เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมกับกุ้งก้ามกราม รายได้มั่นคง ลดความเสี่ยง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณลุงจำเนียร และคุณป้าสไบพร ทองดอนเหมือน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมาแล้วมากกว่า 20 ปี ผ่านมาแล้วทุกความยากลำบาก ทั้งสองเป็นคนพื้นที่อำเภอบางเลนมาตั้งแต่กำเนิด เริ่มเลี้ยงกุ้งมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2537 จนถึงปัจจุบันก็ยังคงเลี้ยงอยู่ แม้อุปสรรคเข้ามาขวางกั้นก็ตาม แรกเริ่มเลี้ยงกุ้งกุลาดำกันมาก่อนเพราะเลี้ยงง่าย ต่อมามีกฎหมายมาตรา 9 สั่งห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำในน้ำที่มีความเค็มต่ำในพื้นที่ภาคกลาง เลยเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หันมาศึกษาและ เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม

โดยทั้งสองได้เริ่มเลี้ยงจากบ่อเดียวในพื้นที่บริเวณบ้านขนาด 6 ไร่ สมัยนั้นเลี้ยงกุ้งแค่ 100 กว่าวัน ก็จับขายได้ 6-7 ตัน เนื่องจากมีเพียงบ่อเดียวเลยไม่ได้จ้างแรงงานอะไร  หลังจากนั้นเริ่มขยับขยายบ่อจากหนึ่งบ่อ จนทุกวันนี้มีบ่อที่ใช้เลี้ยงกุ้งทั้งหมด 7 บ่อ ขนาด 4 ไร่ จำนวน 2 บ่อ ขนาด 5 ไร่ จำนวน 1 บ่อ และขนาด 3 ไร่ จำนวน 3 บ่อ แต่พอเริ่มเลี้ยงเยอะก็มักมีปัญหา เกิดโรคในกุ้งขึ้นมาตายกันยกบ่อ ใจยังคงสู้ต่อไม่ยอมถอย รอบใหม่เริ่มเลี้ยงก็เริ่มดูแลให้ดีขึ้น ป้องกันมากขึ้น

1.คุณจำเนียร-ทองดอนเหมือน-เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากกว่า-20-ปี
1.คุณจำเนียร-ทองดอนเหมือน-เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากกว่า-20-ปี
2.บ่อกุ้งที่ใช้เลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม
2.บ่อกุ้งที่ใช้เลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม

การ เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมกับกุ้งก้ามกราม

ต่อมามีเกษตรกรมาแนะนำให้ลอง เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมกับกุ้งก้ามกราม เป็นการเลี้ยงแบบผสมผสานภายในบ่อเดียวกัน โดยใช้น้ำความเค็มที่ต่ำ 2-5 ppt. (part per thousand) เมื่อทดลองเลี้ยงแล้วเกิดผลดีมาก ผลตอบแทนที่ได้คุ้มกับการลงทุน ในการเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก อาหารก็กินเหมือนกัน

ช่วงไหนที่กุ้งขาวเกิดโรคระบาดก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ไม่มาก ตายบ้างแค่วันละไม่กี่ตัว กุ้งก้ามกรามหากินตามพื้นบ่อ ก็กินกุ้งขาวที่ตายแล้วตกลงพื้นบ่อ เป็นอาหารให้กุ้งก้ามกรามต่อไปอีก เรื่องโรคไม่ต้องห่วง เพราะโรคที่เป็นคนละตัว ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลมากมาย และไม่ต้องรีบจับขาย ทำให้ราคาตกไปด้วย

ทั้งสองคนเลี้ยงกุ้งด้วยกันมา มีเทคนิคในการเลี้ยงหลายอย่าง แต่ที่เป็นเทคนิคหลักๆ คือ ไม่เลี้ยงกุ้งให้หนาแน่นจนเกินไป เพราะเลี้ยงกุ้ง 2 สายพันธุ์ ต้องคำนึงถึงการดำรงชีวิตของกุ้งด้วย อย่างกุ้งขาวชอบอยู่ขอบบ่อ ผิวน้ำ กลางน้ำ และลงไปกินอาหารพื้นบ่อ ก็จะปล่อยอัตราที่ไม่หนาแน่นจนเกินไป ง่ายต่อการดูแล การจัดการ ด้วย

ส่วนกุ้งก้ามกรามชอบอยู่พื้นบ่อ หากินโดยการเดินไปรอบๆ บ่อ ใช้พื้นที่การดำรงชีวิตเยอะ เคยปล่อยหนาแน่นกุ้งก้ามกรามโตไม่ดี กินอาหารไม่เต็มที่ ทำให้ได้ขนาดตัวที่เล็ก ขายไม่ได้ราคา ถูกกดราคา เลยต้องกลับมาเลี้ยงแบบปริมาณที่น้อย การจัดการฟาร์มก็ดูแลง่าย ดูแลได้ทั่วถึง ใช้คนงานแค่ 2 คน ก็ดูแลได้ครบทั้งฟาร์ม ทั้งคู่จ้างแรงงานพม่าถูกกฎหมายมา 1 ครอบครัว สอนงานให้ทุกอย่างด้วยตัวเอง เพื่อให้คนงานได้แบ่งเบาภาระ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม
3.อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม

การให้อาหารกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด

กุ้งขาวและกุ้งก้ามกรามเลี้ยงรวมกันได้โดยไม่เกิดปัญหา อาหารก็กินอย่างเดียวกันได้ ที่ฟาร์มใช้อาหารของบริษัท ไทยยูเนี่ยนฯ มาตลอด เพราะทำให้กุ้งกินดี โตไว ไม่ส่งผลกระทบอะไรให้กับกุ้ง เคยลองไปใช้ของที่อื่นดูแล้วแต่ไม่ถูกใจ ต้องกลับมาใช้ของบริษัท ไทยยูเนี่ยนฯ เหมือนเดิม เรื่องราคาก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เราเน้นคุณภาพมากกว่า เพื่อลูกกุ้งจะได้โตเร็ว แข็งแรง จับขายได้ตรงตามวันที่วางแผนไว้ ในแต่ละครั้งที่จับกุ้งก็ได้น้ำหนักเยอะ ทำเงินให้มากทีเดียว

4.ทางเดินน้ำที่ใช้สูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยง
4.ทางเดินน้ำที่ใช้สูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยง

การควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง

ระบบการเลี้ยงของทางฟาร์ม อะไรที่ตัดออกได้ก็จะตัดเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ยังคงประสิทธิภาพในการเลี้ยงอยู่ ในฟาร์มใช้เครื่องดีน้ำ 2 แขน หนึ่งเครื่องใช้สำหรับ 2 บ่อ เนื่องจากที่ฟาร์มเลี้ยงกุ้งแบบไม่หนาแน่น ไม่ต้องใช้เครื่องตีน้ำเยอะ และไม่ต้องใช้ตลอดทั้งวัน ที่ฟาร์มเปิดให้เฉพาะตอนหัวค่ำแล้วปิดในตอนมืด ฝึกการเลี้ยงแบบนี้ตั้งแต่ลูกกุ้งยังเล็ก ลูกกุ้งจะได้ชิน

ถ้าใช้เครื่องตีน้ำตลอดตั้งแต่เริ่มเลี้ยง กุ้งก็จะชิน หากเกิดวันไหนไฟดับขึ้นมากุ้งจะอยู่ลำบาก เพราะเมื่อไฟดับอากาศในน้ำไม่พอ กุ้งลอย แก้ไขไม่ทันกุ้งตายยกบ่อ เสียหายอีกเยอะ เลี้ยงแบบนี้เป็นการป้องกันได้หลายอย่าง และประหยัดเงินได้เยอะ ในเมื่อลงทุนจ้างคนงานให้คอยเฝ้าดูแลแล้ว จึงตั้งเวลาไว้เลยว่าตี 1-2 ต้องมาเดินดูรอบๆ บ่อทุกบ่อ ถ้าเห็นว่ากุ้งลอยถึงจะเปิดเครื่องตีน้ำ แต่ปกติไม่ค่อยเกิดปัญหานี้

ในส่วนของคุณภาพน้ำ ทางฟาร์มเลี้ยงแบบชาวบ้าน วัดแค่พีเอชให้อยู่ในเกณฑ์ 7-8 ก็พอ อย่างอื่นไม่ได้มีการวัด ใช้วิธีการสังเกตเวลาให้อาหาร เพราะใช้คนหว่านอาหาร คอยดูความผิดปกติตลอด เลี้ยงแบบชาวบ้านไม่ต้องยุ่งยาก แค่ใส่ใจดูแลก็พอแล้ว เลี้ยงน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

เมื่อถามถึงขั้นตอนการเลี้ยง การเตรียมบ่อ ได้รับคำตอบว่าไม่ยุ่งยากอะไร ปล่อยน้ำออกจากบ่อให้แห้ง ตากบ่อจนแห้งแล้วโรยด้วยปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อและกำจัดศัตรูที่จะมาทำร้ายลูกกุ้งแล้วก็พาเชื้อมาติดกุ้งในบ่อได้ ก่อนจะนำน้ำเข้าบ่อก็ต้องใช้ถุงกรองไม่ให้สัตว์อื่นได้เข้ามาปะปนกับน้ำที่จะเอามาใช้เลี้ยง

เพราะสัตว์ที่เข้ามากับน้ำมักเป็นพวกลูกปลา ลูกหอย สัตว์พวกนี้จะมาเข้ามากินลูกกุ้ง ทำให้เกิดความเสียหายได้ เลยต้องกรองน้ำทุกครั้งก่อนปล่อยลงบ่อ อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ภายในฟาร์มก็ใช้ยาฆ่าเชื้อล้างก่อนใช้ทุกครั้ง สิ่งไหนที่ทำแล้วป้องกันความเสียหายที่ตามมาก็ต้องเลือกทำเพื่อไม่ให้ขาดทุน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.กระชังใช้ในการเพาะชำลูกกุ้ง
5.กระชังใช้ในการเพาะชำลูกกุ้ง

การใช้ลูกพันธุ์กุ้ง   

สำหรับพันธุ์ลูกกุ้งที่เอามาเลี้ยงปกติรับมาจากบริษัท กุ้งสยาม (2008) จำกัด ลูกกุ้งแข็งแรงดี ไม่ค่อยเจอปัญหาอะไร แต่รอบหลังมานี้กุ้งตายเพราะติดโรค เลยขอหยุดรับลูกกุ้งจากทางบริษัทก่อน เมื่อดีแล้วค่อยรับมาใหม่ ตอนนี้รับลูกกุ้งของ ดร.พยุง ภัทรกุลชัย มาชำ รอดูผลลัพธ์เหมือนกันว่าจะเป็นยังไง เพิ่งเอามาลงได้ยังไม่ถึงเดือน

แต่โดยรวมแล้วถือว่าดี ยังไม่เจอกุ้งตาย เคยรับลูกกุ้งมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่มาแล้วผิดหวังมาก ส่งลูกกุ้งให้ไม่ตรงตามที่ต้องการ ได้แบบผสมมา โดยเฉพาะกุ้งก้ามกราม พอช่วงจับขายเอาไปส่งแพก็ต้องหักก้ามทิ้ง ตีราคาเป็นกุ้งตัวเมียหมด ทำให้ราคาต่ำ ตัวเล็กไม่โต ขนาดไม่ตรงตามที่ตลาดต้องการ เลยต้องหยุดการสั่งซื้อมา แล้วกลับมารับของบริษัท กุ้งสยามฯ เหมือนเดิม ถ้าไม่รับของบริษัท กุ้งสยามฯ ก็จะมีตัวแทนการขายลูกกุ้งมาตามบ้าน

ถ้าราคาไม่สูงจนเกินไปก็จะสั่งเพื่อเอามาเลี้ยงก่อน ไม่อยากให้บ่อว่างและขาดตอนในการเลี้ยง แต่ก็ยังชอบลูกกุ้งของบริษัท กุ้งสยามฯ เพราะลูกกุ้งเขาแข็งแรงดี กินอาหารเก่ง ถ้าไม่มีเรื่องโรคเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างอื่นดีมาก บางครั้งก็นำลูกกุ้งที่สั่งมาชำเลี้ยงไว้ในกระชังเล็กๆ เผื่อไว้เลี้ยงในรอบถัดไปด้วย

ในส่วนของการปล่อยลูกกุ้ง ทางฟาร์มจะปล่อยที่อัตราความหนาแน่นน้อย เพราะเลี้ยงแบบรวมกัน ต้องเอื้อต่อทั้งสองกุ้ง กุ้งก้ามกรามหากินและชอบเดินตามพื้นบ่อ หากินบริเวณพื้นบ่อ ทำให้ปล่อยหนาแน่นมากไม่ได้ ไม่อย่างนั้นกุ้งไม่โต กินอาหารไม่เต็มที่ กินได้น้อย ส่วนกุ้งขาวก็ชอบอยู่ริมบ่อ กินอาหารกลางน้ำ

ส่วนใหญ่เริ่มจากลงกุ้งขาวก่อน เลี้ยงจนกระทั่งกุ้งได้อายุ 45 วัน แล้วจึงปล่อยกุ้งก้ามกรามลงไปภายหลัง กุ้งทั้ง 2 ชนิด ที่ฟาร์มปล่อยไม่หนาแน่น ลดการใช้เครื่องตีน้ำ ประหยัดต้นทุนเรื่องค่าไฟลงได้ ช่วงไหนที่กุ้งขาวเจอโรคก็มีการตายบ้าง แต่จำนวนน้อย วันหนึ่งไม่กี่ตัว พอตกลงพื้นบ่อกุ้งก้ามกรามก็จะกิน เรื่องโรคไม่ต้องห่วงไม่ติดต่อกัน เพราะโรคในกุ้งขาวไม่ติดในกุ้งก้ามกราม ช่วงไหนที่โรคลงกุ้งขาว ทางฟาร์มก็ยังได้รายได้มาจากกุ้งก้ามกรามเสริมขึ้นมาช่วยดันกัน

6.เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมกับ กุ้งก้ามกราม รายได้มั่นคง ลดความเสี่ยง
6.เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมกับ กุ้งก้ามกราม รายได้มั่นคง ลดความเสี่ยง

การป้องกันกำจัดโรคระบาด

โรคที่พบในฟาร์มก็จะเป็นโรคขี้ขาว หัวเหลือง โรคตายด่วน (EMS) บ้าง แต่ไม่บ่อยนัก สังเกตเห็นกุ้งเริ่มตายเยอะ ก็พอรู้ได้เลยว่ากุ้งป่วยแน่นอน ต้องรีบวางแผนในการจับขายทันที จับทั้งกุ้งขาวและกุ้งก้ามกรามส่งแพ ให้แพตีราคาการซื้อขาย ไม่รีบจับเดี๋ยวจะส่งผลไปยังบ่ออื่น ยิ่งโรคตายด่วน (EMS) ต้องรีบจับ ไม่อย่างนั้นลามไปบ่ออื่นๆ จะยิ่งเสียหายกันไปใหญ่ อีกปัญหาที่เจอ คือ เรื่องนกลงมากินลูกกุ้ง ป้องกันด้วยการใช้ตาข่ายกางคลุมบ่อเพื่อไม่ให้นกบินลงมาจับลูกกุ้งไปกิน ทำให้ลูกกุ้งเสียหาย แล้วอาจนำพาโรคมาติดกุ้งในบ่อทั้งหมดได้ด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อเลี้ยงกุ้งไปได้ 100 วัน ถึงจะจับขาย ทางฟาร์มก็จะจับทั้งหมด ทั้งกุ้งขาวและกุ้งก้ามกรามพร้อมกัน ส่งแพให้ตีราคากุ้งทั้งหมด ในแต่ละรอบที่จับมักได้ไม่เท่ากัน ช่วงไหนโรคลงกุ้งขาวก็จะขายกุ้งก้ามกรามได้เยอะ กุ้งขาวก็ได้น้อย เงินส่วนนั้นมานำมาใช้ซื้อลูกพันธุ์กุ้งในการเลี้ยงรอบต่อไป

7.กุ้งก้ามกรามขนาดที่จับขาย
7.กุ้งก้ามกรามขนาดที่จับขาย เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม 

การจับกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม

“การเลี้ยงกุ้งไม่ใช่จะประสบความสำเร็จได้กันทุกคน อยู่ที่ความพยายาม ความตั้งใจ และความอดทน ต่อให้จะล้มกี่ครั้ง ถ้าใจเราสู้ยังไงเราก็ยืนขึ้นได้เสมอ ในการ เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมกับกุ้งก้ามกรามเป็นแนวทางช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น หากช่วงไหนกุ้งขาวโรคลง หรือราคาแย่ ก็ยังมีกุ้งก้ามกรามยังคงที่เรื่องราคาอยู่ ทำให้เกษตรกรยังมีรายได้ เกษตรกรไม่ได้ร่ำรวยมาตั้งแต่เริ่มต้น ทุกคนต้องพยายามก้าวผ่านความยากลำบากไปให้ได้

เดิมทีที่เลี้ยงกุ้งก็เลี้ยงแค่กุ้งขาวอย่างเดียว แต่เคยเจอวิกฤตโรคลงในกุ้ง ตอนนั้นทำให้กุ้งตายยกบ่อ แต่ก็ยังไม่ท้อที่จะเลี้ยงกุ้ง ยังคงรักที่จะเลี้ยงกุ้งมาตลอด พอมีแนวทางการเลี้ยงมาใหม่ก็พร้อมที่รับความรู้เพื่อเอามาพัฒนาการเลี้ยง การที่เราลุกขึ้นสู้และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค จะทำให้เราแข็งแกร่ง และเข้มแข็ง จนมีวันที่เราสุขสบายได้ในวันนี้” คุณจำเนียร และคุณสไบพร ทองดอนเหมือน เปิดใจทิ้งท้ายเพื่อให้กำลังใจแก่คนในวงการกุ้ง

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ คุณจำเนียร ทองดอนเหมือน เบอร์โทรศัพท์ 086-802-6050 96 หมู่ 3 ต.สามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม 73150 เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม