เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ควบคู่ เลี้ยงหมู แบบ เกษตรผสมผสาน ทำรายได้ 3 ทางตลอดทั้งปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ควบคู่ เลี้ยงหมู ทำ เกษตรผสมผสาน ทำรายได้ 3 ทางตลอดทั้งปี

นิตยสารสัตว์บก จะพาท่านมารู้จักกับเกษตรกรอดีตข้าราชการครูที่ประสบความสำเร็จด้านการทำฟาร์มรูปแบบผสมผสาน ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุโขทัย ท่านผู้นี้คือ คุณศักดา สนทิม

คุณศักดาย้อนถึงอดีตว่า ครอบครัวของตนรับราชการครู ด้วยความขยันจึงหาอาชีพเสริม โดยการตั้งโรงสีข้าวขนาดเล็กเพื่อรับจ้างสีข้าวในชุมชน จากนั้นนำรำละเอียดและปลายข้าวที่ได้ไป เลี้ยงหมู ขุนประมาณ 20-30 ตัว ซึ่งตอนนั้นยังเด็กจึงไม่ได้สนใจ แต่ก็ช่วยงานเป็นประจำ เช่น ขนข้าว เลี้ยงหมู เป็นต้น จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก และสอบบรรจุครูได้ เมื่อปี พ.ศ.2524

จุดเริ่มต้น เหตุที่ทำธุรกิจแบบผสมผสาน เพราะต้องการลดจำนวนของเสียภายในฟาร์ม จึงกลายมาเป็นการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบผสมผสานที่มีข้อดีในการลดความเสี่ยงด้านการตลาด เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวนั้น ทางฟาร์มเคยประสบปัญหาสภาวะราคาตกต่ำ ทำให้ขาดสภาพคล่องเรื่องเงินทุนหมุนเวียน

ซึ่งพอมาทำธุรกิจแบบผสมผสานแล้ว สามารถมีรายได้หลายทาง จึงช่วยชดเชยในส่วนที่ขาดทุนได้ และหากกิจการดีหรือได้ราคาดี รายได้ในแต่ละส่วนจะช่วยเสริมให้ธุรกิจอยู่ในสภาพคล่องยิ่งๆขึ้นไป จึงกลายมาเป็น ศิริสมานฟาร์ม ที่เลี้ยงทุกอย่าง ทั้งสุกร ไก่ไข่ และปลาเบญจพรรณ ฟาร์มมาตั้งอยู่เลขที่ 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com เรียนรู้ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา คู่ เลี้ยงหมู แบบ เกษตรผสมผสาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โทร. 02-185-6598 , 02-185-6599 

1.คุณศักดา-สนทิม-เจ้าของศิริสมานฟาร์ม-จ.สุโขทัย
1.คุณศักดา-สนทิม-เจ้าของศิริสมานฟาร์ม-จ.สุโขทัย เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา

 

2.โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
2.โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่

จุดเริ่มต้นของการ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา และ เลี้ยงหมู

โดยเริ่มจากมีพื้นที่จำนวน 40 ไร่ เลี้ยงหมู แม่พันธุ์จำนวน 200 กว่าตัว และสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ด้วย ก่อนที่จะเลี้ยงไก่ไข่นั้น ได้ลองทดลองเลี้ยงเป็ดมาก่อน แต่ความนิยมในการบริโภคไข่เป็ดค่อนข้างน้อยกว่าไข่ไก่ จึงเปลี่ยนมาศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ในที่สุด โดยเริ่มต้นเลี้ยงที่จำนวน 2,000 ตัว

ช่วงแรกเคยประสบปัญหาเรื่องมลภาวะ เนื่องจากฟาร์มมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นและปรับรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการใหม่ โดยพยายามไม่ให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะ จึง เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา เพื่อลดของเสียและกลิ่น โดยทดลองเลี้ยง 1 โรงเรือน หรือ 7,000 ตัว พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรือนทั้งหมด 7 หลัง สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้ 40,000 ตัว ส่วนโรงเรือน เลี้ยงหมู ขุนมี 4-5 หลัง แต่ละโรงเรือนใช้พื้นที่ประมาณ 8 ไร่ โดยสร้างไว้ระหว่างคันบ่อปลา และมีโรงเรือนแม่พันธุ์ประมาณ 5 หลัง โดยเป็นโรงเรือนเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามขนาดของพื้นที่ จำนวน 300 กว่าแม่ และได้ขยายพื้นที่เรื่อยมา จนปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 500 ไร่

“เหตุผลที่เลือก เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ในตอนนั้นจุดมุ่งหมายอย่างเดียวก็คือ เมื่อมูลสัตว์ลงไปในน้ำจะทำให้กลิ่นต่างๆ หายไปได้ ซึ่งเมื่อได้ทดลองทำก็รู้สึกว่ามันเข้าท่าดี ส่วนการเลี้ยงปลาก็ไม่ได้คิดอะไรมากเนื่องจากเคยศึกษาการทำฟาร์มในหนังสือ เห็นว่าการทำฟาร์มไว้บนบ่อปลาสามารถจัดการปัญหาด้านกลิ่นได้ ไม่คิดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากปลาอีกทางหนึ่งด้วย”

3.การบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่
3.การบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา 

การบริหารฟาร์ม แบบ เกษตรผสมผสาน

สมัยก่อนเป็นฟาร์มขนาดเล็ก จะดูแลเองทั้งหมด แต่ปัจจุบันกิจการมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การเลี้ยงสัตว์ของทางฟาร์มก็ยังยึดรูปแบบเดิม คือ เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงแบ่งองค์กรออกเป็น 7 แผนก ดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  1. แผนกสุกรแม่พันธุ์ – มีหน้าที่เลี้ยงแม่พันธุ์และผลิตลูกสุกรขุน จำหน่ายให้กับแผนก เลี้ยงหมู ขุนของทางฟาร์มเป็นหลัก
  2. แผนกสุกรเนื้อหรือแผนก เลี้ยงหมู ขุน : มีหน้าที่ขุนสุกรให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
  3. แผนกผสมอาหารสัตว์ : จะมีหน้าที่ผสมอาหารจำหน่ายให้แต่ละแผนกในฟาร์ม
  4. แผนกไก่ไข่ : จะรวมถึงไก่เล็ก และไก่รุ่น มีหน้าที่เลี้ยงและเก็บไข่ 5. แผนกนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แผนกเพาะพันธุ์ปลา เพื่อจำหน่ายให้กับในฟาร์ม และจำหน่ายให้เกษตรกรรายย่อยที่สนใจ
  5. แผนกปลาธรรมชาติ : มีหน้าที่ดูแลปลาในบ่อของทางฟาร์ม และจับจำหน่าย
  6. แผนกสร้าง ซ่อม บำรุง : ทุกอย่างภายในฟาร์ม
  7. แผนกบริหารส่วนกลาง : ทำหน้าที่ด้านการตลาด บัญชี และงานจำหน่ายสินค้า ของทางฟาร์มทุกอย่าง เช่น จำหน่ายไข่ไก่ สุกรขุน แม่ไก่ปลดระวาง ปลา อาหารสัตว์ และวัตถุดิบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแต่ละแผนกจะมีผู้จัดการดูแล
4.แผนกสุกรแม่พันธุ์
4.แผนก เลี้ยงหมู สุกรแม่พันธุ์
5.แผนกโรงผสมอาหารสัตว์
5.แผนกโรงผสมอาหารสัตว์

 

6.แผนกไก่ไข่
6.แผนกไก่ไข่่
7.แผนกปลา
7.แผนกปลา
8.การเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด
8.การเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด

การเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด

ทั้งนี้แม้ว่าทางฟาร์มจะเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนแบบเปิด แต่ให้ความสำคัญเรื่อง “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” โดยฟาร์มจะมีประตู 2 ชั้น ประตูแรกเป็นประตูหลักจะมีบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นเขตสำหรับบุคคลภายนอกที่มาติดต่อหรือซื้อสินค้า ส่วนประตูที่ 2 จะเป็นเขตจำกัด เฉพาะพนักงานที่สามารถเข้าไปได้ ซึ่งก่อนที่พนักงานเข้าฟาร์มจะต้องชำระร่างกายและเปลี่ยนชุด

“เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือนำพาโรคเข้าสู่ฟาร์ม ก็จะป้องกัน เช่นรถจับสุกรขุน ทางฟาร์มจะมีพื้นที่สำหรับให้พนักงานต้อนสุกรออก  จากนั้นจะมีพนักงานอีกคนรับช่วงต่อ ซึ่งคนต้อนกับคนชั่งน้ำหนักสุกรจะเป็นคนละคนกัน ส่วนปัจจัยเสี่ยงอีกข้อ คือ นก ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ทางฟาร์มจะมีตาข่ายล้อมรอบโรงเรือนทั้งสุกรและไก่ไข่ เพื่อป้องกันไม่ให้นกเข้าไปในโรงเรือน”  

9.การใช้วัตถุดิบทั่วไปในการเลี้ยงสัตว์
9.การใช้วัตถุดิบทั่วไปในการเลี้ยงสัตว์

การผสมอาหารใช้เอง ใช้วัตถุดิบทั่วไปในการเลี้ยงสัตว์

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในฟาร์มนั้นจะผสมเอง โดยส่วนมากจะใช้วัตถุดิบทั่วไป เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด มันสำปะหลัง ส่วนวัตถุดิบทดแทนอย่างอื่นจะไม่ได้ใช้ เนื่องจากต้องการให้อาหารที่ผลิตมีคุณภาพ โดยที่สัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เหมาะสำหรับสัตว์แต่ละชนิด

10.การคัดสรรวัตถุดิบจะใช้ของ-บริษัท-สยาม-อะกริ-ซัพพลาย-จำกัด
10.การคัดสรรวัตถุดิบจะใช้ของ-บริษัท-สยาม-อะกริ-ซัพพลาย-จำกัด

การคัดสรรวัตถุดิบเพื่อคุณค่าทางโภชนาการ

โดยนิสัยส่วนตัวเป็นนักทดลอง และได้ศึกษาวัตถุดิบแต่ละชนิดมาพอสมควร เพราะสมัยก่อนจะมีวัตถุดิบหลายอย่าง ซึ่งก่อนนำมาใช้จะต้องมีการทดสอบและจับตัวเลขภายในฟาร์มก่อน เพราะวัตถุดิบบางชนิดสามารถใช้ได้ระดับหนึ่ง แต่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักไม่ได้ ฉะนั้นจะเลือกใช้วัตถุดิบที่หาได้และไม่ขาดแคลน

เพราะจะมีผลกระทบต่อสูตรอาหารโดยตรง  ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เพราะเห็นว่าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของทางฟาร์ม และสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ได้แก่ ดีดีจีเอส ถั่วอบ , ปลาป่น  , ไก่ไฮโดรไลท์ เป็นต้น

11.การให้อาหารสุกร-ไก่ไข่
11.การให้ อาหารหมู -ไก่ไข่ อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู อาหารหมู 

การให้ อาหารหมู -ไก่ไข่

การให้ อาหารหมู แต่ละสูตรจะแตกต่างกันตามช่วงอายุของสุกร เช่น สุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน สุกรแม่พันธุ์อุ้มท้อง และสุกรแม่พันธุ์เลี้ยงลูก ซึ่งแม่พันธุ์อุ้มท้องและแม่พันธุ์เลี้ยงลูกจะให้กินช่วงเช้าและช่วงบ่าย แม่พันธุ์เลี้ยงลูกจะให้เช้าและบ่ายเช่นกัน แต่แม่พันธุ์เลี้ยงลูกจะเน้นปริมาณที่ให้สามารถกินได้ไม่จำกัด โดยจะกระตุ้นให้กินอย่างเต็มที่ ส่วนสุกรขุนให้ 3 เวลา คือ เช้า บ่าย และเย็น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สุกรกินอาหารได้มากที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนไก่ไข่ จะให้วันละ 2 ครั้ง แต่จะมีการเกลี่ยรางอาหารวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ไก่กินอาหารได้มากขึ้น ส่วนปลาที่เลี้ยงจะให้กินอาหารตามธรรมชาติ

12.เจ้าหน้าที่-บริษัท-สยาม-อะกริฯ-เข้ามาให้ความรู้-แนะนำวัตถุดิบอาหารสัตว์
12.เจ้าหน้าที่และคุณจอยจาก -บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เข้ามาให้ความรู้-แนะนำวัตถุดิบอาหารสัตว์

ด้านความร่วมมือกับ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด

จากที่ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เข้ามาแนะนำวัตถุดิบอาหารสัตว์ สิ่งแรกที่พิจารณา คือ เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบว่าตรงตามความต้องการและเหมาะสมหรือไม่ ที่สำคัญจะดูเรื่องการบริการหลังการขาย ซึ่งทางบริษัท สยาม อะกริ ฯ ได้เข้ามาให้ความรู้ เทคนิค บางอย่าง ที่เป็นผลประโยชน์ที่ดีต่อฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ และทางบริษัทยังให้ความช่วยเหลือด้วยการนำวัตถุดิบ หรืออาหารสัตว์บางตัวของทางฟาร์มไปตรวจคุณภาพให้ เพื่อรับรองผลแลป

13.สายพันธุ์สุกร
13. เลี้ยงหมู : สายพันธุ์สุกร

ตลาดเปิดกว้างสำหรับสินค้าเกษตร

ปัจจุบันตลาดค่อนข้างเปิดกว้าง และมีความต้องการสูง แต่ปัจจุบันเกษตรกรผู้ เลี้ยงหมู รายย่อยเริ่มลดลง และถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีจำนวนการเลี้ยงที่มากขึ้น และมีระบบบริหารและจัดการที่เบ็ดเสร็จ จึงทำให้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของการเลี้ยงและเรื่องอื่นๆ

ที่สำคัญ คือ มีบทบาทในการกำหนดราคาเป็นอย่างมาก  จึงทำให้เกษตรกรรายย่อยอยู่ได้ยาก จึงต้องหากลยุทธ์ในการปรับตัว และทางฟาร์มมีการปรับเปลี่ยนสายพันธุ์เพื่อให้ตรงกับความต้องการ  ปัจจุบันใช้สายพันธุ์ฟินนอร์เอเชีย และเดนมาร์ก ตลาดส่วนมากจะอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัย

โดยทางฟาร์มจะใช้ชื่อ “หมูปลอดภัย” เพราะปลอดสารเร่งเนื้อแดง และยาปฏิชีวนะ ฉะนั้นนึกถึงหมูปลอดภัยต้องนึกถึง ศิริสมานฟาร์ม

14.การจำหน่ายไข่ไก่วันละ-100-แผง
14.การจำหน่ายไข่ไก่วันละ-100-แผง
15.จำหน่ายภายใต้ชื่อ-ไข่ไก่โอชา
15.จำหน่ายภายใต้ชื่อ-ไข่ไก่โอชา

การจำหน่ายไข่ไก่วันละ 100 แผง

สำหรับไก่ไข่ของทางฟาร์มจะจำหน่ายภายใต้ชื่อ “ไข่ไก่โอชา” เนื่องจากสมัยก่อนที่เป็นฟาร์มขนาดเล็กโอกาสที่จะอยู่ได้นั้นค่อนข้างยาก จึงคิดว่าถ้าหากสร้างแบรนด์ขึ้นเอง และเสริมสารไอโอดีน สังกะสี ซิลิเนียม และแมงกานีส เข้าไปในอาหารไก่ไข่ พยายามหาสูตรอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จนได้ไข่ไก่ที่มีลักษณะของไข่ขาวที่ข้น เหนียว และสามารถคงความสดได้นาน นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรโมชั่น คือ ซื้อไข่สะสมแต้ม เพื่อแลกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจ และมาซื้อไข่ไปบริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละวันสามารถจำหน่ายได้ 40-50 แผง หรือบางวันจำหน่ายได้ถึง 100 แผง

การจำหน่ายปลาเฉลี่ยวันละประมาณ 1 ตัน

ส่วนปลาจะจับทุกวัน เพราะมีทั้งแม่ค้าตลาดสด ตลาดนัด และบ่อตกปลา มาซื้อทุกวันเฉลี่ยวันละประมาณ 1 ตัน

16.การจำหน่ายปลาเฉลี่ยวันละประมาณ-1-ตัน
16.การจำหน่ายปลาเฉลี่ยวันละประมาณ-1-ตัน
17.ไก่ไข่
17.ไก่ไข่ เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน  เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน
18.สุกร
18.สุกร เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน

การวางเป้าหมายในอนาคต

อนาคตกับเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากอายุเริ่มมากขึ้น จึงได้วางระบบและหน้าที่พนักงานไว้ชัดเจนแล้ว ระบบงานต่างๆ สามารถดำเนินไปได้ด้วยตัวของมันเอง และมีการขยายบางส่วนเพิ่มเติม เช่น เดิมมีสุกรแม่พันธุ์จำนวน 300 แม่ จะเพิ่มจำนวนให้ถึง 400 แม่ ส่วนไก่ไข่อาจจะเพิ่มขึ้นตามกำลังที่จะทำไหว

เพราะส่วนหนึ่งทางฟาร์มก็ยังเป็นที่พึ่งของผู้เลี้ยงรายย่อยในเรื่องของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้เลี้ยงบางรายมีความรู้ ความสามารถ ในด้านการผสมอาหารใช้เอง ก็มาซื้อวัตถุดิบไปผสม หรือบางฟาร์มมาซื้ออาหารจากทางฟาร์มไปใช้ ซึ่งอาหารที่จำหน่ายกับอาหารที่ใช้ในฟาร์มจะเป็นสูตรเดียวกัน และทางฟาร์มยังเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาการเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย

“ธุรกิจเลี้ยงสัตว์เป็นธุรกิจหนึ่งที่ค่อนข้างเสี่ยงด้านรายได้ ราคาสินค้า ราคาวัตถุดิบ หรืออาหารสัตว์ เมื่อเข้ามาทำตรงนี้จะต้องทำความเข้าใจให้มาก เพื่อที่จะเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดปัญหา และในขณะเดียวกันบางเรื่องก็เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว อย่างเช่น การเกิดโรคระบาด รวมถึงบุคลากร และแรงงาน ด้วย

ซึ่งการบริหารจัดการคนก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ ส่วนการตลาดต้องมีการวางระบบงานให้ดี เพื่อที่จะลดความเสี่ยง อย่างที่ฟาร์มทำ คือ การเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เพื่อที่จะลดความเสี่ยง สำหรับผู้ที่จะทำธุรกิจด้านนี้จำเป็นจะต้องเรียนรู้ธุรกิจแต่ละด้าน และต้องศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้” คุณศักดากล่าวให้แง่คิด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เลขที่ 799/90 ม.3 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280  โทร 02-185-6599  www.siamagrisupply.com และ ศิริสมานฟาร์ม คุณศักดา สนทิม 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 64120 โทร.055-681-254

เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงหมู เกษตรผสมผสาน อาหารหมู การเลี้ยงหมูขุน เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา