“พีค รูทเตอร์” แก้ปัญหา “โรครากเน่า โคนเน่า” ในทุเรียนได้ผลจริง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“พีค รูทเตอร์” แก้ปัญหา “โรครากเน่า โคนเน่า” ในทุเรียนได้ผลจริง

1.คุณเครือวัลย์-และคุณศิระ-ประมวลทรัพย์-การันตีใช้พีค-รูทเตอร์-หายจากโรครากเน่า-โคนเน่า
1.คุณเครือวัลย์-และคุณศิระ-ประมวลทรัพย์-การันตีใช้พีค-รูทเตอร์-หายจากโรครากเน่า-โคนเน่า

การระบาดของโรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียน

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้พืชปรับตัวได้ยากขึ้น โดยในระยะนี้มีฝนฟ้าคะนอง 40-60% ของพื้นที่ ส่งผลให้ช่วงนี้จะพบการระบาดของ “โรครากเน่า โคนเน่า” ได้ ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการจากรากก่อนเริ่มแรก จากนั้นลักษณะใบที่ปลายกิ่งเริ่มมีสีซีด ไม่มันเงาเหมือนเดิม อีกทั้งใบยังเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง และหลุดร่วงไปในที่สุด หากขูดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล หากโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรม และยืนต้นตายในที่สุด

จะเห็นว่าสภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร เกษตรกรต้องคอยสังเกตการณ์ ควรตรวจแปลงทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผล ที่เป็นโรค ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก นอกจากนี้แล้วการใช้ผลิตภัณฑ์ในการดูแลรักษาเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเกษตรกรต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีประสิทธิภาพรักษาได้จริง

2.คุณเครือวัลย์และคุณศิระชี้ให้เห็นถึงรอยแผลที่แห้งหลังจากใช้พีค-รูทเตอร์
2.คุณเครือวัลย์และคุณศิระชี้ให้เห็นถึงรอยแผลที่แห้งหลังจากใช้พีค-รูทเตอร์

คุณเครือวัลย์ และคุณศิระ ประมวลทรัพย์ ปลูกทุเรียนบนพื้นที่ 38 ไร่ จ.จันทบุรี

วันนี้ทีมงานนิตยสารเมืองไม้ผลเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี เพื่อพูดคุยกับเกษตรชาวสวนทุเรียนตัวจริง ที่ปลูกทุเรียนมานานกว่า 50 ปี บนพื้นที่ 38 ไร่ มี คุณเครือวัลย์ ประมวลทรัพย์ และคุณศิระ ประมวลทรัพย์ สองสามี-ภรรยาเป็นเจ้าของสวน บ้านเลขที่ 7 หมู่ 3 ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ยึดอาชีพทำสวนผลไม้ผสมผสาน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงาะ และทุเรียน หลากหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์หมอนทอง พวงมณี และกระดุม เนื่องจากเป็นสวนทุเรียนเก่าแก่ ต้นทุเรียนมีอายุหลายปี ทำให้พบกับปัญหาโรครากเน่า โคนเน่า อยู่เป็นประจำ โดย  คุณเครือวัลย์พยายามหาวิธีแก้ไขโดยใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มามากมาย หมดเงินไปค่อนข้างเยอะ แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาโรครากเน่า โคนเน่า ได้ผลเท่าที่ควร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ต้นที่หายจากโรครากเน่า-โคนเน่า
3.ต้นที่หายจากโรครากเน่า-โคนเน่า

การใช้พีค รูทเตอร์ ฉีดพ่นต้นทุเรียน

จนได้มารู้จักกับผลิตภัณฑ์ “พีค รูทเตอร์” จึงเริ่มจากนำมาทดลองใช้ก่อน เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะรักษาได้จริงไหม โดยเริ่มจากต้นที่มีอาการหนักที่สุด คือ มีน้ำไหลเยิ้มออกจากแผลที่เป็นโรค โดยคุณเครือวัลย์ได้นำไตรโคเดอร์มาหมักกับข้าวเปลือก แล้วจึงนำมาผสมกับ “พีค รูทเตอร์” 1 กระปุก ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ทาบริเวณแผล จากนั้นวันต่อมาสังเกตอาการ และทำการฉีดพ่นอีกรอบ แผลที่เป็นโรคก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จากอาการหนัก ต้นโทรม มีแผลที่ต้น ก็เริ่มหาย กิ่งทุเรียนเริ่มมีการแตกใบใหม่ ใบเขียวเข้ม ต้นแข็งแรง

4.ต้นทุเรียนบางส่วนที่ปลูกใหม่
4.ต้นทุเรียนบางส่วนที่ปลูกใหม่

การบำรุงดูแลรักษาต้นทุเรียน

คุณเครือวัลย์เล่าให้ฟังว่า “ช่วงแรกที่ต้นทุเรียนมีอาการหนัก เราต้องดูอาการวันต่อวันเลยนะ ทายา 3-4 ครั้ง ติดต่อกัน จึงจะเริ่มดีขึ้น เห็นอาการต้นดีขึ้น แผลหาย จึงค่อยเปลี่ยนมาใช้ทุกๆ 7 วัน จากการที่ทดลองกับต้นที่อาการเป็นหนัก เราเห็นแล้วว่า “พีค รูทเตอร์” สามารถรักษาโรครากเน่า โคนเน่า ได้จริง จึงใช้ฉีดพ่นทั้งสวน ทั้งต้นที่เป็นโรค และยังไม่เป็นโรค เพื่อป้องกันและดูแล ซึ่งผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก สวนของหลานตนก็มีปัญหาโรครากเน่า  โคนเน่า เช่นกัน ตนจึงแนะนำหลาน ได้ให้หลานไปทดลองใช้ คนผ่านไปผ่านมาที่เคยเห็นสวนเรา เขามาเห็นอีกครั้งก็แปลกใจ ถามว่าใช้อะไร  ตนก็แนะนำเลย  อยากให้เขาได้ใช้  เพราะมันดีจริงๆ  หลักฐานก็มีให้เห็น  และที่ตนประทับใจ  คือ “พีค รูทเตอร์” ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้ ช่วยฟื้นฟูต้น และทำให้รากแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย”

“พีค รูทเตอร์” ไม่ใช่สารเคมี ไม่ทำลายระบบราก ต้นทุเรียนไม่ป่วยก็สามารถใช้ได้ เหมือนเป็นการบำรุงและ ป้องกันต้น เพิ่มความแข็งแรงของต้น สามารถผสมกับปุ๋ยเคมีได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่น้อยลงได้ พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

5.กิ่งทุเรียนที่ตัดแต่งกิ่งทำการเผาเพื่อกำจัดโรคระบาด
5.กิ่งทุเรียนที่ตัดแต่งกิ่งทำการเผาเพื่อกำจัดโรคระบาด

ฝากถึงเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สุดท้ายนี้ฝากถึงเกษตรกร อีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญที่ชาวสวนทุเรียนต้องรู้ คือ ต้นทุเรียนมีอาการใบเหลือง คนสวนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เห็น จนลืมไปว่าสาเหตุโรคพวกนี้เริ่มแรกจะเกิดมาจากราก ดังนั้นแล้วต้องมีการรักษารากเสียก่อน เพื่อให้รากแข็งแรง การรู้จักสภาพสวนของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแต่ละสวน ดิน น้ำ อากาศ จะไม่เหมือนกัน โรคและแมลงก็จะเกิดแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อรู้จักสวนตนเองอย่างดีแล้ว เรื่องของการจัดการก็จะง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

คุณเครือวัลย์ และคุณศิระ ประมวลทรัพย์

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่

ร้านสามเกษตร อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร.088-582-8919

หรือติดต่อได้ที่ บริษัท พีค อโกรเคมี 2 จำกัด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โทร.087-977-1590, 02-598-9207, 081-533-8499, Line : @peakagrokemee2

Facebook : พีค อโกรเคมี 2, Youtube : ค้นหาคำว่า Peak Agro Channel, www.peakagro.co.th