ผลิต ลำไยนอกฤดู เมืองจันท์ ป้อนตลาดพรีเมียม และส่งออก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกลำไย

ผลไม้ตามังกรที่ชื่อ “ลำไย” ที่ในอดีตมองกันว่าไปไม่รอด เพราะ “ราคา” ตกต่ำนั้น แต่วันนี้ลำไยกลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจแนวหน้าของประเทศไทย ที่นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่มีการปลูกลำไยเพื่อการบริโภคและการส่งออกมากที่สุดของไทย จะเห็นได้จาก “ล้งจีน” ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากภายในพื้นที่ เพราะลูกหลานแดนมังกรแผ่นดินใหญ่ต้องการบริโภคลำไย ทั้งผลสด และแปรรูป มากขึ้น อันเนื่องมาจากมีกำลังซื้อมากขึ้นนั่นเอง

เมื่อลำไยกลายเป็นผลไม้เพื่อการบริโภคและการส่งออกเต็มตัว ส่งผลให้มีการผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดูป้อนตลาดกันอย่างต่อเนื่อง ภายใต้องค์ความรู้และประสบการณ์ของชาวสวนลำไย ในหลายพื้นที่ได้หันมาผลิต ลำไยนอกฤดู กันอย่างเต็มตัว โดยมีแรงจูงใจจากรายได้ที่มากกว่าการผลิตลำไยในฤดูกาล

ถึงแม้ว่า ลำไยนอกฤดู นั้นจะมีการจัดการที่มากกว่าก็ตาม แต่ชาวสวนก็มองว่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้ก็คุ้มค่ากับการลงทุน ที่สำคัญหากชาวสวนมีความชำนาญด้านการผลิต ลำไยนอกฤดู เป็นทุนจนกลายเป็น “เซียนผลิตลำไยนอกฤดู” ก็จะมองว่า ลำไยนอกฤดู ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ในทางกลับกันสวนลำไยกลับดูแลง่ายกว่าการปลูกไม้ผลชนิดอื่น เนื่องจากกระบวนการไม่ซับซ้อนมากนักนั่นเอง

1.ต้นลำไยนอกฤดูที่มีคุณภาพ
1.ต้นลำไยนอกฤดูที่มีคุณภาพ

คุณจำรัส จักรบวรพรรณ หรือที่รู้จักกันในนาม “เจ๊หนู” เป็นหนึ่งในชาวสวน ลำไยนอกฤดู ที่ ต.นายายอาม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ที่ยึดอาชีพทำสวนลำไยตลอดเวลาที่ผ่านมา จากเดิมที่เคยทำสวนผลไม้ ทั้งทุเรียน เงาะ และมังคุด ที่เจ๊หนูยอมรับว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ยึดอาชีพทำสวนทุเรียนพันธุ์ชะนีเป็นหลัก แต่ปรากฏว่าการปลูกทุเรียนมีการจัดการที่ค่อนข้างยุ่งยากมาก ประกอบกับสวนทุเรียนมีปัญหาด้านการจัดการเกือบทุกปี เพราะแรงงานที่ค่อนข้างหายากในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ประกอบกับราคาถูกมาก กก.ละ 5-6 บาท ก็ต้องโค่นทุเรียนหันไปปลูกหมอนทอง แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ดี แต่ก่อนทุเรียนชะนีราคาถูก ถ้าหมอนทองก็ 15-16 บาท/กก. แต่ถ้าลงกล่องส่งออกก็ 25 บาท/กก. ยิ่งต้นทุเรียนแก่ ยิ่งสูงหาคนโยงกิ่งก็ยาก ราคาผลผลิตก็ถูกไม่คุ้ม ตอนหลังทำสาร ไม่ได้ดูแล 2 ปี ต้นทุเรียนก็ตายหมดทั้งแปลง เจ๊หนูเผยถึงปัญหาการทำสวนทุเรียนในอดีต

จึงหันมาสนใจการทำสวนลำไยนอกฤดูที่ทำง่ายกว่า จึงตัดสินใจไปเช่าสวนลำไยที่โป่งน้ำร้อนทำนอกฤดูเมื่อ 20 ปีก่อน ด้วยการใช้สารโปตัสเซียมคลอเรตเป็นตัวกระตุ้นให้ลำไยออกดอกนอกฤดู ปรากฏว่าประสบความสำเร็จ ขายได้ราคา 35 บาท/กก. แต่พอหมดสัญญาเช่าสวนลำไยเขาก็ไม่ต่อสัญญา และทำเอง เจ๊หนูจึงตัดสินใจหันมาทำสวนลำไย สร้างสวนลำไยของตนเองขึ้นมาถึง 200 กว่าไร่ เรื่อยมาจนถึงวันนี้

2.คุณจำรัส-จักรบวรพรรณ-ปลูกลำไยนอกฤดู-จ.จันทบุรี
2.คุณจำรัส-จักรบวรพรรณ-ปลูกลำไยนอกฤดู-จ.จันทบุรี

ด้านตลาดลำไย

ในด้านการตลาด ทางสวนสามารถผลิตลำไยได้ทั้งหมด 4 เบอร์ เจ๊หนูยกให้เป็นหน้าที่ของล้ง ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับตลาดไอยราที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว หากมีการทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว ทางตลาดจะรับซื้อลำไยทุกเบอร์ที่ 35 บาท/กก. ซึ่งต้นลำไยอายุมากกว่า 20-25 ปี ที่ต้นมีขนาดใหญ่ บางต้นสามารถให้ผลผลิตถึง 300 กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นถ้าราคา กก.ละ 35 บาท เจ๊หนูมองว่าอย่างน้อยกำไรไม่ต่ำกว่า 17 บาท/กก.

3.บริเวณสวนลำไยของเจ้หนู
3.บริเวณสวนลำไยของเจ้หนู

สภาพพื้นที่ปลูกลำไย

โดยเจ๊หนูมีสวน ลำไยนอกฤดู ทั้งหมด 7 แปลง แบ่งเป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิตจำนวน 3 แปลง และจะให้ผลผลิตได้จำนวน 4 แปลง รวมพื้นที่ร่วม 200 กว่าไร่ ซึ่งเจ๊หนูยึดหลักการปลูก ลำไยนอกฤดู เพราะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการจัดการและแรงงานในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดี และยังมีราคาผลผลิตที่จูงใจ

จึงยึดหลักการปลูกลำไยประมาณ 22-25 ต้น/ไร่ หรือบางแปลงก็จะปลูกได้ 30 ต้น/ไร่ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแต่ละแปลงที่แตกต่างกันไป สายพันธุ์ที่ปลูก คือ “อีดอ” ทั้งหมด เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ตลาดทั้งในและต่างประเทศต้องการในปริมาณมากต่อปี ด้วยลักษณะเด่นหลายด้าน ลูกใหญ่ เปลือกหนา เนื้อแน่น เม็ดลีบ เม็ดเล็ก

4.ต้นลำไยที่มีสภาพแข็งแรง-สมบูรณ์
4.ต้นลำไยที่มีสภาพแข็งแรง-สมบูรณ์

การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์ต้นลำไย

เนื่องจากการปลูกทุเรียน เจ๊หนูให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ ดังนั้นเมื่อล้มทุเรียนชะนีมาเป็นสวนลำไย จึงสะดวกในการให้น้ำลำไยในช่วงที่ต้องการ โดยมีการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่กว่า 2 ไร่ ไว้รองรับการให้น้ำในสวนลำไยได้ดีมาก

สำหรับการทำลำไยนอกฤดูนั้นต้องมีระบบตลาดมารองรับ ซึ่งคนทำตลาด หรือรับซื้อผลผลิตให้เจ๊หนูก็คือ “ล้งลำไย” ที่ชื่อ “ล้งไอยรา” ที่ทำสัญญาซื้อขายกับเจ๊หนูตลอดมา และเป็นล้งที่มีคุณภาพ รับซื้อผลผลิตทุกเม็ดด้วยราคายุติธรรม ถ้าเป็นลำไยเกรด AA ราคาก็จะสูง พอทำสัญญาซื้อขายเสร็จก็วางมัดจำ จากนั้นเจ๊หนูก็เริ่มต้นทำลำไยนอกฤดู ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ด้วยการตัดแต่งกิ่ง เพื่อมิให้กิ่งและใบมากเกินจนต้นรับน้ำหนักไม่ไหว

5.เจ๊หนูกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสวนลำไย
5.เจ๊หนูกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสวนลำไย

การใส่ปุ๋ยต้นลำไย

จากนั้นก็ต้องใส่ “ปุ๋ยอินทรีย์” และปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 ผสมผสาน เนื่องจากปุ๋ยเคมีราคาแพง อินทรีย์ราคาถูก เมื่อลำไยกินปุ๋ยเคมีหมดแล้ว มันก็กินปุ๋ยอินทรีย์ได้ทันที ดินก็มีความร่วนซุย และนิ่มขึ้น รากเดินได้ดี ต้นลำไยราดสารก็ไม่โทรม ยิ่งถ้าเป็นดินลูกรัง ต้นลำไยมันไม่ดูดปุ๋ยเคมี จะมองเห็นว่าจะมีตะไคร่เขียวๆ เกาะอยู่บนพื้น ดังนั้นจึงต้องใช้เคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์นั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังต้องใช้ปุ๋ยทางใบ บำรุงยอดลำไยให้สมบูรณ์ แต่ก็ต้องฉีดยาป้องกันหนอนกินใบด้วย จากนั้นอีก 30 วัน ก็จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทางดินอีกครั้ง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ตราพญาหงส์ ของบริษัท ไทยเบสท์ โฮลดิ้ง จำกัด ที่มีธาตุอาหารรอง และอาหารเสริม ครบถ้วน สลับกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพของบริษัท ไทยฟาร์มเมอร์ฯ ใส่ต้นละประมาณ 2 กก. พอครบเดือนที่ 4 ก็เริ่มราดสารโปตัสเซียมคลอเรต โดยผสมน้ำในอัตราส่วน 50 กก./น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นรอบโคนต้น 20 นาที ในช่วงที่ฝนไม่ตก รากฝอยของลำไยจะขึ้นมากินสารได้เต็มที่ แต่ถ้าฉีดพ่นตอนฝนตก พอฉีดน้ำโปตัสเซียมคลอเรตรากก็จะไม่ดูดซึม เพราะมันดูดน้ำฝนเข้าไปก่อนแล้วนั่นเอง

พอครบ 1 สัปดาห์ ก็จะใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพตราปลากัด จาก บริษัท ธรีบอนด์ (479) จำกัด อย่าง “สปาร์ค+สตาร์ท็อปฟอร์ม” ฉีดพ่นทางใบ เพื่อให้มันออกช่อดอกอย่างสม่ำเสมอ ออกดอกได้ดี แม้ในช่วงฝนชุกต้นไม่โทรม และรากไม่เสีย  ซึ่งระยะเวลาราดสารถึงฉีดพ่นทางใบแล้วออกดอกอยู่ที่ประมาณ 25-30 วัน

6.การจัดการสวนในการตัดแต่งดอก
6.การจัดการสวนในการตัดแต่งดอก
ใช้ไม้ค้ำต้นเพื่อรับน้ำหนักของต้น
ใช้ไม้ค้ำต้นเพื่อรับน้ำหนักของต้น

การตัดแต่งช่อดอกลำไย

พอลำไยเริ่มช่อดอก เจ๊หนูจะไม่แต่งลูกลำไย แต่พอลูกลำไยมีขนาดมะเขือพวงอ่อนก็จะเริ่มแต่งลูกได้ โดยล้งจะทำหน้าที่นี้เอง คือ มีทีมงานเข้ามาจัดการตัดแต่งลูกให้กับทางสวน มีค่าแต่งลูก 100 ตัน ที่ประมาณ 20,000-30,000 บาท โดยทีมงานเขาจะใช้ “บันไดไม้ไผ่ 6 วา” พาดกลางต้นให้คนงานขึ้นไปแต่งลูกลำไยได้สะดวก และประหยัดเวลา มากที่สุด

เรื่อง “ไม้ไผ่” กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำลำไยนอกฤดู เพราะต้องใช้ทำบันได และใช้เป็นไม้ค้ำกิ่งไผ่ จึงมีราคาสูงขึ้น ลำละ 40 บาท ตัดเป็น 2 ท่อน อายุการใช้งานเพียง 2 ปี เท่านั้น ในช่วงที่ลำไยลูกโต น้ำหนักมาก กิ่งจะห้อย ต้องใช้ไม้ไผ่ค้ำกิ่ง หรือไม่ก็ต้องใช้เชือกฟางดึง

7.รถที่ใช้พ่นสารอาหารทางใบ
7.รถที่ใช้พ่นสารอาหารทางใบ
ใบลำไยที่ดี-มีคูณภาพ
ใบลำไยที่ดี-มีคูณภาพ

การป้องกันกำจัดโรค แมลง และศัตรูพืช

เมื่อลำไยติดผล สิ่งจำเป็นที่สุด คือ ต้องใช้ “อาหารเสริม” บำรุงทางใบให้กับลำไย เจ๊หนูจึงใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากหลายบริษัท และใช้หลายยี่ห้อ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแคลเซียมโบรอนผสมฮอร์โมน นอกจากนี้พอลูกลำไยโตก็ต้องฉีดยาป้องกันหนอนเจาะหัว ก่อนเก็บผลผลิต 1 เดือน โดยผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้หลักๆ ก็มาจาก “ร้านไมตรีจิตการเกษตร” ที่ได้มีการคัดสรรผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อชาวสวนลำไยและชาวสวนผลไม้อย่างแท้จริง

โดยเฉพาะช่วงที่ลำไยแตกใบอ่อนสำคัญมาก ต้องดูแลไม่ให้ “เพลี้ยไก่แจ้” กินใบ ยังไงๆ ก็ต้องฉีดยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชกันไว้ก่อน ยกเว้นปีนั้นไม่ทำลูกก็จะใส่ปุ๋ยอย่างเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.ผลิต ลำไยนอกฤดู เมืองจันท์ ป้อนตลาดพรีเมียม และส่งออก
8.ผลิต ลำไยนอกฤดู เมืองจันท์ ป้อนตลาดพรีเมียม และส่งออก

การเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย

ในการทำลำไยนอกฤดู 200 ไร่ เรื่อง “แรงงาน” เป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นมาก โดยเฉพาะในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เจ๊หนูใช้แรงงานประจำ 5 คน สลับกันดูแลสวนลำไยแต่ละแปลง ดังนั้นการให้ปุ๋ย ให้ยา ให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง ต้องใช้แรงงาน แม้จะมีเครื่องพ่นยาก็ต้องใช้คนอยู่ดี

อย่างไรก็ดีเจ๊หนูยังได้ทำสวนยางกว่า 200 ไร่ สวนมังคุด 20 ไร่ และสวนเงาะ 20 ไร่ ควบคู่ไปกับสวนลำไย ดังนั้นแรงงาน 5 คน จึงถ่ายเทงานไปยังสวนต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง พูดง่ายๆ ว่ามีการใช้แรงงานคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้คนงานมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วย

9.ปลูกต้นเล็กแซมต้นใหญ่
9.ปลูกต้นเล็กแซมต้นใหญ่

ต้นทุนการทำสวน ลำไยนอกฤดู 

ต้นทุนการทำสวนลำไยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าปุ๋ย ค่ายา เกือบ 50% แล้วยังมีค่าแรงงานประจำด้วย ดังนั้นชาวสวน ลำไยนอกฤดู จึงต้องเรียนรู้เรื่องปุ๋ย ยา เพื่อจะได้จัดซื้อยี่ห้อที่เหมาะสม ก็ต้องฉีดยาป้องกันเชื้อราลงหัวลำไย

เรื่องสารเคมีต้องใช้น้อยๆ แต่ใช้ให้ถูก พวกหนอน พวกเชื้อรา ต้องใช้ ถ้าไม่ใช้ไม่ได้ผล ครั้นจะใช้น้ำหมักพ่นทุกๆ วันก็ไม่ไหว แรงงานไม่มีเวลาพัก” เจ๊หนูย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ยา

สอบถามเพิ่มเติม คุณจำรัส จักรบวรพรรณ หรือ เจ๊หนู 116/4 ม.1 ต.นายายอาม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี โทร.081-932-7863