โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ ปลูกแค่ 1 โรงเรือน รายได้ 30,000 บาท/เดือน สบายๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พืชสุขภาพ” ในคำๆ นี้เป็นอะไรที่กว้างมากในวงการเกษตร ปัจจุบันนี้เป็นที่คุ้นหูกันดีในกลุ่มคนที่สรรหาอาหารที่ให้ประโยชน์คุณค่าต่อร่างกายมีทางเลือกหลายทาง แต่ในทางหลักๆ จะมุ่งเน้นมาที่ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลิตภัณฑ์ของใช้ เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร น้ำสมุนไพร ครีมบำรุงผิวสมุนไพร เป็นต้น ล้วนแต่มาจากการเกษตรทั้งสิ้น โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์

1.ผักไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือน
1.ผักไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือน

พืชที่นำมาแปรรูป หรือนำมาบริโภค 4 ประเภท 

พืชที่นำมาแปรรูป หรือนำมาบริโภค สามารถแยกประเภทได้หลากหลาย แบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ เพื่อที่จะให้ครอบคลุม และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ดังนี้

  1. พืชสมุนไพร
  2. พืชเครื่องเทศ
  3. พืชน้ำมัน
  4. พืชผัก
2.ผู้พันอิ่ม-แย้มปลื้ม-เจ้าของฟาร์มไฮโดรโปนิกส์
2.ผู้พันอิ่ม-แย้มปลื้ม-เจ้าของฟาร์มไฮโดรโปนิกส์

จุดเริ่มต้นอาชีพเกษตรกร

ในเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมาจึงเป็นที่มาของการเลือกสรรสิ่งดีๆ ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อ่านที่มากขึ้น จึงขอนำเสนอเรื่องราวของเกษตรกรท่านหนึ่งที่เป็นฮั้วให้กับประเทศชาติมาก่อน คุณอิ่ม แย้มปลื้ม หรือผู้พันอิ่ม เป็นข้าราชการทหาร ประสบการณ์มากมายในเรื่องการอยู่สนามรบ พลิกผันชีวิตจากทหารที่อยู่แต่สนามรบมาอยู่กับธรรมชาติ อย่าง การทำเกษตร ด้วยความเป็นคนใจบุญ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงปลูกผักปลอดสารพิษ หรือผักไฮโดรโปนิกส์ ให้คนได้รับประทานอย่างปลอดภัย เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยการรับประทานผักปลอดสาร

ผู้พันอิ่มเล่าว่า เมื่อก่อนเป็นนักเรียนนักสิบ โดยการสอบเข้าไปเรียนที่ปราณบุรี ค่ายธนรัตน์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศึกษาจบเมื่อปี 2514 หลังจากนั้นถูกส่งตัวให้ไปอยู่ภาคสนามที่จังหวัดน่าน 9 ปี และถูกส่งกลับมาหน่วยเดิมที่จังหวัดชลบุรี เป็นทหารเรือ ร.21 รอ. เกิดความรู้สึกเบื่อ จึงได้ผันตัวเองไปสอบเป็นทหารร่มอยู่จังหวัดลพบุรี เมื่อฝึกสำเร็จแล้วได้มาประจำที่ พล.1 รอ. บางเขน ที่กรุงเทพมหานคร ด้วยความที่มีประสบการณ์หลายด้าน  ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจม การใช้วัตถุระเบิด การทำลาย การเป็นทหารร่ม จึงถูกขอตัวไปอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็น พล.2 ข้ามหน่วย อยู่ได้ 2 ปี มีการสร้างหน่วยใหม่เกิดขึ้น เป็น พล.2 รอ.

ช่วงนั้นเป็นช่วงเขมรเริ่มแตก มีปัญหาในเรื่องของเขตแดน จึงต้องมีกำลังพลในการดูแลตามตะเข็บชายแดนโดยเฉพาะทหารร่ม มีการรับสมัครกำลังพลเพื่อยกข่าวความเคลื่อนไหวของเขมรตามตะเข็บชายแดนเพื่อปรับปืนใหญ่ให้หน่วยทหารปืนใหญ่ การดูแลในยุคนั้นอยู่กับท่านสนธิ บุญยรัตกลิน

เริ่มปี 2528 มีการส่งหน่วยล่าตระเวนออกไปชุดละ 6 นาย เกิดเสบียงไม่เพียงพอต้องเดินทางกลับมาเอาเสบียงใหม่ ระหว่างทางเกิดการปะทะกับเขมรแดง ทำให้ผู้พันอิ่มถูกยิงที่แขนซ้าย รักษาตัวจนหายดี แล้วปลดจากการเป็นทหารผ่านศึกได้สัญญาบัตรชั้นที่ 1

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.โรงเรือนเพาะเมล็ด
3.โรงเรือนเพาะเมล็ด
การเขี่ยเมล็ดลงในฟองน้ำ
การเขี่ยเมล็ดลงในฟองน้ำ

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 

ด้วยความใช้ชีวิตอยู่กับการเป็นทหารมานาน ผ่านการฝึกมามากมาย จึงคิดว่าในวัยที่มากพอสมควร หากถึงเวลาปลดจากทหารมาใช้ชีวิตบั้นปลายกับการทำเกษตรก็คงจะดี

โดยเริ่มจากการขายเสื้อผ้าอยู่ประมาณ 2 ปี มีการบริหารไม่ดีเท่าที่ควรจึงเลิกทำ กลับมาอยู่กรุงเทพมหานครทำธุรกิจเข้าหุ้นกับเพื่อน ทำรีสอร์ทที่จังหวัดกาญจนบุรี รู้สึกไม่ชอบ จึงมาสร้างโรงไม้ที่ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ทำเฟอร์นิเจอร์ส่ง FB เฟอร์นิเจอร์ โดยจ้างแรงงานจากคนในหมู่บ้านมาฝึกงาน สอนงาน จนชำนาญ ได้เลือกบุคคลที่ไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เพราะด้วยความเป็นทหารมีจรรยาบรรณในเรื่องนี้อยู่แล้ว ทำมานานถึง 10 ปี

เริ่มมาศึกษาไปดูงานเกี่ยวกับไฮโดรโปนิกส์อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ผู้พันอิ่มเป็นคนใจบุญ จึงคิดว่าปลูกผักปลอดสารพิษให้คนบริโภคก็จะได้บุญไปด้วย ได้ศึกษาการทำผักไฮโดรโปนิกส์อย่างจริงจัง โดยช่วงก่อนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีการปลูกพืชดินมาก่อน โดยปลูกมะกรูดไร้หนาม 300 กว่าต้น ส่งตลาดศรีเมือง ปลูกมะนาว 100 กว่าต้น

4.ระบบรางใน โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ใช้ปลูก
4.ระบบรางใน โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ใช้ปลูก

โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มาทำทีหลังในเนื้อที่ 2 ไร่ ช่วงแรกเริ่มจาก 6 โต๊ะ ปลูกผักสลัด กรีนโอ๊ค กรีนคอส เรดโอ๊ค เรดคอรัล ปัจจุบันมีเพิ่มเป็น 45 โต๊ะ ใน 1 โต๊ะ สามารถปลูกได้ 200 กว่าต้น

โรงเรือนไฮโดรโปนิกส์สร้างขึ้นเอง โดยมีการลงทุนที่สูงหลักล้าน แต่เมื่อเทียบผลผลิตที่ได้ในระยะยาวต่อๆ ไป ก็สามารถสร้างผลกำไรอย่างคุ้มค่าได้ เป็นโรงเรือนระบบพ่นหมอกอัตโนมัติ เพื่อปรับอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชได้ดี

5.สูตรปุ๋ยที่ผสมทำเอง
5.สูตรปุ๋ยที่ผสมทำเอง
ระบบหมุนเวียนของน้ำ
ระบบหมุนเวียนของน้ำ

การใส่ปุ๋ยและน้ำให้ผักไฮโดรโปนิกส์

ปุ๋ย มีการคิดค้นสูตรปุ๋ย A, B ขึ้นเอง เพื่อที่สามารถกำหนดความต้องการเองได้ โดยศึกษาจากหนังสือ แล้วแหล่งข้อมูลจากผู้รู้ สูตรปุ๋ย A, B คือ 1:1 ในปริมาณเท่ากัน น้ำประมาณ 60-90 ลิตร น้ำต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ใส่ปุ๋ย A, B 650 ลิตร ผสมลงไปในถังน้ำใหญ่ สามารถใช้ได้ 2 วัน แล้วผสมใหม่

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.กรีนโอ๊ค
6.กรีนโอ๊ค

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

จะมีเพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง จะเกาะใบกินยอด ทำให้ผักไม่สวย กำจัดโดยการใช้สมุนไพร พริก กระเทียม ใส่มูลิเน็กซ์ ชั่งน้ำหนักให้เท่ากัน นำมาบดปั่นให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย หลังจากนั้นกรองเอาแต่น้ำ แล้วนำมาเจือจางอีกครั้ง ความเข้มข้นขึ้นอยู่กับอายุของผัก ผักอายุน้อยก็ความเข้มข้นน้อย ถ้าผักเล็กมากจะใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่น จะฉีดวันเว้นวัน ช่วงเวลาที่ฉีด เย็นๆ หรือเช้ามืด ก็ได้

เริ่มจากเพาะกล้าโดยฟองน้ำ 3 วัน ใช้น้ำหล่อไว้ 10 วัน จากนั้นแยกออกใส่โฟม แล้วลงโต๊ะใหญ่ รวมแล้ว 45 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ มากกว่านั้นผักจะแก่เกินไป เมื่อนำมารับประทานแล้วจะมีรสขม ไม่อร่อย

7.เมนูผักสลัด
7.เมนูผักสลัด โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ 

ด้านตลาดผักไฮโดรโปนิกส์

ในเรื่องของตลาดผักไฮโดรโปนิกส์เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก ทำให้เมื่อมีผลผลิตเท่าไรก็ตามจะสามารถนำมาขายได้อย่างไม่จำกัด ด้วยความโชคดีของฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ของผู้พันอิ่มอยู่ตรงข้ามกับโรงเจ ในช่วงเทศกาลกินเจที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เหมาะ และประกอบกับมีผลผลิตออกขายได้พอดี

จึงมีลูกค้าส่วนมากมาจากกรุงเทพฯ ได้มาชิมและซื้อผัก ของผู้พันอิ่มกันมากมาย แล้วแหล่งตลาดหลักๆ ก็มีตลาดศรีเมือง และโรงพยาบาลพระมงกุฎ หรือองค์การทหารผ่านศึก ราคาส่ง 30 บาท/กิโลกรัม ในช่วงฤดูหนาวสามารถผลิตได้ 1,000 กิโลกรัม/เดือน

8.โต๊ะขนาดเล็กสำหรับปลูกไว้รับประทาน
8.โต๊ะขนาดเล็กสำหรับปลูกไว้รับประทาน โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ 

ฝากถึง…เกษตรกรผู้สนใจ

ผู้พันอิ่มกล่าวว่า อันดับแรกก่อนที่จะลงทุนทำผักไฮโดรโปนิกส์ต้องหาแหล่งตลาดให้ชัดเจนแน่นอนเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการทำผักไฮโดรโปนิกส์มีมาตรฐานสูง ต้องลงทุนมาก ตลาดเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรศึกษาก่อน และที่สำคัญต้องมีใจรัก ดูแลเอาใจใส่ เพราะผักไฮโดรโปนิกส์เป็นผักที่ต้องเอาใจเป็นอย่างมาก ต้องอดทน ขยัน ดูแล ต่อไปจะขยายเป็นแหล่งศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจจะศึกษามาดูงาน

นอกจากนี้ยังมีการผลิตโต๊ะไฮโดรโปนิกส์สำหรับปลูกไว้รับประทาน ไว้ได้ให้ซื้อไปปลูกกันที่บ้านอีกด้วย ยังไม่พอยังมีน้ำสลัดที่ทำเองให้ได้ชิม และซื้อกลับไปรับประทานกับผักสลัด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ร้านขายหน้าฟาร์ม
ร้านขายหน้าฟาร์ม โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ 

สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ พันตรีอิ่ม แย้มปลื้ม 53/1 ม.2 ต.หนองกระทุ่ม อ.ปากช่อง จ.ราชบุรี 70140 โทร.08-1515-1852, 08-6313-2528