ลูกเกดฟาร์ม ผลิตอาหาร TMR เลี้ยง โคนม ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่เติบโตและคลุกคลีกับฟาร์ม โคนม ที่คุณพ่อเลี้ยงไว้ เพื่อรีดนมส่งสหกรณ์ เด็กผู้หญิงที่เติบโตมาได้ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากจุดเริ่มต้นการเลี้ยงโคนม 5 ตัว ของคุณพ่อ หลังจากตนเรียนจบ จึงกลับมาทำฟาร์มโคนมเพื่อสานต่ออาชีพของคุณพ่อไม่ให้สูญหาย

1.คุณกฤษณา ชูช่วย หรือคุณลูกเกด
1.คุณกฤษณา ชูช่วย หรือคุณลูกเกด

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงวัว

นิตยสารสัตว์บกพามารู้จักกับ “ลูกเกดฟาร์ม” ฟาร์ม โคนม ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เป็นครอบครัวที่เติบโตมากับการทำฟาร์มโคนมมากว่า 30 ปี มาพูดคุยกับ คุณกฤษณา ชูช่วย หรือ คุณลูกเกด ทายาทรุ่นที่สอง ที่ได้เข้ามาสานต่อธุรกิจของครอบครัว

ตัวคุณลูกเกดเองได้เรียนจบทางด้านสัตวบาลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้มีการฝึกงานเกี่ยวกับโคนมมาโดยเฉพาะ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาฟาร์มโคนมที่บ้านให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

คุณลูกเกดได้เล่าให้ทางทีมงานฟังว่า คุณพ่อเริ่มเลี้ยงโคนมครั้งแรกในปี 2535 เริ่มต้นเลี้ยง 5 ตัว เป็นแม่โครีดนมได้ 3 ตัว ใช้ระบบการรีดนมด้วยมือมาประมาณ 7 ปี ถึงมีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องรีดนม โดยคุณพ่อได้ให้เหตุผลว่า “ตอนนั้นยังเลี้ยงไม่เยอะ มีแม่วัวที่รีดนมได้แค่ 3 ตัว และเครื่องรีดนมก็มีต้นทุนที่สูง เลยใช้วิธีรีดมือไปก่อน แล้วเก็บออมสะสมเงินทุนมาเรื่อย ๆ ก็ได้ขยายฟาร์ม และมีแม่วัวรีดนมเพิ่มขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องรีดนม”

ปัจจุบันลูกเกดฟาร์มมีโคนมทั้งหมดประมาณ 80 ตัว แบ่งเป็นแม่โครีดนม 50 ตัว ที่เหลือจะเป็นโคสาวทดแทน และลูกโค มีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วน แบ่งเป็นคอกโคนมแต่ละระยะ และพื้นที่สำหรับรีดนม เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการ

หลังจากที่คุณลูกเกดเรียนจบมาก็ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้ในฟาร์ม โดยเปลี่ยนจากการให้อาหารสำเร็จรูปมาเป็นผสมอาหาร TMR เอง เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร และให้โคนมที่ฟาร์มได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.การให้อาหารวัว
2.การให้อาหารวัว

ข้อดีของอาหาร TMR

อาหาร TMR คือ อาหารผสมสำเร็จรูป ที่ผลิตขึ้นมาจากการนำอาหารหยาบ และอาหารข้น มาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม แทนการให้อาหารแบบเดิม ซึ่งจะแยกการให้อาหารหยาบ และอาหารข้น ซึ่งคุณลูกเกดจะซื้อวัตถุดิบจากข้างนอก แล้วนำมาผสมเองตามสูตรอาหารที่เหมาะสมกับปริมาณการให้นมของโคที่ฟาร์ม

วัตถุดิบอาหารข้นที่ใช้จะมีกากถั่วเหลือง ผิวถั่วเหลือง ข้าวโพดโม่ และรำสกัดน้ำมัน ส่วนวัตถุดิบอาหารหยาบจะเป็นเปลือกสับปะรด และฟาง และนำอาหารหยาบและอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่ครบส่วนตามความต้องการของโคนม สามารถนำไปใช้เลี้ยงโคนมได้ในทุกรุ่น ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าโครุ่น แม่โครีดนม อีกทั้งวิธีการให้ก็สะดวก เพียงนำไปเทลงในรางอาหารให้กับโคกิน

ทางฟาร์มจะนำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในเครื่องผสมอาหาร TMR โดยจะใส่ฟางทั้งก้อนลงไปก่อนเพื่อให้เครื่องตีฟางให้แตก แล้วจึงใส่ส่วนผสมอื่นๆ ตามลงไป ซึ่งตัวเปลือกสับปะรดจะช่วยให้อาหารมีกลิ่นและรสชาติที่ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการกินได้ดี

“การใช้อาหาร TMR ทำให้ไม่ต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปที่มีราคาสูง สามารถใช้อาหาร TMR ทดแทนได้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วจะช่วยทำให้ต้นทุนการเลี้ยงลดลงได้มากกว่าการเลี้ยงโคนมแบบที่เคยทำกันมา และสะดวกเวลาให้ เพราะให้ครั้งเดียววัวสามารถได้กินทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบ” คุณลูกเกดเผยถึงข้อดีของการใช้อาหารTMR

ทางฟาร์มได้เลือกใช้เครื่องผสมอาหารยี่ห้อ Sitrex นำเข้าจากอิตาลี คุณภาพแข็งแรง เหมาะสมกับราคา ใช้งานได้นานถึง 10 ปี พร้อมใบมีดแบบแกนตั้งลักษณะใบเลื่อยสามารถตัดฟางขาดได้สบายๆ มีระบบตรวจวัดค่าอาหารที่เหมาะสม ใช้งานง่าย เหมาะกับรถแทรกเตอร์ขนาด 47 แรงม้าขึ้นไป

มีจุดชั่งน้ำหนักถึง 3 จุด แม่นยำไม่มีพลาด หูลากขนาดใหญ่ แข็งแรง ทนทาน มีช่องจ่ายอาหารแบบไฮดรอลิก ควบคุมง่าย แม้อยู่บนรถ ก็สามารถควบคุมช่องจ่ายอาหารได้ และสามารถเลือกระดับช่องจ่ายอาหารได้ตามระดับรางอาหาร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.การรีดนมวัว
3.การรีดนมวัว

การบริหารจัดการภายในฟาร์มวัว

การดูแลจัดการฟาร์มจะเป็นการดูแลกันเองในครอบครัว มีคุณพ่อ คุณแม่ และคุณลูกเกด จะรีดนม 2 เวลา เช้า เย็น โดยเริ่มรีดตอนเช้าในช่วงตีห้า และตอนเย็นจะรีดอีกทีตอนบ่ายสาม แล้วจะมีรถรับน้ำนมมารับถึงที่ฟาร์ม

โดยขั้นตอนการรีดนมนั้นทางฟาร์มจะเน้นเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ โดยทำความสะอาดทั้งเต้านม และคอก ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (คลอรีนเจือจาง) ทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนมทุกครั้ง ก่อนสวมเครื่องรีดจะล้างเต้านม และตรวจสอบเต้านมด้วยน้ำยา CMT ทุกครั้งทุกเต้า ว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีการอักเสบ

จากนั้นทำการสวมเครื่องรีดนม ในระหว่างรีดนมก็จะมีอาหารให้โคกิน และเมื่อรีดนมเสร็จแล้วจึงทำการให้อาหารวัวที่คอก ทางฟาร์มจะให้อาหารสองเวลา เช้า เย็น ส่วนปริมาณการให้น้ำนมเฉลี่ยจะอยู่ที่ 15-17 กิโลกรัม/ตัว

ส่วนเครื่องรีดนมทางฟาร์มจะใช้แบบ BUCKET TYPE แต่มีการเปลี่ยนฝาถังนมให้เวลารีดนม แล้วน้ำนมจะไหลมาอยู่ที่ตัวถังเลย ไม่ต้องยกเทอีกรอบ เพื่อประหยัดเวลา และไม่ต้องใช้แรงในการยกถังนม ทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น

“เมื่อก่อนพ่อจะรีดเครื่องรีดนมแบบ BUCKET TYPE แล้วยกเทใส่ถังนมอีกทีหนึ่ง แต่ตอนนี้เราเปลี่ยนฝาถังนมให้ เวลารีดแล้วนมมาอยู่ในถังที่ต้องไปส่งโรงรับน้ำนมเลย ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น และพ่อจะได้ไม่ต้องยกถังนมหนักๆ ด้วย” คุณลูกเกดกล่าวเพิ่มเติม

4.ลูกโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน
4.ลูกโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน
ลูกโคนมพันธุ์เจอร์ซี่
ลูกโคนมพันธุ์เจอร์ซี่

สายพันธุ์วัว

สายพันธุ์ที่ฟาร์มส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian) และมีสายพันธุ์เจอร์ซี่ ส่วนระดับสายพันธุ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 90% ขึ้นไป เพราะทางฟาร์มจะซื้อน้ำเชื้อนอกที่ให้ผลผลิตดีๆ มาผสม คุณลูกเกดได้เลือกใช้น้ำเชื้อของ หจก.พรชัยอินเตอร์เทรด ซึ่งมีอัตราการผสมติดดี ลูกโคที่ได้แข็งแรง เซลล์บริการหลังการขายดี คอยติดตามการผสมติดตลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การดูแลสุขภาพของโคนมจะสังเกตอาการทุกวัน จะดูในช่วงการให้อาหารและรีดนม ซึ่งก่อนรีดนมจะมีการตรวจเต้านมอักเสบก่อนรีด หากพบแม่โครีดนมตัวไหนเป็นเต้านมอักเสบจะทำการจัดลำดับการรีดให้อยู่ตัวสุดท้าย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ตัวอื่นๆ

5.บรรยากาศรอบๆ ฟาร์ม
5.บรรยากาศรอบๆ ฟาร์ม

 ฝากถึงผู้ที่สนใจเลี้ยงวัว

 และสุดท้ายคุณลูกเกดได้ฝากทิ้งท้ายถึงอาชีพการเลี้ยงโคนมว่า“ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่ดี สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่การจะทำอาชีพนี้ได้ก็ต้องมีใจรัก เพราะเป็นอาชีพที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด มีขั้นตอนการดูแลจัดการต่างๆ ที่ละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นการรีดนม การดูแลจัดการแม่โคก่อนคลอด หลังคลอด และโคนมในระยะต่างๆ และอาจเป็นเพราะเราผูกพันกับอาชีพนี้มาตั้งแต่เด็กๆ อาชีพนี้จึงกลายเป็นอาชีพที่เรารัก และอยากจะสานต่อ”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณกฤษณา ชูช่วย หรือ คุณลูกเกด 239 ม.8 ต.ห้วยทราย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร.093-385-3389

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 334