เลี้ยง “โคนม” ด้วยนวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สภาวะโลกเดือด อากาศแปรปรวน ผู้เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เลี้ยง  “โคนม” ด้วยนวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน

โดยเฉพาะผู้เลี้ยง โคนม ทั้งพันธุ์และลูกผสม ต้องนำ “นวัตกรรม” ต่างๆ มาใช้ เพื่อให้โคอยู่สบาย

1.โคนม01

การสัมมนาเรื่องนวัตกรรมการเลี้ยงโคนมเพื่อประสิทธิภาพการแข่งขัน

วันที่ 9 มกราคม 2567 มีการสัมมนาเรื่องนวัตกรรมการเลี้ยงโคนมเพื่อประสิทธิภาพการแข่งขัน งานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ผู้ดำเนินการสัมมนา คือ คุณธรรมนูญ ธรรมประไพ วิทยากร ได้แก่ คุณวสุวัฒน์ พวงแก้ว พนักงานสัตวแพทย์รักษาการหัวหน้าแผนกฟาร์มโคนมของ อสค. คุณหมอวีริศ วุฒิรณฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ สำนักวิชาการอาหารสัตว์ ซีพี และ คุณวิภาวรรณ โพธารินทร์ เจ้าของนางฟ้าวัวน้อยฟาร์ม

คุณธรรมนูญผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคนม และพัฒนาพันธุกรรมไทย มีความเหมาะสมในการเป็นผู้ดำเนินการสัมมนา ได้กล่าวเปิดประเด็นว่า การสัมมนาในหัวข้อนี้เป็นเรื่องดีมาก เพราะจะได้รู้ว่าโคนมหลังปี 68 จะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ขอทำความเข้าใจคำว่า “นวัตกรรม” หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ หรือแปลกไปจากเดิม อาจเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ พูดภาษาชาวบ้าน นวัตกรรม ก็คือ เรื่องใหม่ๆ ที่เอามาปฏิบัติในฟาร์มแล้วมันดีขึ้น ทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ประมาณนี้

2.โคนม02

การบริหารจัดการฟาร์มวัวนม

วิทยากรคนแรก ได้แก่ คุณวิภาวรรณ (จิน) ได้ให้ความสำคัญของนวัตกรรมในฟาร์ม คือ การทำงานด้วยวิธีการ หรือการบริหารจัดการ หรือการนำวิธีการใหม่ๆ นำมาใช้ได้สะดวกมากขึ้น โดยยอดจากคุณพ่อ คุณแม่ ตั้งแต่ปี 33 จากโคนม 5 ตัว วันนี้กว่า 80 ตัว (แม่รีด 42 ตัว โคดราย 4 ตัว และโคทดแทน 37 ตัว) ได้น้ำนมประมาณ 8.20 กก./วัน หรือเฉลี่ย 19.5 กก./ตัว/วัน เนื่องจากคุณจินไม่มีพื้นฐานการเลี้ยงโคนม และไม่คิดจะเลี้ยง เพราะเป็นอาชีพที่ลำบาก แต่เมื่อในฟาร์มไม่มีแรงงาน จึงตัดสินใจเข้ามาช่วยทำฟาร์ม ด้วยการตระเวนอบรม หาความรู้ อ่านหนังสือ เข้ารับการอบรมผสมเทียม ศึกษาเรื่องการแปรรูปน้ำนมดิบเป็นผลิตภัณฑ์นม

จนได้เปลี่ยนแปลงการจัดการฟาร์มหลายอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น เปลี่ยนแปลงการรีดนม จากเดิมเป็นแบบไปท์ไลน์ เพื่อสะดวกในการทำงาน ไม่ต้องยกถังหนักๆ เลี้ยงลูกโคแบบแยกเดี่ยว และบนกรง ทำให้ลูกโคโตดีกว่า ลดอัตราการสูญเสีย ก็ได้นำมาใช้ง่ายต่อการจัดการรายตัว จะรู้ว่าแต่ละตัวกินเก่งหรือไม่ และการทำความสะอาดแต่ละตัวก็ง่าย ได้ทำซองนอนในคอกโค เป็นการประหยัดเนื้อที่ และโคนอนสบายขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จัดทำ “บ่อจุ่มกีบ” เพื่อลดปัญหากีบฉีกขาด เพราะโคอยู่ในคอกตลอดเวลา โดยจุ่มกีบ 1 ครั้ง/เดือน เพื่อให้กีบแข็งแรง ได้ติดไฟไล่ยุงป้องกันปัญหาจากโคตายหลายตัวจากแมลง พาหะโรค และยังช่วยป้องกันโรคลัมปีสกินได้ด้วย ได้ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือน เพื่อให้โคอยู่สบายขึ้น มีการอบรมแต่งกีบโค มีการทำโปรแกรมวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ติดปลอกคอในการจับการเป็นสัด เพื่อรู้พฤติกรรมว่าตัวไหนเป็นสัด และดูแลสุขภาพโคด้วย มีการจัดการเรื่องระบบอาบน้ำ เพื่อให้โคกินอาหารมากขึ้น

ได้ปลูกหญ้าเนเปียร์ประมาณ 20 ไร่ ใช้ DOUBLE CHOP ตัดหญ้าให้มีชิ้นส่วนขนาดพอเหมาะ ผลิตอาหาร TMR โดยมีอาจารย์มาดูการร่อนชิ้นอาหารว่าตรงตามมาตรฐานมั๊ย สร้างบ่อเก็บบังเกอร์เพื่อเก็บอาหาร มีการชั่งน้ำนมรายตัวเดือนละครั้ง เพื่อนำข้อมูลมาจัดกลุ่มโคคลอดใหม่ว่าได้นมระดับกลาง หรือนมน้อย เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการอาหาร ตั้งระบบบันทึกใน EXCEL ที่ทางฟาร์มเขียนแล้วผูกสูตรตัวเอง เพื่อให้ง่ายในการดูแล ดูงานในฟาร์มต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อนำบางอย่างมาปรับปรุงฟาร์ม และเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกงานที่ฟาร์มได้แปรรูปน้ำนมดิบเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในปริมาณเพียง 5% ของปริมาณนมที่ส่งสหกรณ์ เป็นต้น

3.โคนม03

การบำรุงดูแลวัวนม

คุณวสุรัตน์ให้ความเห็นว่า ทาง อสค. ได้เห็นปัญหา หรือข้อจำกัดของการทำฟาร์มโคนมหลายอย่าง จึงได้ริเริ่มตั้งฟาร์มบนพื้นที่ อสค. โดยกู้เงิน FTA 55-9 ล้านบาท เลี้ยงแม่โครีดนม 100 ตัว โคชุดแรกเข้าเดือน เม.ย. สร้างโรงเรือนให้กว้างเหมือนอิสราเอล เพื่อให้โคอยู่สบาย ปรากฏว่าโคที่เลี้ยงเฟสแรก 100 แม่รีดนมได้กว่า 75% ของฝูง ท้องว่างไม่เกิน 85 วัน ค่าเฉลี่ยในการผสมติด 2 ครั้ง ระยะเวลาตกลูก 430 วัน

น้ำนม/ตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 22 กก.กว่าๆ องค์ประกอบของน้ำนมผ่านมาตรฐานทุกตัว โครงการนี้มีเงินให้เปล่าจาก FTA เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรมาดูงานที่ฟาร์ม 680 คน/ปี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนๆ แรกดูงาน 3 วัน เป็นหลักสูตร 80 คน ส่วนที่ 2 จำนวน 600 คน ที่อบรม แล้วทำข้อมูลรายงาน FTA ว่า คนเข้าอบรมมีทิศทางการเลี้ยงโคเป็นแบบไหน อยากได้แรงบันดาลใจในการทำฟาร์มประสิทธิภาพสูงแบบ อสค.มั๊ย

“เขาจะเข้ามาดูความเคลื่อนไหวของตัววัว ฝูงวัว ในฟาร์ม อัตราการผสมติดเขาดูสูตรอาหารที่เราออกสูตรมาเพื่อให้วัวชุดนี้กิน เปอร์เซ็นต์โปรตีนเพียงพอมั๊ย วัวกินหมดมั๊ย ตรงกับความต้องการของแม่วัวมั๊ย เราจะเช็คความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัววัว ตัวอย่างเช่น วันนี้วัวกินอาหารชุดนี้อยู่ ทางรีดนมแจ้งว่าวัวกินอาหารไม่หมด เกิดจากอะไร ไล่รีเช็คกัน ทำงานแบบเรียลไทม์ ต้องเช็คปริมาณน้ำนมเข้าโรงงานทุกวัน ต้องเช็คความชื้น TMR ทุกเช้า พอผสมอาหารเสร็จก็ถ่ายรูปส่งไลน์ สิ่งที่ได้จากการดูฟาร์ม 2 ปี เห็นว่าวัวตัวหนึ่งน้ำหนัก 400-500 กก. ความสามารถในการกินได้ของกระเพาะวัวแต่ละตัว ความชื้นอาหารไม่เกิน 50% ก็คงสุด็ค็คก็คในการกินไม่เกิน 35 สูตรอาหาร จะคุมอยู่ประมาณ 30-32 เพื่อให้วัวกินหมด หรือให้เหลือในระบบน้อยที่สุด ไม่เกินต้นทุนที่สูงขึ้น

4.โคนม04

เป้าหมายของฟาร์มวัวนม

ส่วนการต่อยอดของฟาร์ม ก็คือ เกษตรกรมาดูงานเป็นระยะๆ ทั้งสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า ต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม/ตัว/วัน อยากได้องค์ความรู้ หากช่วยได้ก็จะเข้าไปช่วย จึงมีโครงการ 5 ภาคๆ ละ 3-4 ฟาร์ม เก็บข้อมูล และรอบๆ อสค. ก็มี 5 ฟาร์ม นำร่องการที่กู้เงิน FTA มา ต้องเริ่มใช้หนี้ตั้งแต่ปีที่ 3 ของโครงการ ตั้งแต่ 3 ล้าน 4 ล้าน 5 ล้าน 6 ล้าน จะนิ่งๆ อยู่ 4 ปี 3 ปีสุดท้าย จะจ่าย 5.2 ล้าน และ 5.2 อีก 2 ปีสุดท้าย อสค. ต้องใช้หนี้ 51 ล้าน เลี้ยงแม่โค 100 ตัว คัดทิ้งได้ 25%/ปี ก็มีเงิน FTA เข้ามาปีละ 1.43 ล้านบาท เพื่อซื้อวัวสาวท้องเข้ามาในฟาร์ม ไม่เลี้ยงโคทดแทน แต่ต้องรักษามาตรฐานปริมาณน้ำนมให้เพียงพอกับการใช้หนี้ FTA

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ละปีเป้าหมาย คือ อย่าให้รู้กำไรน้อยกว่า 5 แสนบาท เคยทำกำไร 8.5 แสน ปี 66 หรือเฉลี่ย 6-7 แสน ค่าน้ำนมได้เดือนละล้านกว่าบาท ค่าอาหาร 7-8 แสนบาท เหตุที่อาหารแพง เพราะวัตถุดิบแพง ต้นทุนอาหาร 7.5-7.8 บาท/กก. แต่ได้ทำสัญญา FTA 4.50 บาท/กก. ใช้อาหาร TMR 100% ข้าวโพดหมัก คือ อาหารหยาบ และใช้หญ้าแห้ง ผลิตโดยทีมงาน อสค. โปรตีน 16% สำหรับวัวนมมาก ซึ่งวัวนมมี 3 ฝูงๆ นมมาก คือ กว่า 25 กก./ตัว/วัน ส่วนวัวนมน้อยให้อาหารโปรตีน 14% ส่วนวัวรอคลอดให้โปรตีน 12%

5.โคนม05

รูปแบบการเลี้ยงโคนม แบบฉบับเวียดนาม

คุณหมอวีริศได้นำเสนอรูปแบบการเลี้ยงโคนมขนาดใหญ่ของเวียดนาม ซึ่ง CPF ส่งเขาไปดูงานเพื่อหาความสำเร็จ 4 ฟาร์ม ที่แตกต่างกัน ของที่ตั้งฟาร์มๆ แรกของ บริษัท วินนามิลค์ฯ ที่กวางงาย ริมทะเล เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ฟาร์ม 2 เป็นของ บริษัท รูติคูทฯ บนที่ราบสูงๆ กับภูเรือของไทย ฟาร์ม 3 ชื่อ โฮลต่วนแดรี่ฟาร์ม อยู่ติดฮานอย และฟาร์มที่ 4 ของ บริษัท TH MILK จังหวัดฟูเอี้ยน ทางใต้ของเวียดนามทั้ง 4 ฟาร์ม ได้น้ำนมเฉลี่ย 30 ลิตร/ตัว/วัน วินนามิลค์ 15 ฟาร์ม ผลิตน้ำนม 1,000 ตัน/วัน สายพันธุ์จากสหรัฐอเมริกา โรงเรือนซองนอน 4 แถว หันหน้าชนกัน โรงรีดเป็นระบบโรตารี่ วัวขึ้นไปได้ประมาณ 60 ตัว/รอบ ปริมาณน้ำนม 60 ตัน/วัน โดยเน้นระบบทำความเย็น

เหตุที่ต้องยกฟาร์มวัวนมเวียดนามมานำเสนอเป็นโมเดล เพราะมีฟาร์มขนาดใหญ่มาก สภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับไทย มีฝนความร้อน ความชื้น แมลงและโรคเหมือนกับไทย เขาใช้สเปรย์น้ำและพัดลม ที่รางอาหารและที่บริเวณล้อรีดนม และที่ซองนอนต้องมีพัดลมเป่าให้เย็น ทุกฟาร์มเหมือนกันหมด มีกระบวนการกำจัดของเสีย เช่น ลากขี้วัว หรือใช้เครื่องแยกกาก เป็นต้น อย่าง นูติฟู้ดแดรี่ฟาร์ม อันดับ 3 ผลิตนมวันละ 120 ตัน จากแม่รีด 4,000 ตัว โรงเรือนแบบซองนอน 4 แถวหน้าชนกัน มีระบบทำความเย็น มีสปริงเกลอร์ เป็นต้น ทำตลาดนมเอง TH MILK อันดับ 2 ของเวียดนาม ผลิตนม 1,000 ตัน/วัน จาก 4-5 ฟาร์ม ที่ฟูเอี้ยน เพิ่งสร้างเสร็จ และจะสร้างอีก 2-3 ฟาร์ม มีวัวรีด 1,275 แม่พันธุ์อเมริกา โรงเรือนเหมือนกับฟาร์มอื่นๆ แต่ที่พิเศษ คือ ใช้ขี้วัวที่แยกกากแล้วเป็นวัสดุรองนอน โรงรีดเป็นระบบโรตารี่ 54 หัวรีดนม 46 ตัน/วัน เฉลี่ยตัวละ 33 กก./วัน เต้านมสะอาดมาก แทบไม่ต้องอาบน้ำ และ หัวต่วนแดรี่ฟาร์ม วัวรีด 1,100 แม่พันธุ์อเมริกา โรงเรือนเหมือนกับฟาร์มอื่นๆ ให้นม 32 กก./ตัว/วัน

ทั้ง 4 ฟาร์ม พันธุกรรมเป็นของสหรัฐอเมริกาทั้งหมด เพราะตอบโจทย์ทางธุรกิจ เพราะให้นมเฉลี่ย 30 ลิตร/ตัว/วัน โรงเรือนซองนอนทั้งหมด 4 แถว หันหน้าชนกัน ตรงกลางเป็นรางอาหาร บริเวณที่รีดนมมีพัดลมและสปริงเกลอร์ และมีพัดลมเป่าซองนอนทุกฟาร์ม

6.โคนม06

การให้อาหารวัวนม

คุณธรรมนูญได้สรุปใจความของ 3 วิทยากรว่า คุณจินทำฟาร์มเพราะจำเป็น แต่ได้เรียนรู้พัฒนาจนเข้าใจว่าการทำฟาร์มโคนมไม่ยาก ส่วนฟาร์ม อสค. เป็นโครงการที่ทำกับกระทรวง เพราะมีงบประมาณอุดหนุน FTA เรื่องผลกำไรไม่ใช่เรื่องหลัก แต่ต้องการให้เป็น ฟาร์มต้นแบบ ของเกษตรกร ส่วนฟาร์มวัวนมเวียดนามเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม เน้นกำไรเป็นหลัก แต่คุณจินได้นำนวัตกรรมตัวไหนมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ตัวแรก ได้แก่ คอลลา การจับสัด ทำให้เห็นวัวเป็นสัดมากขึ้น ผสมติดได้มากขึ้น พอร่วมโครงการกับจุฬาลงกรณ์ ก็ได้การประมวลข้อมูลจำนวนครั้งที่ผสมติดวัวรีด 3.38 ครั้ง เป็น 2 ครั้ง วัวสาวจาก 1.3 ครั้ง เป็น 1 ครั้ง ก่อให้เกิดวัวท้องเข้ามาหมุนเวียนมากขึ้น

เรื่องอาหารก็หันมาใช้ TMR ง่ายต่อการจัดการ ได้โภชนะที่ต้องการ ทุกๆ คำที่วัวกินได้น้ำนมสม่ำเสมอ สุขภาพวัวดีขึ้น ผสมติดดีขึ้น สำหรับคุณวสุวัฒน์ยอมรับว่า การใช้นวัตกรรมในฟาร์มก่อให้เกิดความสำเร็จ ทั้งในด้านปริมาณน้ำนมและสุขภาพวัว โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์ตรวจซอฟแวร์บันทึกข้อมูล สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ได้หมด ง่ายในการบริหารจัดการฟาร์ม ยิ่งต้องไปดูฟาร์ม 680 แห่ง ค่าเฉลี่ยน้ำนม/ตัว/วัน น้อย 5-8 กก./ตัว/วัน ที่สุโขทัย ทำให้น้ำนมไหลเข้า อสค. น้อยลง บางคนเลิกเลี้ยง ดังนั้นการนำข้อมูลไปให้เกษตรกรจะทำให้เขาอยู่รอดนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

7.โคนม07

การออกแบบฟาร์มวัวนม

สำหรับคุณหมอวีริศได้สรุปการดูฟาร์มวัวนมในเวียดนามว่าได้ประเมินจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า โดยได้ดูงานวัวนมใน อเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น แล้วสรุปความสำเร็จของวัวนม เวียดนามเรื่องแรก คือ การออกแบบวางผังฟาร์ม ที่ประกอบด้วย โรงรีด คอกพักแม่วัว คอกพักวัวทดแทน โรงอาหาร พีดเซนเตอร์ และระบบบำบัดน้ำเสีย โดยหัวใจของการออกแบบฟาร์มเพื่อต้องการให้วัวเกิดความสบายตัวมากที่สุด โดยเฉพาะโรงรีดและห้องพักวัวควรใกล้กัน วัวไม่ต้องเดินทางไกล ออกแบบให้คนทำงานได้ทำงานง่ายที่สุด ใช้คนน้อย และ 3.การออกแบบฟาร์ม ต้องคิดเผื่อเอาเครื่องจักรขนาดใหญ่มาช่วยทุ่นแรง

เพราะถ้าฟาร์มขนาด 2,000 แม่รีด ต้องใช้เครื่องจักรมาช่วย ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่วัวนมต้องการ ต้องเตรียมให้ เช่น อาหาร ต้นทุน 50% ของน้ำนม จาก 4 ฟาร์ม ให้อาหาร TMR วัวแต่ละตัวกิน 24 กก./วัน อาหารแห้ง ถ้าคิดเป็นน้ำหนักสด 40-50 กก./ตัว/วัน อาหาร TMR วันละ 3 มื้อ ก็มีวิธีการคำนวณพื้นที่การให้วัวมากินได้พร้อมกัน หลังรีดนมพื้นที่การกินอาหารประมาณ 70-75 ซม./ตัว ดันอาหารวันละ 10 ครั้ง TMR จ่ายไปแล้ว วัวจะมากินช่วงแรก จากนั้นจะไม่ค่อยมากิน ต้องกระตุ้นด้วยการดันอาหารให้กินเกือบทุกๆ ชั่วโมง เพื่อให้อาหารสดใหม่ และใช้ ข้าวโพดหมัก 100% และมีหญ้าอัลฟาฟาให้กินวันละ 2 กก./ตัว ส่วนวัวสาว หรือวัวรุ่น ให้กินหญ้าบาซา ไม่ให้กินหญ้าเนเปียร์ เพราะโปรตีนต่ำ ย่อยต่ำ และทุกฟาร์มใช้ซอฟท์แวร์ผสมอาหารเหมือนโรงงานอาหารสัตว์

8.โคนม08

การให้น้ำวัวนม

เรื่องน้ำก็สำคัญ วัวนมเขตร้อนชื้น 1 คอก จะมีแอ่งน้ำ 3-4 หรือ 1 อ่าง/วัวนม 20 ตัว พื้นที่การกินน้ำ 10 ซม./ตัว อัตราการไหลของน้ำ 20 วิ/นาที มีการคำนวณรางน้ำใน 1 ห้อง วัวกินน้ำได้พร้อมกันประมาณ 20% เช่น ในห้องมีวัว 40 ตัว 8 ตัว ต้องกินพร้อมกันได้ บริเวณที่กินน้ำต้องกว้าง เพราะน้ำ 4 ลิตร สร้างนมได้ 1 ลิตร ต้องมีที่นอนให้วัวได้พักผ่อน เพื่อน้ำนมเพิ่มขึ้น วัวในฟาร์มเวียดนามได้นอน 12 ชั่วโมง/วัน กลางวัน วัวนอนถึง 90% เพราะซองนอนมันนุ่ม มีพัดลมเป่า

เมื่อวัวนอนเลือดจะไหลผ่านอัตโนมัติขึ้น 30% ได้นมมากขึ้น พัดลมเป่าความเร็วลมไม่ต่ำกว่า 2 เมตร/วินาที หรือ 400 ฟุต/นาที ต้องมีพัดลม สปริงเกลอร์ กระตุ้นการกินอาหารให้กินนานขึ้น มีเฮลิคอปเปอร์แฟนหมุนช่วยระบายอากาศ และติดพัดลมทุกๆ 8 ซอง เพื่อให้เป่าลงที่วัวนอน นอกจากนี้วัวต้องได้รับแสงสว่างยาวนานต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง สำหรับเวียดนามใช้นวัตกรรม นมเหลือง เลี้ยงลูกวัว 4-5 กก. อุณหภูมิ IGG 100 กรัม/ลิตร

9.โคนม09

มีคำถามจากผู้ร่วมสัมมนาว่าทำไมไทยทำแบบเวียดนามไม่ได้?

คุณหมอวีริศตอบว่าไซซ์อุตสาหกรรมต้อง 1,000 แม่รีดขึ้นไป ต้องลงทุนมาก ที่เวียดนามทำได้ เพราะราคานมขึ้นลงตามตลาด มีความยืดหยุ่นสูงทางธุรกิจ และเขาควบคุมโรคต่างๆ ได้ แต่ไทยถ้าเลี้ยงขนาด 250-300 แม่รีด ได้นาน 5 ตัน/วันขึ้นไป มีการใช้เครื่องจักรมากขึ้น ก็พอจะอยู่ได้

เรื่องการผสมติดวัวสาว ของเวียดนามผสมติด 55% ถ้าเป็นวัวรีดผสมติด 30% หย่านมประมาณ 70 วัน การผสมครั้งแรกอายุ 14 เดือน ความสูง 125 ซม. น้ำหนัก 350 กก. ปริมาณนม 30 ลิตร/ตัว/วัน และ 4 ฟาร์ม มีแผนจะขยายอย่างต่อเนื่อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงเห็นได้ว่าการนำนวัตกรรมมาใช้ ทั้งไทยและเวียดนาม เพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมร้อนชื้น เป็นเรื่องจำเป็น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก การเสวนาวิชาการ งานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2567

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 372