การทำ ฟาร์มวัว ควบคู่ ฟาร์มเป็ด ได้ เนื้อโคขุน & ไข่เป็ด ผลผลิตคุณภาพ ส่งนอก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงโคเนื้อ

“ปัจจุบันตนเองทำการเลี้ยง ทั้งโคขุน และเป็ดไข่ เป็นอาชีพหลักที่ควบคู่กันไป เป็นการส่งเสริมรายได้อีกทาง แถมยังเป็นการถ่วงดุลรายได้ อย่างไรก็ตามการทำฟาร์มแต่ละอย่างย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเจอปัญหาอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขปัญหา หรือเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถยืนระยะในอาชีพทำฟาร์มปศุสัตว์อย่างมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืนอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ผมขอเป็นกำลังใจ และเอาใจช่วยทุกท่านครับ”

1.โคขุนสวยๆ-จากอดุลย์ฟาร์ม
1.โคขุนสวยๆ-จากอดุลย์ฟาร์ม

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ล่าสุดเมื่อต้นปี พ.ศ.2561 พบว่า ปัจจุบันการผลิตโคเนื้อในประเทศลดลงเรื่อยๆ ช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ ในเรื่องการบริโภค โดยมีการนำเข้าโคเนื้อเข้ามาทดแทนปีละกว่า 2 แสนตัว จากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปริมาณโคเนื้อของไทยขณะนี้มีประมาณ 4.8 ล้านตัว เป็นเพศผู้ร้อยละ 30 และเพศเมียร้อยละ 70 โดยคนไทยต้องการบริโภคเฉลี่ย 1.2 ล้านตัว/ปี หรือเฉลี่ยคนไทยบริโภคเนื้อ กว่า 2 กก./คน/ปี อย่างไรก็ดียังมีข้อมูลที่น่ากังวลไม่น้อย เพราะอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ต่ำมาก เพราะมีทางเลือกในการบริโภคมากกว่าทุกประเทศในอาเซียน แต่การผลิตโคเนื้อก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยผลิตได้ไม่เกินปีละ 1 ล้านตัว

ทั้งนี้จากที่ติดตามข่าวและสถานการณ์เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้รวมกลุ่มเกษตรกรเข้าโครงการเพิ่มการเลี้ยงโคเนื้อ ขยายผลต่อเนื่องจากโครงการโคบาลบูรพา 3 หมื่นตัว ขยายโครงการให้สหกรณ์ต่างๆ เข้ามารวมกลุ่มเกษตรกร ผลิตแม่วัวพันธุ์ดี ให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ แก้ปัญหาขาดแคลน และส่งออกประเทศใกล้เคียง

นอกจากนี้การออกมาแถลงความคืบหน้า โดยนายสัตวแพทย์สรวิช ธานีโต โฆษกและผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากมาตรการดังกล่าวเป็นนัยสำคัญที่ว่าภาครัฐต้องการมุ่งเน้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรไทย พร้อมรับมือภายหลังจากสิ้นสุดมาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ในปี พ.ศ.2563 โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเนื้อโคที่มีผลกระทบด้านต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่า

โดยของไทยมีต้นทุน 80 บาท/กก. ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จัดเตรียมกองทุน FTA พร้อมช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ที่ผ่านมามีโครงการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโคเนื้อได้รับการอนุมัติจากกองทุนแล้ว 6 โครงการ 154 ล้านบาท พัฒนาคุณภาพขยายตลาดผู้บริโภคให้สินค้าของไทยมีการแข่งขันได้ในตลาดโลก และจากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเจ้ากระทรวงผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รวมทั้งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้นิ่งนอนใจในการวางแผนยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาโคเนื้อในประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการผลิตโคเนื้อให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ

2.คุณสมัย-เดวาหมัด-เจ้าของอดุลย์ฟาร์ม
2.คุณสมัย-เดวาหมัด-เจ้าของอดุลย์ฟาร์ม

คุณสมัย เดวาหมัด ผู้เลี้ยงโคเนื้อ และเป็ดไข่ บนเนื้อที่ 15 ไร่ จ.ราชบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นิตยสารสัตว์บกมีโอกาสได้สัมภาษณ์และพูดคุยกับ คุณสมัย เดวาหมัด หรือ “บังดุลย์” ปัจจุบันมีอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ และเป็ดไข่ ในชื่อของ “อดุลย์ฟาร์ม” บนเนื้อที่ 15 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

โดยคุณสมัยเป็นเกษตรกรที่มีประสบการณ์การเลี้ยงโคมากว่า 40 ปี ได้สัมผัสพบเห็นยุคสมัยการเปลี่ยนแปลง ของทั้งยุคแห่งความรุ่งโรจน์ และยุควิกฤตของการเลี้ยงโค ในประเทศไทยมาแล้วอย่างโชกโชน ซึ่งทีมงานนิตยสารสัตว์บกถือเป็นเกียรติที่ได้พบปะพูดคุยกับคุณสมัย ในการบอกเล่าเรื่องราวทิศทางในการพัฒนาโคเนื้อตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ ทั้งนี้เพื่อยกระดับและสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้

3.ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงวัว-เน้นปลอดโปร่ง-โล่ง-และสบาย
3.ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงวัว-เน้นปลอดโปร่ง-โล่ง-และสบาย

สภาพพื้นที่เลี้ยงโคเนื้อ 

สำหรับคุณสมัยถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงโคเนื้อรายใหญ่รายแรกๆ ของประเทศไทย โดยในอดีตเคยเลี้ยงโคเนื้อจำนวนกว่า 2,000 ตัว ในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งเคยเลี้ยงโคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตลอดจนเคยมีโรงฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่เป็นของตนเองอีกด้วย

“สมัยก่อนวิวัฒนาการการพัฒนาโคเนื้อในประเทศยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ดังเช่นทุกวันนี้ โดยคนรุ่นสมัยก่อนที่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจะเลี้ยงโคสายพันธุ์ไทยแบบดั้งเดิม และเลี้ยงปล่อยทุ่งให้เดินกินหญ้า ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว และอยู่แวดวงโคเนื้อมาอย่างยาวนาน กระทั่งได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในจังหวัดราชบุรี และประกอบอาชีพเลี้ยงโคมาโดยตลอด ค่อยๆ ขยับขยายมาเรื่อย กระทั่งทำฟาร์มอดุลย์ฟาร์มของตัวเอง ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ โดยมีพื้นที่ในการเลี้ยงโคขุนจำนวน 8 โรงเรือน และมีโคขุนเลี้ยงอีก จำนวน 100 ตัว” คุณสมัยเล่าย้อนเรื่องราวสมัยอดีต

4.แม่วัวและลูกวัว
4.แม่วัวและลูกวัว เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อ เนื้อโคขุน

เนื่องจากคุณสมัยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคในพื้นที่ขณะนั้นมองเห็นศักยภาพของคุณสมัย จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมโคกระบือและเนื้อชำแหละ ช่วงปี พ.ศ.2544 ทั้งนี้หลังจากหมดวาระ ต่อมาคุณสมัยมุ่งมั่นหันมาจัดสร้างโรงฆ่าสัตว์ โดยใช้งบลงทุนไปกว่า 60 ล้านบาท

เหตุเพราะสมัยก่อนธุรกิจโรงเชือดเป็นธุรกิจที่ได้รับผลตอบแทนอย่างมหาศาล แต่ไม่นานสิ่งที่คุณสมัยหวังเอาไว้ไม่เป็นอย่างที่คิด เนื่องจากโชคร้ายที่เกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นในประเทศในขณะนั้น คุณสมัยจึงต้องทยอยชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินนับแต่นั้นเป็นต้นมา เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“สมัยก่อนการเลี้ยงโคช่วงขาดการพัฒนาอย่างมาก แต่ธุรกิจโรงเชือดกลับได้รับความนิยม และเป็นธุรกิจที่ได้กำไรงาม โดยสมัยก่อนมีการเชือดโคเฉลี่ยแล้ววันละ 3,500 ตัว ในประเทศไทย จากการประเมินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยโคหนึ่งตัวถ้าชำแหละเนื้อออกมาแล้วจะมีน้ำหนักกว่า 100 กก. จึงต้องเชือดโคกว่า 3,000 ตัว เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ณ ตอนนั้น

โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้มีการทำข้อมูลสำรวจพบว่าเฉลี่ยการบริโภคเนื้อโคของคนในประเทศ ออกมาว่า ใน 1 คน จะบริโภคเนื้อโคประมาณ 5 กิโลกรัม/คน/ปี แล้วนำมาหารจากคนที่กิน และไม่กิน เนื้อโค ใน 1 ปี หารกับประชากรทั้งหมด จึงทำให้เราต้องเชือดโคที่มีน้ำหนักประมาณตัวละ 150 กิโลกรัม ก็จะเฉลี่ยโคที่จะต้องเชือดต่อวันเฉลี่ยวันละ 3,000 ตัว

ซึ่งตอนนั้นโคในประเทศไทยอัตราการเกิดของโคช่วงนั้นอยู่ที่ประมาณวันละ 2,000 ตัว ซึ่งถือว่าเกิดน้อยมาก ไม่สามารถผลิตให้ทันต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภคได้ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงริเริ่มการสร้างและเปิดโครงการต้นน้ำเพื่อขยายการเพาะพันธุ์โคให้มากขึ้น”

5.โคขุนสวยๆ
5.โคขุนสวยๆ

การพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อ

ทว่าปัจจุบันกับอดีตกลับเป็นเรื่อง “โอละพ่อ”  โดยคุณสมัยกล่าวต่อว่าปัจจุบันโคเนื้อได้รับการพัฒนาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก มีการเลี้ยงพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสม เลี้ยงขุน อีกทั้งยังมีการนำเข้าโคเข้ามาในประเทศอีกด้วย จึงทำให้ปริมาณโคล้นตลาด แต่ผู้บริโภคกลับมีความต้องการบริโภคเนื้อ หรือสัตว์ใหญ่ ที่น้อยลง อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ สภาพเศรษฐกิจ และการมีตัวเลือกของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารสัตว์ที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น เป็นต้น

“โคในวันนี้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้โค 1 ตัว สามารถนำไปชำแหละแล้วเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่  300-500 กิโลกรัม จากอดีตเนื้อโคที่ได้จากการชำแหละมีน้ำหนักเพียง 100 กว่ากิโลกรัม อีกทั้งการเชือดโคก็ลดน้อยลงมา เหลือเพียงแค่เชือดวันละ 2,000 ตัว แต่ปริมาณโคที่เกิดถูกพัฒนาขึ้นมีประมาณ 3,000 ตัว

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าประเทศไทยเริ่มที่จะนิยมบริโภคเนื้อโคกันน้อยมาก เมื่อเทียบกับการบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่น จึงทำให้ตลาดโคเนื้อในไทยมีมูลค่าค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่มีมากถึง 62 ล้านคน ซึ่งการประมาณการการบริโภคโคเนื้อในประเทศไทยนั้นจะประมาณการจากจำนวนโคที่มีการฆ่าในแต่ละปี และผลพวงจากการระบาดของโรควัวบ้าในต่างประเทศ ก็ยิ่งทำให้คนไทยบริโภคเนื้อลดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุให้โคเริ่มที่จะล้นตลาด  แล้วทางรัฐบาลยังมีการสั่งและอนุญาตเนื้อโคนำเข้ามาจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มอีก ในเมื่อเนื้อโคในไทยเริ่มล้นตลาด จึงมีกระแสความเคลื่อนไหวของกลุ่มพี่น้องเกษตรกรออกมาตัดพ้อรัฐบาลว่า รออนาคตนี้เสร็จแน่ ดูท่าว่าจะไปไม่รอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนตัวผมขอทำนายไว้เลยว่าอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า โคจะเป็นภาระสำหรับผู้เลี้ยงอย่างมาก ผมฟันธงอนาคตไว้เลยว่าไม่รอด  ซึ่งทางฟากฝั่งของทางรัฐบาลคงต้องหันมามองแล้วว่าจะทำอย่างไรกับปัญหาการเลี้ยงโค และปริมาณล้นตลาด ซึ่งผมมองว่าต้องมีคณะกรรมการเข้ามาดูแลส่วนนี้อย่างชัดเจน และจริงจังได้แล้ว คุณสมัยให้สัมภาษณ์อย่างออกรสชาติ

6.โรงเรือนเลี้ยงวัวด้านใน
6.โรงเรือนเลี้ยงวัวด้านใน

การป้องกันกำจัดโรคระบาด

นอกจากปริมาณโคเนื้อที่ล้นตลาดในปัจจุบันแล้ว การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากโคก็ต้องให้ความสำคัญ และเฝ้าระวัง อาทิเช่น โรคแอนแทร็กซ์ (Anthrax) โดยคุณสมัยกล่าวต่อว่า

“ในอดีตมีเรื่องหนักสุด คือ โรคแอนแทร็กซ์ ข่าวที่แพร่ออกไปในขณะนั้นระบุว่าถ้าเกิดกินโคที่ติดโรคนี้เข้าไป คนที่กินจะติดโรคจนเสียชีวิตได้ ทำให้คนถึงกลับไม่กล้าเดินผ่านแผงขายเนื้อโคเลย ในเรื่องนี้ของช่วงนั้นมีคนปั้นข่าวเรื่องโรคแอนแทร็กซ์ขึ้นมาจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ มีการลงข่าวมากมาย ผมยังเคยถูกสื่อมวลชนชื่อดังหลายสำนักขอสัมภาษณ์ในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งขณะนั้นทางรัฐบาลก็มีการเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยการประกาศไปว่าโรคแอนแทร็กซ์มีจริง แต่ตอนนี้ทางรัฐบาลได้ดูแลแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข่าวจึงเริ่มเบาลง

ในสถานการณ์การณ์ ณ ตอนนั้น จริงๆ แล้วมันไม่ใช่โรคแอนแทร็กซ์ แต่เป็นเพราะโคที่ชาวบ้านเลี้ยงกินถุงพลาสติกเข้าไป แล้วกินมาเป็นเวลานาน จนทำให้โคป่วยผอมลงเรื่อยๆ กระทั่งล้มตาย สาเหตุที่เป็นข่าวใหญ่ส่วนหนึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นเรื่องของทางการเมือง และอีกส่วนเกิดขึ้นเพราะมีคนหมั่นไส้กลุ่มคนที่เป็นเจ้าของโค ที่นำโคเข้ามาจากพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก 

วิกฤตคราวนั้นส่งผลให้โคที่ขายกันอยู่ตามข้างทาง/ตามแผงขายเนื้อ จากที่ขายเนื้อโคได้วันละ 5,000 บาท พอมีเรื่องโรคแอนแทร็กซ์นี้เข้ามา การขายเนื้อโคช่วงนั้นขายกันวันละขีดยังแทบขายกันไม่ได้เลย ทีนี้ตัวผมก็สู้ต่อมาเรื่อยๆ จนกลับมาขายเนื้อได้เหมือนดังเดิม พอหมดวิกฤตเรื่องโรคแอนแทร็กซ์ ต่อมาก็พบวิกฤตช่วงที่โคไม่พอต่อความต้องการของตลาด จึงมีการพัฒนาสายพันธุ์โคให้มากขึ้น สร้างอาหารที่มีคุณภาพให้กับโค จนโคมีปริมาณเนื้อมากขึ้น แล้วอัตราการเกิดของโคก็เริ่มมากขึ้นต่อมาในภายหลัง”

7.อาหารโคขุน-SPM-551-อาหารคุณภาพ-สร้างกล้ามเนื้อ-และเพิ่มน้ำหนัก
7.อาหารโคขุน-SPM-551-อาหารคุณภาพ-สร้างกล้ามเนื้อ-และเพิ่มน้ำหนัก
สต๊อกฟาง
สต๊อกฟาง

การให้อาหารโคเนื้อ

อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้คุณสมัยพลิกฟื้นกลับมายืนหยัดอยู่ได้ด้วยการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ หลังจากต่อสู้ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคต่างๆ มาได้อย่างทรหด และอดทน โดยในเรื่องการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ คุณสมัยบอกว่าการจัดการเลี้ยงโคไม่ยุ่งยาก โดยปัจจุบันให้อาหารสำเร็จรูป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยเลือกใช้อาหารยี่ห้อ SPM 551 ผลิตโดย บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด (SPM) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ทั้งปศุสัตว์ และประมง ตั้งอยู่ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี สาเหตุที่เลือกใช้อาหารยี่ห้อ SPM 551 คุณสมัยเผยว่าเพราะเป็นบริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรด้านอาหารสัตว์ ส่วนด้านคุณภาพเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มน้ำหนักของโคเนื้อ โดยมีระยะเวลาในการขุนโคก็ขึ้นอยู่กับขนาดตัวของโคที่รับซื้อมาแล้ว ลักษณะการกินอาหารก็ขึ้นอยู่กับตัวโคด้วย

ทั้งนี้การขุนโคใหญ่ใช้เวลาน้อยกว่าการขุนโคเล็ก เช่น โคเต็มวัย ใช้เวลาขุนนานประมาณ 3 เดือน โค 2 ปี ใช้เวลาขุนนานประมาณ 4 เดือน โค 1 ปีครึ่ง ใช้เวลาขุนนานประมาณ 6 เดือน โค 1 ปี ใช้เวลาขุนนาน 8 เดือน และโคหย่านมใช้เวลาขุนประมาณ 10 เดือน ซึ่งทางฟาร์มจะต้องขุนให้โคมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 350-500 กิโลต่อตัว หรือให้อาหารตามแบบ FCR

ในส่วนการสั่งซื้ออาหาร SPM 551 โดยสั่งซื้อมาครั้งละประมาณ 320 ลูก โคจะกินได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ อาหาร SPM 551 จะหนักกระสอบละ 30 กิโลกรัม โดยคุณสมัยมีการให้อาหารหยาบ เช่น เปลือกมะม่วง เปลือกสับปะรด และกล้วย โดยผสมกับอาหารข้นของ SPM 551 เป็นหลัก ส่วนในเรื่องของวัคซีนก็ไม่มีอะไรมาก ให้ทำตามที่กรมปศุสัตว์แนะนำ และนอกจากนี้ปัจจุบันคุณสมัยได้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายอาหารโคเนื้อยี่ห้อ SPM 551 ให้กับเกษตรกรในเครือข่าย เฉลี่ยแล้วอาทิตย์ละ 1 คันรถ ซึ่งจะมี 320 ถุง ถุงละ 30 กิโลกรัม เดือนละ 4 รอบ ต่อฟาร์มที่มาติดต่อซื้อ ถือว่าเป็นรายได้เสริมจากการเลี้ยงโคที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

8.การทำ-ฟาร์มวัว-ควบคู่-ฟาร์มเป็ด-ได้-เนื้อโคขุน-ไข่เป็ด-ผลผลิตคุณภาพ-ส่งนอก
8.การทำ-ฟาร์มวัว-ควบคู่-ฟาร์มเป็ด-ได้-เนื้อโคขุน-ไข่เป็ด-ผลผลิตคุณภาพ-ส่งนอก

การเลี้ยงเป็ดไข่

นอกจากทำฟาร์มโคเนื้อแล้ว  ปัจจุบันอาชีพหลักที่เพิ่มเข้ามาพร้อมกับสร้างรายได้ในระดับที่น่าพอใจให้กับคุณสมัย  คือ “การเลี้ยงเป็ดไข่” คุณสมัยได้เล่าให้ฟังว่า “ส่วนตัวเริ่มการเลี้ยงเป็ดไข่หลังจากเจอวิกฤตโค ซึ่งตอนนั้นมีคนที่มาขอเช่าพื้นที่เลี้ยงเป็ดเขาก็อยากจะขยายพื้นที่เพิ่มจากที่เดิมเขามี เขาก็เลยมาขอเช่าที่ผม ผมก็แบ่งให้เช่า ก็มีการมาสร้างเล้าเป็ดไว้ 4 เล้า สร้างห้องพักสำหรับผู้เช่าไว้เฝ้าเป็ดของตนเอง

ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ผู้เช่าถูกลูกน้องของตนเองที่เป็นแรงงานชาวพม่าฆาตกรรมจนเสียชีวิต ทำให้ลูกสาวของผู้เช่าต้องเข้ามาเป็นคนมาดูแลกิจการต่อ แต่เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยง  ลูกสาวผู้เช่าเลยขายเป็ดไปทั้งหมด เหลือแต่เล้าไว้ เมื่อผมมองดูเล้าเปล่า ผมก็คิดว่าถ้าเกิดผมเข้าไปบริหารเองมันจะบริหารจัดการได้ไม่ยาก  อาจจะเป็นเพราะช่วงก่อนที่เจ้าของเล้าเดิมก่อนจะเสียชีวิตเขาก็ได้สอนผมไว้เยอะ แล้วเขาก็สอนให้ผมเริ่มเลี้ยง 2 เล้า ทุกอย่างได้วางไว้หมดแล้ว เหลือแต่ยังไม่เอาเป็ดมาลงเล้า เขาก็มาเสียชีวิตก่อน ซึ่งช่วงนั้นผมไม่รู้เลยว่าเขาติดต่อกับฟาร์มเป็ดที่ไหนบ้าง จะเอาตลาดไข่ที่ไหน ทีนี้พอเกิดปัญหาผมก็พยายามหาหนทาง หาวิธีแก้ไข แล้วผมก็รู้จักกับหมอที่เป็นปศุสัตว์ หมอก็ได้ติดต่อเรื่องของเป็ดที่จะเอามาลงเล้า ติดต่อกับที่เจ๊นิด รุ่งเรืองฟาร์มเป็ดไข่ ที่มาลงแข็งแรง พร้อมที่จะออกไข่” 

9.โรงเรือนเลี้ยงเป็ดที่ดัดแปลงจากโรงเรือนเลี้ยงวัว
9.โรงเรือนเลี้ยงเป็ดที่ดัดแปลงจากโรงเรือนเลี้ยงวัว

สภาพพื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่

คุณสมัยได้เริ่มเลี้ยงเป็ดไข่มาประมาณปี พ.ศ.2557 เริ่มแรกที่ฟาร์มได้นำเป็ดไข่มาลงประมาณ 6,000 ตัว เริ่มต้นเลี้ยง 2 เล้า ซึ่งคุณสมัยเรียนรู้และศึกษาในเรื่องของการเลี้ยงเป็ดเพิ่มเติม และยังเป็นกรรมการอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงทำให้ได้มีโอกาสได้รู้จักกับอาจารย์หลายๆ ท่าน ชี้แนะและถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงเป็ดไข่ให้กับตนเอนด้วยดีเสมอมา จนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 4 ปี คุณสมัยได้ขยายการเลี้ยงเป็ดเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีเล้าเก่า (เจ้าของที่มาเช่าเดิม) ว่าง 4 เล้า เล้าตนเองอีก 2 เล้า แล้วก็ขยายเพิ่มมาอีก 1 เล้า ปัจจุบันก็มี 7 เล้า รวมเป็ดที่เลี้ยงก็ประมาณ 30,000 กว่าตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในความคิดของคุณสมัย จากการเริ่มเลี้ยงเป็ดไข่ในช่วงตอนแรกคิดว่าเลี้ยงง่าย ไม่ยุ่งยาก ส่วนไข่ตอนนั้นอยู่ที่ราคาฟองละ 4 บาท การจัดการทุกอย่างดูง่าย ราบรื่น และได้กำไร โดยเป็ดหนึ่งตัวได้กำไร 50 บาท แต่ปัจจุบันนี้ ไข่เป็ด เหลือราคาฟองละ 3 บาท จากราคา 4 บาท เป็ดตอนนี้เป็นช่วงขาดทุนอย่างมาก ซึ่งจากเดิมเป็ดที่เคยได้กำไรครั้งละ 15,000 บาท ตอนนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 30,000 บาท ก็ขาดทุนไปครึ่ง/ครึ่ง โชคยังดีที่คุณสมัยเลี้ยงโคไว้ควบคู่กัน พอตอนนี้ตลาดจำหน่ายโคเนื้อเริ่มกระเตื้องขึ้นมาบ้าง จึงต้องผ่องถ่ายนำเอากำไรจากการเลี้ยงโคมาเสริมตรงส่วนที่ขาดทุนในการบริหารจัดการเป็ดไข่

10.ทำการล้างรางน้ำของเป็ด-และให้วิตามินในรางน้ำ
10.ทำการล้างรางน้ำของเป็ด-และให้วิตามินในรางน้ำ

การบริหารจัดการเป็ดไข่

ด้านการจัดการเลี้ยงเป็ดไข่นั้น เป็ดของคุณสมัยเลี้ยงบริเวณพื้นที่แห้ง ในการดูแลแต่ละวันจะดูแลด้วยตัวเอง และมีคนงานดูแลคนละ 1 เล้า ในช่วงเย็นจะทำการล้างรางน้ำของเป็ด ช่วงเช้าก็จะให้วิตามินในรางน้ำ วิตามินนี้จะให้เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งการให้อาหารเป็ดจะให้วันละ 1 รอบ ตามโปรแกรมของตัวเป็ด จากการศึกษากับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ในส่วนด้านการจัดการลงเป็ดไข่ วิธีการนำเป็ดไข่มาลงเลี้ยงที่ฟาร์มควรเลือกเป็ดที่อายุประมาณ 5 เดือนกว่า แต่ที่สำคัญทางฟาร์มต้องทำวัคซีนเรียบร้อย ต้องทำวัคซีนให้ครบ 4 ช็อต  ซึ่งเป็ดหนึ่งตัวราคาประมาณ 150 บาท แล้วพอประมาณ 6 เดือน เป็ดก็จะเริ่มออกไข่ “เป็ดไข่รุ่นแรกจะออกไข่ประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็ดมีการตกใจ ไข่จะลดตั้งแต่วันนั้น เช่น แมว หมา งู เข้าไปในเล้า หรือเกิดไฟดับ สารพัดที่จะเกิดเหตุแล้วทำให้ไข่หด เป็ดตกใจง่ายแล้วไข่หด ในช่วงปีใหม่ที่จุดประทัด เป็ดจะไม่ชอบเสียงที่ดัง นอกจากนี้โรคของเป็ดก็เจอบ้าง บางทีเป็ดเป็นแล้วเขาเพิ่งให้ยา หรือบางทีเป็ดมันก็เป็นก่อนให้ยา พอเป็ดมาอยู่ในเล้าเรา ก็มีการตายวันหนึ่งประมาณ 100-200 ตัว” คุณสมัยกล่าวเสริม

11.เป็ดสาวกำลังเข้าเล้า
11.เป็ดสาวกำลังเข้าเล้า

การให้อาหารเป็ดไข่

ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าการเลี้ยงเป็ดไข่ให้ดูที่น้ำหนักของเป็ดเป็นหลักในการให้อาหารเฉลี่ยออกมา เช่น เป็ดหนัก 6 ขีด ให้กินวันละ 1 ขีด  อย่างไรก็ดีที่ฟาร์มคุณสมัยจะเน้นลงเป็ดสาวเป็นส่วนมาก และจะให้อาหารของ CP กับ SG

โดยให้เป็ด 200 ตัว/1 ถุง โดยการแยกเล้าให้ใช้แต่ละยี่ห้อ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน เพื่อการศึกษาความแตกต่าง หลังจากทดลองให้แล้วความแตกต่างจากการให้อาหารของทั้งสองยี่ห้อไม่มีข้อแตกต่างกันมาก ทุกอย่างใกล้เคียงกันหมด และราคาก็ไม่แตกต่างอีกเช่นกัน

12.โรงฟักไข่ของเป็ด
12.โรงฟักไข่ของเป็ด
ไข่เป็ดฟองโตจากอดุลย์ฟาร์ม
ไข่เป็ด ฟองโตจากอดุลย์ฟาร์ม
เจ้าหน้าที่กำลังทำความสะอาดไข่เป็ด
เจ้าหน้าที่กำลังทำความสะอาด ไข่เป็ด
คุณหนูเจ้าของฟาร์มคัดไข่เอง
คุณหนูเจ้าของฟาร์มคัดไข่เอง

การเก็บ ไข่เป็ด

สำหรับการเก็บไข่ คุณสมัยบอกว่าเป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืดตามแอ่ง ตามมุมต่างๆ ในคอก การเก็บ ไข่เป็ด ซึ่งที่ฟาร์มมีจำนวนมาก จึงทำให้การเก็บไข่ล่าช้า จึงต้องเริ่มเก็บตั้งแต่ตี 4 แล้วนำไข่ที่เก็บมาล้างเช็ดทำความสะอาด แต่ถ้าเมื่อไหร่เป็นช่วงหน้าฝนไข่จะเปื้อนมาก ก็ต้องจ้างคนงานเพิ่ม มาเช็ดล้างเพิ่มขึ้น จึงทำให้ค่าใช้จ่ายมันก็จะสูงขึ้นไปอีก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
13.ไข่เป็ดจะขายแบบเรียงเบอร์
13. ไข่เป็ด จะขายแบบเรียงเบอร์

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่าย ไข่เป็ด และเป็ดไข่

ด้านการทำตลาดและช่องทางจำหน่าย ไข่เป็ด ของ “อดุลย์ฟาร์ม” ไข่จะขายแบบเรียงเบอร์ โดยจะมีการจัดจำหน่ายที่หน้าฟาร์มและส่งขาย ช่วงนี้ ไข่เป็ด เฉลี่ยอยู่ที่ราคา 3 บาท ซึ่งคุณสมัยบอกว่า “การส่งขาย ไข่เป็ด ที่ฟาร์มจะมีรถมาเอาประจำ แล้วไข่เราก็มีคุณภาพ เป็นที่รู้จัก ภายใน 4 ปี ก็มีคนรู้จักทั่วแล้ว ทั่วขนาดไปถึงพม่าแล้ว เขามีคนที่มาจากแม่สอดเข้ามารับ รับคันรถหนึ่งก็ประมาณ 1,200 ตั้ง มาในช่วงที่ไข่เราเยอะนะ แต่ถ้าไข่เราน้อยเราก็ขาย เพราะจะได้ราคาคุ้มกว่า ซึ่งที่พม่าเขารับไข่ทุกอย่างเลย จะไข่อะไรเขาก็เอา แต่จะมารับในราคาที่ถูกกว่า ถ้าเราเหลือไข่เยอะๆ เราก็จะให้เขาได้ แต่ส่วนมากไข่เรามีโควตาของลูกค้า ซึ่งก็จะเข้ามาเอาวันเว้นวันเช่นกัน”

สำหรับเป็ดที่หมดไข่ จะปลดเป็ดในช่วงเป็ดอายุ 12 เดือน โดยคุณสมัยจะนำเป็ดขายให้กับคนที่มารับซื้อ จะมีคนงานมาจับเป็ด ราคาตัวละ 50 บาท ซึ่งขาดทุนจากตอนซื้อเป็ดมาตัวละ 100 บาท แต่ทางฟาร์มก็ได้ ไข่เป็ด มาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ผู้ซื้อเป็ดก็จะเอาเป็ดไปเลี้ยงไล่ทุ่งต่อ จนขนเต็ม เป็ดสมบูรณ์ดีแล้ว ก็จะส่งขายเข้าเล้าอีกที ซึ่งจะเรียกกันว่า “ขายเป็ดลังสอง”

14.โรงเรือนเลี้ยงเป็ดไข่
14.โรงเรือนเลี้ยงเป็ดไข่

เป้าหมายและแผนการบริหารฟาร์ม

เมื่อถามถึงเป้าหมายและแผนการบริหารจัดการฟาร์ม “อดุลย์ฟาร์ม” คุณสมัยเปิดเผยว่าในอนาคตคิดว่าจะขยายการเลี้ยงโคจากเดิมที่มี 100 ตัว จะเพิ่มให้มี 500-600 ตัว ส่วนในเรื่องของเป็ดไข่ก็จะดำเนินการขยายเล้าเพิ่ม แต่ก็ต้องดูกลไกของการตลาด และราคาไข่เป็ดประกอบไปด้วย

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ไข่เป็ดมีแนวโน้มทางตลาดทั้งปีนี้ไม่ดีนัก คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจะโตขึ้นอีกครั้งในอนาคต ซึ่งตอนนี้เริ่มจะมีผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาในทางด้านการตลาดได้เช่นกัน ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการของแต่ละฟาร์มที่จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

15.คุณสมัยและครอบครัว
15.คุณสมัยและครอบครัว เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน

ฝากถึงเกษตรกรที่จะเลี้ยงโคขุน และเป็ดไข่

ในตอนท้าย “บังดุลย์” หรือคุณสมัย เจ้าของ “อดุลย์ฟาร์ม” ยังกล่าวฝากถึงพี่น้องเกษตรกรด้วยว่า “ปัจจุบันตนเองทำการเลี้ยง ทั้งโคขุน และเป็ดไข่ เป็นอาชีพหลักที่ควบคู่กันไป เป็นการส่งเสริมรายได้อีกทาง แถมยังเป็นการถ่วงดุลรายได้

อย่างไรก็ตามการทำฟาร์มแต่ละอย่างย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเจอปัญหาอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขปัญหา หรือเตรียมรับมือ อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถยืนระยะในอาชีพทำฟาร์มปศุสัตว์อย่างมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืน อยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ผมขอเป็นกำลังใจ และเอาใจช่วยทุกท่านครับ”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณ  คุณสมัย เดวาหมัด เจ้าของอดุลย์ฟาร์ม (ฟาร์มวัวและเป็ด) 109 หมู่ 6 ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน เนื้อโคขุน