ปลูกผักในน้ำ ผักไร้ดิน ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ แบบ Young smart farmer

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลูกผักในน้ำ ผักไร้ดิน ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ แบบ Young smart farmer

ด้วยกระแสการรักษ์สุขภาพที่กำลังมาแรง และเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ส่งผลให้ ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ที่รู้จักกันดีว่าเป็นการ ปลูกผักในน้ำ หรือการ ผักไร้ดิน โดยที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในน้ำ เพราะในน้ำมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชที่นำไปใช้ได้ทันที

อีกทั้งยังเป็นวิธีการปลูก ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ที่ค่อนข้างมีคุณภาพ เพราะการปลูกผักด้วยระบบนี้จะมีการจัดการที่ค่อนข้างละเอียด การเอาใจใส่ที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ นับว่าเป็นนวัตกรรมในการปลูกพืชผักให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตที่มีคุณภาพ ประหยัดพื้นที่ และช่วยลดการปนเปื้อนของสารเคมีที่อยู่ในดินได้ดี

จึงทำให้สารเคมีไม่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ที่ปลูกด้วยวิธีนี้ทำให้ผักที่ได้มีความสะอาดกว่า สดกว่า น่ารับประทานกว่า ที่สำคัญผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานสด เป็นสลัดผักเพื่อเพิ่มเส้นใยและคุณค่าทางโภชนาการ

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com โทร.08-6042-8008

1.คุณกนกวรรณ-อยู่สุข-เจ้าของฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์-จ.ระยอง
คุณกนกวรรณ-อยู่สุข-เจ้าของฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์-จ.ระยอง young smart farmer

จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการเกษตร และเป็นครูสอนโยคะ

คุณกนกวรรณ อยู่สุข คนรุ่นใหม่หัวใจเกษตร ที่รักอิสรภาพ และสนใจการทำเกษตรเชิงคุณภาพเพื่อยกระดับชีวิตเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ด้วยการเลือก อาชีพการเกษตร ทำเกษตร และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Young Smart Farmer Rayong (เกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดระยอง) ที่มุ่งเน้นการทำเกษตรแบบประยุกต์ ทั้งวิธีการเดิมที่ครอบครัวเคยทำนา ประกอบกับการศึกษาหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาวงการเกษตร เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่หัวใจเกษตรอย่างแท้จริง อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร

คุณวรรณจึงเริ่มต้นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์อย่างจริงจัง มีการเข้าร่วมฟังการบรรยายจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น โครงการอบรมอาชีพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการผันตัวเข้าสู่วงการเกษตรอย่างเต็มตัว จากเดิมที่เคยทำงานในบริษัท ที่ต้องทนกับแรงกดดัน และข้อจำกัดหลายด้าน young smart farmer young smart farmer young smart farmer young smart farmer

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

2.การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปลูกผักในน้ำ ผักไร้ดิน แบบ young smart farmer

ต้นทุนค่าโรงเรือน ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ 

จากนั้นคุณวรรณได้เริ่มต้นสร้างโรงเรือนเพื่อ ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้ชื่อ “ใบผักฟาร์ม” จากการออกแบบโต๊ะปลูกกันเองของคนในครอบครัว ซึ่งสามารถช่วยประหยัดเงินลงทุนได้ค่อนข้างมาก แต่ไม่เหมาะกับการปลูก ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ในฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนจัด

จึงตัดสินใจซื้อระบบโต๊ะปลูกสำเร็จรูปเข้ามาติดตั้งก่อนประมาณ 3 โต๊ะปลูก และเลือกรูปแบบระบบน้ำลึก Dynamic Root Floating Technique (DRFT) ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 120,000 บาท หรือประมาณ 40,000 บาท/โต๊ะปลูก

3.จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการเกษตร และเป็นครูสอนโยคะ
จุดเริ่มต้นของ อาชีพการเกษตร และเป็นครูสอนโยคะ

 

4.โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผักไร้ดิน

ชนิดของผักสลัดที่ปลูกมีทั้งหมด 4 ชนิด

จากการเรียนรู้ และลองผิดลองถูก จนถึงปัจจุบัน เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว จากเดิมมีจำนวน 3 โต๊ะปลูก ปัจจุบันทางฟาร์มได้ขยายเพิ่มขึ้น จนตอนนี้มีอยู่ทั้งหมด 8 โต๊ะปลูก ปลูกสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเพื่อให้มีผลผลิตออกจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง young smart farmer young smart farmer young smart farmer

โดยคุณวรรณกล่าวว่า “คุณวรรณทำเองทุกขั้นตอน และแรงงานส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว อีกทั้งทางด้านการตลาดอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแกลง จึงค่อยๆ ทำการขยายตามความต้องการของตลาด และเพื่อคงความสดใหม่ของผักสลัดที่ผู้บริโภคจะได้รับ”

ซึ่งชนิดของผักสลัดที่คุณวรรณปลูกมีทั้งหมด 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมและรู้จักกันในตลาดเป็นอย่างดี เช่น

  • กรีนโอ๊ค
  • เรดโอ๊ค
  • บัตเตอร์เรด
  • และฟิลเล่ย์ฯ

 

5.ชนิดของผักสลัดที่ปลูก
ชนิดของผักสลัดที่ปลูก

 

6.กระบวนการผลิตผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
กระบวนการผลิตผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์

กระบวนการผลิตผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์

ด้านกระบวนการผลิตผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ หรือ ปลูกผักในน้ำ จะมีขั้นตอนหลักๆ อาจจะไม่แตกต่างจากการปลูกผักสลัดด้วยดินมากนัก เริ่มต้นจากการ “เพาะเมล็ดพันธุ์ผักสลัด” ลงบนฟองน้ำปลูกที่คุณวรรณจะเพาะสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ผักสลัดที่ผลิตขึ้นภายในประเทศจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยตรง รวมถึงยังเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ของผักสลัดชนิดต่างๆ เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศของประเทศไทยได้ดีอีกด้วย วางถาดเพาะในที่มืดและชื้น 2-3 วัน หรือจนกว่าจะเริ่มงอก

โดยอัตราการงอกของเมล็ดที่เพาะนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของผักแต่ละตัวที่มีปริมาณการงอกของผัก 90% ขึ้นไป ส่วนการเพาะในแต่ละรุ่นแต่ก่อนประมาณ 7 วัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อตลาด จึงลดเหลือ 3 วันครั้ง หลังจากนั้นย้ายถาดเพาะออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดรำไร ก็จะค่อยผลิใบเลี้ยงออกมา

เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 14 วัน จึงย้ายลงโต๊ะปลูก หลังจากประมาณ 3 สัปดาห์ ผักสลัดก็จะสามารถเก็บบริโภค หรือจำหน่ายได้

7.การดูแล-ให้ปุ๋ย-ให้น้ำ
ปลูกผักในน้ำ ผักไร้ดิน การดูแล-ให้ปุ๋ย-ให้น้ำ

การดูแล-ให้ปุ๋ย-ให้น้ำ ผักไร้ดิน อาชีพการเกษตร

ส่วนการดูแลและให้ปุ๋ย ในช่วงสัปดาห์แรกที่ย้ายต้นกล้าลงโต๊ะปลูกแล้ว จะให้ธาตุอาหาร A และ B ธาตุอาหารทั้ง 2 ชนิด จะใส่ไม่พร้อมกัน โดยจะใส่ธาตุอาหาร A ก่อนให้ทั่วทั้งโต๊ะ โดยใช้ระยะเวลาการให้ห่างกันก่อน ใส่ธาตุอาหาร B ซึ่งจะใส่เป็นระยะเวลาเช้าหรือเย็นก็ได้ หรือประมาณ 20 นาที โดยมีการใส่ประมาณ 2 ลิตร/โต๊ะปลูก เว้นระยะอีก 3-4 วัน ใส่ธาตุอาหารเพิ่มอีก 1 ลิตร

โดยทางคุณวรรณจะเน้นจากการสังเกตจากสีของใบผักสลัดเป็นสำคัญ จึงค่อยเติมธาตุอาหารเพิ่ม การดูแลเรื่องโรคนั้น หน้าฝนก็ต้องระวังใบจุด หากพบหนอนกัดกินในปริมาณไม่มากก็จะจับใส่ขวดพลาสติกไว้ หากพบมีการระบาดค่อนข้างมากก็จะฉีดยาฆ่าแมลง โดยจะใช้ตั้งแต่ย้ายต้นกล้าลงโต๊ะปลูกก็จะฉีดยาทันที

หลังจากนั้นพอโตก็จะไม่มีการฉีดยา แต่จะเก็บหนอนใส่ขวดพลาสติกแทนการฉีดยา แต่ต้นที่ปลูกประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะฉีดสะเดาไล่แมลง ก็จะมีการฉีดบ้าง แต่ไม่บ่อย ส่วนเพลี้ยไฟนั้นก็จะมีขั้นตอนอากาศร้อน นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องรากเน่า โคนเน่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งแต่ละฤดูก็จะมีปัญหาเรื่องโรคที่แตกต่างกันออกไป ระยะเวลาในการเลี้ยงทุกรุ่นก็จะอยู่ที่ประมาณ 30 วัน แต่จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ทั้งนี้คุณวรรณยังเน้นอีกด้วยว่าการจดบันทึกการทำงานในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน

8.การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์
การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์

การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์

ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผลผลิตสัปดาห์ละประมาณ 25-30 กิโลกรัม โดยคำนวณต่อโต๊ะปลูก โดยทางฟาร์มจะมีลูกค้าประจำจองไว้ทุกวัน ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นร้านอาหารเป็นหลัก ส่วนราคาที่จำหน่ายกิโลกรัมละ 120 บาท ราคาขายนี้สำหรับผักสลัดทั้ง 4 ชนิด และทางฟาร์มขายราคาเดียวตลอดทั้งปี

ส่วนต้นทุนการผลิตคิดแค่เมล็ดพันธุ์ ฟองน้ำ โฟม พลาสติก ซึ่งอยู่ได้ถึง 5-10 ปี ซึ่งไม่มีปัญหาต่อต้นทุนมากนัก ส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกครั้ง ทางฟาร์มก็จะล้างแปลงเพื่อลงรอบใหม่

คุณวรรณกล่าวว่า “เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและลูกค้ามากยิ่งขึ้น จึงได้ยื่นเรื่องขอการรับรองระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และได้ผ่านการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา”

9.การตลาดผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์
การตลาดผลผลิต ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์

การตลาดของผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์

ด้านการตลาด ณ ตอนนี้ผักสลัดเป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีความนิยมบริโภคมากขึ้น “ความต้องการใช้และบริโภคผักสลัดมีอยู่เรื่อยๆ ยิ่งฤดูร้อน อากาศที่ร้อนจัด การดูแลและปลูกค่อนข้างยากกว่าฤดูอื่นๆ จึงทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง จึงทำให้ผักสลัดจะมีราคาสูงในช่วงนี้

ส่วนตลาดหลักๆ ก็จะอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก ถ้าเป็นในจังหวัดโซนท่องเที่ยวทางภาคตะวันออกก็มีความต้องการเป็นจำนวนมากอยู่เหมือนกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะมาซื้อเองถึงที่ฟาร์ม”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยคุณวรรณเผยว่า “การที่ได้มาทำอาชีพนี้มีอิสระกว่างานที่เคยทำมาทั้งหมด ได้เป็นนายตัวเอง ได้ใช้ชีวิตแบบไม่ต้องเร่งรีบไปทำงาน มีอากาศดี และมีความสุขกับทุกวันที่ได้ทำในสิ่งที่รัก และได้อยู่กับครอบครัวที่รัก แค่นี้ก็สุขเพียงพอแล้ว”

สนใจผักสลัดคุณภาพ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณกนกวรรณ อยู่สุข เลขที่ 59 ม.7 ต.ห้วยยาง อ.แกลง จ.ระยอง 21110 ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com โทร.08-6042-8008

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผักไร้ดิน ปลูกผักในน้ำ ปลูกผักไม่ใช้ดิน วิธีปลูกผักไร้ดิน youngsmartfarmer อาชีพการเกษตร ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์