การปลูกมะกรูด ระยะชิด ได้ทั้งใบ ทั้งกิ่งพันธุ์ ตอนที่ 1

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับประเทศไทยหรือหลายๆ ประเทศ ที่ในแต่ละครัวเรือนต้องมีเครื่องปรุง เครื่องเทศ เพื่อเอาไว้ใช้ใส่ในอาหาร หนึ่งในนั้นจะขาดไปไม่ได้ คือ “ ใบมะกรูด ”

ปัจจุบันความต้องการในภาคครัวเรือนมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ และในภาคอุตสาหกรรมของการทำอาหารก็สูงขึ้นเช่นกัน เช่น โรงงานผลิตน้ำพริกสำเร็จรูป หรือจะเป็นโรงงานผลิตผงปรุงรสต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ ใบมะกรูด เป็นส่วนประกอบในการผลิตแทบทั้งสิ้น

การปลูกมะกรูด
การปลูกมะกรูด

คงจะพูดได้ว่า ในประเทศไทยหลายคนคงรู้จัก ใบมะกรูด กันเป็นอย่างดี น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักผักสวนครัวชนิดนี้ เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน จึงทำให้ ใบมะกรูด เริ่มมีบทบาททั้งในด้านอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรสนใจ การปลูกมะกรูด กันเป็นจำนวนมาก จากผักสวนครัวที่น่ามีความสนใจมากนัก ปลูกมะกรูด กันไว้ในบ้านละต้น 2 ต้น เพื่อใช้ประกอบอาหาร

แปลงมะกรูดระยะชิด
แปลงมะกรูดระยะชิด

แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าลงทุนและน่าศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะในอนาคตพืชตัวนี้จะทำให้ประเทศของเรามีการส่งออก ใบมะกรูดอบแห้ง เพื่อนำรายได้เข้าประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำ

ฉบับนี้ทีมงานผักเศรษฐกิจอดที่จะตามกระแสไปไม่ได้ จึงเดินทางไปที่ อ. ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ไปพบกับ คุณณรงค์ ร่างใหญ่ เจ้าของสวนมะกรูดตัดใบซึ่งมีแนวคิดและวิธีการผลิต ใบมะกรูด เพื่อการค้าให้ได้ผลผลิตดีเป็นที่ต้องการของตลาด รวมไปถึงการทำกิ่งพันธุ์คุณภาพเพื่อส่งให้ลูกค้า คุณณรงค์เล่าว่าเมื่กอ่อนเขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีการที่กระทรวงการคลังแต่เพราะที่บ้านทำธุรกิจหอพักเลยต้องลาออกมาช่วยงานที่บ้านประกอบกับทางบ้านรับผลไม้มาขายในตลาดที่ตัวเมืองจังหวัดอยุธยาฯและในช่วงนั้นเขาเห็นว่าราคามะนาวแพงก็เลยอยากปลูกเพราะมีพื้นที่ในจังหวัดนครสวรรค์ จึงตัดสินใจกลับมาปลูกมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 และแป้นรำไพ จนประสบผลสำเร็จ

แต่เขายังไม่หยุดแค่นั้นเพราะได้ไปอบรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ในเรื่องของ การปลูกมะกรูด ระยะชิด ทำให้เขาเล็งเห็นว่ามะกรูดก็เป็นพืชตัวเดียวกับมะนาว แต่ดูแลง่ายกว่าแถมราคาในตลาดยังสูงประมาณกิโลกรัมละ 40-50 บาท ในช่วงหน้าแล้งจึงศึกษาแล้วหันมา ปลูกมะกรูดใ นพื้นที่ 5 ไร่ จำนวน 18,000 ต้น “ผมไม่ได้จบเกษตร ผมจบกฎหมายมา พอผมลงมือ ปลูกมะกรูด ก่อนปลูกก็เครียด แม่ก็เครียด เพราะคนรอบข้างมาถามว่าปลูก “เพื่ออะไร” จะไปขายที่ไหน สุดท้ายประมาณ 8-9 เดือน ชุดที่ปลูกเริ่มโตผมก็ตอนกิ่งพันธุ์ขาย มันเกินคาด ตลาดวิ่งเข้าหาเรา ตอนแรกไม่คิดว่าจะมีลูกค้า กะตัดใบขายอย่างเดียวเอาไปเอามาขายกิ่งพันธุ์โดยอัตโนมัติ” คุณณรงค์กล่าวอย่างภูมิใจ ช่วงแรกลงปลูก 7,000 ต้น ในพื้นที่ 10 ไร่ คุณณรงค์ปลูกมะนาวไว้ประมาณ 500 ต้น อีก 5 ไร่ การปลูกมะกรูด ไว้ประมาณ 20,000 ต้น รอบแรกลงปลูก 7,000 กว่าต้น รอบที่ 2 ปลูกเพิ่มอีก 10,000 กว่าต้น ทำให้บริเวณนั้นเต็มไปด้วยความเขียวของใบมะกรูดจนคนขับรถผ่านไปมาต้องมอง ช่วงแรกที่ปลูกคุณณรงค์คิดจะปลูกเพื่อตัดใบขายแต่ได้คำแนะนำจาก รองศาสตราจารย์ ดร.รวี เสรฐภักดี อาจารย์ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ว่าให้ตอนกิ่งมะกรูด จึงตัดสินใจทำตาม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
การให้ระบบแบบสปริงเกลอร์
การให้ระบบแบบสปริงเกลอร์

แต่ความพยายามก็เป็นผลกิ่งที่ตอนไว้กลับขายได้โดยอัตโนมัติทั้งที่เขากลับคิดว่าจะแค่ลองทำดูแต่สามารถทำรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำแล้วก็ยังไม่พอต่อความต้องการของตลาดอีกด้วย ต้นพันธุ์ 1 ต้น สามารถตอนกิ่งได้ 4-5 กิ่ง แต่การทำขยายกิ่งพันธุ์ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องอาศัยระยะเวลาการออก รากของมะกรูด

การปลูกมะกรูดระยะชิด การปลูกมะกรูด ทั้งตัดใบและขยายกิ่งพันธุ์ จะมีลักษณะการปลูกที่เหมือน โดยขั้นตอนแรกต้องเตรียมดินให้ดีก่อนที่จะนำมามะกรูดมาลงปลูก ระยะระหว่างแถวอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา และเว้นระยะห่างต้นประมาณ 50 ซม. เพื่อต้องการไม่ให้กิ่งกระโดงรับแสงมากจนเกินไป

ซึ่งแต่ละกิ่งก็จะแตกใหม่ได้อีก 2-3 กิ่ง หรือรวมแล้วทั้งหมดจะไว้เพียง 6 กิ่ง ต่อต้นเท่านั้น ทำให้ได้ผลผลิตของใบมะกรูดที่มีคุณภาพดี ใบใหญ่ สวย ได้น้ำหนักดีกว่า คุณณรงค์อ้างว่า การปลูกมะกรูด ระยะชิดเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ ดร.รวี แต่ก็ยังไม่มีเกษตรกรคนใดสนใจทำแบบจริงๆ จังๆ ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ที่เข้าอบรมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เท่านั้น ที่เริ่มทำวิธีนี้ แต่ก็ปรากฎว่าสามารถตอบโจทย์กับผู้ที่เริ่ม ปลูกมะกรูด ได้ดีมาก ทำให้มีโรงงานและบริษัทที่สน ใบมะกรูด ไปทำวัตถุดิบมาติดต่อขอรับซื้อหลายแห่ง ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

การบำรุงรักษา ทั้งทางน้ำและทางปุ๋ย การผลิตมะกรูดตัดใบต้องอาศัย “การให้น้ำ”อย่างเพียงพอและมีความต่อเนื่อง ต้องมีการวางระบบน้ำที่ดี และในพื้นที่สามารถระบายน้ำได้ดีเช่นกัน เพื่อป้องกันรากเน่า โคนเน่า ของมะกรูด การจัดการเรื่องระบบน้ำที่นี่มี 2 แบบ คือ แบบวางระบบน้ำหยดและแบบสปริงเกอร์

1.ระบบน้ำหยด จะเดินท่อเป็นแถวคู่ของแต่ละแถว การวางระบบน้ำหยดจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดและตรงนี้สามารถให้ ทั้งน้ำและปุ๋ยในระบบเดียวกันได้ปุ๋ยที่ให้ก็จะมีทั้งปุ๋ยเคมีและอินทรีย์สลับกันไป

ถ้าเป็นปุ๋ยอินทรีย์จะเป็นพวกน้ำขี้หมู ขี้ไก่ หรืออาจเป็นน้ำหนักสูตรต่างๆก็ได้ ส่วนเคมีจะใช้แม่ปุ๋ยของโกรยาว สูตร 15-5-20 หรือ 4-6-0 ไปละลายในถัง แล้วปล่อยไปกับระบบน้ำหยดที่วางไว้ในแปลง ปลูกมะกรูด ถ้าต้องการไนโตรเจนให้กับใบมะกรูด ควรให้ปุ๋ยเคมีประมาณ 10 วัน ต่อ 1

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ระบบสปริงเกอร์ จะใช้ก็ต่อเมื่อต้องการลดอุณหภูมิภายในสวน และฉีดไล่พวกแมลงถึงจะไม่หมดไปซะทีเดียวแต่ก็สามารถช่วยได้ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ลดต้นทุนการใช้สารกำจัดแมลงและลดการใช้สารเคมีให้น้อยลงด้วย แถมเวลาเปิดสปริงเกอร์จะช่วยล้าง ใบมะกรูด ไปในตัว ทำให้ใบมัน เขียวสด ดูน่าใช้ในการประกอบอาหารเป็นอย่างยิ่ง การให้น้ำระบบนี้จะให้2-3 ครั้ง ต่อ 1 ครั้ง แต่การให้ระบบน้ำหยดทางดินจะให้ทุกวัน

การวางระบบน้ำหยดในแปลงปลูกมะกรูด
การวางระบบน้ำหยดในแปลงปลูกมะกรูด

การให้ปุ๋ย จะเน้นสูตรตัวหน้า คือ “N” สูง สัดส่วน คือ 5:1:4โดยเรียกกันว่า “สูตรโยกหน้า” สลับกับการให้น้ำขี้หมูหรือขี้ไก่ การให้ปุ๋ยสูตรโยกหน้าจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อไม้ ป้องกันการหักหรือฉีกขาดของต้นไม้ได้ การให้ปุ๋ยไม่ควรทิ้งระยะเกิน 1 เดือน ต่อครั้ง

ควบคุมโรคและแมลงด้วยระบบ 1:4:7 โรคและแมลงที่สำคัญของมะกรูด ได้แก่ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ ไรแดง และโรคแคงเกอร์ เป็นต้นคุณณรงค์แนะนำให้ใช้ระบบ 1:4:7 โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงที่พืชมีการแตกยอดอ่อน ใบอ่อน ออกมา ช่วงนี้ศัตรูพืชอย่าง เพลี้ยไฟและหนอนชอนใบ จะเริ่มเข้าทำลาย รวมทั้งจะเข้ามาวางไข่ก็ให้นับเป็นวันที่ 1 ให้ฉีดพ่นยาเพื่อป้องกันกำจัด เช่น อะบาเมกติน โปรวาโด และไซเปอร์เมทริน เป็นต้น แล้วนับจากวันที่ 1 ที่ฉีดพ่นยาแล้ว ไปอีก 4 วัน เป็นวันที่ 4 ห้ฉีดพ่นยากำจัดแมลงซ้ำอีกโดยใช้ยาตัวเดิม จากนั้นก็เว้นไปอีก 3 วัน โดยฉีดพ่นอีกครั้งเป็นการป้องกันหนอนชอนใบเพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล ซึ่งจะเป็นชนวนในการเกิดโรคแคงเกอร์ทำเช่นนี้จะเป็นการตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้พอดี

การใช้ระบบ 1:4:7 จะเป็นการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชในมะกรูดอย่างได้ผล เพราะในการทดลองของคุณณรงค์ทำให้แมลงในมะกรูดน้อยลงมาก ใบมะกรูด ค่อนข้างสวยและมีลักษณะใบใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ระบบ 1:4:7 ได้กับพืชทุกชนิด เพื่อป้องกันโรคและแมลงมารบกวนให้น้อยลง หรืออาจตัดวงจรการแพร่ระบายได้

ตอนต่อไป จะเป็นเรื่องของการ สร้างรายได้ และ การตลาด

ติดตามชมตอนต่อไปได้ ที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

www.พลังเกษตร.com

 

tags: การปลูกมะกรูด ระยะชิด ได้ใบ วิธีปลูกมะกรูด วิธีการปลูกมะกรูด การปลูกมะกรูดตัดใบ การปลูกต้นมะกรูด วิธีปลูกมะกรูด วิธีการปลูกมะกรูด ใบมะกรูด การปลูกมะกรูด

[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]