ทุเรียน ไทย 2 แสนล้านบาท จะพัง เพราะ ปุ๋ย และ ยา??

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลากระดี่ได้น้ำ 5 พยางค์ ที่บ่งบอกถึง “ชาวสวน ทุเรียน ” และคนในวงการ ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ที่มี “เม็ดเงิน” จากจีนแดงเป็นหลัก ไหลเข้ามา ปี 64 กว่าแสนล้านบาท

ทุเรียนสด ทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนฟรีซดราย และ ทุเรียนทอด กลายเป็น “ผลิตภัณฑ์” ทางการเกษตร ที่กวาดเงินก้อนโตจากจีนเร็วกว่าผลผลิตอีกหลายชนิด

เรื่องกินเป็นของใหญ่ของ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และ ชาวจีนโพ้นทะเล รวมทั้ง คนไทยเลือดจีนทั้งหลาย

หวาน-มัน-นุ่ม-หอม 4 มิติ ที่ซุกอยู่ใน “รสชาติ” เนื้อทุเรียน “หมอนทอง” และพันธุ์อื่นๆ มันยั่วยวนคนที่เคยลิ้มรสชาติทุเรียน ให้ต้องควักเงินจ่าย แม้ “ราคา” จะสูงขึ้นกว่าอดีต

ความโดดเด่นของทุเรียนไทยในด้านคุณภาพของรสชาติ และไร้สารเคมี เป็นผลไม้พรีเมียม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “กระบวนการ” ผลิตและแปรรูปโดยตรง จะต้องรักษาไว้ให้ยั่งยืน

1.นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมต.เกษตร
1.นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมต.เกษตร
ขอบคุณข้อมูลจาก - ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ ขอบคุณภาพจาก - Springnew.co.th
ขอบคุณข้อมูลจาก – ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ ขอบคุณภาพจาก – Springnew.co.th

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายทุเรียน

วันนี้ “ภาครัฐ” เป็นผู้ผลิตนโยบายการพัฒนาและควบคุมกระบวน การผลิต และ การตลาด ให้ได้มาตรฐานตามระเบียบของราชการ ซึ่งเรื่องนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมต.เกษตร ประธานคณะทำงานจัดทำแผนแก้ปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ  ได้ให้มุมมองการแก้ปัญหาและพัฒนาทุเรียน ที่มีจีนเป็นตลาดหลักว่า ช่วง โควิด 19 ทุเรียนไทยไปจีนลดลง แต่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเป็นอันดับที่ 13 ของโลก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปี 65 ไทยส่งออกผลไม้สดและแปรรูปกว่า 2.5 แสนล้านบาท เฉพาะสด 1.8 หมื่นล้านบาท และ “ทุเรียนสด” ตลาดจีน 8 แสนกว่าตัน มูลค่า 1.09 แสนล้านบาท ถ้ารวมทุเรียนแปรรูปด้วยจะถึง 1.2 แสนล้านบาท อัตราเพิ่มขึ้นถึง 60% ทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงวิกฤตโควิด 19 จีนปิดด่าน กระทบต่อระบบโลจิสติกส์โดยตรง แต่ไทยต้องใช้ขนส่ง ทั้ง ทางบก ทางเรือ และ ทางอากาศ จึงได้ตัวเลขขนาดนี้

ดังนั้นปี 65 รมต.พาณิชย์ ตั้งเป้าส่งออกผลไม้ให้ถึง 2.8 แสนล้านบาท หรือต้องทำเพิ่มกว่าปี 64 ถึง 3 แสนล้านบาท ทำให้ รมต.เกษตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาผลไม้แห่งชาติ (ฟรุตบอร์ด) จะต้องโชว์ฝีมือ ซึ่งเรื่องนี้คุณอลงกรณ์เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้วางแผนและปฏิบัติงาน ที่จะผลักดัน “ผลไม้ไทย” ให้เป็นผลไม้โลก

โดยทำงานเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ด้วยการเจรจากับจีน เพื่อขนส่งทางรถไฟ จีน-ลาว เพื่อข้ามไปเอเชียกลาง ยุโรป ตะวันออกกลาง เกาะอังกฤษ ได้ตกลงกับ คาซัคสถาน และ จีน บนเส้นทางรถไฟสายอี้ไต้อี้ลู่ โดยวิ่งจากลาว-จีน ฉงฉิ้ง ผ่านกันชู ไปเกาะคาซัคสถานเข้า โปแลนด์ เยอรมัน หรือจะลงใต้ไปตุรกี

ขณะนี้ได้เจรจาการขนส่งข้ามแดนไปยุโรปผ่านเอเชียกลาง โดยใช้การสื่อสารพิเศษ และเดือนกันยายน 64 รมต.เกษตร ได้ลงนามกับกระทรวง JACE ของจีน เปิดด่านจากไทยไปประเทศที่ 3 ถึง 10 ด่าน และในไทย 6 ด่าน ด่านที่สำคัญ ได้แก่ ด่านรถไฟโม่ฮาน ที่จะเชื่อมเอาผลไม้ไทยไปสู่ผลไม้โลก โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นราชาผลไม้

ส่วน “มังคุด” จะเป็นราชินีผลไม้ ต้องยอมรับว่าผลไม้ไทยครองตลาดจีนถึง 40% ชิลี 15% และ เวียดนาม 6% ด้วยเหตุนี้ ฟรุตบอร์ด จึงต้องออก 18 มาตรการ เช่น การตรวจรับรองแปลง ทุเรียน และ ผลไม้ GAP ปีละ 1 แสนแปลง และปี 65 นี้ จะให้ถึง 120,000 แปลง ส่วน “ล้ง” จะออกใบรับรอง GMP ไม่น้อยกว่า 1,000 แห่ง เป็นต้น โดยมี คณะอนุกรรมการผลไม้ ทุกภาคของประเทศ

2.รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย
2.รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก - ม.หอการค้าไทย ขอบคุณภาพจาก - Springnew.co.th
ขอบคุณข้อมูลจาก – ม.หอการค้าไทย ขอบคุณภาพจาก – Springnew.co.th

ปัญหาและอุปสรรคของชาวสวนทุเรียน

รัฐพยายามจะส่งออกทุเรียนตามเป้าหมาย แต่แน่นอนทุกอย่างไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เรื่องนี้ รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย ได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทยครั้งแรกในโลก พบว่า อีก 5 ปีข้างหน้า (65-69) ดัชนีมีค่าเท่ากับ 51 54 57 55 และ 60 ตามลำดับ (ค่าดัชนีมากกว่า 50 หมายถึง ความเสี่ยงสูง เท่ากับ 50 หมายถึง ปกติ และ น้อยกว่า 50 หมายถึง ความเสี่ยงน้อย)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ความเสี่ยง มาจากพื้นที่ปลูกทุเรียนมหาศาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปี 64 พื้นที่เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า จากปี 54 หรือเพิ่มจาก 6 แสนไร่ เป็นกว่า 9 แสนไร่ โดยเฉพาะภาค อีสาน และ ตะวันออก เกษตรกรโค่นต้นยางมาปลูกทุเรียน ส่งผลให้ “ผลผลิต” เพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 337,648 ตัน และในปี 69 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 ล้านตัน

นอกจากนี้ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านก็เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าในปี 2569 ไทยครองแชมป์โลกส่งออกทุเรียน 1.9 ล้านตัน แต่ส่วนแบ่งการตลาดอาจลดลงเหลือ 76% จากปี 64 ส่วนแบ่ง 85% เพราะ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว จะแชร์ตลาดมากขึ้น

คุณอัทธ์ ระบุว่า หากความสัมพันธ์ไทย-จีน มีปัญหา อาจทำให้ผู้นำเข้าทุเรียนไทย อันดับ 1 อย่าง จีน อาจลดการนำเข้าได้ จนราคาทุเรียนลดลงทันที หากปี 65-69 จีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10% ราคาทุเรียนหมอนทอง ณ ตลาดเจียงหนาน ซึ่งเป็นตลาดขายส่งใหญ่สุดด้านผลไม้ จะอยู่ที่ กก.ละ 271 บาท และราคาชาวสวนหน้าสวน กก.ละ 136 บาท ตรงกันข้าม หากจีนนำเข้ามากกว่า 15% ราคาขายส่งหน้าสวน เฉลี่ย กก.ละ 361 บาท

นอกจากนี้ความเสี่ยงของทุเรียนไทยยังมาจาก “คุณภาพ” ของทุเรียนที่อ่อนหรือแก่เกินไป  ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์ทุเรียนไทยแล้วส่งออก  การขนส่งที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงาน  และตลาดถูกควบคุม โดยล้งจีน สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิต และ โรคระบาด ซึ่งใน 5 ปีข้างหน้า ทุเรียนไทยมีโอกาสพังได้ 30% จาก 100% หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 37,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมูลค่าการส่งออก 2 แสนล้านบาท

3.ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
3.ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ขอบคุณภาพจาก - กรุงเทพธุรกิจ
ขอบคุณภาพจาก – กรุงเทพธุรกิจ

การแก้ปัญหาและพัฒนาทุเรียน

กองบรรณาธิการ สำนักข่าวพลังเกษตร ได้จับประเด็นเรื่อง “ปุ๋ยเคมี” ราคาพุ่ง ฉุดให้ปุ๋ยอินทรีย์ขยับขึ้นด้วย ซึ่งเรื่องนี้มีผลกระทบต่อชาวสวนทุเรียนโดยตรง เนื่องจากชาวสวนทุเรียนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวสวนรายย่อย ต้องซื้อปัจจัยการผลิตจาก “ร้านค้า” ในพื้นที่ ซึ่งแน่นอนเขาจะต้องบวกกำไร หรือ ความเสี่ยง ไว้ใน “ราคา” ขายปลีก นอกจากนี้ร้านค้าหลายแห่งได้บวก “ดอกเบี้ย” เพราะขายให้ชาวสวนเป็นเครดิต เก็บผลผลิต แล้วค่อยจ่ายค่าปุ๋ยและยา แน่นอนกว่าจะได้ขายทุเรียนใช้เวลาเป็นปี

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา กองบรรณาธิการ สำนักข่าวพลังเกษตร ได้ประมวลข้อคิดเห็นของคนในวงการ ดังต่อไปนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใช้สวนพุทธรักษา/เกษตรฟาร์มเมอร์ วิจัยทุเรียน GAP ด้วยระบบ GIS แบบเรียลไทม์

คุณวิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานวิจัย เปิดเผยว่า แนวทางพัฒนาภาคเกษตร โดยเฉพาะ “ทุเรียน” ทั้งระบบ จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งภาควิชาการ ซึ่งเรื่องนี้ สนช. ได้ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สวนพุทธรักษา ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อร่วมกันทำวิจัยกระบวนการผลิตทุเรียน

4.รศ.วรภัทร วชิรยากรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรฯ ขอบคุณภาพจาก - กรุงเทพธุรกิจ
4.รศ.วรภัทร วชิรยากรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรฯ ขอบคุณภาพจาก – กรุงเทพธุรกิจ
ขอบคุณภาพจาก-กรุงเทพธุรกิจ
ขอบคุณภาพจาก-กรุงเทพธุรกิจ

การบริหารจัดการสวนทุเรียน

โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารจัดการสวน โดยใช้ “แพลตฟอร์ม” ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากเกษตรกรผ่านแอพฯ จากมือถือ เพื่อประเมินสถานะของแปลงทุเรียนในด้านต่างๆ รวมทั้งประเมินการใช้ ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ให้เหมาะสมกับทุเรียน โดยติดตามแบบเรียลไทม์

โดยมี รศ.วรภัทร วชิรยากรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรฯ มธ. เป็นผู้บริหารโครงการ ภายใต้กรอบการวิจัยหลักการเพิ่มผลผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ชาวสวนทุเรียนนำไปใช้ได้ สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดใช้แรงงาน ซึ่ง มธ. ได้รวบรวมมากว่า 25 ปี

คุณวัชชิระ สิทธิสาร สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เจ้าของสวนพุทธรักษา
คุณวัชชิระ สิทธิสาร สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เจ้าของสวนพุทธรักษา

ซึ่งเรื่องนี้ คุณวัชชิระ สิทธิสาร สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เจ้าของสวนพุทธรักษา กล่าวว่า ได้นำงานวิชาการจากทีมนักวิจัย มธ. มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตทุเรียนคุณภาพสูง เช่น เนื้อกรอบนอกนุ่มใน ไม่เละ เนื้อละเอียดและแห้ง สีเหลืองอ่อน เม็ดเล็กลีบ รสชาติอร่อย หวาน มัน พอเหมาะ และไม่มีกลิ่นฉุน ซึ่งทีมวิจัยได้ทำวิจัยตั้งแต่ปี 63 จนได้มาตรฐาน GAP เป็นสวนตัวอย่างของจังหวัด

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 26