ฟักข้าว อาหารต้านมะเร็ง ปลูกง่าย ราคาดี มีตลาดรับรองทั้งในและต่างประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ฟักข้าว” ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็ยังเชื่อว่ามีอีกหลายๆ คนยังไม่คุ้นเคย หรือรู้จักกับผักพื้นบ้านชนิดนี้ บางท้องถิ่นตามต่างจังหวัดอาจเรียกฟักข้าวแตกต่างกันไป เช่น จังหวัดปัตตานีเรียกฟักข้าวว่า “ขี้กาเครือ”  จังหวัดตากจะเรียกว่า “ผักข้าว”  และจังหวัดแพร่เรียกว่า “มะข้าว” เป็นต้น

แต่ถึงจะเรียกฟักข้าวแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม สรรพคุณและประโยชน์ที่ได้จากผักชนิดนี้ทำให้คนรักสุขภาพอึ้งไปตามๆ กัน แถมวิธีการปลูกก็ไม่ยากอย่างที่คิด ปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้นาน 30-40 ปี ใครที่ยังไม่รู้สรรพคุณของฟักข้าวว่ามีอะไรบ้าง ต้องอ่านคอลัมน์นี้ให้จบ แล้วคุณจะรู้สึกว่าฟักข้าวดีอย่างไร

2.คุณวรพล-เจนคจบ-เสื้อลาย-และสมาชิกในกลุ่มบ้านปลักไม้ลาย
คุณวรพล-เจนคจบ-เสื้อลาย-และสมาชิกในกลุ่มบ้านปลักไม้ลาย

ตอกย้ำความแรงของพืชพื้นบ้าน  อย่าง  ฟักข้าว  กันอีกครั้ง  กับ  กลุ่มผู้ปลูกฟักข้าวบ้านปลักไม้ลาย  โดยมี คุณวรพล เจนคจบ เป็นประธานกลุ่ม ด้วยการเล็งเห็นว่าฟักข้าวในประเทศไทยจะมีปริมาณลดลงไปเรื่อยๆ จึงอยากทำการอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน หรือพืชสมุนไพรชนิดนี้เอาไว้ เพราะมีการวิจัยว่าสามารถใช้รักษา “โรคมะเร็ง” ได้ จึงแนะนำและส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ปลูก

ช่วงแรกๆ ค่อนข้างจะมีปัญหาเยอะ เพราะชาวบ้านยังไม่รู้จักกันมากนัก แต่หลังจากที่กระแสความนิยมของฟักข้าวเริ่มตื่นตัว ทำให้มีหลายคนเริ่มหันมาสนใจ จนมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกผักข้าวบ้านปลักไม้ลายขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้จากการปลูกฟักข้าว และจากการแปรรูปฟักข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ

แต่ด้วยปัจจัยการผลิตที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นเรื่องยากที่เกษตรกรรากหญ้าจะกล้าลงทุนได้ด้วยต้นทุนที่สูงประมาณ 3-4 หมื่นบาทต่อไร่ อีกทั้งความรู้เรื่องการปลูกฟักข้าวยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรที่นี่ คุณวรพลจึงต้องพยายามศึกษาทดลองปลูก เพื่อนำความรู้ด้านการปลูก การดูแลรักษา ฟักข้าว มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอีกที และยังเพาะเมล็ดไว้สำหรับจำหน่ายให้เกษตรกรในกลุ่มอีกด้วย

เมล็ด ฟักข้าว ที่ใช้ทำน้ำฟักข้าว
เมล็ด ฟักข้าว ที่ใช้ทำน้ำฟักข้าว

ประโยชน์และ ฟักข้าวสรรพคุณ

ฟักข้าว 1 ผล สามารถทำเป็นน้ำฟักข้าวได้ 1 หม้อใหญ่ เก็บไว้ดื่มหลายๆ วัน จะดีต่อสุขภาพไม่น้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“น้ำฟักข้าว” สามารถดื่มได้ทุกวัน ดื่มได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดเพศ อายุ หรือชนชั้นวรรณะ แต่อย่างใด แถมยังสามารถแก้ปัญหาโรคบางชนิดได้จริง โดยผู้ที่ดื่มจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสุขภาพตนเอง หลังจากดื่มน้ำฟักข้าวไปแล้วในระยะหนึ่ง

“เยื่อเมล็ด” ของฟักข้าว มีปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคฟินมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 20 ของมวลการกินเบต้าแคโรทีนจากฟักข้าว พบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดี เพราะละลายได้ในกรดไขมัน นอกจากนี้ฟักข้าวยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีกมากมาย ได้แก่

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก (Anti oxidant)
  • มีปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า
  • มีไลโคฟีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจ
  • ควบคุมความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • ป้องกันและแก้ปัญหาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง กระเพาะอาหาร
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด
  • ป้องกันเส้นโลหิตในสมองแตก (สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต)
  • โปรตีนในเมล็ดฟักข้าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ HIV (โรคเอดส์) และยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบาย และใช้กลั้วคอ ลดการอักเสบในลำคอ แก้เจ็บคอ
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยในระยะพักฟื้น และผู้มีปัญหาสุขภาพ มีโรคประจำตัว

นอกจากในประเทศไทยแล้ว เรายังสามารถพบฟักข้าวได้ในอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ทั้งประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังคลาเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศก็รู้จักสรรพคุณของฟักข้าวเป็นอย่างดี และนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน อย่างเช่น

ประเทศจีน นิยมนำเมล็ดแก่ของฟักข้าวมาบดให้แห้ง นำไปผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย แล้วทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม จะช่วยรักษาอาการบวมได้ นอกจากนั้นยังช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน ฟกช้ำ แก้อาการผื่นคัน โรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ด้วย

ประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามใช้เยื่อหุ้มเมล็ดเพื่อให้สีแก่ข้าวเหนียวที่นำไปนึ่ง นำมาปรุงอาหารในเทศกาลปีใหม่ และงานมงคลสมรส โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอย พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

ประเทศฟิลิปปินส์ นำรากฟักข้าวมาบดแล้วนำไปหมักผม เพื่อช่วยให้ผมดก และยังสามารถกำจัดเหาได้ด้วย ซึ่งในประเพณีล้านนาของไทยก็มีการนำฟักข้าวไปสระผมเช่นกัน เพื่อช่วยแก้อาการคันศรีษะ แก้รังแค แก้ผมร่วง และช่วยให้ผมดกดำขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การดื่มฟักข้าวนั้นมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน อย่างไร ดังที่บางคนเชื่อมโยงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระนี้กับการรักษาโรคมะเร็ง ชะลอความชรา ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม ดูอ่อนกว่าวัย หรืออะไรก็ตาม ล้วนยังเป็นจินตนาการทั้งสิ้น แต่ตราบใดที่การบริโภคฟักข้าวยังมีคุณมากกว่าโทษ และยังไม่มีวิธีการรักษาหรือหยุดยั้งโรคมะเร็งให้หายขาดได้ ยังไม่มีวิธีการใดที่รับประกันได้ว่าจะทำให้อายุยืนยาวอย่างแท้จริง การดื่มน้ำฟักข้าวซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของไทยก็ควรต้องส่งเสริมกันต่อไป

1.ผลของฟักข้าวบนต้น
ผลของ ฟักข้าว บนต้น

การขยายพันธุ์ต้น ฟักข้าว

การขยายพันธุ์ต้นฟักข้าวมี 2 วิธี คือ การเพาะด้วยเมล็ด และการปักชำด้วยเถาที่แก่

1.เพาะด้วยเมล็ด

1.เพาะด้วยเมล็ด  การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ได้จำนวนต้นมาก  ลำต้นมีความแข็งแรง เจริญเติบโต ให้ผลผลิตดี ผลของฟักข้าวจะมีน้ำหนักมาก และเป็นวิธีการพื้นฐานที่ง่ายสำหรับการขยายพันธุ์ แต่ข้อเสีย คือ ไม่สามารถทราบได้ว่าต้นที่เกิดมาจะเป็นต้นตัวผู้ หรือตัวเมีย จนกว่าจะมีดอก ซึ่งการเพาะเมล็ดให้งอกมีขั้นตอน ดังนี้

  • คัดเมล็ดพันธุ์ นำผลสุกจัดมาแยกเยื่อหุ้มเมล็ดออก และคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ คือ เลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่จมน้ำ ซึ่งมีความหนาค่อนข้างมาก สีน้ำตาลเข้ม ถ้าเมล็ดแบนมันจะฝ่อ เนื่องจากฟักข้าวที่ผสมเองตามธรรมชาติจะมีเมล็ดที่ฝ่อเป็นจำนวนมาก เมล็ดที่คัดมาได้จะต้องเป็นเมล็ดที่สดใหม่ ระวังอย่าให้เมล็ดแห้ง
  • เตรียมกะบะเพาะ โดยนำขี้เถ้าแกลบดำรองพื้นในกะบะเพาะหนาประมาณ 2-3 นิ้ว
  • นำเมล็ดที่เตรียมไว้มากะเทาะเปลือกให้แห้ง โดยน้ำจะสามารถซึมเข้าไปได้ แต่ระวังอย่าให้โดนเนื้อเมล็ด เป็นแผลจะทำให้ติดเชื้อและเน่าได้
  • นำเมล็ดไปแช่น้ำยาเร่งราก อัตราส่วน 60 ซีซี. : น้ำ 20 ลิตร ประมาณ 3-6 ชั่วโมง
  • นำเมล็ดที่แช่น้ำยาเร่งรากไปลงปลูกในกะบะเพาะที่เตรียมไว้ แล้วนำขี้เถ้าแกลบโรยกับด้านบนอีกครั้งหนาประมาณ 2-3 นิ้ว
  • ราดด้วยน้ำยาเร่งรากที่แช่เมล็ด แล้วใช้พลาสติกใส่คลุมปากกะบะเพาะไว้ โดยเจาะรูระบายอากาศประมาณ 1/10 ของพื้นที่ทั้งหมด ทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกออกมาเรื่อยๆ
  • นำต้นกล้าที่งอกไปใส่ในถุงเพาะอนุบาลเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงก่อนนำไปปลูก

2.ปักชำด้วยเถาแก่

  • เลือกเถาฟักข้าวที่แก่ สังเกตว่าเถาจะมีสีเทา แล้วตัดระหว่างบริเวณข้อหรือปล้องที่มีรอยก้านใบอยู่
  • นำไปแช่น้ำยาเร่งราก อัตราส่วน 60 ซีซี. : น้ำ 20 ลิตร ประมาณ 3-6 ชั่วโมง
  • แต้มด้วยปูนขาว ก่อนนำไปปักชำในกะบะ หรือถุงเพาะ อีกประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มมียอดอ่อนแตกขึ้นมาจากบริเวณตา
3.แปลงฟักข้าวประมาณ-1-ปี
3.แปลง ฟักข้าว ประมาณ-1-ปี

สภาพพื้นที่การปลูกฟักข้าว

การปลูกฟักข้าว คุณวรพลบอกว่าไม่ยากอย่างที่คิด ปลูกเหมือนผักทั่วไป แต่ปลูกในพื้นที่ที่มีดินร่วนปนทรายจะค่อนข้างดี จึงมีวิธีการปลูกฟักข้าวดังนี้

-การเตรียมแปลงปลูกในพื้นที่ที่มีเหง้ารากควรทำการดายหญ้าออกเสียก่อน ก่อนการปลูกประมาณ 10 วัน ควรฟื้นดิน กลับดินให้ทั่ว เพื่อปราบวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย โปร่ง เหมาะแก่การปลูกยิ่งขึ้น หากบริเวณที่มีน้ำท่วมควรมีการยกร่องเสียก่อน

-ระยะปลูก การกำหนดระยะปลูกฟักข้าวควรคำนึงถึงแสงแดด และความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย การปลูกฟักข้าวบนที่ราบทั่วไปควรกะระยะห่างระหว่างกันประมาณ 2-3 เมตร ในวันที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ไร่หนึ่งจะได้ประมาณ 170-400 ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-การเตรียมค้าง เนื่องจากฟักข้าวเป็นไม้เถา อาศัยเลื้อยไปตามต้นไม้อื่น เมื่อเรานำมาปลูกจะต้องทำค้างให้ โดยใช้เสาที่มีความคงทนถาวร มีความแข็งแรง เพราะฟักข้าวเป็นพืชที่มีอายุยาวนาน มีเถามาก ใบหนา ปกคลุมไปทั่ว อาจใช้เสาไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือถ้าจะให้ดีควรเป็นเสาปูนซีเมนต์ การทำค้างฟักข้าวควรให้สูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต

วิธีการปลูก หลังจากการปราบวัชพืชหมดแล้ว

วิธีการปลูก หลังจากการปราบวัชพืชหมดแล้ว ขุดหลุมขนาดความกว้าง ลึก ความกว้างของจอบถึง 1 ฟุต กองดินชั้นบนไว้ข้างหนึ่ง ดินชั้นล่างไว้อีกข้างหนึ่ง เสร็จแล้วให้ใส่ดินชั้นบนลงไปก่อน พร้อมทั้งผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายแล้วลงไปด้วย เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุยมากยิ่งขึ้น คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วจึงวางกล้าฟักข้าวที่เตรียมไว้ลงปลูกตรงกลางหลุม และเกลี่ยดินชั้นล่างใส่ลงไปให้ท่วมโคนต้นกล้า

การปลูกในฤดูฝนควรพรวนดินกลบโคนต้นกล้าให้สูงไว้เพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนการปลูกในฤดูอื่นๆ ไม่ควรพรวนดินกลบโคนต้นให้สูงมากนัก เพราะไม่ต้องการให้น้ำไหลออก ใช้เศษฟางหรือหญ้าคลุมบริเวณโคนต้น และหากิ่งไม้เล็กๆ เป็นบันไดให้เถาเกาะขึ้นไปสู่ค้างได้สะดวกและง่าย แทนการใช้เชือกฟางมัด ซึ่งจะทำให้เถาฟักข้าวช้ำและหักตายได้

4.ฟักข้าวอายุ-6-สัปดาห์
4.ฟักข้าวอายุ-6-สัปดาห์

การให้น้ำและปุ๋ยต้นฟักข้าว

ฟักข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก รากที่ใช้หาอาหารส่วนใหญ่แผ่กระจายอยู่ใกล้กับผิวหน้าดิน จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งเป็นอันขาด  ถ้าผิวหน้าดินแห้งแล้วจะทำให้ผลผลิตตกต่ำลงมากทีเดียว  และการให้น้ำในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ดินจะมีความชุ่มชื้นสูง จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาการให้น้ำ

อาจใช้วิธีปล่อยน้ำให้ไหลไปตามร่องระหว่างแถวปลูกอย่างช้าๆ เพื่อให้น้ำซึมผ่านผิวดินลงไปถึงดินล่าง แล้วยังทำให้บริเวณรอบๆ ต้นมีความชุ่มชื้นอีกด้วย หรือการปลูกบนพื้นที่ราบอาจใช้สปริงเกลอร์หัวจ่ายน้ำแบบเป็นฝอยให้น้ำทั่วบริเวณ โดยไม่ปล่อยให้บริเวณพื้นดินแห้งจนเกิน

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของฟักข้าว เพราจะช่วยให้ลำต้นเถาอวบ แข็งแรง ให้ดอก ออกผลเร็ว ลูกโต การใส่ปุ๋ยในระยะแรกหลังจากปลูกแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ตามสูตรของกรมพัฒนาที่ดินทุกๆ 15-20 วัน หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน จึงเปลี่ยนสูตรปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 ผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก พด.2 ทุกๆ 15-20 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลูกฟักข้าว โดยเฉพาะวัชพืชใบแคบจะแย่งอาหาร ทำให้ฟักข้าวได้รับอาหารไม่เต็มที่  การเจริญเติบโตไม่ดี  แต่ในการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการพรวนดินไม่สมควรกระทำ เพราะรากฟักข้าวมีระบบรากแพร่กระจายอยู่ใกล้กับผิวดินมาก จึงควรเลี่ยงมาใช้วิธีการถาง การตัด จะดีกว่า

5.ไร่ฟักข้าวที่มีอายุหลายปี
5.ไร่ฟักข้าวที่มีอายุหลายปี

การบริหารจัดการต้นฟักข้าว

ในการปลูกฟักข้าวส่วนใหญ่จะมีการปลูกพืชแซมในระหว่างแถว หรือพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว เป็นพืชคลุมดินในระหว่างแถว  และยังจะช่วยลดปัญหาวัชพืชอีกด้วย  ส่วนการใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว มูลสัตว์ ขี้เลื่อย แกลบ เศษวัชพืชที่ตัดออก หรือพลาสติกทึบแสงมาคลุมผิวดิน ก็จะช่วยลดปัญหาของวัชพืชลงได้

ซึ่งเป็นการป้องกันการงอกของเมล็ดวัชพืช และยังทำลายต้นวัชพืชที่งอกแล้ว วัสดุที่ใช้คลุมดินควรหาได้ง่าย มีราคาถูก หากเป็นวัสดุที่สลายตัวได้ในดินเป็นอินทรียวัตถุ ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินด้วย

เมื่อต้นฟักข้าวมีอายุประมาณ 3-4 เดือน มักจะมีเถาที่ไม่สมบูรณ์ ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร จึงต้องตัดทิ้ง เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่จะทำให้เถาเน่าตาย ส่วนยอดที่มีลักษณะอวบ สวยงาม ให้ปล่อยไว้เกาะตามค้างยาวประมาณสัก 1.5-2 เมตร จึงควรเด็ดยอดทิ้ง หรือจะนำไปประกอบอาหารก็ได้ เพราะการเด็ดยอดจะทำให้ฟักข้าวแตกยอดใหม่ เป็นการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสติดลูกได้มาก

อีกประการ คือ ฟักข้าวเป็นพืชที่เป็นเถา ชอบเลี้ยงไปตามค้าง หรือต้นไม้อื่น แม้กระทั่งเถาของตัวเอง “มือเกาะ” ที่รัดเถาของตัวเองจะแน่นขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถส่งน้ำ อาหาร ไปเลี้ยงยอดอ่อนได้ ควรตัดมือเกาะและเลาะออกจากเถาให้หมด เพื่อต้นฟักข้าวจะได้เจริญเติบโตต่อไป

อย่างไรก็ตาม  “ต้นฟักข้าวปกติแล้วจะเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ”  คุณวรพลขยายความให้ฟังว่าดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียจะแยกอยู่คนละต้น หากเป็นการเพาะเมล็ดจะยังไม่สามารถดูออกจนกว่าฟักข้าวจะให้ดอกก่อน จึงจะสามารถแยกประเภทของต้นจากดอกออกได้ชัดเจน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำค้าง

และสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเริ่มต้นปลูกฟักข้าวของเกษตรกรมือใหม่เห็นจะละเลยไปไม่ได้เลย คือ การทำค้าง เนื่องจากว่าฟักข้าวเป็นไม้เถาเลื้อย  และมีอายุยืนนาน  การทำค้างที่มั่นคงจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม  เพราะหากฐานไม่มั่นคงอาจส่งผลต่อไปได้ในระยะยาว ดังนั้นการเลือกวัสดุทำค้างจึงจำเป็นต้องเป็น “เสาปูน” กับ “สายโทรศัพท์” เก่า จะดีกว่าวัสดุชนิดอื่นมาก แม้ว่าต้นทุนในการลงทุน ทั้งสายโทรศัพท์ และเสาปูน จะเป็นการลงทุนที่สูง

6.ผลฟักข้าวที่ถูกหนอนทำลายผิว
6.ผลฟักข้าวที่ถูกหนอนทำลายผิว

การป้องกันกำจัดโรคและแมลงให้ต้นฟักข้าว

ถึงแม้ฟักข้าวจะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปัญหาโรคและแมลงค่อนข้างน้อย แต่บางพื้นที่ก็มีการระบาดอยู่บ้าง จึงต้องมีการป้องกันและกำจัดเพื่อไม่ให้แพร่กระจายลุกลาม สำหรับโรคแมลงที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา หนอนกัดผล แมลงปีกแข็งทำลายผล พบมากในช่วงเปลี่ยนฤดูจากฝนไปหนาว และศัตรูตัวฉกาจที่ทำความเสียหายมากที่สุด คือ “แมลงวันทอง” ซึ่งจะทำลายโดยการวางไข่ในผลฟักข้าวตั้งแต่ผลยังอ่อน เมื่อไข่ของแมลงวันทองกลายเป็นตัวหนอน จะเข้าทำลายเนื้อผลจนเน่า ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายได้

แต่ในพื้นที่กลุ่มผู้ปลูกฟักข้าวบ้านปลักไม้ลาย ไม่พบแมลงวันทองระบาดมากนัก ถึงอย่างไรการป้องกันก็ย่อมดีกว่า โดยการนำเอาสารเมทธิลยูจินอลมาดักล่อแมลงวันทอง เพื่อไม่ให้เข้าไปวางไข่ในผลผลิตของฟักข้าวได้ ส่วนแมลงชนิดอื่นใช้สารสมุนไพรฉีดพ่นต้นฟักข้าวประมาณ 7-15 วัน ต่อครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของแมลง

และการดูแลรักษาผล เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 7-8 จะสังเกตสีของลูกฟักข้าวเมื่อเปลี่ยนเป็นสีส้มออกแดงควรห่อด้วยถุงวิทยาศาสตร์ที่แสงผ่านได้ เพื่อป้องกันแมลงที่จะเข้าไปทำลายผลสุกของฟักข้าว ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันแมลงได้ก่อนการเก็บเกี่ยว

7.ผลผลิตที่สมาชิกนำมาจำหน่ายให้กลุ่ม
7.ผลผลิตที่สมาชิกนำมาจำหน่ายให้กลุ่ม

การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟักข้าว

เมื่อลูกฟักข้าวมีอายุได้ประมาณ 7-8 สัปดาห์ ขึ้นไป ผลจะมีลักษณะเป็นสีส้มออกแดง เนื้อจะยังไม่เละ หากทิ้งไว้ต่อไปอาจร่วงหล่นเสียหายได้ สำหรับการเก็บควรใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ตัดบริเวณขั้วของผลห่างจากเถาประมาณ 1 นิ้ว เพื่อไม่ให้ผลกระทบกับเถาที่เจริญเติบโตอยู่ และมีดอก ออกผล ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ

ซึ่งจะแตกต่างจากการเก็บเกี่ยวผลตามธรรมชาติ หรือตามป่า ซึ่งมักจะขึ้นอยู่ตามต้นไม้สูง จะพบว่าไม่สามารถเลือกลูกที่ตัดได้ บางทีเถาขาดลงมาทั้งหมด ทำให้มีทั้งลูกเก่ง และยังไม่แก่ติดมาด้วย จึงควรทำค้างไม่สูงจนเกินไป เพื่อประโยชน์ในการเก็บเกี่ยว และดูแลรักษาได้สะดวก และเมื่อตัดผลที่แก่จัดแล้วไม่ควรวางซ้อนกันมากเกินไป เพื่อไม่ให้ผลฟักข้าวที่แก่จัดได้รับความกระทบกระเทือนต่อผิวของลูกฟักข้าว เพราะเมื่อผลแก่จัดผิวจะเละ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และที่สำคัญผิวจะได้ไม่ช้ำ สวยงาม เก็บรักษาไว้ได้นาน ขายได้ราคาดี และการปลูกฟักข้าว 1 ไร่ จะได้ฟักข้าวประมาณ 5-6 ตัน ต่อปี ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในช่วงปีนั้นๆ อีกด้วย แต่ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวจะมีตลอดทั้งปี อาจมีช่วงฤดูหนาวที่มีผลผลิตน้อยกว่าฤดูอื่น

8.ผลฟักข้าวสดเตรียมส่งลูกค้า
8.ผลฟักข้าวสดเตรียมส่งลูกค้า

ด้านตลาดผลสดและแปรรูปฟักข้าว ทั้งในและต่างประเทศ

มีตลาดรับรองทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนาม กำลังต้องการฟักข้าวจากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพดี ลูกใหญ่ เนื้อแดงเยอะกว่าฟักข้าวที่ปลูกในเวียดนาม

สมาชิกที่ปลูกฟักข้าวจะนำผลฟักข้าวสดมาขายที่กลุ่มราคากิโลกรัมละ 15 บาท ซึ่งทางกลุ่มมีการประกันราคาให้ทั้งปี ส่วนในอนาคตถ้าผลสดมีตลาดเพิ่มขึ้น อาจจะได้ราคาฟักข้าวกิโลกรัมละถึง 18 บาท เลยทีเดียว สำหรับฟักข้าวที่ทางกลุ่มรับซื้อสมาชิกจะนำไปขายผลสดต่อให้ลูกค้าที่สั่งซื้ออีกทีในราคากิโลกรัมละ 30 บาท

อีกส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากฟักข้าว เช่น น้ำฟักข้าวพาสเจอร์ไรส์ สบู่ ครีบอาบน้ำ แคปซูลฟักข้าว เป็นต้น และในอนาคตจะมีแปรรูปเป็นซอสฟักข้าว และข้าวเกรียบฟักข้าว อีกด้วย

ตลาดผลสดของฟักข้าวยังดำเนินการไปด้วยดี มีทั้งพ่อค้า แม่ค้า ผู้ป่วย หรือผู้ที่แปรรูปฟักข้าว มาสั่งซื้อผลสดอยู่ตลอด จึงทำให้ไม่น่าเป็นห่วงเท่าใดนัก อีกทั้งยังมีการรองรับจากประเทศเวียดนามอีกด้วย

9.ผลิตภัณฑ์จากฟักข้าว
9.ผลิตภัณฑ์จากฟักข้าว

ปัญหาและอุปสรรคด้านตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูป ฟักข้าว

ส่วนในเรื่องของตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูป ขณะนี้ยังนับว่าเป็นปัญหาอยู่ เพราะทางกลุ่มปลักไม้ลายยังรอการเข้าตรวจจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เพื่อเป็นเครื่องการันตีถึงคุณภาพ และมาตรฐานของตัวสินค้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกลุ่มยังไม่สามารถทำให้ลูกค้าไว้วางใจได้เต็ม 100% ความกังวลอาจยังมีอยู่ต่อกลุ่มคนบางกลุ่ม แต่บางกลุ่มก็ยังคงติดต่อเข้ามาสม่ำเสมอ เพราะรู้สรรพคุณที่มีใน ฟักข้าว เช่น โรงงานต่างๆ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วดี และรายใหญ่ คือ ประเทศเวียดนาม

ซึ่งหากย้อนกลับไปก่อนที่ประเทศไทยจะปลูก ฟักข้าว ประเทศเวียดนามเคยเป็นแหล่งส่งออกฟักข้าวมาก่อนนานมาเป็นระยะเวลา 10 ปี แล้ว หากแต่ในปัจจุบันประเทศเวียดนามกลับมาเป็นประเทศที่รับซื้อผลผลิตฟักข้าวจากประเทศไทยไปแล้ว จากปริมาณการส่งออก ฟักข้าว กว่า 20 ตัน ในปีที่ผ่านมา

ที่สำคัญ คือ ความแน่นอนด้านตลาด มีการทำสัญญาเพื่อการรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน เป็นการลดปัญหาการตลาดในอนาคต ขณะนี้ทางกลุ่มเองก็มีหน่วยงานทางรัฐบาลเข้ามาร่วมช่วยเหลือสนับสนุนในหลายๆ ด้านแล้ว เช่น การส่งเสริมด้านการตลาดจากการออกบูธตามงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ถือว่าเป็นการเผยแพร่ ฟักข้าว ในรูปแบบที่กว้างขึ้น  และเข้าถึงผู้บริโภคอย่างชัดเจน

10.น้ำฟักข้าว
10.น้ำ ฟักข้าว

หากผู้อ่านท่านใดสนใจผลฟักข้าวสด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากฟักข้าว หรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มผู้ปลูก ฟักข้าว บ้านปลักไม้ลาย หรือคุณวรพล เจนคจบ บ้านเลขที่ 9 หมู่ 6 ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทร.08-1942-3622