ลุยอีสานใต้ เลี้ยงจิ้งหรีด ได้เงินเพิ่ม 6000 บาท/เดือน และลดต้นทุนปุ๋ยให้ ชาวสวนยาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สุภาษิต “น้ำขึ้น ให้รีบตัก” เคยถูกนำมาใช้ในอาชีพสวนยางอย่างกว้างขวางในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา…??? เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงรุ่งเรืองของการปลูกสร้างสวนยาง อีกทั้งราคายางพุ่งสูงติดต่อกันหลายปี ชาวสวนยางได้เงินเป็นกอบเป็นกำ และมีการคาดการณ์ว่าราคายางจะสูงอย่างนี้ไปอีกหลายปี

ชาวสวนยาง จำนวนมากจึงนำกำไรส่วนนี้ ไปขยายสวนยางแห่งใหม่เพิ่ม หวังโกยกำไรในช่วงยางราคาแพง ยิ่งปลูกมาก ยิ่งมีโอกาสได้กำไรมาก ตามสุภาษิตที่ว่า “น้ำขึ้น ให้รีบตัก” แต่ไม่ใช่ ชาวสวนยาง ทุกรายที่มีแนวความคิดอย่างนั้น แต่มีความคิดตรงข้ามว่าการปลูกยางไม่จำเป็นต้องปลูกจำนวนมาก เพียงแต่เลือกปลูกตามกำลัง และความสามารถ ดูแลจัดการ

ขณะเดียวกันการปลูกพืชหลายตัว นอกเหนือจากยางเท่ากับประกันความเสี่ยง ไม่ฝากอนาคตไว้กับพืชตัวใดตัวหนึ่งอย่างเดียว ตามทฤษฎี “ไข่หลายตะกร้า” ย่อมปลอดภัย และเสี่ยงน้อยกว่าการนำไปเก็บไว้ตะกร้าเดียว ถ้าตะกร้าใดเกิดอุบัติเหตุ ก็ยังมีไข่อีกตะกร้าเหลืออยู่ ด้วยสถานการณ์ราคายางปัจจุบันพิสูจน์และยืนยันได้แล้วว่าอาชีพสวนยางมีความเสี่ยงเหมือนๆ กับพืชชนิดอื่นๆ ทางที่ดีควรปลูกพืชหลายตัว หรือมีอาชีพอื่นเสริม นั่นคือ ความยั่งยืนกว่า

เป็นโอกาสดีที่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) นำคณะสื่อมวลชนไปดูสวนยางในพื้นที่ 2 จังหวัดอีสานใต้ ที่มีแนวการทำสวนยางแบบผสมผสาน และสร้างรายได้เสริมจากสวนยางในท้องที่ราคายางตกต่ำ รวมถึงการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองการซื้อขายยางไม่ให้ถูกพ่อค้าเอารัดเอาเปรียบ เนื้อหามีดังนี้

สกย.ศรีสะเกษ ขับเคลื่อนนโยบายช่วยเหลือ ชาวสวนยาง

1.จิ้งหรีด
1.จิ้งหรีด
2.คุณปิยะ-วงศ์วิธรรธน์-ผอ.สกย.จ.ศรีสะเกษ
2.คุณปิยะ-วงศ์วิธรรธน์-ผอ.สกย.จ.ศรีสะเกษ

คุณปิยะ วงศ์วิวรรธน์ ผู้อำนวยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพารา จ.ศรีสะเกษ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เริ่มกันที่ จ.ศรีสะเกษ จังหวัดนี้เป็นพื้นที่ปลูกยางสำคัญของอีสานใต้ มีพื้นที่ปลูกยางไม่ต่ำกว่า 60,000 ไร่ และยังมีโรงงานยางแท่ง STR 20 ขององค์การสวนยางอยู่ใน อ.ขุนหาญ แต่ก่อนจะลงพื้นที่ไปดูสวนยางของเกษตรกร เรามีสอบถามข้อมูลโดยภาพรวมของจังหวัดก่อนว่าเป็นอย่างไร

คุณปิยะ วงศ์วิวรรธน์ โทรศัพท์ 08-1477-6606 ผู้อำนวยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพารา จ.ศรีสะเกษ ให้ข้อมูลว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ เช่น นาข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ปลูกหอม และกระเทียม เป็นต้น โดยเฉพาะข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทำรายได้มากเป็นอันดับ 1 ส่วนข้อมูลด้านอาชีพสวนยาง

คุณปิยะบอกว่าสวนยางส่วนใหญ่เป็นเจ้าของสวนรายย่อย แต่หากยังทำสวนยางเป็นอาชีพหลักอย่างเดียวก็คงลำบาก จึงพยายามส่งเสริมให้ทำอาชีพเกษตรอย่างอื่นเสริม “ตอนนี้เราจึงเปรียบเสมือนว่าเรากำลังหาปลา อาจจะได้ปลาจำนวนน้อย เราต้องใช้วิธีทอดแห ถ้าเราทอดแหหาปลา เราก็มีโอกาสได้ปลามากขึ้น” ผอ.สกย. จ.ศรีสะเกษ ให้ข้อคิด

ขณะเดียวกันภาครัฐเองมีนโยบายส่งเสริม ชาวสวนยาง ในช่วงราคายางตกต่ำหลายๆ ด้าน ทาง สกย. ยังจัดงบประมาณสินเชื่อเงินหมุนเวียนสำหรับ ชาวสวนยาง สงเคราะห์รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 บาท/ปี

ส่วน ชาวสวนยาง ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการสงเคราะห์ฯ ทาง สกย. ได้รับมติจากรัฐบาลให้ช่วยเหลือเงินกู้ครัวเรือนละไม่เกิน 100,000 บาท พร้อมเข้าไปแนะนำหลักวิชาการ ทั้งการดูแล บำรุงรักษาต่างๆ และสามารถเข้ามาบริการ เป็นต้น “ส่วนมากจะขอกู้ไปใช้ปลูกพืชแซมในแถวปลูกยาง

ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต ทางสกย.ก็มีการสนับสนุนการฝึกอบรมปุ๋ยสั่งตัด ให้ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และสนับสนุนให้เกษตรกร ชาวสวนยาง ทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง” ขณะนี้มีสวนยางเข้าร่วมโครงการกว่า 20,000 ไร่ จากพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 50,000-60,000 ไร่ มีผลผลิตปีละ ประมาณ 600,000  ตัน /ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

…………………………………………………………………………………………………………………………………………..………

ยางราคาตก เลี้ยงจิ้งหรีดเสริม เพิ่มรายได้ 6,000 บาท/เดือน 

3.คุณดวงปี-สุทธิวรรค-เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา-เลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม
3.คุณดวงปี-สุทธิวรรค-เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา-เลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม

คุณดวงปี สุทธิวรรค เลี้ยงจิ้งหรีด จ.ศรีสะเกษ

เกษตรกรรายแรกใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ มีแนวทางการหารายได้เสริมจากสวนยางในช่วงยางราคาตก ด้วยการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นรายได้เสริม

คุณดวงปี สุทธิวรรค โทรศัพท์ 08-0898-3135 เล่าว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ 50 ไร่ เป็นอาชีพหลัก แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเห็นว่าราคายางเริ่มลดลงต่อเนื่อง จึงเลี้ยงจิ้งหรีดขายเป็นอาชีพเสริมตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว “เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่ไม่มาก สามารถเลี้ยงในบริเวณบ้านได้ มีรายได้พอสำหรับใช้จ่ายในครัวเรือน และต้นทุนต่ำ”

4.กล่องเลี้ยงจิ้งหรีด ช่วยเพิ่มรายได้ให้ ชาวสวนยาง
4.กล่องเลี้ยงจิ้งหรีด ช่วยเพิ่มรายได้ให้ ชาวสวนยาง

 

ถาดอาหารจิ้งหรีด
ถาดอาหารจิ้งหรีด

ขั้นตอนการเลี้ยงจิ้งหรีด

จิ้งหรีดที่นำมาเลี้ยง คือ พันธุ์ทองดำ และทองแดง เป็นพันธุ์เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่ทำโรงเพาะเลี้ยงไม่มาก สามารถนำมาเลี้ยงบริเวณรอบบ้านได้ และยังได้ทำงานอยู่กับบ้านอีกด้วย

วิธีเลี้ยงเริ่มจากทำกล่องเลี้ยง ใช้ถาดไข่เป็นรังในการเลี้ยง กล่องหนึ่งใช้ประมาณ 30 ถาด โดยลงทุนไข่จิ้งหรีด ถาดละ 150 บาท มีตัวประมาณ 3-4 กิโลกรัม/ถาด และอาหารของจิ้งหรีด คือ หัวอาหารจิ้งหรีด กระสอบละ 530 บาท ใบมันสำปะหลัง และเศษอาหารอื่นๆ เช่น ฟักทอง เศษผัก เป็นต้น ส่วนระยะเวลาในการเลี้ยงจิ้งหรีด ถ้าในอากาศร้อนใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 35-40 วัน และอากาศเย็นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 50-60 วัน จึงสามารถจับขาย

5.จิ้งหรีดพร้อมจำหน่าย
5.จิ้งหรีดพร้อมจำหน่าย

การจำหน่ายจิ้งหรีด

เจ้าของบอกว่าจิ้งหรีดขายเป็นแบบสดแล้วนำไปบริโภคส่งขายกิโลกรัมละ 150 บาท มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 บาท/เดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อย่างไรก็ตามศัตรูของจิ้งหรีด คือ หนู เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปิดกล่องเลี้ยงให้ดีกันการเข้าทำลาย

……………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ลุย กันทรลักษ์ ชมยางต้นแรก อีสานใต้ อายุ 64 ปี

6.คุณโสภา-ขุนจิตรงาม-ปลูกยางพารา
6.คุณโสภา-ขุนจิตรงาม-ปลูกยางพารา

คุณโสภา ขุนจิตรงาม ปลูกยางพารา จ.ศรีสะเกษ

ไปดูการเลี้ยงจิ้งหรีดทำรายได้เสริมในสวนยางแล้ว เราเดินทางต่อไปยัง ต.น้ำอ้อม อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ที่นี่มียางพาราต้นแรกของอีสานใต้ โดยมี คุณสำเริง ประสิทธิ์ศักดิ์ อดีตข้าราชการกรมที่ดิน โดยได้นำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นพันธุ์เจมิล่า หรือเจ 1 นำมาปลูกที่บ้านโนนสำเริง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 ปัจจุบันอายุ 68 ปี

คุณโสภา ขุนจิตรงาม โทรศัพท์ 08-1224-1875 อดีตผู้ใหญ่บ้านโนนสำเริง ให้ข้อมูลว่า อดีตที่ดินบริเวณนี้เป็นป่ารกชัฏ พ่อสำเริง ประสิทธิ์ศักดิ์ ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว ช่วงนั้นตนได้เห็นต้นไม้ที่ปลูกบริเวณสวนใกล้บ้านท่าน เมื่อดูลักษณะต้นแล้วไม่เหมือนกับต้นไม้ที่เคยเห็นในภาคอีสาน จึงถามท่านว่าเป็นต้นไม้อะไร และได้คำตอบว่าเป็นต้นยางพารา

7.ต้นยางพาราพันธุ์เจมิ่ลำต้นแรกภาคอีสาน
7.ต้นยางพาราพันธุ์เจมิ่ลำต้นแรกภาคอีสาน

การปลูกยางพารา

พ่อสำเริงตั้งใจจะทำสวนยางขึ้นในอีสาน หลังจากที่พืชตัวนี้ปลูกเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น และคนส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าปลูกพื้นที่อื่นไม่ได้ และเมื่อรู้ว่าต้นยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลผลิตมีการส่งออกได้ทั้งในและนอกประเทศ ยิ่งทำให้ตนมีแนวคิดว่าศึกษาพื้นที่ปลูกโดยใช้ต้นยางต้นแรกเป็นต้นยางแม่แบบ “คาดว่าน่าจะนำมาปลูกในพื้นที่ภาคอีสานใต้ได้ ทำให้มีกำลังใจไปศึกษาวิธีการทำสวนยางจากหลายพื้นที่ปลูกยาง และนำมาวิเคราะห์พิจารณาระบบต้น การปลูก บำรุงรักษา รวมถึงการเลือกพันธุ์ ความเหมาะสมกับพื้นที่ และตัดสินใจลงปลูก ทำสวนยางเป็นคนแรกของภาคอีสานใต้ด้วย”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วันนี้ก็พิสูจน์เรียบร้อยแล้วว่าอีสานปลูกยางพาราได้อย่างดี และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะใน จ.ศรีสะเกษ มีพื้นที่ปลูกยางหลายหมื่นไร่

8.สวนยางพาราของคุณโสภา
8.สวนยางพาราของคุณโสภา

การจำหน่ายน้ำยางพารา

คุณโสภายังกล่าวต่อว่า 20 กว่าปีก่อน ที่ปลูกยาง เปิดกรีดยาง อาทิตย์หนึ่งนำออกขายราคา กก.ละ 14-20 บาท ยังดีกว่าไปทำอาชีพอย่างอื่น และยังมีระบบการขายที่เป็นธรรม เพราะมีการรวบรวมผลผลิตกันจำนวนมากๆ แล้วขายผ่านระบบประมูล ใครให้ราคาสูงขายให้คนนั้น ทำให้ไม่เสียเปรียบพ่อค้า และแม้ว่ายางราคาปัจจุบันจะตกต่ำ แต่อย่างน้อย ชาวสวนยาง ก็ยังมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งเดือน

9.คุณโสภา-ซ้ายมือ-คุณปิยะ-ผอ.สกย.จ.ศรีสะเกษ-ขวามือ-กับกลุ่มสมาชิก
9.คุณโสภา-ซ้ายมือ-คุณปิยะ-ผอ.สกย.จ.ศรีสะเกษ-ขวามือ-กับกลุ่มสมาชิก

แนวโน้มในอนาคตของ ชาวสวนยาง

คุณโสภายังมองถึงอนาคตตลาดยางด้วยว่าอนาคตต้องกลับมาราคาสูงอีกครั้ง เพราะทั่วโลกต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้นแต่ละปีจำนวนมาก อย่างปัจจุบันนี้ ชาวสวนยาง ในพื้นที่ ครอบครัวหนึ่งกรีดยางสัปดาห์ละ 3 วัน ได้ยางประมาณ 250-300 กก./20 บาท/ไร่ มีรายได้ 5,000 -6,000 บาท/สัปดาห์ “มีรายได้ 10,000 กว่าบาท/ เดือน ก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้ อย่างสบายแล้ว”

……………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

ยางก้อนถ้วย ทำรายได้เสริม ให้ชาวนา อ.สว่างวีระวงศ์

10.คุณแสงจันทร์-บุญแก่น-เกษรกรดีเด่นสาขาการทำนา
10.คุณแสงจันทร์-บุญแก่น-เกษรกรดีเด่นสาขาการทำนา

คุณแสงจันทร์ บุญแก่น ชาวสวนยาง ทำเกษตรผสมผสาน 

แนวทางการปลูกพืชตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการปลูกพืชหลายอย่างบนเนื้อที่ไม่มากนัก หากไม่ได้พืชชนิดหนึ่ง ต้องได้อีกพืชชนิดหนึ่ง โดยเน้นระบบอินทรีย์ ลดต้นทุน มุ่งผลผลิต เพิ่มมูลค่า เพื่อพัฒนาสู่ความมั่นคงและยั่งยืน คือ แนวทางของ คุณแสงจันทร์ บุญแก่น โทรศัพท์ 08-7246-9640 เกษตรกรดีเด่น สาขาการทำนา หรือเกษตรกรตัวอย่าง จ.อุบลราชธานี

11.สวนยางพารา
11.สวนยางพารา
บ่อเลี้ยงปลาประมาณ-2-ไร่
บ่อเลี้ยงปลาประมาณ-2-ไร่

การทำสวนยาง เลี้ยงปลา-ไก่ ปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว

เขาเล่าว่า พื้นที่ของเขารวมทั้งหมด 45 ไร่ แบ่งปลูกข้าว 20 ไร่ ทำสวนยาง 15 ไร่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา 2 ไร่ แล้วอีก 8 ไร่ ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงไก่ดำ เป็นต้น นอกจากนั้นเขายังทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เขาบอกว่าเกษตรกรพื้นที่ อ.สว่างวีระวงศ์ ส่วนมากทำนาปรัง และนาปี เพราะพื้นที่เหมาะสม มากกว่าทำเกษตรชนิดอื่น ส่วนยางพารา มันสำปะหลัง แตงโม และพืชผักล้มลุกทั่วไป ปลูกเป็นอาชีพเสริม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณแสงจันทร์เริ่มปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ตามโครงการรัฐบาล สนับสนุนปลูก 1 ล้านไร่ ปัจจุบันเปิดกรีดแล้ว 3 ปี โดยมี สกย. เข้ามาแนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางทางวิชาการ และพัฒนาด้านตลาดยาง รวมทั้งโครงการต่างๆ จากภาครัฐบาล

12.ยางก้อนถ้วยจากทางกลุ่มนำมารวบรวมเพื่อพ่อค้ามาประมูล
12.ยางก้อนถ้วยจากทางกลุ่มนำมารวบรวมเพื่อพ่อค้ามาประมูล

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายยางก้อนถ้วย

สกย. สนับสนุนให้เกษตรกรมีตลาดยางพาราในท้องถิ่นขึ้นมา โดยการรวมกลุ่มเกษตรกรจำนวน 54 ราย ทั้งหมดเป็นเจ้าของสวนยางรายย่อย มีพื้นที่ปลูกยางรายละ 10-15 ไร่ ธุรกิจของกลุ่ม คือ รวบรวมยางก้อนถ้วยจากสมาชิกแล้วให้พ่อค้าเข้ามาประมูล เพราะยางก้อนถ้วยทำง่าย ขายได้เร็วกว่าผลิตยางแผ่น ประกอบกับราคายางลดลงเกษตรกรจึงไม่นิยมผลิตกัน พ่อค้าคนกลางจะเข้ามาดูคุณภาพยางเพื่อประมูลรับซื้อนั้น ราคาซื้อขายจะเป็นไปตามกลไกของตลาดกลาง และเป็นราคาไม่นิ่ง

“ทุกวันพุธประมาณเวลา 11.00-12.00 น. ราคายางตลาดกลางจะออกมาแล้วให้ประมูลกัน พ่อค้าก็จะเข้ามาประมูลรับซื้อยางที่นี่ แต่ราคายางจะเปลี่ยนแปลง มีขึ้น-มีลง หากราคากลางให้ยางแผ่นออกมากิโลละ 45 บาท เราก็จะขึ้นป้ายบอกกลุ่มสมาชิก และพ่อค้าที่เข้ามายื่นซองประมูลต้องเสนอราคาให้สูงกว่าราคากลาง เช่น ราคา 46 -47 บาท ขึ้นไป ส่วนพ่อค้าจะเป็นพ่อค้าท้องถิ่นมาจาก จ.อุบลราชธานี” คุณแสงจันทร์กล่าว

13.นำหมักไส้เดือนเป็นฮอร์โมนบำรุงพืช-ขายขาวด-40-บาท
13.นำหมักไส้เดือนเป็นฮอร์โมนบำรุงพืช-ขายขาวด-40-บาท
หอยเซอรี่หมักทำฮอร์โมนชีวภาพบำรุงชีพ
หอยเซอรี่หมักทำฮอร์โมนชีวภาพบำรุงชีพ

การจำหน่ายปุ๋ย

คุณแสงจันทร์กล่าวอีกว่าสมาชิกของกลุ่มจะทำนาข้าวเป็นหลัก การทำสวนยางเป็นเพียงอาชีพเสริม โดยกลุ่มจะส่งเสริมและให้ความรู้แนวทางการลดต้นทุน เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ และทำสวนระบบอินทรีย์  เช่น เรียนรู้การผลิตปุ๋ยที่หาได้ง่ายจากเศษผักอาหารของเหลือใช้ จากการบริโภคในครัวเรือน และสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ นำมาทำเป็นปุ๋ยใช้เอง และทำออกขาย อย่าง การเลี้ยงไส้เดือน จากตัวเป็นๆ ยังสามารถกำจัดขยะจากเศษพืช ผัก ผลไม้ ได้ดีด้วย

ทั้งนี้น้ำหมักจากไส้เดือนยังนำมาเป็นฮอร์โมนบำรุงพืช ทั้งทางใบ และดิน รวมทั้งนำเอาหอยเชอรี่มาหมักทำเป็นปุ๋ยน้ำหมัก บำรุงข้าว พืชผัก และต้นยางพารา นอกจากนี้เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการบริโภค มาผสมกับกากน้ำตาล น้ำ และสาร พด.2 ตามอัตราส่วนขนาดของถังที่ต้องการบรรจุ ทำเป็นปุ๋ยน้ำหมัก บำรุงพืช เป็นต้น

ขอขอบคุณ  สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

67/25 ถ.บางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ 0-2433-6490