พงศธร… ปราชญ์ ทุเรียน อินทรีย์เคมี รวย เพราะทำ “ต้น” ให้สมบูรณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อ “ทุเรียนไทย” ถูกส่งไปแข่งกับ ทุเรียน มาเลฯ เวียดนาม เป็นต้น ในประเทศจีน แน่นอน “รสชาติ” หอม หวาน มัน เป็นเครื่องตัดสิน

สิ่งหนึ่งที่ ชาวสวน พ่อค้า และ รัฐบาล ขาดความสนใจ ก็คือ พันธุกรรม หรือ สายพันธุ์ทุเรียน ที่ให้รสชาติต่างกัน รวมทั้ง สภาพแวดล้อม และ การดูแลรักษา เพื่อให้ทุเรียนเกิดการเจริญเติบโต ปลดปล่อย “จุดเด่น” ของพันธุกรรมออกมา ก็เป็นเรื่องที่คนไทยไม่จริงจังในการศึกษา

ทั้ง พันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใหญ่ ที่  “สถาบัน” ต่างๆ ทั้ง ภาครัฐ และ เอกชน ควรทุ่มทุนสร้างงานวิจัยและพัฒนาให้ต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ทุเรียนไทย GI หมอนทอง หรือ พันธุ์พื้นเมืองต่างๆ ตอบโจทย์ด้านพันธุกรรมที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ทุกวันนี้ต่างคนต่างทำกันทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละภาค สภาพแวดล้อมต่างกันมาก ซึ่งความสามารถของแต่ละคนก็ต่างกัน

1.คุณพงศธร ประมาณผล เจ้าของสวน
1.คุณพงศธร ประมาณผล เจ้าของสวน

การปลูกทุเรียน

ในระดับชาวสวนตะวันออก อย่าง พงศธร ประมาณผล ยึดอาชีพทำ สวนยาง และ สวนทุเรียน ตำบลคมบาง อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นพื้นที่ชายภูเขา ช่วงหน้าฝนและต้นหนาว เจอ “ความชื้น” จากป่าไม้ ทำให้ต้นทุเรียนกลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรค “ตระกูลเชื้อรา” ทั้งหลาย ถ้าไม่รู้วิธีป้องกัน ทุเรียนตาย หรือไม่ก็ อ่อนแอ ไม่มีผลผลิต “ผลผลิตพอได้ 20 ปี แล้วนะ ที่นี่ไม่ฝังเข็ม ฉีดยา ไม่มียอดแห้ง ใบหนา เพราะไม่ป่วย ไม่ตาย หนอนไม่มี ซ้ำยังไว้ลูก 60-80 ลูก/ต้น ให้ดูความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก” พงศธร เปิดใจถึงสวนทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์ของตน เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2565

ช่วงวันที่ 5-16 พ.ค. หมอนทอง หลายต้น เริ่มเก็บผลผลิต หลายลูกสุกแล้ว “ปลายหนาม” ยังมีสีเขียว ผิวสีแดง แสดงว่าผลทุเรียนมีความสมบูรณ์ แต่พอแกะออก “เนื้อทุเรียน” สุกสีแดงเข้ม

2.บรรยากาศในสวนทุเรียน
2.บรรยากาศในสวนทุเรียน

สภาพพื้นที่ปลูกทุเรียน

เมื่อถามว่าทำยังไงให้ต้นสมบูรณ์??

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณพงศธรยืนยันว่า หัวใจ คือ “ดิน” เป็นอันดับ 1 pH หรือความเป็นกรด ด่าง ของดิน อยู่ 5.6-6.7 บางสวนดินไม่ดี ทุเรียนจะส่ออาการออกมา เช่น ก้านแห้ง หรือ ใบเหลือง ซึ่งชาวสวนส่วนใหญ่พอเจอแบบนี้จะรีบใส่ ปุ๋ยเคมี เพื่อให้ทุเรียนแตกใบใหม่ “จริงๆ แล้ว ใส่เพื่อให้ตาย เพราะปากไม่พร้อมจะกินอาหาร เราไปใส่ปุ๋ยเคมีเหมือนเร่งให้มันตายเร็วขึ้น ปัจจัยหลัก คือ ปรับสภาพดินให้ได้ก่อนสักระยะ วัด pH ได้หรือไม่ โดยใช้ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เดี๋ยวรากจะค่อยๆ เกิดใหม่ แต่ถ้าใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยทั้งร้อยตายหมด” คุณพงศธร ฟันธง

กว่า 20 ปี ที่คุณพงศธรอยู่กับทุเรียนตระกูลหมอนทอง ย่อมมองเห็นจุดอ่อนของมัน ดังนั้นเมื่อปลูกแล้วบางต้นตาย ก็ต้องนำทุเรียนพื้นเมือง หรือ พันธุ์ของรัฐ มาปลูกทดแทน เช่น หลงลับแล ปรากฏว่าลูกใหญ่กว่าอุตรดิตถ์ แม้แต่ ก้านยาว มาปลูกประกบกับ หมอนทอง ต้นที่อ่อนแอแล้วฟื้นฟู ผลก็คือโตทั้งคู่ ซึ่งการแก้ปัญหาแบบนี้ทำให้ได้ความรู้ที่ลึกและหลากมากขึ้น

แม้แต่ปุ๋ย และก็ทดลองใช้หลายยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบ จนฟันธงว่ายี่ห้อไหนควรใช้ประจำ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงก็กลับมาใช้ของ บริษัท เอเซียปุ๋ยฯ ตรา ไก่ในดาว เป็นต้น

3.คุณภิมุข ประมาณผล หรือ พีพี
3.คุณภิมุข ประมาณผล หรือ พีพี

การบริหารจัดการสวนทุเรียน

เนื่องจากชาวสวนทุเรียน อ.เมือง อ.มะขาม และ อ.ขลุง ใกล้ “ภูเขาสระบาป” ได้อิทธิพลจากน้ำภูเขา ขุดลึกเพียง 5 เมตร เป็นน้ำสะอาดมากๆ แร่ธาตุสูง ชาวสวนจึงติดตั้งระบบน้ำในสวนทุเรียนเป็นส่วนใหญ่

แต่อย่างไรก็ดี ในด้านการจัดการสวนทุเรียนให้ได้ผลผลิตคุณภาพ ทั้ง ผิว ผล และ รสชาติ คุณพงศธรยืนยันว่า จะต้องใช้ อินทรีย์ และ เคมี ผสมผสาน ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เจ๊งทั้งคู่ ซึ่งมีให้เห็นเป็นตัวอย่าง เพราะอากาศแปรปรวนมาก ปีนี้เมืองจันท์มี 3 ฤดู ซึ่งชาวสวนจะต้องมีทักษะในการใช้ปัจจัยการผลิตแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นต้นทุนถึง 30% ของราคาผลผลิต

อย่าง สวนคุณพงศธร 18 ไร่ ผลผลิตประมาณ 60 ตัน ราคาเฉลี่ย กก.ละ 100 บาท รายได้ 6 ล้านบาท หักรายจ่าย 1.8 ล้านบาท จะมีกำไร 4.2 ล้านบาท/ปี ซึ่งกำไรระดับนี้จะทำให้มีทายาทมาสานต่อธุรกิจ ซึ่งวันนี้ ภิมุข ประมาณผล หรือ “พีพี” ลูกชายเล็ก มาดูแลสวน เพราะมีความเชี่ยวชาญภาษาจีนกลางมากขึ้น สามารถสื่อสารกับชาวจีนได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ความดังของทุเรียนหมอนทอง และรายได้ที่ดี ทำให้ “นายมณเฑียร” นายกเทศมนตรี เมืองพลับพลา เตรียมผลักดันให้เป็น “ทุเรียน GI” อวดชาวโลก ซึ่งเรื่องนี้คุณพงศธรกล่าวว่า ถ้าทุเรียนราคาตก ทุเรียน GI เกิดตั้งนานแล้ว แต่เมื่อทุเรียนราคาดี ชาวสวน 3 อำเภอ รอบๆ เขาสระบาป มัวแต่ทำสวน

สวนทุเรียนทั้ง 3 อำเภอ น่าจะยั่งยืน เพราะน้อยคนจะไม่ขายสวน แม้ที่ดินราคาพุ่งถึงไร่ละล้านกว่าบาทก็ตาม หาก “ราคา” ทุเรียน ยังดีแบบนี้

สวนพงศธร 49/1 ม.3 ต.คมบาง อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร.081-664-3063

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 25