลจัดการพ่อแม่พันธุ์ใช้เองในฟาร์ม เพื่อให้ได้ลูกสุกรที่ดีของฟาร์ม สู่การขุนสุกรเองเพื่อส่งโรงเชือดของบริษัท แล้ววางจำหน่ายที่ Shop สุกรที่นำเข้าเชือดเป็นสุกรขุนจากบุญมีฟาร์มทั้งหมด แต่ต่อไปในอนาคตมีโครงการที่จะรับลูกเล้าและส่งเสริมลูกเล้า เพื่อขยายกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้น ซึ่งได้วางรัศมีการส่งเสริมไว้ที่ 50 กิโลเมตร เพื่อให้สะดวกในเรื่องของการขนส่ง และการจับสุกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.สุกรพ่อพันธุ์ Duroc ของ Genesus
2.สุกรพ่อพันธุ์ Duroc ของ Genesus

สายพันธุ์หมู

สายพันธุ์สุกรที่ทางฟาร์มเลือกใช้ในสายแม่จะเป็นสุกรพันธุ์เดนมาร์ก ซึ่งเป็นสุกรที่เจริญเติบโตเร็ว มีความแข็งแรง ลักษณะมัดกล้ามเนื้อชัดเจน และลักษณะประจำพันธุ์ คือ สีแดงเข้ม หูปรก เป็นสุกรขนาดใหญ่ สูง ข้อขาใหญ่แข็งแรง ร่างกายแข็งแรง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงง่าย

ส่วนสุกรสายพ่อจะนำเข้าสายพันธุ์มาจาก บริษัท Genesus เป็นผู้ผลิตสุกรสายพันธุ์แท้ที่ขึ้นทะเบียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ส่งผลให้สุกรที่ได้รับการผสมพันธุ์ของ Genesus Duroc Terminal มีความโดดเด่นในด้านอัตราการเจริญเติบโต การเปลี่ยนอาหาร และลักษณะซาก

คุณพิเชษฐ์ได้ให้เหตุผลที่เลือกใช้สายพันธุ์นี้เพราะ “เป็นสายพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงมาก มีความแข็งแรง และความต้านทานโรคมาก ซึ่งตอนที่ไปเลือกสายพันธุ์ ทางฟาร์มต้องการสายพันธุ์ที่ต้านทานโรค ทนโรค เพราะผมคาดหวังเรื่องการลดใช้ยาปฏิชีวนะต่างๆ”

3.เล้าคลอด
3.เล้าคลอด 

การบำรุงดูแลหมู

ทางฟาร์มจะแบ่งการจัดการเป็นเริ่มตั้งแต่การเตรียมแม่สุกรตั้งท้องให้อยู่เล้าคลอดก่อนที่จะคลอดล่วงหน้า 1 สัปดาห์ มีการดูแลเรื่องสุขภาพให้แม่สุกรก่อนคลอด ให้ วิตามินเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย ส่วนลูกสุกรเมื่อคลอดออกมา จะดูแลโดยทีมที่ดูแลสุกรแรกคลอดโดยเฉพาะ

มีการดูแลเรื่องการคลุกแป้ง การกกเพื่อให้ความอบอุ่น ตัดเขี้ยว ตัดหาง ให้ธาตุเหล็ก และการจัดการอื่นๆ ตามโปรแกรมของฟาร์ม ส่วนในสุกรขุน ระยะการขุนจะนับตั้งแต่ลูกสุกรเกิดเลย ใช้เวลาขุนทั้งหมด 25 สัปดาห์ จะได้น้ำหนักประมาณ 115-120 กิโลกรัม

4.การให้อาหารหมู
4.การให้อาหารหมู

การให้อาหารหมู

อาหารทางฟาร์มจะผสมเองทั้งหมด สูตรอาหารจะมีการคำนวณมาให้ มีโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะ จะมีสูตรอาหารลูกสุกร สุกรเลียราง สุกรขุน สุกรสาว แม่สุกรอุ้มท้อง แม่สุกรคลอด พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนวัตถุดิบหลักที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นปลายข้าว รำ กากถั่ว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และมีการเสริมพวกวิตามิน แร่ธาตุ วัตถุดิบอาหารหลักส่วนใหญ่จะรับซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อประหยัดค่าขนส่ง และความสดใหม่ของวัตถุดิบ

5.โรงเรือนหมู
5.โรงเรือนหมู

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู

รูปแบบโรงเรือนที่เลี้ยงเป็นระบบอีแวป ส่วนอุณหภูมิในโรงเรือนจะปรับตามความเหมาะสมของสุกรในแต่ละระยะ และสภาพอากาศในแต่ละช่วง เช่น ถ้าเป็นแม่พันธุ์ อุณหภูมิที่เหมาะสมจริงๆ จะอยู่ที่ประมาณ 20 กว่าองศา แต่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อุณหภูมิที่ทางฟาร์มตั้งไว้จึงอยู่ที่ประมาณ 30 องศา และทางฟาร์มค่อนข้างให้ความสำคัญในเรื่องของการระบายอากาศ เพื่อให้สุกรในฟาร์มอยู่สบาย

ปัจจุบันทางฟาร์มมีสุกรแม่พันธุ์ทั้งหมด 1,200 ตัว พ่อพันธุ์ 40-50 ตัว สุกรแม่พันธุ์จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 ปี ถึงปลด แต่สุกรพ่อพันธุ์จะใช้ระยะเวลาปลดเร็วกว่า เนื่องจากสุกรพ่อพันธุ์ค่อนข้างมีอิทธิพลสูงกับการคุมฝูง และสุกรขุนมีทั้งหมด 8,000 กว่าตัว มีโรงเรือนสำหรับสุกรขุนทั้งหมด 20 โรงเรือน

และที่ฟาร์มมีบ่อไบโอแก๊สทั้งหมด 3 บ่อ เพื่อนำมูลและน้ำเสียจากการล้างคอกมาเป็นสารผลิตไบโอแก๊สในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ 1 บ่อ และฟาร์มสุกรขุนมี 2 บ่อ เดิมทำไว้มีขนาด 1,000 คิว ตามแบบของกระทรวงพลังงาน ส่วนบ่อที่ 2 มีขนาด 6,000 คิว สามารถทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 70-80% ส่วนกากที่เหลือนำไปขายให้กับเกษตรกรที่สนใจ น้ำเสียที่เหลือใช้จะลงบ่อบำบัด

6.ตัดแต่งชิ้นส่วนหมู
6.ตัดแต่งชิ้นส่วนหมู
ได้มาตรฐานปศุสัตว์ OK
ได้มาตรฐานปศุสัตว์ OK

การตัดแต่งชิ้นส่วนหมู

บริเวณโรงเชือดมีพื้นที่ประมาณ 10 กว่าไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ เมื่อนำสุกรจากฟาร์มมาโรงเชือด จะนำสุกรมาชั่งน้ำหนักก่อนเข้าคอกพัก จะมีการพักสุกรก่อนประมาณ 3-4 ชั่วโมง ก่อนนำเข้าเชือด ทำให้สลบโดยการช็อต จากนั้นจะนำขึ้นแขวนบนราวแล้วทำการเชือดบริเวณคอเพื่อเอาเลือดออก ผ่าออกเป็นสองซีก แล้วนำไปเก็บห้องเย็นที่อุณหภูมิ -5 องศา ส่วนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรจะถูกส่งไปอีกที่หนึ่ง

ซึ่งในอนาคตคุณพิเชษฐ์มีการวางโครงการที่จะนำโรงตัดแต่งกับโรงเชือดมาอยู่ที่เดียวกัน จะเชือดช่วงเวลาประมาณบ่ายโมง-3 ทุ่ม เพราะต้องทำการขนสุกรมาในตอนเช้ามืดในช่วงที่อากาศไม่ร้อน เพื่อไม่ให้สุกรเกิดความเครียดระหว่างขนส่ง แล้วนำมาพักที่คอกพักก่อนเข้าเชือด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันโรงเชือดบุญมีฟาร์มมีกำลังการผลิตสูงสุดได้ 150 ตัว/วัน แต่ตอนนี้ทางบริษัทมีสุกรเข้าเชือดประมาณ 60 ตัว/วัน ชิ้นส่วนสุกรที่ได้จะวางขายที่ Shop และส่งขายให้แม่ค้าเขียงหมู ตอนนี้ทางฟาร์มจะมีทั้งสุกรเป็น สุกรซีก และชิ้นส่วนสุกร

และทางโรงเชือดยังได้รับมาตรฐานปศุสัตว์ และชิ้นส่วนสุกรที่วางขายใน Shop ได้มาตรฐาน “ปศุสัตว์ OK” ซึ่งการจะขอมาตรฐานปศุสัตว์ OK ต้องผ่านองค์ประกอบของมาตรฐานฟาร์ม โรงเชือดมาตรฐาน และร้านที่จำหน่ายต้องถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานสาธารณสุข

7.หมูอนามัย สดจากฟาร์ม
7.หมูอนามัย สดจากฟาร์ม

แนวโน้มในอนาคต

ปัจจุบันทาง “บี.เอ็ม.พี เฟรช” มี Shop ทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่

  1. สาขาเกาะกลาง จ.อุตรดิตถ์โทร.055-411-342, 090-064-7095,
  2. สาขางิ้วงาม จ.อุตรดิตถ์โทร.081-605-2843,
  3. สาขา จ.แพร่ โทร.082-167-1224,
  4. สาขาอำเภอเมืองสุโขทัย โทร.062-945-2498,
  5. สาขาศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โทร.055-672-455, 081-394-5530,
  6. สาขาสวรรคโลก จ.สุโขทัย โทร.055-615-439, 087-526-7126

และในอนาคตวางแผนจะเปิดสาขาเพิ่มขึ้น และแปรรูปเป็นในส่วนของอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น

8.หมูแข็งแรง สมบูรณ์ โตเร็ว
8.หมูแข็งแรง สมบูรณ์ โตเร็ว

ข้อดีของ วิตามินเสริม ซาโกร

เมื่อถามว่ามารู้จักกับผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ซาโกร จำกัด ได้อย่างไร  คุณพิเชษฐ์ได้ให้คำตอบว่า  จริงๆ แล้วบริษัท ซาโกร เป็นที่รู้จักมานานแล้ว เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในเรื่องเวชภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นตัววิตามินละลายน้ำ ตัวพรีมิกซ์ใช้ผสมในอาหารสัตว์ และยาฆ่าเชื้อ

ส่วนตัวช่วยสำคัญที่ทางบุญมีฟาร์มเลือกใช้ คือ “ซาโกรมิกซ์ พรีมิกซ์” เพราะทางฟาร์มผสมอาหารใช้เอง ซึ่งช่วยให้สุกรที่ฟาร์มสุขภาพดี  ส่งผลต่อผลผลิตเนื้อหมูให้มีคุณภาพดี  และผลิตภัณฑ์อีกตัวที่ทางฟาร์มเลือกใช้ คือ “ซาโกรโซล อีเอส”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป็นวิตามินอีและซีลีเนียมเข้มข้นในรูปแบบน้ำ จะเพิ่มความสมบูรณ์ของระดับวิตามินซีและซีลีเนียม ต่อต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์สุกรแม่พันธุ์ และช่วยให้สุกรแม่พันธุ์ฟื้นตัวเร็วขึ้นจากอาการป่วย หรือความเครียด อัตราการใช้สำหรับสุกร จะผสมซาโกรโซล อีเอส 1 ลิตร ต่อน้ำ 3-5 พันลิตร ให้กินสัปดาห์ละ 2-3 วัน

9.แบ่งพื้นที่เล้าหมูเป็นสัดส่วน
9.แบ่งพื้นที่เล้าหมูเป็นสัดส่วน วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

และนอกจากการดูแลสุขภาพสุกรให้แข็งแรงแล้ว ก็ต้องมีการดูแลจัดการฟาร์มที่ดีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ไม่ว่าจะมาจากภายนอกฟาร์มเข้าสู่ภายในฟาร์ม ซึ่งทางบุญมีฟาร์มมีระบบ Biosecurity ในฟาร์ม คือ ทางเข้าฟาร์มควรมีบริเวณสำหรับพ่นฆ่าเชื้อยานพาหนะ

สำหรับผู้เข้าเยี่ยมฟาร์มและบุคลากรที่ทำงานในฟาร์ม มีห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และมีการจัดเตรียมเสื้อผ้าและรองเท้าที่สะอาดสำหรับใช้เฉพาะในฟาร์มไว้ให้เปลี่ยน หลังจากการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายก่อนที่จะเข้าพื้นที่เลี้ยงสัตว์

มีการแบ่งพื้นที่ภายในฟาร์มเป็นสัดส่วน และแยกรถที่ใช้ภายในฟาร์ม ลูกสุกรเมื่อออกจากเล้าคลอดมาจะมีจุดสำหรับถ่ายลูกสุกร จะมีรถอีกคันไปรับลูกสุกรไปยังคอกสุกรขุน สำหรับสุกรขุนที่ครบกำหนดที่จะถูกขนส่งไปยังโรงเชือด จะแยกเล้าขายออกมาห่างจากฟาร์มประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อรับสุกรขุนจากฟาร์มไปยังโรงเชือด ส่วนคนงานก่อนเข้าฟาร์มจะให้อาบน้ำ เปลี่ยนชุด เปลี่ยนรองเท้า พ่นน้ำยาก่อนเข้าฟาร์มทุกครั้ง

10.ทำความสะอาดคอกหมูเพื่อป้องกันเชื้อโรค
10.ทำความสะอาดคอกหมูเพื่อป้องกันเชื้อโรค วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม วิตามินเสริม 

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู

สุดท้ายคุณพิเชษฐ์ได้ฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรว่า“อยากให้เกษตรกรทุกคนพร้อมที่จะปรับตัว เพราะการทำธุรกิจมันต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

และสำหรับใครที่สนใจอยากหันมาทำฟาร์มหมู ก็อยากให้เตรียมความพร้อมก่อนในหลายๆ ด้าน ที่เกี่ยวกับธุรกิจนี้ ไม่ใช่แค่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลจัดการหมู มันมีทั้งเรื่องของกฎหมาย สิ่งแวดล้อมกับการอยู่ร่วมกับชุมชนเรื่องแรงงาน คือ เราต้องใส่ใจทุกเรื่อง ต้องมีใจรักในอาชีพนี้ด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณพิเชษฐ์ สว่างโรจน์ บุญมีฟาร์ม 81/2 หมู่7 ต.งิ้วงาม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 330