วัฒนาฟาร์มลูกเล้าเบทาโกร อยู่รอดเพราะระบบรับจ้างเลี้ยง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในที่สุด อุตสาหกรรมสุกร ของไทย ก็เดินทางเข้าสู่ธุรกิจครบวงจร ที่มี เจ้าสัวปศุสัตว์ เป็นผู้กุมเกมธุรกิจทั้งหมด

ผู้เลี้ยงหมูอิสระเกือบจะหายไปจากวงการ คนที่อยู่รอด คือ เซียน ตัวจริง

1.วัฒนาฟาร์ม01

การเลี้ยงหมู

สถาพร บุญสาลี เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปราจีนบุรี อยู่ในวงการไก่เนื้อกว่า 20 ปี ได้ตัดสินใจวางมือมารับจ้างเลี้ยง “หมูขุน” ของเบทาโกร เมื่อ 10 ปีที่แล้ว “ของผมเป็นระบบรับจ้างเลี้ยง เขาจะจ่ายตามประสิทธิภาพการเลี้ยงของเราในแต่ละรุ่น ซึ่งเขามีหมอและสัตวบาลมาดูแลสุขภาพ และลูกหมูก็จัดส่งมาแล้ว เขาก็รับซื้อคืน 100%” คุณสถาพรเปิดเผยถึงรูปแบบรับจ้างเลี้ยง

บนพื้นที่ 15 ไร่ ณ ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ถูกพัฒนาเป็นฟาร์มหมูที่เป็น “โรงเรือนอีแวป” มี 4 โรงเรือนๆ ละ 720 ตัว ในแต่ละรอบการผลิต ซึ่งเบทาโกรเป็นผู้กำหนด ทั้ง 4 โรงเรือน เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบเดินข้าง ขนาด 13×75 เมตร และ แบบเดินกลาง ขนาด 15×70 เมตร

ตั้งแต่นำหมูเข้าเลี้ยง 145 วัน ต้องได้น้ำหนักตัวละ 100 กก.ขึ้นไป หมูต้องตายไม่เกิน 3% แต่คุณสถาพรเลี้ยงได้ดี อัตราการตายไม่ถึง 3% ดังนั้นจึงได้โบนัสเป็นเงินจากเบทาโกร ที่เรียกว่า “โบนัสหมูตาย” ซึ่งเรื่องนี้รู้กันทั่วประเทศ เพราะเป็นระบบที่เปิดเผยต่อฟาร์มรับจ้างเลี้ยงทุกคน

2.วัฒนาฟาร์ม02

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

กระบวนการจัดการฟาร์มมาตรฐานของเบทาโกร เริ่มจากจับหมูวันแรก วันที่ต้องเคลียร์ล้างเล้าให้สะอาดแล้วพักฟาร์ม 21-25 วัน หรือ 30 วัน ล้างโรงเรือน/อุปกรณ์ เช่น เก็บกวาดหยากไย่ ทำความสะอาดพัดลม ซ่อมแซมอุปกรณ์ ฉีดสารลดความตึง เพื่อให้วางคอกได้ง่าย โดยใช้ยาของเบทาโกร “พ่นยาเสร็จแล้ว ล้างเล้าเสร็จด้วยเครื่องฉีดแรงดันสูง และการซ่อมแซม ระยะเวลาพ่นยาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ห่างกัน 7 วัน ถ้าจะให้ไวก่อนเข้าก็ต้องฉีดพ่นเชื้อครั้งที่ 3” คุณสถาพร ยืนยันถึงการเข้มงวดของการทำความสะอาดฟาร์ม พอฆ่าเชื้อครบ 3 วัน ก็นำหมูรุ่นใหม่เข้า ภายใต้การอนุมัติของสัตวแพทย์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลูกหมูทุกตัวถูกบรรทุกในรถปลอดเชื้อ เมื่อเข้าสู่ฟาร์มเลี้ยงก็จะถูกตรวจสอบจากสัตวแพทย์ว่าสุขภาพแต่ละตัวดีมั๊ย มีตัวที่ขาเจ็บ ขาหัก หรือไม่ ถ้ามีต้องส่งคืน เป็นลูกหมูหย่านมเลียราง กินอาหารเป็น เพราะถูกฝึก “เมื่อก่อนไม่ให้เลียราง หมูมากินข้าวไม่เป็น มานอนโทรม ระยะหลังจึงให้แม่หมูสอนให้กินอาหารเป็น” คุณสถาพร เปิดเผย

ลูกหมูอายุ 21 วัน กินอาหารเป็น มาเลี้ยงในฟาร์มอีก 124 วัน ก็ได้น้ำหนัก 100 กก.ขึ้นไป ต้องนอนบน ขี้เลื่อย รองพื้น สำหรับหมูบางตัวที่ขี้หนาว และมี ไฟอินฟาเรด ให้ความอบอุ่น ต้องกวาดขี้เลื่อยมารวมกัน แล้วล้างคอกให้สะอาด ทำอยู่อย่างนี้จนครบ 15 วัน แล้วกวาดขี้เลื่อยออก

3.วัฒนาฟาร์ม03

การบำรุงดูแลลูกหมู

ในเรื่อง “อาหาร” และ “น้ำ” สำหรับหมูในช่วง 15 วันแรก ต้องมี ถ้วยน้ำหยด ให้ลูกหมูเลีย และต้องคัด ขนาด ในแต่ละล็อค ซึ่งมี 20 ล็อคๆ ละไม่เกิน 40 ตัว ต้องมี คอกคัด ไว้ 1 คอก เพื่อเลี้ยงหมูเจ็บปวด ไม่แข็งแรง ซึ่งต้องดูอาการแต่ละตัว ถ้าเห็นขนยุ่ง ตาแฉะ ตาบวม นอนแอบข้างคอก ต้องคัดออก ถ้าไม่ทำอย่างนี้ตัวที่เล็กกว่า กินไม่ทัน ถูกรังแก จะซูบผอม ซึ่งหมูเล็กต้องเอาใจใส่มาก “ช่วง 2 เดือนแรก ต้องแยกฉีดยา ไม่เน้นละลายน้ำให้กิน ถ้าเป็นอะไรต้องฉีดยาก่อน” คุณสถาพร ชี้แจงถึงความเข้มงวดของเบทาโกร ที่เน้นการฉีดยากว่ากินยา เพราะการฉีดให้ผลเร็วกว่า และต้นทุนก็ต่ำกว่า ยกเว้นมันวิกฤตจริงๆ จึงต้องกินยา แต่หลัง 13-14 อาทิตย์ ก็หยุดยา ไม่ฉีด ไม่กิน เป็นอันขาด

4.วัฒนาฟาร์ม04

ข้อดีของแอร์โรฟอยล์

สำหรับ หมูรุ่น เรื่องลมและอุณหภูมิในเล้าก็สำคัญ ดังนั้นโรงเรือนถูกยกสูง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก และ แรงลม จากพัดลมท้ายเล้าอีแวปจะต้องดี ซึ่ง ผ้าคลุมอุโมงค์ จะต้องบังคับลมให้อยู่ในอุโมงค์ แล้วพัดลมดูดออก ซึ่งไม่รั่ว ตอนแรกคุณสถาพรใช้ pvc ปรากฏว่ามันหด และขาด ต้องปะ ต้นทุนเพิ่ม ตัดสินใจใช้ แอร์โรฟอยล์ ของ บริษัท เด่นใหญ่ จำกัด ช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้ดี เพราะมันสะท้อนแสง และประหยัดค่าไฟได้มาก และเมื่อหมูอยู่ในเล้า อากาศเย็น ไม่เครียด ไม่กัดกัน กินอาหารเก่ง FCR สูง

“รุ่นแรกผมทำ 2 โรงเรือนก่อน 2 ปีมาแล้ว และทำอีก 2 โรงเรือน อายุ 2 ปี ก็ยังดีมาก ไม่มีรอยรั่ว พอโรงเรือนที่ 3 ก็รุ่นหนึ่ง โรงเรือนที่ 4 อีกรุ่นหนึ่ง จบเมื่อปลายปี ทุกโรงเรือนใส่แอร์โรฟอยล์ ครบหมด” คุณสถาพร ยืนยันถึงประสิทธิภาพแอร์โรฟอยล์ ที่ไม่รั่ว ไม่ขาด 2 ปี ประสิทธิภาพการเลี้ยงดีขึ้น การจัดการก็น้อยลง การตายน้อยลง ไม่เครียด ไม่กัดกัน ต่างจากผ้า pvc โดยสิ้นเชิง รั่วแล้วซ่อมยากมาก

เรื่อง “อุณหภูมิ” ลูกหมู ช่วงแรกเข้าถึง 2 เดือน ต้องปล่อยตามอุณหภูมิประมาณ 33-35 องศาฯ โดยเฉพาะ 33 องศาฯ หมูอยู่สบาย แต่หมูเบทาโกรไม่ชอบความชื้นเยอะ มันจะไอ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

5.วัฒนาฟาร์ม05

รายได้การรับจ้างเลี้ยงหมู

เมื่อถามถึง รายได้/ปี ก็ได้รับการเปิดเผยว่า เลี้ยงหมูเบทาโกร 4 โรงเรือน รุ่นละ 3,000 ตัว ได้ค่าจ้างเลี้ยงขั้นต่ำตัวละ 500 บาท ปีละ 2 รุ่น ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ถือว่าดีกว่าลงทุนเอง เพราะมีความเสี่ยงสูง ไหนจะเจอ หมูกล่องเถื่อนๆ จากต่างประเทศ ไหนจะ โรคระบาด หรือ อาหารแพง เป็นต้น

“ช่วงนี้ลูกหมูแพง คนเลี้ยงน้อย ราคาก็จะสูง แต่หมูเถื่อนเยอะ ราคาหมูผันผวนไว และหมูรอบไม่ถี่เหมือนไก่ หมูบ้านกับหมูฟาร์ม ถูกแม่ค้ากดราคา แม้แต่หมูเถ้าแก่ก็เดือดร้อน ต่างจากหมูบริษัท มีห้องเย็นเก็บ มีโรงงานแปรรูป แต่หมูเถ้าแก่ต้องเทขายอย่างเดียว” คุณสถาพร เปรียบเทียบหมูอิสระ (หมูเถ้าแก่) กับหมูอุตสาหกรรม ที่แตกต่างกัน จึงได้แนะนำคนที่ต้องการเลี้ยงหมูว่า ต้องศึกษาให้ดีก่อนลงมือเลี้ยง เพราะมีความเสี่ยงสูงมากนั่นเอง

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 361