การกรีดยางพารา ได้ผลผลิตเปอร์เซนต์น้ำยางสูงถึง 38-40% สู่อุตสาหกรรมการแปรรูปเพิ่มมูลค่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในช่วงที่วิกฤตยางพารามีราคาตกต่ำ ทางรอดหนึ่ง คือ “การทำสวนยางแบบผสมผสาน” ถึงแม้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ชาวสวนยางพาราส่วนใหญ่ละเลย รวมถึง “การลดต้นทุน” ในการผลิตนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ปัจจัยสำคัญ คือ การเลือกใช้ “ปุ๋ย” ที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพงมากจนเกินไป เพราะปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางโดยเฉพาะยางเปิดกรีดที่ต้องการธาตุอาหารเพื่อผลิตน้ำยาง การกรีดยางพารา

1.ต้นยางแข็งแรง-ใบเขียวเข้ม-ทนโรค-ผลผลิตน้ำยางดี
1.ต้นยางแข็งแรง-ใบเขียวเข้ม-ทนโรค-ผลผลิตน้ำยางดี

การปลูกยางพารา

ทีมงานนิตยสารพลังเกษตรได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อติดตามผลอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้นำเสนอเรื่องราวการทำสวนยางผสมผสานแบบลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วยปุ๋ยดี มีคุณภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ KU59 “ตราจักรเพชร” ของบริษัท เคยู 59 จำกัด ที่ชาวสวนใช้ผลิตภัณฑ์แล้วเห็นผลอย่างชัดเจน

ในสวนผลไม้ และสวนยางพารา ของ “ลุงฮั่น” หรือ คุณจันทร์ เนินชัย เกษตรกรในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จากอดีตนัก “ประมง” จับปลาทะเลน้ำลึกในน่านน้ำทะเลอ่าวไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ยาวนานร่วม 30 ปี ที่หันหลังให้กับการหาปลา เพื่อก้าวสู่อาชีพเกษตรกรรมแนวผสมผสาน ในเนื้อที่ 120 ไร่ ที่สามารถสร้างเม็ดเงินได้ตลอดทั้งปี

2.คุณจันทร์-เนินชัย-เกษตรกรปลูกยางแบบผสมผสาน-จ.ระยอง
2.คุณจันทร์-เนินชัย-เกษตรกรปลูกยางแบบผสมผสาน-จ.ระยอง
ลุงฮั่นใช้ปุ๋ย-ตราจักรเพชร-บำรุงต้นทุเรียนในสวนอีกด้วย
ลุงฮั่นใช้ปุ๋ย-ตราจักรเพชร-บำรุงต้นทุเรียนในสวนอีกด้วย

พื้นที่ปลูกยางพาราและสวนผสมผสาน

โดยแบ่งพื้นที่ 60 ไร่ ปลูกยางพารา พื้นที่บางส่วนปลูกเงาะ แล้วโค่นสวนเงาะเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนหมอนทองประมาณ 30 ไร่ ด้วยราคาที่น่าดึงดูด และมองว่าในอนาคตตลาดทุเรียนเป็นไม้ผลที่ดีกว่าผลไม้อื่น ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและนอกประเทศ จึงขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มรวมทั้งหมด 60 ไร่ รวมถึงมังคุดไทย ที่มีตลาดรองรับที่ชัดเจนในอนาคต ควบคู่กับการปลูกทุเรียนด้วย

3.การกรีดยางพารา ได้ผลผลิตเปอร์เซนต์น้ำยางสูงถึง 38-40% สู่อุตสาหกรรมการแปรรูปเพิ่มมูลค่า
3.การกรีดยางพารา ได้ผลผลิตเปอร์เซนต์น้ำยางสูงถึง 38-40% สู่อุตสาหกรรมการแปรรูปเพิ่มมูลค่า

สายพันธุ์ยางพารา

 “ปลูกยางพันธุ์ดี การจัดการดี บำรุงด้วยปุ๋ยที่ดี เพิ่มผลผลิตน้ำยาง” สำหรับสวนลุงฮั่นนอกจากจะปลูกทุเรียนหมอนทองเพื่อสร้างรายได้ควบคู่กับการทำสวนยางพาราในพื้นที่ 60 ไร่ แบ่งปลูกยางพาราเป็นแปลงย่อย มีต้นยางทั้งหมด 3,800 ต้น แปลงที่มีอายุต้นยาง 6 ปี จำนวน 28ไร่ ต้นกล้ายางที่นำมาปลูกในช่วงนั้นราคาต้นละ 50 บาท และแปลงที่มีต้นยางอายุ 12 ปี จำนวน 32 ไร่ ใช้ต้นกล้ายางจากจังหวัดตราด ในราคาต้นละ 28 บาท

ระยะในการปลูก 7×3 เมตร ใช้ต้นกล้าประมาณ 66-70 ต้น/ไร่ สายพันธุ์ที่เลือกปลูก คือRRIT 251” และPB 235” เพราะยางพาราทั้งสองพันธุ์จะให้ผลผลิตที่สูง โดยเฉพาะ “พันธุ์ 251” ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ขนาดลำต้นมีความสม่ำเสมอ ปลูกยาง 6 ปี สามารถเปิดกรีดได้ มีจำนวนวงท่อน้ำยางมาก ความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตน้ำยางมากถึง 230-240 กิโลกรัม/ไร่/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ปุ๋ยอินทรีย์-KU59-ตราจักรเพชร-ปุ๋ยดี-มีคุณภาพ-เพื่อชาวสวนยางพารา
4.ปุ๋ยอินทรีย์-KU59-ตราจักรเพชร-ปุ๋ยดี-มีคุณภาพ-เพื่อชาวสวนยางพารา
สวนยางที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี-ให้ผลผลิตน้ำยางสูง-ต้นแข็งแรงสมบูรณ์
สวนยางที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี-ให้ผลผลิตน้ำยางสูง-ต้นแข็งแรงสมบูรณ์ การกรีดยางพารา การกรีดยางพารา

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางพารา

ส่วนการจัดการดูแลสวนยางพารา โดยในแต่ละปีจะต้องมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยอินทรีย์ และหมั่นกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้า หรือรถตัดหญ้า เพื่อไม่ให้หญ้าขึ้นรกปกคลุมสวน ที่ทำให้ยากต่อการเดินกรีดยาง จากนั้นจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ KU 59 “ตราจักรเพชร” สูตรสำหรับยางพารา ของบริษัท เคยู 59 จำกัด

ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท เอสที เฟอร์ทิลิตี้ จำกัด ที่ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพน้ำยาง ช่วยในการสังเคราะห์แสง ดูดซับสารอาหาร ใบหนา เขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรง เปลือกนุ่ม กรีดง่าย สามารถช่วยป้องกันโรคหน้ายางตายนึ่ง เปลือกแห้ง เชื้อราไฟท๊อปธอร่า ใบจุด เป็นต้น

มีทั้งธาตุรอง ธาตุเสริมอัตราส่วนที่ใช้ในสวนยางพาราจะแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ช่วงฤดูต้นฝน และช่วงฤดูปลายฝน ในช่วงต้นยางมีอายุ 1-2 ปี ควรใส่ปุ๋ยประมาณครึ่งกิโลกรัม/ต้น ช่วงต้นยางอายุ 3 ปีขึ้นไป จะใส่ปุ๋ย 1.5 กิโลกรัม/ต้น ช่วงอายุต้นยางที่สามารถกรีดได้แล้วจะใส่ปุ๋ย 2.5 กิโลกรัม/ต้น ในแต่ละช่วงที่ใส่ปุ๋ยจะใส่รอบๆ ทรงพุ่ม หรือหว่านแล้วพรวนดินกลบ

แต่ละปีสวนยางพาราแห่งนี้จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 6-7 ตัน/ปี ในการบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์ เพื่อให้ผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์น้ำยางดี คุ้มค่ากับการลงทุน และยังสร้างความมั่นใจได้ว่าการเลือกใช้พันธุ์ยางที่ดี ปุ๋ยดี ช่วยเพิ่มคุณภาพให้น้ำยางได้อย่างแน่นอน

5.ลำต้นยางพาราแข็งแรง-เปลือกนิ่ม-กรีดง่าย-น้ำยางดี
5.ลำต้นยางพาราแข็งแรง-เปลือกนิ่ม-กรีดง่าย-น้ำยางดี การกรีดยางพารา การกรีดยางพารา การกรีดยางพารา

การกรีดยางพารา

“ผลผลิตยางคุณภาพ สู่อุตสาหกรรมการแปรรูปเพิ่มมูลค่า” การบำรุงต้นยางที่ดี ทำให้ปริมาณน้ำยางออกมาดี มีคุณภาพ ขายได้ราคา เปอร์เซ็นต์น้ำยางสูงถึง 38-40% แต่ด้วยความผันผวนของกลไกตลาด ทำให้ราคายางพาราในปัจจุบันไม่ดีเท่าที่ควร บวกกับขาดแคลนแรงงานในการทำยางแผ่นที่ทำมานานหลายสิบปี จึงทำให้สวนยางพาราแห่งนี้หันมาเน้นทำ “ยางก้อนถ้วย” ได้ประมาณ 5-6 ปี เพราะสะดวกกว่า ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ใช้น้ำน้อย และใช้แรงงานน้อยกว่าการทำยางแผ่น

นอกจากนี้การดูแลสวนยาง และรับจ้างกรีดยางในสวน มีคนงานประจำ 2-3 ครอบครัว จะกรีดแบบ AB (1 วัน เว้น 1 วัน) การกรีดแบบAB นั้นจะให้เปอร์เซ็นต์น้ำยางสูง หน้ายางหมดช้ากว่า สร้างรายได้ที่แน่นอนกว่า อัตราส่วนแบ่งในการจ้าง 50 : 50โดยส่วนต่างจะหักแค่เฉพาะค่าน้ำกรด (กรดฟอร์มิค) และค่าขนส่งยางก้อนไปขายที่ร้านรับซื้อยางพาราเท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.สวนยางพาราของลุงฮั่น
6.สวนยางพาราของลุงฮั่น การกรีดยางพารา การกรีดยางพารา การกรีดยางพารา การกรีดยางพารา 

ด้านปัญหาราคายางพารา

“รัฐบาลควรสนับสนุน ส่งเสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตยางให้มากขึ้น และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ยางพารา การแปรรูปหมอนยางพารา รองเท้าจากยางพารา ฯลฯ เพื่อเพิ่มรายได้จากการผลิตและส่งออก เป็นการช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดจากความผันผวนของราคายางในตลาด เพื่อให้มีราคาดีขึ้นมากกว่านี้” ลุงฮั่น กล่าวถึงกลไกราคายางที่ผันผวนในปัจจุบัน

จากปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำมีผลกระทบต่อชาวสวนยางโดยตรง เนื่องจากต้นทุนผลิตคงที่ แต่ราคายางกลับถูกปรับลดลง ทำให้รายได้ของเกษตรกรหายไปมาก ซึ่งราคายางพาราที่ตกต่ำส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เนื่องจากชาวสวนยางพาราไม่มีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอ ผลกระทบจากราคายางพาราตกต่ำ ไม่เฉพาะเจ้าของสวนยางเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงแรงงานที่ประกอบอาชีพรับจ้างกรีดยางอย่างเห็นได้ชัด โดยเจ้าของสวนยางลดการจ้างแรงงานในการกรีดยางลงจากเดิม รวมถึงการลดต้นทุนในการผลิตด้านต่างๆ ลงจากเดิมด้วยเช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติม

คุณจันทร์ เนินชัย (ลุงฮั่น) 55/1 หมู่ 8 ต.กองดิน อ.แกลง จ.ระยอง โทร.082-215-7471

สอบถามผลิตภัณฑ์ “ปุ๋ยอินทรีย์” ติดต่อ บริษัท เคยู 59 จำกัด

117 หมู่ที่ 1 ถ.มิตรภาพ 304 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 25110 โทร.086-374-9192

โฆษณา
AP Chemical Thailand