ยูคาลิปตัส สับปะรด เห็ดโคน ปลูกในสวน ยางพารา มีตลาดรองรับ รายได้หลักล้าน!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในยุคที่ “พืชเชิงเดี่ยว”ราคาขึ้นลงเร็วขึ้น นั่นคือ ความหวาดเสียวของเกษตรกร เหมือนเอาไข่ใส่ตะกร้าใบเดียว ถ้าแตกก็หมด ดังนั้นเกษตรกรยุคใหม่จึงต้องการทำเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อกระจายความเสี่ยงในเรื่องของราคา ยกตัวอย่าง คุณลุงสุนันท์ สุภาภรณ์ ชาวสวนยาง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วัย 71 ปี

เริ่มทำสวน ยางพารา บนพื้นที่ 160 ไร่

  • ปลูกยางมาแล้ว 2 รุ่น แต่ละรุ่นมีหลากหลายสายพันธุ์ รุ่นแรกอายุ 16 ปี และรุ่นที่ 2 อายุ 6 ปี ขายเป็นน้ำยางสดป้อน สหกรณ์กองทุนสวนยางบ่อทอง จำกัด ปีละ 40 ตัน สร้างเม็ดเงินเดือนละ 60,000 กว่าบาท
  • สวนยางรุ่นที่ 2 ปลูก สับปะรด” แซมในร่องสวน 28 ไร่ ส่งโรงงานของ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) ครั้งละ 20-30 ตัน สร้างเม็ดเงิน 300,000 บาท/ปี 
  • นอกจากนี้ยังปลูก“ ยูคาลิปตัส  ประมาณ 300 ไร่ ป้อนโรงงานกระดาษ ของ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ปีละมากกว่า 1,000 ตัน  ขายได้เงินครั้งละ 1 ล้านกว่าบาท  นอกจากนี้ลุงสุนันท์ยังทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน ปตท.
1.คุณลุงสุนันท์-สุภาภรณ์-กับสวนยางพาราผสมผสาน-บนพื้นที่-160-ไร่
1.คุณลุงสุนันท์-สุภาภรณ์-กับสวน ยางพารา ผสมผสาน-บนพื้นที่-160-ไร่


คุณลุงสุนันท์-สุภาภรณ์

คุณลุงสุนันท์-สุภาภรณ์

สายพันธุ์ ยางพารา

ยางพารา ที่ปลูกเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ซื้อต้นกล้าติดตามาจาก 2 แห่ง แห่งแรกซื้อมาจาก ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ใกล้กับอ่างเก็บน้ำดอกกราย และแห่งที่ 2 ซื้อต้นกล้ามาจากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทราราคาต้นละ 13-14 บาท รุ่นแรกปลูกประมาณ 10 ไร่ มียาง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ RRIT251, PB235 และ RRIM600 ส่วนรุ่นที่ 2 ปลูกประมาณ 80 ไร่ มียาง 3 สายพันธุ์ ได้แก่

  1. พันธุ์ RRIT226,
  2. PB235 และ
  3. RRIM600 มีระยะปลูก 8×3เมตร

พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเป็นพันธุ์ RRIM600 เพราะมีความต้านทานโรคได้ดี เปลือกหนา และงอกทดแทนเปลือกเก่าได้เร็ว จึงสามารถกรีดได้หลายหน้ายาง สามารถยืดอายุการกรีดถึง 35 ปี และให้ผลผลิตสูงถึง 500 กก./ไร่ /ปี

2.สวนยางพาราพันธู์ต่างๆ-อายุ-16-ปี-บนพื้นที่-160-ไร่
2.สวน ยางพารา พันธู์ต่างๆ-อายุ-16-ปี-บนพื้นที่-160-ไร่

 

3.คุณลุงสุนันท์และคุณจง-ตัวแทนจำหน่ายสินค้าของลุงอ้วน-พรชัยการเกษตร
3.คุณลุงสุนันท์และคุณจง-ตัวแทนจำหน่ายสินค้าของลุงอ้วน-พรชัยการเกษตร

ข้อดีของการปลูกยางผสมผสาน

จากการปลูกยางพาราทำให้มีรายได้เข้ามาตลอดทั้งปีมากกว่า 700,000 บาท อีกทั้งปลูกสับปะรดกับ ยูคาลิปตัส ขายเป็นรายได้เสริม สร้างเม็ดเงินรวมกันมากกว่า 3 ล้านบาท ช่วยทำให้มีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในครอบครัว อีกทั้งยังมีเงินทุนสำรองเอาไว้ใช้ลงทุนทำธุรกิจในปีต่อๆ ไป ช่วยลดความเสี่ยงจากราคา ยางพารา ที่ผันผวน และลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้เป็นอย่างดี ทำให้ลุงสุนันท์ลดความกังวลใจในการดำเนินชีวิตได้มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ทำน้ำยางสดขาย และราคาน้ำยางสด ได้เงินประมาณ 50,000 บาท

ก่อนหน้านี้ลุงสุนันท์ผลิตยางก้อนถ้วย แต่ประสบปัญหาหัวหน้าคนงานโกงเงิน ขายยางกับคนงาน จึงเปลี่ยนมาทำน้ำยางสดขายเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

ช่วงหน้าฝนเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง หรือ DRC ในน้ำยางที่ได้อยู่ที่ร้อยละ 46-49 และขายได้ราคากิโลกรัมละ 34-35 บาท ขายครั้งหนึ่งก็ได้เงินประมาณ 50,000 บาท แล้วก็แบ่งเงินกับคนงานในสัดส่วน 60:40 ตนเองได้ 60% ลูกน้องได้ 40% แต่ช่วงหน้าหนาวค่า DRC ก็จะลดลงมาหน่อย แต่ก็ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางสหกรณ์ฯ ตั้งไว้ คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 33

4.ยูคาลิปตัส สับปะรด เห็ดโคน ยางพารา
4.ยูคาลิปตัส สับปะรด เห็ดโคน ยางพารา

การดูแลสวนยางพารา

ในเรื่องการดูแลสวน ลุงสุนันท์จะมอบหมายให้หัวหน้าคนงานเป็นคนคุมคนงานในสวนทั้ง 13 คน ซึ่งพักอาศัยในสวนยาง เพื่อใส่ปุ๋ย ฉีดยาฆ่าหญ้า และกรีดยาง เป็นต้น เพราะต้องบำรุงต้นยางทุกๆ 2-3 เดือน ด้วยการใช้ผงซิลิก้าของ ลุงอ้วนพรชัยการเกษตร ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำดำฝาสีเขียว และฝาสีชมพู อย่างละ 1 ขวดกระทิงแดง แล้วผสมกับน้ำ 10 ลิตร เมื่อผสมกันแล้วก็นำไปฉีดพ่นให้โดนลำต้น และหน้ายาง

จะช่วยทำให้หน้ายางฟื้นตัวเร็ว ป้องกันเชื้อราเข้าทำลายหน้ายาง และช่วยทำให้หน้ายางเปลือกนิ่ม  กรีดง่าย การกรีดยางจะกรีดระบบคืนเว้นคืน คือ กรีด 1 คืน พักกรีด 1 คืน ทำอย่างนี้จนได้น้ำยาง 2,000 ลิตร หรือ 1.5 ตัน จึงส่งขายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้สหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด จ. ชลบุรี ที่ลุงเป็นสมาชิก ปีหนึ่งก็จะกรีดยางได้ 7 เดือนครึ่ง และจะปิดกรีดในหน้าแล้ง

สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย
สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย

การปลูก สับปะรด รวมยอดขายให้โรงงานทั้งปีอยู่ที่ 300,000 บาท

พืชชนิดอื่นที่ปลูกในสวนของลุงสุนันท์มีอีก 2 ชนิด ได้แก่ สับปะรด และ ยูคาลิปตัส โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. สับปะรด พื้นที่ปลูก 28 กว่าไร่ ปลูกพร้อมกับ ยางพารา รุ่นที่ 2 เมื่อ 6 ปีที่แล้ว เป็นพันธุ์ปัตตาเวียทั้งหมด จุดเด่นของ สับปะรด พันธุ์นี้ คือ ทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ ตาค่อนข้างตื้น แกนใหญ่  เนื้อสัมผัสละเอียด สีเหลือง รสหวานฉ่ำ ผลมีขนาดใหญ่ ทำให้ขายได้น้ำหนักดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้อดีของการปลูก สับปะรด คือ ลงทุนซื้อต้นกล้าครั้งเดียวแล้วสามารถใช้หน่อและจุกของสับปะรดปลูกขยายต่อไปได้ในปีต่อๆ ไปได้ ไม่ต้องซื้อต้นพันธุ์ใหม่ทุกปี ตอนแรกที่ปลูกลุงสุนันท์ซื้อต้นกล้ามา 10,000 ต้น ราคาต้นละ 1 บาท

การดูแล สับปะรดในแต่ละปีก็จะมีการฉีดยาฆ่าหญ้า และให้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยน้ำหมักไส้ปลาทู เป็นสูตรเดียวกับที่ให้ในยางพารา ดังนั้นจึงสามารถให้ปุ๋ยพร้อมกันได้เลย

สับปะรด ใช้เวลาปลูกมากกว่า 9 เดือน จึงติดผล และหลังติดผลจะใช้เวลา 5 เดือน จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ปกติสับปะรดในตลาดจะมีมากช่วงเดือน ก.ค. เป็นต้นไป แต่ลุงสุนันท์บังคับให้ผลสุกช่วงเดือน ธ.ค. เพราะช่วงนั้นสับปะรดในตลาดไม่ค่อยมี จึงขายได้ราคาดีกว่า

ในด้านการตลาด สับปะรด ลุงสุนันท์จะมีแหล่งขาย 2 แหล่ง ได้แก่ โรงงานของ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) และพ่อค้าแผงผลไม้ โดยโรงงานของ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) อยู่ห่างจากไร่ประมาณ 5-6 กม. เป็นบริษัทที่ผลิตและส่งออก สับปะรด บรรจุกระป๋อง ผลไม้รวมบรรจุกระป๋อง และน้ำ สับปะรด เข้มข้นบรรจุในถุงปลอดเชื้อ เป็นต้น ส่งขายให้โรงงานครั้งละ 20-30 ตัน ปีหนึ่งก็จะส่งประมาณ 10 ครั้ง จึงจะหมดสวน ราคาขายกิโลกรัมละ 4-8 บาท

ถ้าหัวใหญ่หน่อยก็จะได้กิโลกรัมละ 8 บาท หัวขนาดกลางได้ 6 บาท และหัวขนาดเล็กจะได้ราคา 4 บาท/กก. รวมยอดขายให้โรงงานทั้งปีอยู่ที่ 300,000 บาท ส่วนพ่อค้าแผงจะมีรถมารับถึงสวนทุกๆ 4 วัน รายหนึ่งก็จะซื้อประมาณ 2-3 ตัน ราคากิโลกรัมละ 7-8 บาท และคาดว่าสามารถเก็บเกี่ยวได้อีก 2 ครั้ง ถึงปี 2561 จึงจะหยุดปลูก และไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดให้ ยางพารา เพราะต้นยางจะโตคลุมสับปะรดจนไม่สามารถปลูกสับปะรดต่อไปได้

ยูคาลิปตัสพันธุ์-K62-และ-K58-ที่ตัดแล้วรอส่งโรงงาน
ยูคาลิปตัส พันธุ์-K62-และ-K58-ที่ตัดแล้วรอส่งโรงงาน

 

การปลูกไม้ ยูคาลิปตัส ตัดขายได้ถึง 1,000 ตัน และในการขายแต่ละครั้งก็ได้เงินถึงหลักล้านบาท

2. ยูคาลิปตัส พื้นที่ปลูก 300 ไร่ ปลูก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ K62 และ K58 เป็นพันธุ์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่ ต.เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา ห่างจากสวนประมาณ 100 กม. โดยโรงงานจะสนับสนุนต้นกล้าให้ และเมื่อปลูกไปแล้วส่งโรงงานครบตามจำนวนต้นกล้า ก็จะได้เงินค่าต้นกล้าคืน 50% จากราคาต้นกล้าราคาเต็ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ปลูก และดูแลง่าย ในช่วง 1-2 ปีแรก ต้องตัดหญ้าไม่ให้ขึ้นสูง พอปีหลังๆ มา จึงจะฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าได้ ปุ๋ยที่ให้ก็จะมีปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ด และในช่วงหน้าแล้งก็ต้องทำแนวกันไฟไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้าสวน รวมต้นทุนตั้งแต่ปลูกถึงตัดขายสูงถึงหลักล้านบาท ใช้เวลาปลูก 4-5 ปี ก็สามารถตัดขายได้แล้ว

ในแต่ละปีสามารถตัดขายได้ถึง 1,000 ตัน และในการขายแต่ละครั้งก็ได้เงินถึงหลักล้านบาท หลังหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วก็จะเหลือกำไรประมาณ 1 ใน 3 จากต้นทุนหลังจากตัดต้นขาย แขนงก็จะขึ้น และสามารถตัดแขนงขายได้อีกทุกๆ 3 ปี ตัดได้ 4-5 รอบ จึงขุดตอขึ้นมา แล้วทำการปลูกใหม่

5.การใส่ปุ๋ยในพืชชนิดอื่นในสวนยาง
5.การใส่ปุ๋ยในพืชชนิดอื่นในสวนยาง

 

6.การปลูกยางแบบผสมผสาน
6.การปลูกยางแบบผสมผสาน

ควรเพาะ เห็ดโคน ในสวนยาง เก็บขายได้ถึงกิโลกรัมละ 700-1,000 บาท

ลุงสุนันท์แนะนำชาวสวนยางว่าหากเริ่มปลูกยางใหม่ในช่วงแรกสามารถปลูกพืชระยะสั้นอย่างอื่นเพื่อเก็บขายระหว่างรอต้นยางโตได้ เช่น ปลูกสับปะรดในร่องสวน เหมือนตนเองปลูก ซึ่งสามารถปลูกได้ 5-6 ปี ก่อนที่จะกรีดยาง แต่ไม่แนะนำให้ปลูกมันสำปะหลังในร่องยาง เพราะรากมันสำปะหลังจะไปแย่งอาหารต้นยาง ทำให้ยางไม่โต

ลุงสุนันท์เคยปลูกมันสำปะหลังในร่องยางแล้วปรากฏว่าต้นยางไม่โต จึงไม่แนะนำคนอื่นให้ปลูกมันสำปะหลังในสวนยาง ส่วนในสวนยางที่โตแล้วจะปลูกพืชอื่นก็ไม่ได้ เพราะต้นยางโตคลุมแสงแดดหมดแล้ว แนะนำให้ปลูกเห็ด เช่น  เห็ดโคน

โดยนำเชื้อเห็ดมาหมักกับจาวปลวก เมื่อเชื้อเดินแล้วก็นำไปราดบริเวณดินที่มีใบยางปกคลุมหนาแน่นเพื่อให้เห็ดขึ้น และสามารถเก็บขายได้ถึงกิโลกรัมละ 700-1,000 บาท

7.การกรีดยางพารา
7.การกรีดยางพารา

ฝึกคนไทยกรีดยางร่วมกับ กยท.

ปัญหาที่พบตอนนี้เป็นเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ตอนนี้ต้องการคนงานที่เป็นคนไทยเพิ่มอีก 4 คน  เน้นว่าต้องการคนงานไทย เพราะว่าสามารถไปอบรมการกรีด ยางพารา จากการยางแห่งประเทศไทยหรือ กยท. ที่เขาจัดอบรมได้ แต่ถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวจะไม่สามารถเข้าร่วมอบรมการกรีดยางได้ อีกทั้งเมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้ว ทาง กยท.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จะให้คนที่ผ่านการอบรมเปิดบัญชีกับธนาคาร ธกส. เพื่อโอนเงินค่าฝึกฝนการกรีดยางมาให้คนกรีด ซึ่งแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคาร ธกส. ได้  อีกทั้งแรงงานต่างด้าวเวลากรีดยางมักใช้สารเร่งน้ำยางจุ่มมีดก่อนกรีดยางเพื่อเร่งให้น้ำยางออกมาก จึงส่งผลเสียทำให้ต้นยางโทรมไว และตายนึ่ง ได้ ลุงสุนันท์จึงเข็ดหลาบ และไม่อยากจ้างแรงงานต่างด้าวอีกต่อไป 

8.การเพาะเห็ดโคนในสวนยางพารา
8.การเพาะ เห็ดโคน ในสวนยางพารา

 

9.รายได้จากการปลูกยางพารา-สับปะรด-ยูคาลิปตัส
9.รายได้จากการปลูก ยางพารา -สับปะรด- ยูคาลิปตัส

รายได้จากการปลูกยางพารา-สับปะรด- ยูคาลิปตัส

สรุปได้ว่าลุงสุนันท์ปลูก ยางพารา 160 ไร่ ร่วมกับปลูก สับปะรด 28 ไร่ และปลูก ยูคาลิปตัส มากกว่า 300 ไร่ ขายทำเงินได้มากกว่าปีละ 1.7 ล้านบาท และทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน ปตท. ได้เงินมาหมุนเวียนใช้หนี้ธนาคารได้

หากท่านใดสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการปลูก ยางพารา ผสมผสาน การปลูกสับปะรดในร่องสวนยาง และการปลูก ยูคาลิปตัส

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณลุงสุนันท์  สุภาภรณ์ บ้านเลขที่ 269/34 หมู่ 6 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20230 โทรศัพท์ 081-918-7402