อุตสาหกรรม ปลา กะพงขาว ไทยล้าหลังกว่า สิงคโปร์-ออสเตรเลีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยอัตลักษณ์ของปลาทะเล นาม “ กะพงขาว ” ที่โตขนาด 2 เมตร หนัก 60 กก. สามารถอพยพไปมา ระหว่างทะเลกับน้ำจืด และพ่อแม่กะพงขาวจะว่ายน้ำ วางไข่ ในปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน พอลูกปลาโตแข็งแรง ก็จะว่ายกลับสู่ท้องทะเล ดำรงอยู่ได้ทั้งน้ำเค็ม/น้ำจืด เป็นปลาที่กินเนื้อ จึงสามารถนำมาเพาะเลี้ยงในเชิงธุรกิจได้ดี

เหตุนี้ กรมประมง จึงคัดพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ เพาะลูกปลาให้ได้คุณภาพ ใกล้เคียงธรรมชาติ นำร่องให้ภาคเอกชนนำไปพัฒนา ปรากฏว่าวันนี้มีฟาร์มเพาะกระจายหลายจังหวัด โดยเฉพาะตำบลสองคลอง จังหวัดสมุทรปราการ ทำกันเป็นธุรกิจ เพาะขายลูกปลา ทั้งในและต่างประเทศ

ประเทศไทยมีความพร้อมในการเพาะเลี้ยงกะพงขาวเชิงธุรกิจ เพราะสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย มีทั้ง น้ำเค็ม น้ำกร่อย และ น้ำจืด

แต่ผู้บริโภคนิยมเมนูอาหารจากปลากะพงสด ไซซ์ 0.7-1 กิโลกรัม ทำให้ปลาโตเกินขนาด ราคาตก หรือบางปีเศรษฐกิจแย่ คนกินกะพงขาวน้อยลง ก็ส่งผลกระทบต่อผู้เพาะเลี้ยงทั้งระบบ ทำให้ธุรกิจปลากะพงขาวไม่มั่นคง

ต่างจากประเทศ ออสเตรเลีย หรือ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเกาะ แต่เพราะผู้บริหารประเทศมีวิสัยทัศน์เป็นเลิศ ได้ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกะพงขาว เป็นอุตสาหกรรมครบวงจร ที่หลายประเทศทำไม่ได้

สำหรับประเทศไทยมีความพร้อมทุกด้าน แต่ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ทุกอย่างขับเคลื่อนโดยเอกชนล้วนๆ ซึ่งมีข้อจำกัดมากมาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
1.คุณสุทธิ มะหะเลา
1.คุณสุทธิ มะหะเลา

การผลิตปลากะพงขาว

คุณสุทธิ มะหะเลา หรือ “คุณเค” ผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจกะพงขาวระดับมืออาชีพกว่า 27 ปี ยอมรับว่า ก่อนปี 61 ไทยผลิตปลากะพงขาว 80,000-100,000 ตัน/ปี แสดงว่าธุรกิจโตขึ้น แต่ในที่สุดปลากะพงขาวจากมาเลเซียก็เข้ามาแชร์ตลาดในไทย กระทบคนในวงการโดยตรง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 62 พอต้นปี 2563 เจอโควิด 19 คนเลี้ยงต้องขายปลา แม้จะขาดทุนก็ยอม ส่งผลให้ปัจจัยการผลิต เช่น ลูกปลา อาหาร กระทบเป็นลูกโซ่ และปลาหายไปประมาณ 5 หมื่นตัน

แต่ปี 65 คุณเคประมาณการว่าปลากะพงขาวน่าจะถึง 4 หมื่นตัน เพราะผู้เลี้ยงเริ่มทยอยปล่อยลูกปลา เพราะเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดีขึ้นนิดหนึ่ง คนไทยเริ่ม กิน เที่ยว และปลาเหลือ 40% ทำให้ราคาปลาไซซ์ขึ้นไปถึง 130-150 บาท/กก. อย่างน้อย 3-4 เดือน และเกษตรกรเริ่มเลี้ยง ปล่อยลูกปลาหลายรุ่นในหลายๆ บ่อ หรือทยอยเลี้ยงนั่นเอง

สำหรับคุณเคมุ่งส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยง แล้วขายให้ “ห้องเย็น” ในราคาประกันราคาหน้าบ่อ 110 บาท/กก. ถึงห้องเย็น 120 บาท ราคาปลาไซซ์ยืน 120-130 บาท ทำให้คนเลี้ยงคิดว่าถ้าอย่างนั้นต้องเพิ่มการเลี้ยงให้หลายบ่อ ซึ่งจริงๆ แล้วจะเพิ่มได้ต้องดูว่ามีตลาดมั๊ย ซึ่งคุณเคต้องเอาตลาดนำการผลิต อีกอย่างการลงลูกปลากันมากๆ ผู้ผลิตที่เจอปัญหา อากาศแปรปรวน ได้ลูกปลาน้อย ทำให้ลูกค้าขาจรต้องซื้อของแพงกว่าลูกค้าประจำ

2.การให้อาหารปลากะพงขาว
2.การให้อาหารปลากะพงขาว

การบริหารจัดการบ่อปลากะพง

นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงของคุณเคจะมุ่งเลี้ยง 3 รุ่น บ่อขนาด 1 ไร่ เลี้ยง 5,000 ตัว พอได้ 4 เดือน ไซซ์ 4-7 ขีด จับปลาประมาณ 30% ของน้ำหนักปลาทั้งบ่อ จากนั้นก็เลี้ยงต่ออีกเดือนครึ่ง ได้ไซซ์ 8-10 ขีด ก็จับออก 50% ของน้ำหนักปลาทั้งบ่อ ที่เหลือเลี้ยงต่ออีก 3 เดือน ได้ไซซ์ 1.2-1.3 กก. ก็จับคว่ำบ่อ ซึ่งวิธีการเลี้ยงแบบนี้จะไม่ทำให้ปลาเครียด น้ำไม่เสีย และออกซิเจนจากการให้ตอนเช้าก็เพียงพอ “เลี้ยงปลากะพง 4-5 ตัว ในบ่อ 10 ไร่ ถ้าวันนั้นอากาศร้อน อุณหภูมิกว่า 32 องศาฯ ปลาก็ลอยได้ ตายได้ เหมือนกัน” คุณเค ยืนยันถึงความอ่อนไหวของปลากะพง

ด้วยเหตุนี้ที่ฟาร์มคุณเคแม้ติดแม่น้ำบางปะกง ก็ต้องดึงน้ำจืดจากคลองเข้ามาเพื่อเจือจางน้ำเค็มในบ่อให้ต่ำกว่า 20 ppm. เพราะเมื่อตีน้ำ ให้ออกซิเจน จะละลายในน้ำได้ดีกว่าน้ำเค็ม ส่วนในเรื่อง “อาหารเม็ด” คุณเคยอมรับว่า มีคุณภาพ FCR ได้ 1.1-1.2 ถือว่าโอเค แม้ราคาจะขยับขึ้น ผู้เลี้ยงก็ต้องปรับอะไรๆ หลายๆ อย่าง เช่น การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ การปล่อยลูกปลา ความหนาแน่น ทำอย่างไรปลาไม่ป่วย กินอาหารสม่ำเสมอ 150 วัน จับได้

อย่างไรก็ดี เมื่อราคาปลาขยับขึ้น คนเลี้ยงต้องให้ความร่วมมือ คือ ต้องทยอยเลี้ยง และแบ่งตลาดกัน เพราะวันนี้ตลาดปลาสดถึง 80% เพราะคนไทยกินปลากะพงสดมากกว่าปลาแช่แข็ง โตขึ้นถึง 20% เพราะไมโครเวฟราคาถูกมาก สะดวกสบายทุกอย่าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องพัฒนาสายพันธุ์ ขณะสถานีประมงทะเลสงขลา หรือ เก้าเส้ง ได้ทุนจากไจก้า ญี่ปุ่น ปรับปรุงพันธุ์จนได้ F1 แล้วไม่นานก็จะได้พ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมเมืองไทย

3.คุณวราวุธ โสภโณวงศ์
3.คุณวราวุธ โสภโณวงศ์

มุมมองธุรกิจปลากะพงขาว

อย่างไรก็ดี คนในวงการอุตสาหกรรมปลากะพงขาวครบวงจร อย่าง คุณวราวุธ โสภโณวงศ์ (น้ำ) กรรมการผู้จัดการ บริษัท 88 ฟู๊ดส์ จำกัด ให้มุมมองในช่วงต้นเดือน พ.ค. 65 ว่า ประเทศไทยเดินหน้าในธุรกิจปลากะพงขาวได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะภาคเอกชน เช่น CPF ตั้งแต่เรื่อง ปรับปรุงสายพันธุ์ และ อาหาร

สำหรับ 88 ฟู๊ดส์ มองธุรกิจกะพงขาวที่ผ่านมาว่าผลผลิตลดลง เพราะบริษัทผู้ผลิตอาหารขนาดใหญ่ และเอยนต์ ไม่เครดิตอาหารให้ผู้เลี้ยง และไม่มีเงินทุน จึงหยุดเลี้ยง หลายรายเลี้ยงแล้วขาดทุน ก็หยุดเลี้ยง น่าจะมีผู้เลี้ยงจริงๆ ไม่เกิน 40% เมื่อผลผลิตหายไปมาก ราคาหน้าบ่อก็ขยับขึ้น และปีนี้รัฐเริ่มผ่อนคลาย โควิด 19 ราคาขึ้นมาเป็น 145-150 บาท และขยับขึ้นลงไม่เกิน 5 บาท แม้แต่ ปลายักษ์ ไซซ์ 2-3 กก. ราคาปากบ่อ 140 บาท และไซซ์ 3-4 กก. ราคาก็สูงตาม ทำให้เกษตรกรต้องการลงปลา

แต่ปรากฏว่า “ลูกปลา” ซึ่งแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ ตำบลสองคลอง จังหวัดสมุทรปราการ ลูกปลาเจอโรค ตัวเป็นสีดำ สำหรับ 88 ฟู๊ดส์ คุณน้ำได้ลดการเลี้ยงลง 1 ส่วน เพื่อเดินหน้าระบบการเลี้ยงน้ำกร่อย ที่ยังเปิดเผยไม่ได้ ขณะนี้ไปได้พอสมควรแล้ว เพราะมีบริษัทยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมการเกษตร ให้การสนับสนุน

ในส่วนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมปลากะพงขาวต่างประเทศ คุณน้ำเปิดเผยว่า ใน มาเลเซีย และ สิงคโปร์ มีฟาร์มปลากะพงขาว ลงทุนด้วยมูลค่าสูงมาก ผลิตเพื่อการส่งออก “เขาสร้างสำหรับเลี้ยงปลาโดยเฉพาะ โดยเอาน้ำทะเลมาบำบัดแล้วเพาะเลี้ยงในบ่อบนเรือ จนกระทั่งแปรรูปไม่ต่ำกว่า 2 บริษัท” โดยมีคน จีน และ ฝรั่ง มาร่วมหุ้น บริษัทที่ทำธุรกิจปลาสวยงามบางแห่งก็หันมาเลี้ยงปลามูลค่าสูง เช่น ปลาเก๋า เป็นต้น เนื่องจากสิงคโปร์ที่ดินแพงมากๆ จึงต้องสร้างคอนโด 8 ชั้น ไว้เลี้ยงปลา

4.บ่อเลี้ยงปลากะพงขาว
4.บ่อเลี้ยงปลากะพงขาว

สภาพพื้นที่เลี้ยงปลากะพงขาว

สำหรับการเพาะปลากะพงขาวใน “บ่อปูน” ที่มีประวัติเส้นทางร่วม 30 ปี คือ ณัฐพลฟาร์ม สองคลอง สมุทรปราการ  โทร.087-533-3274 คุณณัฐพล รวงผึ้ง และพี่สาว ทายาทรุ่น 2 มารับไม้ต่อจากครอบครัว เลยเลี้ยง ปลาใหญ่ หรือ กะพงเนื้อ เจออาหารแพงต้องเลิก หันมาเพาะลูกปลาในบ่อปูนอย่างเดียว ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1-1.5 เดือน ก็ขายลูกปลาขนาด 1.5 นิ้ว ได้ผลตอบแทนเร็ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ในการเพาะลูกปลาย่านสองคลองเวลานี้เจอปัญหา ไรน้ำจืด หายาก ราคาแพง ต้องใช้วันละ 40-50 กก. ราคา กก.ละ 45-50 บาท บางครั้งพี่สาวต้องออกไปช้อนมาใช้เอง ขณะเดียวกัน อาหารเม็ด ก็ละลายเร็ว บ่งบอกถึงคุณภาพที่ลดลง ต้องหาอาหารโปรตีน 45-47% มาใช้แทน

5.ลูกปลากะพงขาว
5.ลูกปลากะพงขาว

การอนุบาลลูกปลากะพงขาว

ลูกปลาตุ้มที่นำมาอนุบาล คุณณัฐพลเปิดเผยว่า ซื้อมาจาก ปราโมทย์ฟาร์ม ของคุณน้ำเพชร เป็นฟาร์มมาตรฐาน GAP ลูกปลาแข็งแรง คนนิยม “อัตราการรอดมันอยู่ที่ลูกปลา บางครั้งก็อยู่ที่การเลี้ยงของเรา ลูกปลาดี แต่การเลี้ยงไม่ดี อัตรารอดก็ต่ำ แต่ส่วนใหญ่รอด 80% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ต้นทุนแพง กำไรน้อย” คุณณัฐพล ยืนยันถึงฝีมือการอนุบาลลูกกะพงขาว

แม้จะมีบ่อปูน 30 บ่อ แต่วันนี้ใช้ไม่ถึง อีกอย่างต้องพิถีพิถันในการเลี้ยง เช่น ทำความสะอาดบ่อ ถ่ายน้ำ ขัดพื้น ทุกวัน เช้า-เย็น เพื่อรักษาความสะอาด ป้องกันการติดเชื้อ ใช้น้ำคลองหลังบ้าน ความเค็ม 7-10 แต้ม ก่อนปล่อยลูกปลาลงบ่อต้องทรีตคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อแล้วกระจายลงอ่าง ถ้าขนาด 3×4 เมตร ก็ลง 4-5 หมื่นตัว ถ้าบ่อกลมแบบโบราณ กว้าง 2 เมตร สูง 80 ซม. ลงลูกปลา 1-2 หมื่นตัว/บ่อ ถ้าลงแน่น ปลาจะไม่มีอากาศ

ในช่วงแรกๆ ของการอนุบาล จะให้ปลาปรับสภาพก่อน 10 วัน จากนั้นจะให้ไรน้ำจืดสด ซื้อใหม่ทุกวัน ใส่ถุงห้อยไว้มุมบ่อ เพื่อให้ปลารู้จักกิน และให้ปลารวมฝูง ต้องเปลี่ยนไรทุกวัน ห้อยไว้ 5-7 วัน จะเริ่มเห็นปลารวมฝูง จากนั้นก็นำอาหารเม็ดมาผสมกับไรน้ำจืด ค่อยๆ หยอดให้กินทุกๆ 4 ชม. เพื่อฝึกให้กินอาหารเม็ด ฝึก 1 เดือน จะกินอาหารเม็ด 100% แล้วงดให้ไร และให้อาหาร อีก 15 วัน ก็จับขาย ซึ่งอาทิตย์ที่ 2 ก็จะเริ่มร่อนไซซ์ปลา โดยร่อนทุกๆ 3-4 วัน หากไม่ร่อนปลาไซซ์แตกกินกันเอง จนเสียหายได้

“พอปลาอายุเข้า 1 เดือน เริ่มมีชุดปลาออกขาย ทางฟาร์มก็เริ่มร่อนขาย จนเหลือปลาผอม หรือปลาหาง ก็หยุดขาย ทิ้งปลาหางลงคลองธรรมชาติ” คุณณัฐพล ให้ความเห็น และยืนยันว่า ปรับน้ำให้ลูกค้า และเมื่อเลี้ยงไปแล้วก็พร้อมให้คำปรึกษาทุกอย่าง เพราะเวลาจะซื้อลูกค้าต้องมาดูปลาก่อนเสมอ จนกว่าจะพอใจ จึงจะซื้อไปเลี้ยง

เนื่องจาก ณัฐพลฟาร์ม เป็นฟาร์มมาตรฐาน GAP จึงต้องรักษาคุณภาพลูกปลาตลอดไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจรายละเอียด โทร.087-533-3274

6.การจับปลากะพงขาว
6.การจับปลากะพงขาว

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงลูกปลากะพง

ในส่วนของผู้เพาะเลี้ยง “ลูกปลา” วันนี้ประสบปัญหาหลายด้าน แก้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง อย่าง ถาวรฟาร์ม 40 ปี ในวงการ คุณปัญญา ยังมากนาม ย่านนาโคก เปิดเผยว่า ครอบครัวเป็นคนบางปะกง พอย้ายมาสมุทรสาครก็ต้องผลิตลูกปลาต่อไป เพราะย่านนาโคกแหล่งน้ำดี เลี้ยงปลากะพงขาวกันมาก

การลงทุนอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน ต้องจัด ระบบน้ำ ให้ถูกต้อง คือ ต้องมี บ่อพัก และ บ่อทิ้งเลน ซึ่งมีความยุ่งยากกว่าการอนุบาลลูกปลาในบ่อปูน และต้นทุนก็สูงกว่า “เราต้องมีบ่อเก็บน้ำ โดยดูดจากคลองธรรมชาติขึ้นมาใส่บ่อพัก ขนาด 4 ไร่ ทิ้งไว้ 3 วัน 5 วัน หรือ 10 วัน โดยใส่สารปรับสภาพปรุงน้ำให้ดี ได้ตามค่ามาตรฐาน

จากนั้นก็เตรียมบ่อเลี้ยง และฉีดเลนทุกครั้งที่จับปลาจนหมด เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค ตากบ่อทิ้งไว้ 3-5 วัน แล้วโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ พอตากบ่อครบ เอาน้ำเข้า 1 เมตร ปล่อยปลา 1 แสนตัว/บ่อ 1 งาน กั้นบ่อให้มีขนาด 40×60 เมตร ให้ปลาอยู่ ฝึกให้กินอาหาร 7 วัน ก็เปิดคอกทุกๆ 3 วัน วัดค่าน้ำปรุงให้ได้ค่าที่เหมาะสม และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 7 วัน โดยสูบออก 50% เติม 50% และให้อาหารปลาทุกวันๆ ละ 2 มื้อ” คุณปัญญา เปิดเผยถึงการอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน

น้ำเค็มที่สูบมาเลี้ยงจะต้องใช้น้ำจืดมาผสม ให้เหลือความเค็ม 5-6 แต้ม ซึ่งลูกปลาจะโตดี

7.ปลากะพงขาวไซซ์ที่ตลาดต้องการ
7.ปลากะพงขาวไซซ์ที่ตลาดต้องการ

การบำรุงดูแลลูกปลากะพงขาว

การอนุบาลลูกปลาขนาด 1-1.5 นิ้ว มาเลี้ยงให้ได้ไซซ์ 3-4 นิ้ว จะรอดถึง 80-90% เมื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ในบ่อดิน ได้ไซซ์ 7-8 ขีด ราคา กก.ละ 140-145 บาท ถือว่ามีกำไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากอนุบาลปลากะพงขาวเป็นธุรกิจแล้ว ยังได้เลี้ยงปลาเนื้อด้วย โดยเลี้ยงทั้งหมด 5 บ่อ 50 ไร่ เนื่องจากช่วงนี้กะพงขาวราคาดีนั่นเอง

สำหรับ “อาหาร” ปลากะพง คุณปัญญาใช้ ยี่ห้อโปรฟีด เพราะไม่มีปัญหา ปลาโตไว

สนใจรูปแบบการเลี้ยงปลากะพงขาว ติดต่อ คุณปัญญา โทร.082-322-6661

สรุปท้ายบท

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาปลากะพงขาวของไทย ทั้ง ภาครัฐ และ เอกชน แม้จะครบวงจร ทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ มีความล้ำหน้าทางธุรกิจพอสมควร แต่ “นโยบาย” ระดับรัฐบาล ที่จะหันมาพัฒนาปลาสุขภาพ / กะพงขาว ให้ก้าวหน้าเหมือน สิงคโปร์ – ออสเตรเลีย ยังไม่เกิด วันนี้การพัฒนาธุรกิจปลากะพงขาวอยู่ในมือภาคเอกชนเป็นหลัก ยามที่ผู้บริโภคในประเทศมีอำนาจซื้อมากขึ้น ธุรกิจก็พอขยับได้ แต่พออำนาจซื้อลดลง ธุรกิจก็ลดลงด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีตลาดต่างประเทศมารองรับ ซึ่งคนในวงการต้องวิ่งหาตลาดเองอย่างที่เป็นอยู่

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 393