น่าชื่นใจแทนคนรุ่นเก่าที่ยังเห็นคนรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 จำนวนไม่น้อย ที่ให้ความสำคัญหันมาสนใจทำการเกษตร-ปศุสัตว์ กันอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะทำเพราะเรียนมาตรงสาย ทำเพราะใจรัก หรือทำเพราะสืบทอดกิจการครอบครัว ซึ่งไม่ว่าเหตุผลกลใดก็ตาม มันคือสิ่งที่ดี เพราะการเกษตร-ปศุสัตว์ คือ อาชีพที่สำคัญของประเทศไทย เป็นตัวกำหนดเศรษฐกิจของชาติ
นิตยสารสัตว์บก พาทุกท่านมาทำความรู้จักกับครอบครัว “สุวรรณประทีป” ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงโคนม ในชื่อนาม จิติยาฟาร์ม ซึ่งเพิ่งดำเนินกิจการฟาร์มโดย คุณชัยยา และคุณวสันต์ สุวรรณประทีป ประมาณ 1-2 ปี เท่านั้น แต่มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน บนเนื้อที่ร่วม 200 ไร่ ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ กับการทำเกษตรผสมผสานควบคู่ไปกับทำ ฟาร์มโคนม โดยครอบครัวสุวรณประทีป ดังกล่าว คือ คุณชัยยา สุวรรณประทีป (คุณลุง) คุณวสันต์ สุวรรณประทีป (คุณพ่อ) และ คุณณพงษ์ชัย สุวรรณประทีป (คุณเตอร์) บุตรชาย
ต้องบอกก่อนว่าครอบครัวนี้ไม่ได้มีความรู้เรื่องการทำเกษตร-ปศุสัตว์ เลยแม้แต่นิดเดียว โดยผู้เป็นพ่ออดีตทำงานเป็นผู้จัดการสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ ส่วน “คุณณพงษ์ชัย หรือคุณเตอร์” บุตรชาย เซอร์ไพรส์ยิ่งกว่า โดยเรียนจบมาทางด้าน ธุรกิจการบิน-วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
ทว่าเกิดจากสองพ่อ-ลูก มีความชื่นชอบในการทำการเกษตร-ปศุสัตว์เป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว เมื่อคุณวสันต์ (พ่อ) ชักชวนลูกชายให้มาร่วมบริหารจัดการ ฟาร์มโคนม ซึ่งคุณเตอร์หลังจากเรียนจบจึงไม่รอช้ากลับมาบ้านเพื่อช่วยคุณพ่อ และคุณลุง สานต่อธุรกิจครอบครัว คือ ฟาร์มโคนม แห่งนี้ ด้วยการเริ่มต้นก่อร่างสร้างตัวไปพร้อมๆ กัน
จุดเริ่มต้นการเลี้ยงโคนม
คุณเตอร์เปิดเผยว่า เหตุผลที่คุณลุงและคุณพ่อเลือกลงทุนทำกิจการ ฟาร์มโคนม เพราะมองว่าปริมาณน้ำนมดิบที่ได้คุณภาพในประเทศไทยตลาดยังมีความต้องการสูง อีกทั้งการเลี้ยงโคนมมีการประกันราคาที่แน่นอน หากผู้ประกอบการ เกษตรกร หรือเจ้าของฟาร์ม สามารถผลิตน้ำนมดิบที่ได้คุณภาพป้อนสู่ตลาด หรือสหกรณ์ในท้องถิ่นได้ โดยรักษามาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้มีรายได้ที่มั่นคง และสามารถทำเป็นอาชีพในระยะยาวชั่วลูก ชั่วหลาน ได้
“โดยส่วนตัวครอบครัว คือ คุณลุงและคุณพ่อเริ่มต้นจากการไม่มีความรู้อะไรเลย อาศัยการศึกษาหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และถามจากผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ การเลี้ยงโคนม รวมถึงการมองหาแหล่งองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงโคนม อาทิเช่น
การสมัครเข้าอมรมกับทางองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) เพื่อสั่งสมความรู้ให้ได้มากที่สุด และเมื่อประจวบเหมาะ ทั้งองค์ความรู้ที่มีอยู่ เงินทุน ทำเล ซึ่งเป็นที่ดินของครอบครัว จึงทำให้ครอบครัวรวมทั้งตัวผมตัดสินใจลุยสร้าง ฟาร์มโคนม ด้วยงบลงทุนซึ่งเป็นทุนรอนของครอบครัว ใช้งบประมาณจัดสร้างฟาร์ม รวมซื้อโคนมจากแหล่งจำหน่ายที่ได้คุณภาพไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท” คุณเตอร์กล่าว
สายพันธุ์โค
ปัจจุบันที่จิติยาฟาร์มมีจำนวนโคนมรวมทั้งสิ้น 163 ตัว จำแนกเป็นแม่พันธุ์ 125 ตัว พ่อพันธุ์ 2 ตัว และลูกโค 36 ตัว สำหรับสายพันธุ์ที่เลี้ยง โดยคุณเตอร์ยอมรับว่าเพิ่งเริ่มต้นบริหารจัดการฟาร์ม ทำให้อยู่ระหว่างการศึกษาการคัดเลือกแต่ละสายพันธุ์ ทั้งนี้ส่วนใหญ่ที่นำเข้ามาเลี้ยง ได้แก่
- สายพันธุ์บราวน์สวิส (Brown Swiss),
- โฮลสไตน์ ฟรีเซียน (Holstein-Friesian) และ
- เจอร์ซี (Jersey) เป็นต้น
การบริหารจัดการ ฟาร์มโคนม
ด้านอุปกรณ์ฟาร์ม รวมถึงเครื่องรีดนม เลือกใช้ของทาง “InterPuls” และ “Milktech” เป็นหลัก เนื่องจากเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายชั้นนำของประเทศ ตลอดจนมีการบริการหลังการขายที่น่าประทับใจ
ในส่วนการบริหารจัดการจิติยาฟาร์ม คุณเตอร์เปิดเผยว่าคุณพ่อไว้วางใจให้ตนเองดูแลจัดการฟาร์มเป็นหลัก ทั้งนี้ก็จะมีคนงานซึ่งเป็นคนไทยอีกประมาณ 5 คน ซึ่งต่างรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน และทำงานอย่างอัตโนมัติในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี ทำให้การทำงานง่ายขึ้น และไม่พบปัญหาจากการเลี้ยงโคนมที่ร้ายแรงแต่อย่างใด
“ปัจจุบันที่ฟาร์มฯ ยังคงเลี้ยงแบบยืนกรง มีการผสมสายพันธุ์ ทั้งแบบธรรมชาติ และผสมเทียม โดยสำหรับการผสมเทียมนั้น สำหรับน้ำเชื้อได้รับการสนับสนุนจากทางกรมปศุสัตว์ โดยในฟาร์มฯ มีการแบ่งโซนวัวที่รีดได้ ซึ่งขณะนี้มีจำนวน 64 แม่รีด
นอกจากนี้ที่ฟาร์มมีการแบ่งผังการบริหารจัดการเป็นสัดส่วน เช่น คอกวัวท้องแก่ใกล้คลอด หรือคอกวัวรุ่นที่ท้องอยู่ประมาณ 4-5 เดือน เป็นต้น ซึ่งในแต่ละวันตั้งแต่เช้ามืดประมาณตีสี่ คนงานจะเริ่มเอาวัวขึ้นรีด เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 6 โมงเช้า
หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการแพ็คเกจจิ้ง นำน้ำนมดิบส่งตลาดที่รับซื้อ โดยที่ฟาร์มฯ จัดส่งให้กับสหกรณ์การเกษตรเทพสถิตจำกัด โดยรับซื้อประกันราคาอยู่ที่ 17.50 บาท/ลิตร ทั้งนี้กำลังการผลิตน้ำนมดิบที่ฟาร์มฯ เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 1 ตัน” คุณเตอร์ เปิดเผย
ด้านการบริหารจัดการในส่วนอื่นๆ โดยขณะนี้ทางจิติยาฟาร์มได้ยื่นขอการรับรองฟาร์มมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ไปแล้ว รอการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามทุกกระบวนการอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ ทุกประการ
การให้อาหารโคนม
ในส่วนของการดูแลเอาใจใส่โคนมในฟาร์มนั้น คุณเตอร์บอกว่าในเรื่องของอาหารจะให้อาหารสูตรตามมาตรฐาน ควบคู่ไปกับฟาง ข้าวโพดหมัก และหญ้าเนเปียร์ ที่มีปลูกไว้ด้วยในพื้นที่รอบๆ ฟาร์มฯ โดยจะให้วัวทุกตัวกินอิ่มท้องอยู่เสมอ ในส่วนของน้ำดื่มใช้น้ำบาดาลและน้ำประปาควบคู่กัน โดยผ่านการตรวจสอบวัดค่าความสะอาดเป็นที่เรียบร้อย
ด้านการทำความสะอาดคอก คุณเตอร์กล่าวยกตัวอย่างในแต่ละวัน หากพบมีมูลวัวปริมาณหนามากขึ้น จะมีคนงานทยอยเก็บนำไปทิ้งที่บ่อฝังกลบหลังฟาร์มฯ ซึ่งในอนาคตจะต่อยอดสร้าง “ไบโอแก๊ส” ตลอดจนที่ฟาร์มฯ ได้ลงทุนซื้อเครื่องบีบ/รีดมูลวัว เพื่อในอนาคตต่อยอดแปรรูปทำเป็นปุ๋ยคอก และส่งขายให้กับผู้ที่สนใจ ถือเป็นรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่งด้วย
เคล็ดลับในการดูแลรักษาโคนม
นอกจากนี้ทางฟาร์มฯ จะมีหมอจากบริษัทอาหาร และเจ้าหน้าที่สัตวบาลประจำฟาร์มฯ ซึ่งจะแวะเวียนเข้ามาตรวจสอบอาการของวัวอย่างใกล้ชิด จึงทำให้ที่ฟาร์มฯ ไม่มีการพบปัญหา หรือโรคร้ายแรงกับโคนมแต่อย่างใด หรือหากพบก็จะมีโรคปาก เท้า เปื่อยบ้าง ซึ่งมีวัคซีนรักษาอยู่แล้ว และอาการเกี่ยวกับเต้านมอักเสบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่ต้องประสบพบเจอ และสืบเนื่องจากอาการเกี่ยวกับเต้านมอักเสบ
โดยคุณเตอร์มีเคล็ดลับที่ช่วยดูแลรักษาเต้านมให้โคทุกตัวในฟาร์มฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ ของ “NOVA MEDICINE” (บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด) จำนวน 3 รายการ ที่สินค้าได้รับรองมาตรฐาน GMP ประกอบด้วยดังต่อไปนี้
–โนวาคลาฟ (Nova Clav) น้ำมันแขวนตะกอน สำหรับฉีด
สรรพคุณ ใช้รักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อของเยื่อบุต่างๆ มดลูกอักเสบ และเต้านมอักเสบ
วิธีใช้ เพียงเขย่าขวด และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในปริมาณใช้ยา 8.75 มิลลิกรัม (Amoxicillin 7 มก. และ Clavulanic Acid 1.75 มก.) ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือใช้ยาโนวาคลาฟ 1 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักสัตว์ 20 กก. วันละครั้ง ติดต่อกัน 3-5 วัน เป็นต้น
–เซ็ฟฟิออร์-50 (Ceffior-50) น้ำมันแขวนตะกอน สำหรับฉีด
สรรพคุณ ใช้รักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pasteurella multocida , Mannheimia haemolytica ที่ไวต่อยานี้ เป็นต้น ตลอดจนรักษาโรคติดเชื้อของผิวหนัง และแผลติดเชื้อระหว่างนิ้วเท้าอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดสภาวะเนื้อตาย (Acute interdigital necrobacillocis) ที่เกิดจากเชื้อ Fusobacterium necrophorum และ Bacteroides melaninogenicus ที่ไวต่อยานี้ ตลอดจนรักษามดลูกอักเสบแบบเฉียบพลัน และหลังคลอดภายใน 10 วัน (Acute post-partum metritis) เป็นต้น
วิธีใช้ สำหรับรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ใช้ Ceftiofur ขนาด 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือใช้เซ็ฟฟิออร์-50 2 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังวันละครั้ง ต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 วัน หรือสำหรับรักษาอาการมดลูกอักเสบแบบเฉียบพลัน ให้ใช้ Ceftiofur ขนาด 2.2 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือใช้เซ็ฟฟิออร์-50 4.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัม โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือใต้ผิวหนัง วันละครั้ง และต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน เป็นต้น
–โทนามิค (Tonamic) น้ำยาปราศจากเชื้อ สำหรับฉีด
มีส่วนประกอบสำคัญ ใน 1 มิลลิลิตร ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ “โทลฟีนามิค แอซิด” 40 มิลลิกรัมสรรพคุณ เป็นตัวยาลดอาการอักเสบ ลดไข้ และบรรเทาอาการปวด ซึ่งไม่ใช่สารประเภทสเตอรอยด์ โดยสำหรับการรักษาโค ใช้รักษาร่วมกับยาต้านหรือทำลายจุลชีพ เพื่อช่วยลดอาการอักเสบชนิดเฉียบพลันจากโรคเต้านมอักเสบ และโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
วิธีใช้ สำหรับโคเต้านมอักเสบ ให้ใช้ยาขนาด 4 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม (1 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักสัตว์ 20 กิโลกรัม) โดยให้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือใต้ผิวหนัง และหากจำเป็นอาจใช้ยานี้ซ้ำอีกครั้ง หลังจากการให้ยานี้ครั้งแรกแล้ว 48 ชั่วโมง เป็นต้น
การจำหน่ายน้ำนมดิบ
โดยคุณเตอร์กล่าวเสริมว่าจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้ง 3 รายการ ของ บจก.โนวาฯ ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตในฟาร์มฯ มีคุณภาพ ส่งขายให้สหกรณ์ฯ ได้ราคาดี ซึ่งบวกลบ ค่า pH, โปรตีน, น้ำตาล, ไขมัน และค่าอื่นๆ ในน้ำนมดิบธรรมชาติ ไม่เกิน 1-2 ซึ่งถือว่ามีคุณภาพสูง ตรงความต้องการของตลาด
แนวโน้มในอนาคต
ทั้งนี้คุณวสันต์ และคุณณพงษ์ชัย สองพ่อลูกแห่งจิติยาฟาร์ม ยังกล่าวฝากทิ้งท้ายเกี่ยวกับอาชีพทำ ฟาร์มโคนม ไว้อย่างน่าสนใจอีกด้วย “ในอนาคตอันใกล้คาดว่าในอีก 1 ปีข้างหน้า ในฟาร์มฯ จะมีการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยวางแผนขยายพันธุ์วัวท้องเพื่อจำหน่ายอีกด้วย
รวมถึงการทำฟาร์มไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนส่งจำหน่ายให้กับผู้สนใจ เป็นการใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าของมูลวัวที่มีอยู่แล้วในฟาร์มฯ โดยราคาในตลาดถือว่าให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งราคาซื้อขายมูลไส้เดือนเฉลี่ย 400-500 บาท/กิโลกรัม ตลอดจนการทำเกษตรผสมผสาน
โดยปัจจุบันที่ฟาร์มฯ กำลังวางแผนขยายบ่อปลาช่อน และลงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เพิ่ม อีกทั้งมีปลูกสวนมะม่วงเอาไว้ สลับกับการปลูกหญ้าหวาน-หญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นอาหารให้กับวัว และเพื่อรองรับแนวคิดการสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรในอนาคตอันใกล้ สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้เข้ามาท่องเที่ยว และศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงโคนมอีกด้วย
ซึ่งตนเองและครอบครัวมองว่าสมัยนี้ไม่ว่าจะทำเกษตรหรืออะไรก็ตาม ควรมีแผนรองรับการสร้างรายได้หลายๆ ช่องทาง โดยสินค้าเกษตร ราคาในตลาดผันผวน มีขึ้น มีลง อยู่ตลอดเวลา แต่หากผู้ประกอบการรู้จักปรับตัวและมองหาโอกาสสร้างรายได้หลายๆ ช่องทาง ก็สามารถกระจายความเสี่ยง มีรายได้หมุนเวียนเข้ามาตลอดทั้งปี และยังช่วยพัฒนายกระดับอาชีพเกษตรและปศุสัตว์ไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกต่อไปได้อีกด้วย
ขอขอบคุณ คุณชัยยา คุณวสันต์ และคุณณพงษ์ชัย สุวรรณประทีป เจ้าของจิติยาฟาร์ม
สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูล ที่อยู่ 191 หมู่ 1 ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ 36230
โทร.097-919-9455, 097-919-1694 ฟาร์มโคนม ฟาร์มโคนม ฟาร์มโคนม ฟาร์มโคนม ฟาร์มโคนม