โคพันธุ์บราห์มัน เลี้ยงสุกรร่วม ทำบ่อไบโอแก๊ส ใช้น้ำรดแปลง หญ้าแพงโกล่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในแวดวงผู้เลี้ยงสุกรคงไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า “โรคASF” ถึงแม้พื้นที่รอบประเทศไทยจะเกิดการระบาดของโรคอย่างหนัก แต่คงต้องปรบมือให้กับการเตรียมความพร้อมในการรับมือโรคระบาดที่น่ากลัวนี้ของประเทศไทย ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (มกราคม 2563) ประเทศไทยก็ยังคงไม่พบการระบาดของโรค ASF ยังสามารถควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในทุกด่านกักกัน หรือทุกจุดที่มีความเสี่ยงจะมีการแพร่กระจายของเชื้อโรค โคพันธุ์บราห์มัน

ทั้งนี้คงต้องขอบคุณการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ซึ่งร่วมมือร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกันโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ปกป้องแหล่งเกษตรกรรมของบ้านเรา เพื่อให้ธุรกิจการเลี้ยงสุกรของไทยสามารถขับเคลื่อนต่อไปในระบบเศรษฐกิจเช่นนี้ได้ “มั่นใจได้ว่าในประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโรค ASF ดังนั้นเนื้อหมูไทยปลอดภัย สามารถบริโภคได้ 100% นี่คือคำยืนยันจากกรมปศุสัตว์

หากพบสุกรในฟาร์มป่วยผิดปกติ หรือกรณีสงสัย ทำการแจ้งกรมปศุสัตว์ทันที โทร.063-225-6888 หรือบนแอปพลิเคชั่น DLD 4.0 สำหรับผู้บริโภคยังสามารถบริโภคเนื้อหมูได้เป็นปกติ เพียงแต่ต้องผ่านการปรุงสุก ซึ่งช่วยให้ปลอดภัยจากเชื้อ ASF รวมถึง เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือยีสต์ชนิดอื่นๆ

นอกเหนือจากการป้องกันโรคระหว่างประเทศและภายในประเทศแล้ว การป้องกันในระดับฟาร์มจัดว่าเป็นการป้องกันซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยเน้นที่ระบบ Biosecurityซึ่งนับเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และสามารถป้องกันโรคได้ทุกโรคอย่างแท้จริง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ตัวบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบอาหาร และตัวสุกร การจัดการที่ดี มีความสม่ำเสมอและเข้มงวด ย่อมนำมาซึ่งผลประกอบการที่ดีของผู้เลี้ยงทุกคน ดังเช่น “โคสง่าฟาร์ม” แม้เป็นเกษตรกรมือใหม่ในวงการสุกร แต่เรื่องการดูแลเอาใจใส่และการจัดการไม่แพ้ฟาร์มขนาดใหญ่แน่นอน

1.คุณสันชัย ภู่บัว เจ้าของโคสง่าฟาร์ม
1.คุณสันชัย ภู่บัว เจ้าของโคสง่าฟาร์ม

การเลี้ยงสุกรผสมผสานโคเนื้อ โคพันธุ์บราห์มัน

คงไม่มีใครคาดคิดว่าชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งในอดีตทำอาชีพเลี้ยง โคพันธุ์บราห์มัน  ทั้งเลี้ยงประกวด และขายเนื้อ จะผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ทั้งที่ธุรกิจโคเนื้อก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด “คุณสันชัย ภู่บัว” หรือเรียกรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “คุณหนุ่ม” อายุ 32 ปี เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรงแห่ง อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิปัจจุบันเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภายใต้ระบบคอนแทรคกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และยังคงทำอาชีพเลี้ยงโคเนื้อร่วมด้วย

ให้อาหาร โคพันธุ์บราห์มัน
ให้อาหาร โคพันธุ์บราห์มัน

คุณหนุ่มกล่าวถึงการเลี้ยงโคในปัจจุบันว่า “ต้องยอมรับว่ากระแสการเลี้ยงโคในปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่ต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง ด้วยราคาขายซึ่งเพิ่มสูงขึ้น และผมยังคงไม่ได้ทิ้งอาชีพคนเลี้ยงวัว เพียงแค่อาจไม่เลี้ยงเยอะเหมือนเดิม เพราะเรามีแปลงหญ้าแพงโกล่าปลูกเองประมาณ 5-6 ไร่ สำหรับนำมาเป็นอาหารเลี้ยงโค ไม่มีอาหารสำเร็จรูป มีเสริมหญ้าแห้งบ้างเล็กน้อย และการเลี้ยงหมูเราสามารถนำน้ำล้างคอกมาใส่แปลงหญ้าเพิ่มปุ๋ยได้อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันคุณหนุ่มมีแม่ โคพันธุ์บราห์มัน 15-16 ตัว โดยมุ่งเน้นการขายลูกสายพันธุ์แท้และสวยงามเป็นหลัก ไม่ได้เลี้ยงเป็นฝูงใหญ่อย่างในอดีต โดยมีกรมปศุสัตว์เข้ามาช่วยดูแลเรื่องการผสม น้ำเชื้อ คุณหนุ่มมั่นใจของพรชัยอินเตอร์เทรด น้ำเชื้อดี มีคุณภาพ เรื่องการผสมติดหรือไม่? ขึ้นอยู่กับการจับสัดของเกษตรกรเอง

2.โรงเรือนหมู
2.โรงเรือนหมู

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู

คุณหนุ่มเปิดใจว่า ในอดีตครอบครัวเคยมีโรงสีเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัว จึงเลี้ยงสุกรร่วมด้วย เพื่อกินปลายข้าว/รำ โดยเลี้ยงเพียง 20 กว่าแม่ เท่านั้น เป็นระบบเปิด “ผมคิดอยู่นานว่าจะเลี้ยงอะไรแทนหากไม่เลี้ยงโค และด้วยความที่เราเองก็เป็นเกษตรกร ซึ่งไม่ได้มีเงินลงทุนมากมายเหมือนรายใหญ่ การเลี้ยงสุกรจึงเป็นคำตอบ เพราะเลี้ยงรอบได้เร็ว ระยะเวลาเลี้ยงเพียง 22 สัปดาห์ เท่านั้น และกำไรดี”คุณหนุ่มกล่าวถึงสาเหตุที่หันมาเลี้ยงสุกร

เกษตรกรส่วนใหญ่อาจมีความคิดว่าระบบคอนแทรค เกษตรกรจะเสียเปรียบนายทุน/บริษัท แต่สำหรับคุณหนุ่มมองว่าระบบคอนแทรคไม่มีความยุ่งยากอะไร แต่การลงทุนในตอนแรกอาจจะสูงอยู่บ้าง ยกตัวอย่าง โคสง่าฟาร์ม ใช้เงินลงทุนประมาณ 2.5 ล้านบาท/โรงเรือน พร้อมบ่อไบโอแก๊ส (บ่อดิน)

อุปกรณ์ฟาร์มคุณหนุ่มเลือกใช้ของบริษัท พี.เค. อุปกรณ์ฟาร์ม จำกัด ทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงจนปัจจุบันผ่านมาแล้วกว่า 4 รุ่น อุปกรณ์ของพี.เค. ก็ยังคงใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งถังใส่อาหารพลาสติก ซึ่งยังใช้งานได้ดี ตัวพัดลมมอเตอร์ยังคงใช้งานได้ดี ยังไม่มีพังหรือชำรุดแต่อย่างใด

3.การกกไฟเพื่อให้ความอบอุ่นและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
3.การกกไฟเพื่อให้ความอบอุ่นและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

เทคนิคในการเลี้ยงหมูของคุณหนุ่ม คือ ความใส่ใจในทุกรายละเอียดของหมู หมั่นทำความสะอาดพื้นคอกอยู่เสมอ ซึ่งหากใส่ใจและดูแลจัดการฟาร์มของตนเองเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมได้กำไร และปลอดโรค อย่างแน่นอน

“เริ่มลงลูกหมูที่อายุ 4 สัปดาห์ จำนวน 550 ตัว/โรงเรือน ขั้นแรก คือ การกกไฟ เพื่อให้ความอบอุ่นและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของตัวหมูประมาณ 2 สัปดาห์  และในทุกๆ วันจะเข้าไปทำความสะอาดพื้นคอก ล้างขี้ด้วยน้ำสะอาด สังเกตความผิดปกติของตัวหมู ให้อาหาร โดยในลูกหมูจะให้อาหารวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) สูตรอาหารจะเป็นอาหารของบริษัทซีพีโดยตรง แบ่งออกเป็น 3 ช่วงอายุ คือ สุกรเล็ก สุกรขุน และสุกรก่อนจับ และระหว่างวันจะมีการเข้ามาดูหมู 2-3 รอบ/วัน เพื่อสังเกตอาการผิดปกติ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อสุกรครบอายุจะมีการทำวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย เมื่อสุกรอายุ 8 และ 12 สัปดาห์ เป็นต้น โดยมีสัตวบาลประจำฟาร์มของบริษัทเข้ามาควบคุมและจัดการด้านการทำวัคซีนทุกครั้ง มีการเสริมวิตามินละลายน้ำ ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ตัวเราเองต้องรู้จักและหมั่นสังเกตอาการสุกรทุกตัว เพื่อให้สามารถรักษาและป้องกันได้ทัน

ในส่วนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มูล และน้ำเสีย เป็นต้น ทางฟาร์มมีระบบบำบัด เป็นบ่อแก๊ส รูปแบบการทำงาน คือ เป็นบ่อพักน้ำเสียระบบน้ำล้นสู่แปลงหญ้า ซึ่งปลูกไว้สำหรับเป็นอาหารวัว จุดนี้ทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำในการทำแปลงหญ้าเลี้ยงโคได้ด้วย” คุณหนุ่มกล่าวถึงการจัดการสุกร

4.หมูโตเร็ว และสมบูรณ์
4.หมูโตเร็ว และสมบูรณ์

รายได้จากการเลี้ยงหมู

คุณหนุ่มยังกล่าวถึงรายได้ที่ได้รับจากการเลี้ยงสุกรในหนึ่งรุ่นว่า “เลี้ยงขุนประมาณ 5 เดือนครึ่ง เมื่อครบกำหนดบริษัทจะมีรถมาขนเข้าโรงเชือด โดยคิดราคาเป็นกิโลกรัมต่อตัวเฉลี่ย 117 กก./ตัว ราคาตัวละประมาณ 600-700 บาท ซึ่งยังไม่หักค่าใช้จ่ายอื่น หลังจากจับเสร็จจะมีการพักเล้าเป็นเวลา 30 วัน

การเลี้ยงแบบนี้เหมือนเรารับจ้างเลี้ยง โดยบริษัทซับพอร์ตทุกอย่าง ทั้งค่าอาหาร ยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ต่างๆ ผู้เลี้ยงจะเสียเพียงค่าโรงเรือน และค่าน้ำ ค่าไฟ เท่านั้น เงินที่ได้รับขึ้นกับความใส่ใจของเราเท่านั้น ยิ่งถ้าหากฟาร์มมีอุปกรณ์ครบ FCR ดี ย่อมได้เงินมากขึ้น ระบบการจ่ายเงินรวดเร็ว หลังจากจับขายหมด ไม่เกิน 1 อาทิตย์ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีทันที

ผมมองว่าการรับจ้างเลี้ยงแบบนี้ถือว่าก็คุ้มค่าและมั่นคงสำหรับผู้เลี้ยง ได้เงินแน่นอนกว่า สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ แต่ผู้เลี้ยงต้องยอมลงทุนในช่วงแรกก่อน เพราะยิ่งอุปกรณ์ฟาร์ม/โรงเรือน ทันสมัยมากเท่าไร เปอร์เซ็นต์ที่จะได้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น”

5.ลูกหมูแข็งแรง ปลอดโรค
5.ลูกหมูแข็งแรง ปลอดโรค

แนวโน้มในอนาคต

คุณหนุ่มยอมรับว่าด้วยสภาวะเศรษฐกิจทำให้เกษตรกรทุกรายต้องมีการปรับตัว โคสง่าฟาร์มก็เช่นกัน โดยคุณหนุ่มจัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงปลานิล เพื่อนำมาบริโภคเองในครัวเรือน หากเหลือก็ยังสามารถนำไปขายเพิ่มกำไรได้อีกทางหนึ่งด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในอนาคตหากมีโอกาสคุณหนุ่มก็อยากจะขยายโรงเรือนเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง ขนาด 110×80 เมตร รองรับสุกร 550 ตัว อาจเป็นการค่อยๆ ขยับขยาย เพื่อไม่ทำให้ตนเองและครอบครัวเดือดร้อน ทำเท่าที่ตนเองทำไหวและสามารถเลี้ยงครอบครัวได้

6.สายพันธุ์วัว
6.สายพันธุ์วัว โคพันธุ์บราห์มัน โคพันธุ์บราห์มัน โคพันธุ์บราห์มัน โคพันธุ์บราห์มัน โคพันธุ์บราห์มัน

ฝากแง่คิดถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู และวัว

สุดท้ายคุณหนุ่มยังฝากแง่คิดถึงคนรุ่นใหม่เกษตรกรทุกคนว่าหมูกับวัวเป็นสัตว์คนละชนิดกัน การจัดการทุกอย่างนั้นต่างกัน วัวอาจไม่ต้องดูแลใส่ใจรายละเอียดมากมายเท่าการเลี้ยงหมู ต้นทุนที่เลี้ยงต่ำกว่า แต่รายได้ไม่มั่นคงและดีเท่าการเลี้ยงหมู ดั้งนั้นผมมองว่าการเลี้ยงสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนี้ไปควบคู่กันนั้น ก็เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกันและกันได้ทั้งสองฝ่าย และหากคุณมีเงินทุนมากพอ อยากให้เลี้ยงหมูดูก่อน หากทุกอย่างเป็นไปได้ดี ค่อยหันมาเลี้ยงอย่างอื่นเพิ่มเติม

และอยากให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาพัฒนาการเกษตรของไทย เพราะอาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่มั่งคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง สามารถเป็นนายตัวเอง มีเวลาให้ตนเองและครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่ตั้ง ชีวิตคนเราก็ผาสุกได้แล้วครับ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก นายสันชัย ภู่บัว (คุณหนุ่ม เจ้าของโคสง่าฟาร์ม) เลขที่ 230 ม.9 ต.กะฮาด อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 322