วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด พันธุ์ทองแดงและทองดำ ควบคู่การทำไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงจิ้งหรีด

“อาหาร” เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ และเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อาหารที่อุดมด้วยโภชนาการ คือ สิ่งที่มนุษย์ต้องการและแสวงหา ในขณะเดียวกันมนุษย์สามารถรับประทานอาหารได้หลากหลาย นอกจากพืชแล้วยังมีสัตว์อีกหลายชนิด รวมถึง “แมลง” บางชนิด ที่สามารถนำมาประกอบเป็นอาหาร ให้คุณค่าทางอาหารสูง วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด

แมลงเป็นอาหารแหล่งโปรตีน รวมถึงไขมัน และคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารสำหรับทางเลือกของคนท้องถิ่นทั่วไปที่นิยมบริโภค เป็นอาหารว่าง หรืออาหารหลัก สามารถทำได้ทั้งนั้น ดังนั้นการทำในรูปแบบฟาร์มเลี้ยงแมลงจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร อาจอยู่ในรูปแบบเกษตรกรรายย่อย หรือพัฒนาสู่อุตสาหกรรม เพื่อรองรับประชากรโลกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

1.การเลี้ยงจิ้งหรีด
1.การเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด 

ในประเทศไทยมีอัตราการบริโภคแมลงสูง สังเกตได้จากร้านค้าตามตลาดนัดทั่วไปมีทอดขายให้เห็นกันแทบทุกตลาดหลากหลายเมนู อีกทั้งราคาไม่แพง และหาซื้อง่าย เพราะฉะนั้นทีมงานนิตยสารสัตว์บกจะพาท่านผู้อ่านไปพบกับการเลี้ยงแมลง อย่าง “จิ้งหรีด” ในรูปแบบฟาร์ม

2.คุณสุวรรณ-มั่นต่าย-และคุณแม่
2.คุณสุวรรณ-มั่นต่าย-และคุณแม่ วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด

การเพิ่มอัตราการผลิต

สุวรรณจิ้งหรีดฟาร์ม เป็นอีกหนึ่งฟาร์มที่เริ่มต้นจากการเลี้ยงไว้เล่นๆ เพื่อกินเอง เพราะเป็นคนชอบกินจิ้งหรีดเป็นทุนเดิม แต่เมื่อมีผู้ติดต่อขอซื้อ เริ่มมองเห็นช่องทางในการสร้างรายได้ จึงขยายเพิ่มอัตราการผลิต จากเดิมที่มี 2 กล่อง ทำจากแผ่นยิปซั่มขนาดความกว้าง 1.20 เมตรxยาว 2.40 เมตร เพิ่มเป็น 30 กล่อง ทำให้สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้มากขึ้น

คุณสุวรรณ มั่นต่าย อายุ 32 ปี ดูแลและเป็นเจ้าของฟาร์ม โดยยึดการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม ตลอดระยะเวลา 2 ปี เนื่องจากทางบ้านมีอาชีพหลัก คือ ปลูกอ้อย และมันสำปะหลัง บนเนื้อที่ 100 กว่าไร่ เป็นอาชีพที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อ แม่

3.โรงเรือนเลี้ยงจิ้งหรีด
3.โรงเรือนเลี้ยงจิ้งหรีด
ใช้ผ้ามุ้งสีฟ้าคลุมทั้งหมดป้องกันมด-จิ้งจก-ตุ๊กแก
ใช้ผ้ามุ้งสีฟ้าคลุมทั้งหมดป้องกันมด-จิ้งจก-ตุ๊กแก

สภาพพื้นที่เลี้ยงจิ้งหรีด

ส่วนพื้นที่ในการทำฟาร์มใช้เพียง 50 ตารางวา ในการก่อสร้างโรงเรือนที่มีลักษณะอากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถบังแดด บังฝน และลมได้ ใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง เช่น ไม้ ปูน เป็นต้น จากนั้นจึงนำกล่องที่ทำขึ้นจากแผ่นยิปซั่ม และโครงเหล็ก เป็นฐานวางเพื่อใช้เลี้ยงจิ้งหรีด ส่วนบริเวณขอบกล่องจะติดด้วยเทปกาวหรือเทปใส กว้างประมาณ 1 คืบ โดยติดรอบด้านเพื่อป้องกันจิ้งหรีดไต่ออกจากทางด้านบน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนวิธีป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด เช่น มด จิ้งจก ตุ๊กแก ใช้ผ้ามุ้งสีฟ้าคลุมทั้งหมด โดยเว้นช่องไว้เข้า-ออก ทางด้านเดียว

พันธุ์จิ้งหรีดที่ทางฟาร์มเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ทองแดงและทองดำ โดยสามารถเลี้ยงรวมกันได้ เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ลักษณะเด่นของพันธุ์ทองแดงจะมีลำตัวและขา อ่อนไม่แข็ง ตัวจะเล็กกว่าพันธุ์ทองดำ แต่พันธุ์ทองดำขามันจะแข็ง ทำให้บางทีเวลากินมันจะติดบริเวณลำคอ แต่ลักษณะโดยรวมจะคล้ายกัน

4.ถาดอาหารและถาดน้ำ
4.ถาดอาหารและถาดน้ำ

วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด

นำภาชนะ (ขัน) ที่มีไข่จิ้งหรีดวางลงในกล่องที่เตรียมไว้เลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 25-30 ขัน/กล่อง ส่วนกล่องที่มีขนาดความยาวกว่า 3 เท่า ของขนาดมาตรฐาน จะวางภาชนะ 100 กว่าขัน จากนั้นประมาณ 7 วัน จิ้งหรีดเริ่มฟักออกมาเป็นตัว ในระยะนี้ให้เตรียมอาหารสำเร็จรูปของไก่เล็กที่มีโปรตีนประมาณ 21% บดให้ละเอียด ใส่ในถาดกระดาษที่หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ

เนื่องจากมีลักษณะเป็นถาดแบนๆ ไม่ลื่นเหมือนถาดพลาสติก ทำให้จิ้งหรีดสามารถไต่เข้าไปกินอาหารได้ โดยอาหารบดละเอียดจะให้ก่อน 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องบดแล้ว เพราะจิ้งหรีดเริ่มโต ให้อาหารเช้า-เย็น เพื่อการเจริญเติบโตของจิ้งหรีดมีขนาดเท่าๆ กัน เลี้ยงจนโตเต็มที่ หากอากาศไม่หนาว หรือร้อนจนเกินไป จะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 33-35 วัน ถ้าในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นจะใช้เวลาประมาณ 40-45 วัน จึงจะสามารถจับได้

ช่วงระยะฟักไข่

ช่วงระยะฟักไข่ อันดับแรกสังเกตที่ตัวของจิ้งหรีดในตอนแรกจะยังไม่มีปีก ถึงประมาณ 28 วัน จะเริ่มมองเห็นปีกที่ออกจากด้านบนของตัวจิ้งหรีด จากนั้นให้เริ่มเตรียมตัว เพราะหลังจากนั้นประมาณไม่เกิน 1 อาทิตย์ จะได้ยินเสียงร้องจากตัวผู้ดังจี๊ดๆ จี๊ดๆ และตัวเมียท้องจะเต็มไปด้วยไข่ พร้อมวางไข่ ให้เตรียมขันที่ใส่ดินพรมน้ำเล็กน้อยวางลงไปในกล่อง ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้จิ้งหรีดได้วางไข่ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนที่ต้องการ หากต้องการขายไข่จิ้งหรีดอาจใช้จำนวนมาก อย่างน้อย 30 ขันขึ้นไป/กล่อง ส่วนอายุของไข่ก่อนจะฟักออกมาเป็นตัวอยู่ได้ 7 วัน ในอุณหภูมิปกติ แต่ในช่วงหน้าหนาวจะอยู่ได้ไม่เกิน 15 วัน

5.ฟัก
5.ฟัก
ฟักทอง
ฟักทอง
หยวกกล้วย
หยวกกล้วย

การให้อาหารและน้ำจิ้งหรีด

หลักๆ จะให้อาหารสำเร็จรูปของไก่เล็ก จากนั้นจะเสริมด้วยพืชผักต่างๆ เช่น มะละกอ ฟัก ฟักทอง ใบมันสำปะหลัง เป็นต้น อาหารเสริมแต่ละชนิดจะให้รสชาติที่แตกต่างกัน อย่างถ้าให้กินใบกระเพรา เมื่อนำไปทอดจะมีกลิ่นหอมของใบกระเพรา ส่วนฟักและหยวกกล้วยจะให้จิ้งหรีดกิน สามารถแทนน้ำได้ แต่ที่ทางฟาร์มจะเน้นให้จิ้งหรีดกินก่อนจับจำหน่าย 1 วัน คือ ฟักทอง และฟัก เพื่อให้ตัวของจิ้งหรีดมีรสชาติมัน หอม เวลาทอดสีจะออกเหลือง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การจับจิ้งหรีดจะนำอุปกรณ์ทั้งหมดออก เช่น ถาดน้ำ ถาดอาหาร จากนั้นสลัดแผงไข่ให้ตัวจิ้งหรีดหล่นอยู่ในกล่อง เสร็จแล้วใช้อุปกรณ์คล้ายสวิงแต่ทรงเหลี่ยมช้อนตักจิ้งหรีดใส่ถังน้ำ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง จากนั้นนำไปต้มน้ำใบเตยเพื่อดับกลิ่น สังเกตจนกว่าตัวจะแข็ง ซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารให้สามารถอยู่ได้นาน พอต้มเสร็จจึงนำมาผึ่งให้แห้ง และหายร้อน ก่อนนำบรรจุถุงละ 1 กิโลกรัม เพื่อจำหน่าย

สำหรับจิ้งหรีดจะให้ 2 แบบ คือ ในระยะแรกช่วง 7-10 วัน หลังจากฟักออกมาเป็นตัวจะใช้ถาดใส่น้ำ พร้อมกับฟองน้ำที่หุ้มด้วยผ้ามุ้ง (ทำเอง) ในลักษณะชุ่มน้ำ วางให้จิ้งหรีดกิน โดยทำความสะอาด และเปลี่ยนทุก 3-4 วัน ส่วนในระยะตัวโตเต็มที่ หรือระยะใกล้วางไข่ ทางฟาร์มจะเปลี่ยนจากฟองน้ำเป็นหินก้อนแทน เพื่อให้จิ้งหรีดได้ปีนหรือไต่ไปกินน้ำ และไม่จมน้ำตาย อีกหนึ่งเหตุผล คือ เพื่อป้องกันการวางไข่ผิดที่ เนื่องจากฟองน้ำเป็นที่ชื้น

การดูแลฟาร์มจิ้งหรีดจริงๆ แล้วไม่ยุ่งยาก สามารถให้คนในครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้อง และคนอื่นๆ ดูแลได้ เพราะหลักๆ จะเป็นเรื่องของอาหารและน้ำที่จะต้องดูแลอย่าให้ขาด ส่วนด้านปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นศัตรูของจิ้งหรีด เช่น มด เป็นศัตรูที่น่ากลัวที่สุด เป็นปัญหาใหญ่ๆ ให้กับฟาร์ม ส่วนวิธีป้องกันจะใช้ภาชนะที่รองขาตู้ใส่น้ำ รองขากล่องที่เลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งเป็นวิธีป้องกันได้ดี ส่วนปัญหาในด้านอื่นๆ จะเป็นช่วงฤดูหนาว ทำให้การเติบโตของจิ้งหรีดช้า

6.จำหน่ายจิ้งหรีด-ไข่จิ้งหรีด-และอุปกรณ์เลี้ยงจิ้งหรีด
6.จำหน่ายจิ้งหรีด-ไข่จิ้งหรีด-และอุปกรณ์เลี้ยงจิ้งหรีด

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายจิ้งหรีด

ด้านลูกค้าและตลาด จะมีพ่อค้าเจ้าประจำที่ทางฟาร์มส่งให้ประจำ และมีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยราคาขายที่ 90-100 บาท หรืออาจสูงกว่านี้ แล้วแต่ช่วง จนทำให้มีรายได้/เดือนค่อนข้างสูง บางครั้งมากกว่าการทำไร่อ้อย เพราะมีรายได้หลายทาง เช่น ขายตัวจิ้งหรีด ขายไข่จิ้งหรีด และขายกล่องเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นชุดละ 5,000 บาท ครบทุกอย่างพร้อมเลี้ยง นอกจากนี้ขี้จิ้งหรีดยังนำมาเป็นปุ๋ยใส่แปลงพืชไร่ อย่าง แปลงหน่อไม้ฝรั่ง เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ดังนั้นในด้านตลาดของทางฟาร์มค่อนข้างแข็ง อีกทั้งยังมีตลาดนัดรองรับ หากมีสินค้ามากเกินไป

การคาดการณ์การตลาด ถ้าราคาจิ้งหรีดตกต่ำถึงกิโลกรัมละ 50 บาท ยังไม่ส่งผลกระทบต่อฟาร์ม หากมีการดูแลและการจัดการด้านต้นทุนที่ดี แต่จะได้กำไรมากหรือน้อยอยู่ที่ต้นทุน เพราะการลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดน้อยมาก และกำไรต่อรอบถือว่าเกินครึ่ง

เมื่อทีมงานนิตยสารสัตว์บกถามถึงการทำอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดสำเร็จได้ทุกวันนี้เพราะอะไร?

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“การดูแลเอาใจใส่ และความขยัน เหมือนกับการทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง หากไม่มีการดูแล ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มทุน ดังนั้นการเลี้ยงจิ้งหรีดก็เช่นกันต้องดูแล เพราะจิ้งหรีดจะไวต่อสารเคมีมาก บางคนอยากลองสิ่งใหม่ๆ แต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบ เช่น ใช้แตงกวา มันแกว แตงโม ที่มีสารปนเปื้อนให้จิ้งหรีดกิน หรือฉีดน้ำโดนกองขี้จิ้งหรีด เกิดเป็นแก๊สภายในกล่อง สุดท้ายทำให้จิ้งหรีดตาย เพราะฉะนั้นเมื่อเลี้ยงจิ้งหรีดหากใช้วิธีที่เคยทำแล้วได้ผลผลิตดี จงทำตามวิธีนั้น” คุณสุวรรณได้ให้เหตุผล และที่สำคัญต้องมีวินัยในการดูแล และแข่งกับตัวเอง มากกว่าจะยึดที่อื่นเป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้การทำอาชีพนี้อยู่รอด

7.วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด ในกล่องเลี้ยง
7.วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด ในกล่องเลี้ยง

มุมมองของการเลี้ยงจิ้งหรีด

มุมมองของคุณสุวรรณกล่าวว่า “ผมมองว่าเศรษฐกิจของประเทศเราดีกว่า และของบ้านเราแพงกว่า ทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง พม่า และเขมร อาจมองตลาดในบ้านเราในการขยายธุรกิจหรือสินค้าเกษตร ทำให้ส่งผลกระทบในเรื่องของราคา แต่หากมีมาตรการควบคุมที่ดีก็อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ควรเฝ้าระวัง”

“คนทั่วไปต่างบอกว่าการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอะไรที่เลี้ยงง่าย แต่หากมองรายละเอียดจริงๆ ไม่ใช่ใครอยากจะเลี้ยงก็เลี้ยงได้ ต้องศึกษาถึงปัญหาต่างๆ และวิธีการเลี้ยงให้ดี หรือปรึกษาจากผู้รู้ ก่อนที่จะลงมือทำ แล้วเรื่องยากๆ จะกลายเป็นง่าย อย่างคนทั่วไปกล่าว” คุณสุวรรณกล่าวทิ้งท้าย

สอบถามเพิ่มเติม สุวรรณจิ้งหรีดฟาร์ม 27 หมู่ 6 ต.ภูน้ำหยด อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ 67180 โทร.083-115-0148