ฟาร์มเป็ด เพาะเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เป็ดปักกิ่ง กากีแคมป์เบลล์ ป้อนรายย่อย ได้สร้างตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำ ฟาร์มเป็ด

การเพาะเป็ดนอกจากจะเป็นการสร้างอาชีพให้แก่ตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังให้อาชีพแก่ชาวบ้านที่ยังไม่มีอาชีพได้นำเป็ดไปเลี้ยงสร้างรายได้เลี้ยงตัวให้กับหลายๆ คน โดยทีมงานนิตยสารสัตว์บกจะพาผู้อ่านไปพบกับ ฟาร์มเป็ด กิตติพันธุ์ฟาร์ม ของ คุณวิทยา กิตติพันธุ์วรกุล เจ้าของฟาร์มเพาะลูกเป็ด เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2520

โดยไปซื้อลูกเป็ดที่กรุงเทพฯ แล้วเอามาปล่อยให้ลูกน้องเลี้ยง พอครบ 5 เดือน ก็จับกลับ ช่วงแรกเลี้ยงเป็ดปักกิ่งก่อน ตอนหลังรู้สึกว่าเส้นทางนี้หนัก รู้สึกว่าสู้เป็ดของบริษัทใหญ่ไม่ได้ จึงลองมาเลี้ยงเป็ดกากีแคมป์เบลล์ ทำมาประมาณ 10 กว่าปี โดยเลี้ยงเป็ดปักกิ่งกับเป็ดกากีแคมป์เบลล์คู่กันมา แต่หลักๆ จะเป็นเป็ดปักกิ่ง

แต่อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าเป็ดปักกิ่งของที่นี่สู้บริษัทใหญ่ไม่ได้ เพราะเป็ดที่เลี้ยงจะมีขนาดเล็กกว่า แม้จะสู้เรื่องราคาได้ก็ตาม เพราะเรื่องราคาต้นทุนถูกกว่า เลี้ยงประมาณ 20 วัน ก็จะปล่อยลงทุ่ง  แล้วก็เลยหันมา เพาะเป็ดไข่ แล้วปล่อยให้ลูกน้องเลี้ยงไล่ทุ่ง พอครบ 5 เดือน ก็จับกลับ เพื่อขายเป็ดสาวเข้าฟาร์ม หรือใครจะเอาไปไล่ทุ่งก็มาซื้อไป

1.คุณวิทยา-กิตติพันธุ์วรกุล-เจ้าของฟาร์มเพาะลูกเป็ด
1.คุณวิทยา-กิตติพันธุ์วรกุล-เจ้าของฟาร์มเพาะลูกเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด

การ เลี้ยงเป็ดไข่

ช่วงสมัยที่ทำแรกๆ เป็ดไล่ทุ่งก็ยังมีไม่มาก เพราะว่าชาวบ้านไม่มีทุนซื้อเป็ด พอถึงประมาณปี 47 ก็เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วงที่ไข้หวัดนกระบาด ทางรัฐบาลสั่งให้ทำลายเป็ดทั้งหมด คือ ตอนนั้นราคาเป็ดจะอยู่ที่ตัวละประมาณ 60 บาท แต่รัฐบาลชดเชยให้ประมาณตัวละ 145 บาท เมื่อหักส่วนที่เป็นต้นทุนออกแล้วก็จะเป็นผลกำไรที่ชาวบ้านได้ พอชาวบ้านได้เงินทดแทนในส่วนนี้ เขาก็นำมาเป็นทุนซื้อเป็ดมาเลี้ยงต่อไป

เมื่อก่อนนี้จะขายเป็ดในระบบเงินเชื่อ คือ ขายให้เถ้าแก่ (คนกลาง) แล้วเถ้าแก่ก็จะเอาไปปล่อยให้ลูกค้า หรือชาวบ้านอีก คือ ปล่อยต่อๆ กันไปเป็นทอดๆ พอครบ 5 เดือน เมื่อชาวบ้านจับเป็ดขายค่อยเอาเงินมาจ่าย พอมีไข้หวัดหวัดนกมา ชาวบ้านได้ค่าทดแทน คนหนึ่งก็เยอะพอสมควร ก็เลยมีการพัฒนาการเลี้ยงเพิ่มขึ้น เพราะชาวบ้านก็รู้วิธีการเลี้ยง รู้วิธีการจัดการ และที่สำคัญชาวบ้านก็มีกำลังการซื้อเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องผ่านทางเถ้าแก่ แล้วก็มีการซื้อตรงจากฟาร์มเพาะมากขึ้น

ทุกวันนี้เป็นรูปแบบใหม่ คือ กิตติพันธุ์ฟาร์มฟักลูกเป็ดออกมาแล้วขายเงินสด จากที่เมื่อก่อนปล่อยเชื่อ นอกจากกรณีที่เพาะออกมาแล้วลูกเป็ดขายไม่ได้ ก็จะเอาให้ลูกน้องเลี้ยง แล้วก็เพาะจำนวนน้อยลง เพราะจากปกติ 5 วัน จะฟักลูกเป็ดออก 50,000 ตัว แต่ปัจจุบันนี้ 5 วัน ฟักเพียง 20,000 ตัว หายไปประมาณ 60 % ที่ลดลงก็เพราะกำลังการซื้อของเกษตรกรลดลง คนไหนที่มีการวางแผน มีระบบการจัดการทางการเงินที่ดี ก็สามารถซื้อต่อได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงเป็ด
2.ลักษณะโรงเรือน เลี้ยงเป็ดไข่ ใน ฟาร์มเป็ด

การจำหน่ายลูกเป็ด

ราคาลูกเป็ดที่ฟักออกมาจะอยู่ที่ประมาณตัวละ 19-20 บาท บางครั้งก็รับซื้อไข่จากเจ้าอื่นมาฟักบ้าง ในราคาใบละ 5 บาท โดยไข่ 3 ใบ จะมีโอกาสออกเป็นตัวได้  2 ตัว และต้องคิดอีกว่าเป็นตัวผู้ 1 ตัวเมีย 1  ตัวผู้จะขายไม่ได้ราคา แต่เมื่อเฉลี่ยโดยรวมแล้วก็จะได้ตัวละ 10 บาท ก็ถือว่าอยู่ได้

เป็ดเล็กฟักออกมา อันดับแรกก็จะมีการแยกเพศ เพศเมียจะส่งให้ลูกน้องเลี้ยง โดยจะให้ยาและอาหารไปด้วย พอถึง 25 วัน ก็จะทำวัคซีนดรัคเพ็ก เสร็จแล้วก็ปล่อยลงทุ่ง การทำวัคซีนจะทำทุกเดือน เดือนละ 1 เข็ม ทำให้ครบ 4 เข็ม ส่วนลูกเป็ดตัวผู้ ถ้าราคาต่ำกว่าตัวละ 1 บาท คุณวิทยาจะไม่ขาย จะเอาให้จระเข้กิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้จากการขายจระเข้ได้เป็นกอบเป็นกำ

เป็ดใหญ่ เป็นเป็ดอายุ 5 เดือน ที่จับกลับมา อันดับแรกก็ทำวัคซีนดรัคเพ็กก่อน หลังจากนั้น 4-5 วัน ก็ทำวัคซีนอหิวาต์ หรือไม่ทำก็ได้ แล้วแต่สถานการณ์ในตอนนั้น หลังจากนั้นก็ขุนอาหารเต็มที่ประมาณ 15 วัน เป็ดก็เริ่มให้ไข่เยอะขึ้น ประมาณ 6 เดือนครึ่ง เป็ดก็เลี้ยงตัวเองได้ แต่ในระหว่างครึ่งเดือนนั้นจะขาดทุน เพราะไม่มีรายรับ หลังจากนั้นก็จะฉีดวัคซีนดรัคเพ็กอีกที

ปลดเป็ด จะปลดที่อายุ 12 เดือน แต่ยังสามารถขายให้คนเอาไปเลี้ยงไล่ทุ่ง ก็จะเลี้ยงเก็บไข่ได้อีกประมาณ 6-7 เดือน ขายตัวละประมาณ 50-60 บาท ถ้าในกรณีคนเลี้ยงทุ่งไม่มีก็จะส่งเข้าโรงเชือด ราคาก็จะอยู่ที่ตัวละประมาณ 30 บาท

3.เป็ดไข่
3.เป็ดไข่

ด้านตลาดเป็ดไข่

มุมมองการตลาดเป็ดไข่ คุณวิทยาคิดว่าจากนี้ไปในระยะ 3-6 เดือน ต่อจากนี้ คิดว่าน่าจะพอยังไปได้ หลังจากนี้ก็ไม่แน่ใจ เพราะอยู่ที่ว่าผู้ผลิตจะผลิตออกมาได้เท่าไหร่ เพราะลูกเป็ดตอนนี้มีออกมาสู่ตลาดในจำนวนมาก

ฝากถึงผู้ประกอบร่วมอาชีพ และภาครัฐว่าทางรัฐบาลควรที่จะส่งเสริม เพราะว่าที่นาในเมืองไทยมีมหาศาล อย่างน้อยก็น่าจะมี 5-10 ตัว อยู่ในบ้าน ขายไข่เป็ดสามารถเป็นค่ากับข้าวได้ และที่สำคัญ คือ ไข่เป็นโปรตีนที่ถูกที่สุด แต่ถ้าหากว่ายึดเป็นอาชีพหลัก ลำพังสองสามี-ภรรยา และลูกอีกคนหนึ่ง ถ้า เลี้ยงเป็ดไข่ ระดับ 1,500 ตัว คิดว่าอยู่ได้สบายเลย ลงทุนครั้งแรกไม่กี่บาท มีเงินแค่หมื่นเดียวก็เลี้ยงได้แล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ตอบได้เลยว่าเหนื่อย เพราะต้องอยู่ในทุ่งนา แต่อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ตั้งตัวได้ คือ ซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน-4 เดือนครึ่ง เป็ดก็จะเริ่มไข่แล้ว จะลำบากก็ตอนเดือนแรก-เดือนที่ 4 เพราะจะยังไม่มีรายได้ แต่หลังจากนั้นสามารถเก็บไข่ขายได้ตลอด แต่ทางรัฐบาลตอนนี้ไม่สนับสนุนไม่พอ แถมยังมีข้อระเบียบเข้ามาบีบรัดอีก

จึงอยากจะฝากเอาไว้ อาชีพนี้เป็นอาชีพที่น่าสงวน เพราะชาวบ้านมีตังค์ซื้อ แต่รัฐบาลไม่สนับสนุน การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงเป็ดไข่ ในทุกวันนี้มีข้อจำกัด ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างผู้เลี้ยงรายใหญ่กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

10.ลูกเป็ด
10.ลูกเป็ด

การเพาะเป็ด

การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงเป็ดไข่ ขึ้นอยู่ที่ช่วงจังหวะด้วย เหมือนปีที่แล้วเป็นช่วงพิฆาตเลยก็ว่าได้ เกษตรกรรายใหม่ที่ เลี้ยงเป็ดไข่ เจ๊งไม่ต่ำกว่า 50% อย่างเช่นปีที่แล้วเลี้ยง 100 ตัว ปีนี้ก็เหลือเพียง 40 ตัว เจ๊งไป 60 ตัว จะเป็นลักษณะที่ว่า ในปี 2554 เลี้ยงเป็ดไข่ 2,000 ตัว กำไรวันหนึ่งก็เกือบ 3,000 บาท ราคาไข่เป็ดตอนนั้นจะอยู่ที่ฟองละ 3.60-3.80 บาท กำไรเดือนละเกือบแสน ทีนี้เมื่อได้กำไรก็ขยายจากที่เลี้ยง 3 ก็เป็นเลี้ยง 6 พอราคาไข่ถูกก็ขาดทุน

ในส่วนของคุณวิทยาเองปีที่แล้วก็ขาดทุนไป 5 ล้านกว่าบาท เนื่องจากไข่มีราคาถูก และขายลำบาก ขนาดเอาไปขายที่แม่สาย จ.เชียงราย ก็แล้ว แต่ทางฝั่งพม่าจะตีราคาให้ เพราะต้องการระบายไข่ออก เนื่องจากไข่มันมีอายุของมัน พอได้เดือนหนึ่งก็เริ่มมีกลิ่น วงจรเป็ดไข่จึงลดลงมา แต่ตอนนี้เริ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นบ้าง

บางทีก็มีเกษตรกรรายใหม่ที่สนใจอยากจะเลี้ยง แต่ไม่มีทุน แต่ถ้าเขามีสิ่งที่สามารถค้ำประกันให้ ทางคุณวิทยาก็ยินดีที่จะรับ ไม่ว่าจะเป็นโฉนดบ้าน ทะเบียนรถ คือ เอามาแลกกัน แล้วเกษตรกรก็เอาเป็ดไปเลี้ยง พอขายเป็ดได้ก็ค่อยเอาเงินมาจ่ายให้คุณวิทยาทีหลัง ก็เหมือนกับว่าเป็นการให้อาชีพชาวบ้านด้วย คุณวิทยาพูดว่า

“เราช่วยเขา เขาก็ช่วยเราด้วย ต่างคนก็ต่างช่วยกัน ถ้าประชาชนมีอาชีพพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปรับจ้างเขา ได้เงินวันละ 300 บาท กินวันเดียวก็หมด แต่ถ้าเรามีอาชีพเป็นของเรา เก็บไข่ขายทุกวัน ได้เงินทุกวัน มันก็ย่อมดีกว่า ผมก็เลยอยากส่งเสริมในตรงนี้ ดีกว่าไปรับจ้างวันละ 300 บาท”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรงฟัก

สถานการณ์ปัจจุบันโรงฟักหลายแหล่งก็ยังผลิตไม่เยอะเท่าที่ควร ถ้าทุกคนเร่งผลิตเหมือนปีก่อนๆ  ที่ผ่านมา ก็จะส่งผลให้เป็ดไข่ล้นตลาด ถ้าขายเป็ดไม่ได้ก็ต้องเลี้ยงเอาไว้ ปีที่แล้วโรงฟักหยุดไป 3 โรง มาปีนี้ก็หยุดอีกไป 3 โรง เพราะในการฟักไข่ต้องใช้ต้นทุนสูง

แล้วอีกอย่างหนึ่งเวลาขายก็ขายไม่ได้เงิน แล้วก็อีกอย่าง คือ เป็ดจะฟักออกมาทุกๆ 5 วัน เป็ดก็จะทยอยสะสมเรื่อยๆ รายได้ไม่เข้า บางครั้ง 3-5 เดือน ก็พอทนได้ แต่ถ้าเดือนที่ 6 ไปแล้ว ก็เริ่มมีปัญหา เงินค่าอาหารก็ต้องจ่าย รายรับก็ไม่มี ก็เลยมีการปิดกิจการไป

แนวทางแก้ไข ก็คือ ต้องหยุดการผลิต อยู่ที่ว่าใครยอมเสียมาก เสียน้อย อยู่ที่ว่าใครจะอ่านเกมออก ถ้าใครอ่านเกมออกก็หยุดก่อนได้  ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่มีความแน่นอน บางที่คิดว่าดี พอถึงเวลาก็อาจจะไม่ดีอย่างที่คิด สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ก็เหมือนตอนนี้คุณวิทยาก็อ่านเกมได้ว่าในช่วงหน้าหนาวนี้ก็คิดว่าไข่มันจะลง มันคงไม่ยืนแบบนี้ สาเหตุที่มันลง เพราะปกติหน้าร้อนเป็ดอายุ 1 ปี มันจะไข่ได้ 70% แต่ถ้าหน้าหนาวมันอาจจะขึ้นมาอีก 10-15%

4.ฟาร์มเป็ด เพาะเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เป็ดปักกิ่ง กากีแคมป์เบลล์ ป้อนตลาดรายย่อยดี
4.ฟาร์มเป็ด เพาะเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เป็ดปักกิ่ง กากีแคมป์เบลล์ ป้อนตลาดรายย่อยดี

สายพันธุ์เป็ด

เรื่องของการจัดการฝูงเพื่อให้มีอัตราการฟักดี จึงต้องมีการวางอัตราพ่อพันธุ์คุมฝูงให้เพียงพอ ปัจจุบันมีแม่พันธุ์จำนวน 12,000 กว่าแม่ ใช้พ่อพันธุ์ 1,200 ตัว หรือ 10 ต่อ 1 ช่วงนี้ (เดือนพฤศจิกายน) ไข่ลดลงเหลือประมาณ 60%

ส่วนเรื่องของสายพันธุ์เป็ดที่เพาะเป็นสายพันธุ์ที่มีในเมืองไทยมานานแล้ว คุณวิทยาเอาสายพันธุ์จากฟาร์มอื่นมาผสมกับเป็ดในฟาร์มของคุณวิทยาเอง เช่น ไปเอาตัวผู้ของ ฟาร์มเป็ด ทอง หรือไปเอาจากชลบุรี มาผสม เป็นต้น บริษัทรายใหญ่ก็สงวนพันธุ์ใหม่ของเขาไว้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อปี 47 คุณวิทยาก็เคยเอากากีแคมป์เบลล์ของกรมปศุสัตว์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่มี แล้วก็เก็บทำแม่พันธุ์ไว้ผสมสลับกันไป สลับกันมา หรืออาจจะไปเอาพ่อพันธุ์จากฟาร์มอื่นเพื่อไม่ให้เลือดชิด แล้วเป็ดจะตัวเล็กลง บางคนก็ต้องการเป็ดตัวใหญ่ ไข่ที่ได้ฟองก็จะใหญ่ตามไปด้วย  แต่ถ้าตัวใหญ่บางฟาร์มเขาจะไม่ชอบเพราะกินจุ ก็มีความต้องการที่หลากหลาย

5.เลี้ยงแบบปล่อยพื้นดิน-ล้อมเล้าด้วยไม้ไผ่
5.เลี้ยงแบบปล่อยพื้นดิน-ล้อมเล้าด้วยไม้ไผ่

สภาพพื้นที่เลี้ยงเป็ด

ปัจจัยที่ทำให้เป็ดไข่มีหลายปัจจัยด้วยกัน นอกเหนือไปจากปัจจัยหลัก อย่าง เรื่องของสายพันธุ์ แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหาร ฤดูกาล อากาศ ถ้าอากาศร้อนจะทำให้เป็ดกินอาหารลดลง ไข่ลดลง หน้าหนาวอยู่สบาย เป็ดกินอาหารได้ดีขึ้น ก็ได้ไข่ดีขึ้นด้วย

โรงเรือนเลี้ยงเป็ด เลี้ยงเป็ดไข่ จะเลี้ยงแบบปล่อยพื้นดิน ล้อมเล้าด้วยไม้ไผ่ มีรางน้ำให้เป็ดกินได้ตลอดเวลา แต่ไม่มีสระให้เล่น จะเลี้ยงบนพื้นที่แห้ง โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นที่ร่มมีหลังคาสำหรับพักผ่อนในตอนกลางคืน และอีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นที่โล่ง รอบๆ โรงเรือนก็จะปลูกต้นไม้เพื่อเป็นร่มเงา พื้นที่ในการเลี้ยงจะอยู่ที่ตารางเมตรละ 7-8 ตัว

แทงค์น้ำใช้ในฟาร์ม
แทงค์น้ำใช้ในฟาร์ม เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงเป็ดไข่

การให้อาหารและน้ำเป็ด

การให้อาหารจะให้วันละ 4 ครั้ง ให้ตอนเช้า กลางวัน เย็น แล้วก็กลางคืน แต่เวลากลางคืนถ้าอาหารเดิมจากตอนเย็นยังพอมีอยู่ก็จะยังไม่ให้ ปล่อยให้เป็ดกินให้หมดก่อน ถังอาหารจะประยุกต์ใช้ถังกลของสุกร เพราะเป็ดจะได้กินตลอดทั้งวัน เมื่อก่อนคุณวิทยาจะใช้อาหารผสมเอง แต่ตอนนี้หันมาใช้อาหารเม็ด ถึงราคาจะแพงกว่า แต่ถ้าถามถึงคุณภาพแล้วก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับอาหารที่ผสมเอง และลดปัญหาการจัดซื้อวัตถุดิบเองด้วย

รวมไปถึงปัญหาเรื่องแรงงานที่หายากขึ้นทุกวัน สาเหตุที่ใช้อาหารเม็ดก็เนื่องมาจากปัญหาในเรื่องของแรงงาน และอีกหนึ่งก็เนื่องมาจากรัฐบาลมีนโยบายรับจำนำข้าว ซึ่งปลายข้าวที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จำเป็นต้องใช้ก็ติดไปกับเม็ดข้าว ส่วนใหญ่โรงงานใหญ่ๆ เขาจะได้ไป และราคาก็จะแพงมาก ประมาณกิโลกรัมละ 10 กว่าบาท บางทีปลายข้าวยังแพงกว่าเม็ดข้าวด้วยซ้ำ เราก็เลยหาวัตถุดิบยาก

คุณวิทยาจึงหันมาใช้อาหารสำเร็จรูป ลองมาทุกยี่ห้อ สุดท้ายก็หยุดที่อาหารของ CP เนื่องจากคุณภาพอาหารนิ่ง และราคาก็ไม่ต่างกับยี่ห้ออื่น ยี่ห้ออื่นคุณภาพอาหารจะแกว่ง ดูได้จากคุณภาพไข่ คือ ไข่จะมีขนาดเล็กลง และปริมาณไข่ก็จะลดลง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ตู้ฟัก
7.ตู้ฟัก
ไข่ที่เตรียมเข้าตู้ฟัก
ไข่ที่เตรียมเข้าตู้ฟัก
ลูกเป็ดเริ่มฟักเป็นตัว
ลูกเป็ดเริ่มฟักเป็นตัว

การเก็บไข่เป็ด

การเก็บไข่จะเก็บไข่ตอนตี 5 ทุกวัน เมื่อเก็บมาแล้วก็จะเอาไปรวมกันไว้รอให้ครบ 5 วัน เพื่อรอเข้าตู้ฟัก ถ้าเป็นช่วงหน้าร้อนก็จะเก็บไว้ในห้องแอร์อุณหภูมิประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถเก็บได้นานถึง 1 เดือน ที่เอาเข้าห้องแอร์ก็เพื่อไม่ให้ไข่ที่เก็บมาวันแรกเป็นตัว เพราะเวลาฟักลูกเป็ดจะออกไม่พร้อมกัน

แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะเก็บไว้ตามอุณหภูมิห้องปกติ ปล่อยให้ลมโกรก เวลาที่ใช้ในการฟักประมาณ 27-28 วัน ในวันที่ 29 ลูกเป็ดก็เริ่มออกหมดแล้ว อุณหภูมิในตู้ฟักจะใช้ตัวเม็กเมตริกช่วย เราจะตั้งไว้ที่ 99.7-99.8 แล้วมันก็จะตัดโดยอัตโนมัติ  บางทีเกิดความขัดข้อง เครื่องไม่ตัดไฟ ไข่ก็ไหม้ กรณีนี้จะไม่เจอบ่อย บางทีก็สายพานขาด โดยคนดูแลจะรู้ถึงความไม่ปกติของเครื่อง ก็เปลี่ยนอะไหล่ทันทีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในขณะฟักไข่

8.ลูกเป็ดรอส่งไปยังฟาร์มต่างๆ
8.ลูกเป็ดรอส่งไปยังฟาร์มต่างๆ
จระเข้เลี้ยงไว้กินซากเป็ด
จระเข้เลี้ยงไว้กินซากเป็ด
9.ลูกเป็ดพร้อมส่งลูกค้า
9.ลูกเป็ดพร้อมส่งลูกค้า

การขนส่งลูกเป็ด

เรื่องของการขายเคลื่อนย้ายเป็ด เมื่อเกษตรกรมีความประสงค์จะซื้อเป็ดเข้าไปที่ฟาร์ม อันดับแรกต้องไปแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ก่อนว่าจะเอาเป็ดเข้า พอผ่านการทำเรื่องแล้วก็ส่งเอกสารมาที่ฟาร์มเพาะที่เกษตรกรจะไปเอาเป็ด เมื่อดำเนินเรื่องเสร็จแล้วก็โอนเงินมัดจำมาให้กิตติพันธุ์ฟาร์ม ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด

หลังจากนั้นก็จะนัดหมายวันรับลูกเป็ด หรือถ้าไม่สะดวกอาจจะให้ทางนี้เอาไปส่งให้ได้ เพียงแต่ลูกค้าต้องโอนเงินที่เหลือให้ครบเท่านั้นเอง ค่ารถในการขนส่งเที่ยวละประมาณ 10,000 บาท การส่งก็จะขนส่งในตอนกลางคืน ส่งให้ไวที่สุด เพื่อลดการเครียดของตัวสัตว์ ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด ฟาร์มเป็ด 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิทยา กิตติพันธุ์วรกุล จ.สุพรรณบุรี