กลุ่มสมอทองเปิดตัว โรงสกัดน้ํามันปาล์ม หวังยกระดับรายได้ชาวสวนปาล์มในพื้นที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 จากการควบรวมกิจการของบริษัท สมอทอง น้ำมันปาล์ม จำกัด, บริษัท สมอทองปาล์ม 2 จำกัด, บริษัท สมอทองปาล์ม 3 จำกัด และ บริษัท สมอทองปาล์ม 4 (สระบุรี) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ดำเนินธุรกิจการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจด้านโรงสกัดน้ำมันปาล์มให้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามภายในระยะเวลาเพียง 9 ปี

การันตีด้วยรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ประจำปี 2557 และการบริหารงานคุณภาพ ประจำปี 2558 และ 2560 เป็นโรงงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ธุรกิจของกลุ่มสมอทองเติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะผู้เชี่ยวด้านการก่อสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบเกรด A ภายใต้ Know How ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำไปสู่การเดินหน้าก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A ภายใต้กลุ่มสมอทองไปแล้ว 4 แห่ง ทั่วประเทศ

โดยโรงสกัดน้ำมันปาล์มแห่งล่าสุด ซึ่งเป็นสาขาที่ 4ได้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ภาคกลาง ณ ต.หนองโรง อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่ง ยกระดับอาชีพ และรายได้ ชาวสวนปาล์มทั้งในและนอกพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

1.บริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด-ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น-ปี-พ.ศ.2560
1.บริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด-ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น-ปี-พ.ศ.2560
2.คุณกิตติพงษ์-พวงมาลา-ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-CEO-บริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด
2.คุณกิตติพงษ์-พวงมาลา-ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-CEO-บริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด

คุณกิตติพงษ์ พวงมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด

คุณกิตติพงษ์ พวงมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด ได้เปิดเผยถึงเส้นทางในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มสมอทองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อนนำไปสู่การจัดตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A แห่งที่ 4 กำลังการผลิต 30 ตันทะลาย/ชม.ในพื้นที่ ต.หนองโรง อ.หนองแค จ.สระบุรี

โดยคุณกิตติพงษ์ยอมรับว่าจุดเริ่มต้นของกลุ่มสมอทองเกิดจากการก่อตั้งบริษัทรับจ้างก่อสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์มให้กับผู้ประกอบการไทยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในนาม บริษัท กระบี่เอสแอนด์เคเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวของคุณกิตติพงษ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้บริษัทยังรับเป็นที่ปรึกษาด้านโรงสกัดน้ำมันปาล์มให้กับหลายบริษัทของไทยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินเครื่อง ตลอดจนการบริหารจัดการภายในโรงงาน ซึ่งแต่ละบริษัททั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางจะมีปัญหาที่แตกต่างกันก่อนไปสู่การแก้ไข จนกระทั่งเกิดเป็นประสบการณ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจที่กลายเป็นจุดแข็งในเวลาต่อมา

3.โรงสกัดน้ำมันปาล์มกลุ่มสมอทองที่-อ.ท่าชนะ-จ.สุราษฎร์ธานี
3.โรงสกัดน้ำมันปาล์มกลุ่มสมอทองที่-อ.ท่าชนะ-จ.สุราษฎร์ธานี
หม้อนึ่งแนวตั้ง-ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านการสกัดน้ำมันปาล์ม
หม้อนึ่งแนวตั้ง-ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านการสกัดน้ำมันปาล์ม

การสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์มที่ จ.สุราษฎร์ธานี

หลังจากนั้นคุณกิตติพงษ์จึงมีแนวคิดที่จะสร้าง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม ด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นที่มาในการร่วมทุนกับหุ้นส่วนเพื่อสร้าง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม ที่ทันสมัยขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2552 ที่รู้จักกันดีในนาม บริษัท สมอทองน้ำมันปาล์ม จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็น โรงสกัดน้ํามันปาล์ม เกรด A มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 60 ตันทะลาย/ชม. หรือประมาณ 1,300 ตัน/วัน และยังเป็นโรงแรกของไทยที่ได้นำเอาเทคโนโลยี “หม้อนึ่งไอน้ำแนวตั้ง” เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ

เนื่องจากมีต้นทุนค่าซ่อมบำรุงที่ต่ำกว่า การบริหารจัดการง่ายกว่า เพราะโรงงานเน้นการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนมีระบบสายพานลำเลียงเข้ามาทดแทนการใช้แรงงานที่ช่วยให้การจัดการภายในโรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือจะมีเพียงพนักงานคอยตรวจสอบเครื่องจักรในแต่ละจุดที่ทำให้โรงสกัดสะอาดกว่า และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าโรงสกัดทั่วไป

ดังนั้นโรงสกัดแห่งนี้จึงเป็นโรงสกัดแห่งแรกที่คุณกิตติพงษ์ได้มีการนำเอาทุกจุดเด่น ทุกข้อด้อย จากประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ผ่านมาที่ได้ทำการขยายและต่อเติมให้กับโรงสกัดอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน ก่อนจะนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาต่อยอดเป็นโรงสกัดที่มีประสิทธิภาพต่อไป

หลังจากนั้นเพียง 3 ปี หรือในปี พ.ศ.2555 กลุ่มสมอทองได้มีการขยายโรงงานเป็นแห่งที่ 2 ในนาม บริษัท สมอทองปาล์ม 2 จำกัด ที่มีกำลังการผลิต 75 ตันทะลาย/ชม. หรือประมาณ 1,500 ตัน/วัน อีกทั้งยังเป็นโรงสกัดที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบมากกว่าโรงแรก เนื่องจากได้มีการแก้ไขในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงสกัดแห่งแรก ทั้งด้านระบบและเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญที่สุด คือ ธุรกิจอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันยังเป็นอุตสาหกรรมหลักของภาคใต้อีกด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ.2556 กลุ่มสมอทองมีแผนที่จะก่อตั้ง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม ขึ้นในเป็นแห่งที่ 3 ในนาม บริษัท สมอทองปาล์ม 3 จำกัด ตั้งอยู่ที่ ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการก่อสร้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.เกษตรกรนำผลผลิตปาล์มทะลายเข้ามาจำหน่ายให้กับโรงงาน
4.เกษตรกรนำผลผลิตปาล์มทะลายเข้ามาจำหน่ายให้กับโรงงาน
ทะลายปาล์มเปล่าภายในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
ทะลายปาล์มเปล่าภายในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม

ด้านการจัดหาวัตถุดิบปาล์มทะลายเข้าสู่กระบวนการผลิต เนื่องจากโรงสกัดไม่มีสวนปาล์มน้ำมันเป็นของตนเอง เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากการพัฒนาเครื่องจักร จึงมุ่งเน้นการเข้าไปสร้างลานเทของบริษัทกระจายไปทุกพื้นที่ เพื่อจัดหาปาล์มคุณภาพเข้าสู่โรงงานเป็นหลัก ทำให้บริษัทมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้บริษัทยังมีโครงการพัฒนาและส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มน้ำมันหันมา “ทำปาล์มคุณภาพ” ในระบบ RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ที่ครอบคลุมมิติความยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้าน สังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากที่สุดขณะนี้ ที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน ทั้งชาวสวนปาล์ม โรงสกัด และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย

5.กลุ่มสมอทองเปิดตัว โรงสกัดน้ำมันปาล์ม หวังยกระดับรายได้ชาวสวนปาล์มในพื้นที่
5.กลุ่มสมอทองเปิดตัว โรงสกัดน้ำมันปาล์ม หวังยกระดับรายได้ชาวสวนปาล์มในพื้นที่

กระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม

อีกทั้งบริษัทยังให้ความสำคัญกับชุมชน และสภาพแวดล้อมบริเวณรอบโรงงาน เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของกลิ่น จึงมีระบบบริหารจัดการ “น้ำเสีย” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม โดยนำไปหมักในบ่อ cover lagoon ให้เกิดก๊าซชีวภาพ เพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งขายให้กับภาครัฐแบบ 100%

ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์หลัก อย่าง “น้ำมันปาล์มดิบ (CPO)” ของกลุ่มสมอทอง จะเน้นส่งขายให้กับลูกค้าภายในประเทศ ทั้งภาคน้ำมันบริโภค และไบโอดีเซล ประกอบกับการปรับปรุงไลน์กระบวนการผลิตอยู่ตลอดเวลา จะทำให้การสูญเสียน้ำมันในระหว่างกระบวนการผลิตค่อนข้างน้อยมาก รวมไปถึงการจำหน่าย “เมล็ดในปาล์ม (PKS)” ให้กับกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล เป็นหลัก

6.โรงสกัดน้ำมันปาล์มจังหวัดสระบุรี-แห่งที่-4-ของกลุ่มสมอทอง
6. โรงสกัดน้ํามันปาล์ม จังหวัดสระบุรี-แห่งที่-4-ของกลุ่มสมอทอง

การก่อตั้ง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม แห่งที่ 4 จ.สระบุรี

ล่าสุดกลุ่มสมอทองได้ก่อตั้ง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม แห่งที่ 4 ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.หนองโรง อ.หนองแค จ.สระบุรี มีกำลังการผลิต 30 ตันทะลาย/ชม. หรือประมาณ 400-500 ตัน/วัน ส่วนที่มาในการจัดตั้ง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม ขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ นั่นเป็นเพราะเดิมทีคุณกิตติพงษ์เป็นคนสระบุรี ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ภาคใต้นานกว่า 20 ปี

แต่ทว่าคุณกิตติพงษ์จะต้องมาที่จังหวัดสระบุรีทุกปี และเห็นว่าในพื้นที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันค่อนข้างมาก เกษตรกรปลูกปาล์มแล้วให้ผลผลิตที่ดี 5-6 ตัน/ไร่/ปี เพราะเดิมเป็นชาวสวนส้มเก่าที่เข้าใจเรื่องดินและธาตุอาหารเป็นอย่างดี ที่สำคัญชาวสวนปาล์มเน้นตัดปาล์มสุก ทำปาล์มคุณภาพ จึงเป็นแรงจูงใจทำให้สร้างโรงสกัดแห่งที่ 4 ขึ้นมา เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่งให้กับชาวสวนในพื้นที่ได้ดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งยังสามารถรองรับผลผลิตจากชาวสวนปาล์ม ทั้งภาคอีสาน และภาคเหนือ ได้เป็นอย่างดี “การปรับตัวของชาวสวนอันดับแรกคือการดูแลสวนและการควบคุมการตัดปาล์มให้มีคุณภาพ ทำปาล์มคุณภาพ ตัดปาล์มสุก ได้น้ำหนักดี เพิ่มผลผลิตต่อไร่ต่อปีให้ได้ เพื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่โรงงานผลิตก็ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ดีด้วย

เรื่องสายพันธุ์ภาครัฐต้องเข้ามาตรวจสอบถึงความเหมาะสมกับปลูกในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาค เช่นเดียวกับโรงงานปาล์มของกลุ่มสมอทองที่ต้องการวัตถุดิบปาล์มทะลายประมาณ 3.5 แสนตัน/ปีเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ หรือต้องมีพื้นที่ถึง 1 แสนไร่ ให้ผลผลิต 3.5 ตัน/ไร่/ปี

หากคุณภาพสวนปาล์มของชาวสวนปาล์มไม่ดีอาจต้องใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 แสนไร่ แต่ถ้าหากผลผลิตชาวสวนมีคุณภาพดี ให้ผลผลิต 4 ตัน/ไร่/ปี ตัดปาล์มสุกจะช่วยลดพื้นที่ทำสวนปาล์มให้เหลือเพียง 8.7 หมื่นไร่ ได้วัตถุดิบ 3.5 แสนตัน นั่นหมายความว่าการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของชาวสวนจะทำให้ชาวสวนปาล์มมีรายได้เพิ่มขึ้น พึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องรอเรียกร้องราคาจากภาครัฐ

โรงงานได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ เพราะสุดท้ายแล้วโรงงานกับชุมชนต้องอยู่ร่วมกันได้ในฐานะเกษตรกร และอุตสาหกรรมเกษตร ที่โรงงานต้องปรับปรุงเครื่องจักรไม่ให้มีมลภาวะ หรือส่งผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด” ผู้บริหารกลุ่มสมอทองกล่าว

7.คุณณัฐวุฒิ-โกศลวรวัฒนกุล-ผู้จัดการบริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด-สาขา-4-สระบุรี
7.คุณณัฐวุฒิ-โกศลวรวัฒนกุล-ผู้จัดการบริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด-สาขา-4-สระบุรี

คุณณัฐวุฒิ โกศลวรวัฒนกุล ผู้จัดการ บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด สาขา 4 (สระบุรี)

นอกจากนี้ คุณณัฐวุฒิ โกศลวรวัฒนกุล ผู้จัดการ บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด สาขา 4 (สระบุรี) ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจของกลุ่มสมอทอง และเจ้าของสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่กว่า 600 ไร่ ได้ยืนยันว่าวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้ง โรงสกัดน้ํามันปาล์ม แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อยกระดับรายได้ของชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง เป็นทางเลือกให้กับชาวสวนปาล์ม และเป็นโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มสมอทอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภายใต้กระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นเครื่องจักรใหม่ทั้งหมด ที่บางส่วนผลิตเองในประเทศไทย และอีกบางส่วนยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อให้กระบวนการผลิตภายในโรงสกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงงานตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่าร้อยไร่ ใช้เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้นกว่า 300 ล้านบาท เน้นใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิตที่ควบคุมระบบด้วยตู้คอนโทรล โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมเครื่องจักรแต่ละจุดเพื่อตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

8.การอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตของบริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด
8.การอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตของบริษัท-กลุ่มสมอทอง-จำกัด
สภาพพื้นที่ในโรงงานที่ค่อนข้างสะอาด-ไม่มีน้ำมันหยดลงพื้นที่
สภาพพื้นที่ในโรงงานที่ค่อนข้างสะอาด-ไม่มีน้ำมันหยดลงพื้นที่

การอบรมและให้ความรู้ สูญเสียน้ำมันปาล์มเป็นศูนย์ 

โดยพนักงานทั้งหมดจะถูกส่งเข้าไปอบรมกับบริษัทแม่ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อโรงสกัดสระบุรีเริ่มเดินเครื่องจะมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทแม่เข้ามาช่วยฝึกทักษะพนักงานใหม่ให้เกิดความชำนาญ แต่วันนี้ต้องยอมรับว่าผลผลิตที่เข้าสู่โรงงานยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 50% เท่านั้น

ดังนั้นทางบริษัทฯ จะช่วยส่งเสริมการปลูกปาล์มให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วย โรงสกัดแห่งนี้จะเป็นเครื่องจักรใหม่ที่ทันสมัยแล้ว ยังมีการสูญเสียน้ำมันปาล์มในระหว่างกระบวนการผลิตเป็นศูนย์ เพราะมีแผนกควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ทำให้ทุกพื้นที่ของโรงสกัดค่อนข้างสะอาด ไม่มีคราบน้ำมันปาล์มหยดเปื้อนลงพื้น มีการใช้พลังงานที่ต่ำมาก และยังมีค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ต่ำอีกด้วย

การสร้างโรงสกัดแห่งนี้ค่อนข้างออกแบบทั้งโครงสร้างและเครื่องจักรยากกว่าทุกโรงสกัดในกลุ่มสมอทอง เพราะทีมงานต้องย่อขนาดโรงสกัดให้เล็กกว่าของเดิมที่เคยทำมาก่อน ดังนั้นทีมงานจึงต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการวางโครงสร้างและเครื่องจักรให้เหมาะสมกับที่นี่ ที่ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างโรงสกัดเป็นเวลา 1 ปี” คุณณัฐวุฒิกล่าว

9.หม้อนึ่งจำนวน-2-หม้อนึ่ง-กำลังการผลิต-25-ตันทะลายต่อครั้ง
9.หม้อนึ่งจำนวน-2-หม้อนึ่ง-กำลังการผลิต-25-ตันทะลายต่อครั้ง

ขั้นตอนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ

ส่วนขั้นตอนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบคุณภาพ (CPO) นั้น เริ่มต้นจากชาวสวนปาล์มนำผลผลิตเข้ามาขายให้กับโรงงาน ณ ตรงลานของโรงงาน หลังจากนั้นจะใช้เครื่องจักรดันผลปาล์มทะลายลงไปยังสายพานลำเลียงเพื่อลำเลียงผลปาล์มทะลายเข้าสู่หม้อนึ่ง “แนวตั้ง” คราวละ 25 ตัน/ครั้ง/หม้อนึ่ง ที่มีทั้งหมด 2 หม้อนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการอบปาล์มทะลาย 30 นาที/ครั้ง

เนื่องจากปาล์มทะลายที่ส่งเข้าโรงงานส่วนใหญ่เป็นปาล์มคุณภาพ ปาล์มตัด ปาล์มสุก จากชาวสวนมืออาชีพ ดูแลรักษาปาล์มตามหลักวิชาการ ที่สำคัญการอบปาล์มทะลาย 1 ตัน จะต้องใช้น้ำประมาณ 600 ลิตร เลยทีเดียว  หลังจากนึ่งปาล์มสุกแล้วจะต้องลำเลียงผลผลิตเข้าสู่ “เครื่องแยกทะลายกับเมล็ด” ให้ออกจากกัน เพื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบตามขั้นตอนที่ให้ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำมันอยู่ที่ 18-19% มีราคารับซื้อหน้าโรงสกัดที่ 3.90 บาท/กก. (เมื่อวันที่ 14 ก.ค.61) โดยบริษัทจะพยายามพยุงราคาไม่ให้ต่ำเกินไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งยังมีแผนจะส่งเสริมเกษตรกรหันมาทำปาล์มคุณภาพในระบบ RSPO ด้วย รวมไปถึงโรงสกัดแห่งนี้ยังมีของเสียเป็นศูนย์ เช่น น้ำเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตจะนำลงไปหมักในบ่อไบโอแก๊ส โดยบริษัทมีแผนที่จะขยายบทบาทส่วนนี้ในอนาคตด้วย

ทะลายปาล์มเปล่าจะขายให้กับกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มเชื้อเพลิง ที่ 350 บาท/ตัน เส้นใยและกะลาปาล์มยังต้องนำไปใช้ในโรงสกัด เพราะยังมีปริมาณน้อย ในขณะที่ “ขี้เค๊ก” จะขายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงวัวนม และวัวเนื้อ ในพื้นที่เป็นหลัก อยู่ที่ 300 บาท/ตัน ดังนั้น โรงสกัดน้ํามันปาล์ม จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นโรงสกัดแห่งที่ 4 ของกลุ่มสมอทอง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับเกษตรกรและลานเทที่สนใจนำผลผลิตเข้ามาจำหน่ายได้เป็นอย่างดี

10.สำนักงาน-ณ-โรงสกัด-แห่งที่-4-ที่-อ.หนองแค-จ.สระบุรี
10.สำนักงาน-ณ-โรงสกัด-แห่งที่-4-ที่-อ.หนองแค-จ.สระบุรี

การวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้คุณกิตติพงษ์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมในฐานะผู้บริหารกลุ่มสมอทองว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการในอนาคต โดยหลังจากควบบริษัทเมื่อต้นปี 2560 แล้ว ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารให้มีความสอดคล้องและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

โดยฝ่ายบริหารของกลุ่มสมอทองมุ่งเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ ผ่านการสั่งการจากสำนักงานใหญ่เป็นหลัก ทั้งเรื่องการผลิต การควบคุมคุณภาพ ที่ต้องมีการประชุมหัวหน้าฝ่ายทุกเดือน เพื่อความเป็นเอกภาพด้านการบริหารจัดการ อีกทั้งยังได้ให้มุมมองภาพรวมของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยไว้ว่าภาครัฐควรแสดงปริมาณการใช้ในประเทศให้สอดคล้องกับการผลิตภายในประเทศ และควรเปิดให้มีการแข่งขันแบบเสรี ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีอาชีพที่มั่นคง นำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำนักงานใหญ่ 119 ม.10 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 84710โทร.077-951470 แฟกซ์.077-951471

สำนักงานสาขาสระบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

33/3 หมู่ 1 ต.หนองโรง อ.หนองแค จ.สระบุรี 18140 โทร.036-679902-8 แฟกซ์.036-679901