วิธีการปรับปรุงดิน และแนวทางฟื้นฟูบำรุงหน้าดิน ด้วยเคมี-อินทรีย์-ชีวภาพ จากหมอดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“พืช” จะดำรงชีพให้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงอยู่ได้นั้นย่อมต้องการปัจจัย 4  คือ ดิน น้ำ แสงแดด และ อุณหภูมิ (สภาพแวดล้อม) เปรียบเสมือนการดำรงชีพของมนุษย์ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ ทว่าแม้ไม่ถึงตาย แต่ก็เหมือน “ตายทั้งเป็น” กล่าวคือ พืชจะไม่เจริญเติบโต เก็บเกี่ยวผลผลิตส่งขายตลาดก็ไม่ตรงความต้องการของตลาด และเกษตรกรมีแต่จะขาดทุน เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผลผลิตของพืชผลทางการเกษตรมีความสมบูรณ์ ตรงความต้องการตลาด และขายได้ราคางาม เกษตรกรมีกำไรงอกเงย นั่นคือ เกษตรกรต้องหันกลับมาให้ความสำคัญเอาใจใส่การดูแล “ปัจจัย 4” ที่พืชต้องการ เริ่มต้นจาก “ดิน”

“ดินดีปลูกอะไรก็งอกงาม”  คำๆ นี้เชื่อว่าเกษตรกรเชื่อสนิทใจจริงแท้และแน่นอน  และประเทศไทยถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันดินโลก” เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ ๙”

เพราะฉะนั้นการพัฒนาดินให้มีสภาพสมบูรณ์เป็นจุดเริ่มต้นการปลูกพืชทุกชนิดให้เจริญงอกงามดี  เมื่อดินเสื่อมสภาพ  จำเป็นต้องฟื้นฟูปรับสภาพดิน จึงจำเป็นต้องมีปราชญ์ หรือ “หมอดิน” เพื่อทำหน้าที่เข้าไปดูแลรักษาสภาพดินที่เสื่อมโทรม หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เอื้อต่อการทำเกษตร เป็นกรดจัด หรือดินเค็มจัด อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีมาเป็นเวลานานหลายปี โดยหาวิธีเพื่อพลิกฟื้นดินให้กลับมาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ มีธาตุอาหารในดินครบ มีอินทรียวัตถุและมีน้ำในดิน สามารถปลูกพืชผักเจริญเติบโตงอกงามได้อีกครั้ง

1.ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินอินทรีย์และชีวภาพ
1.ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินอินทรีย์และชีวภาพ

 วิธีการปรับปรุงดิน แนวทางฟื้นฟูบำรุงปรับปรุงหน้าดิน

“หมอดิน เกษตรไท คลังเกษตรบางเขน จันทบุรี” หรือที่เกษตรกรหลายคนรู้จัก และเรียกกันคุ้นหูติดปาก ว่า “อาจารย์บุญย์ แห่งคลังเกษตรบางเขน” คือ ปราชญ์แห่งดินอย่างแท้จริง เป็นบุคลากรผู้ที่มีความรู้เรื่องดิน ปุ๋ย และการทำเกษตรอินทรีย์-เคมี และมีชื่อเสียงแถวหน้าของประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรทั่วไปยอมรับนับถือ “อาจารย์บุญย์” คือ ผู้พลิกฟื้นดินที่เสื่อมโทรม ปลูกอะไรก็ตาย ให้กลับมามีชีวิตเหมือนเกิดใหม่อีกครั้ง

“อาจารย์บุญย์ บางเขน แห่งคลังเกษตรบางเขน” ได้รับการยอมรับนับถือเป็นวงกว้างจากเกษตรกรที่ประสบปัญหาดินเสื่อมสภาพ ปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม่เจริญเติบโต ป่วยเป็นโรค ต้น-รากเน่า สาเหตุเพราะดินเสื่อมโทรม แต่อาจารย์บุญย์ใช้แนวทางและวิธีการฟื้นฟูบำรุงปรับปรุงหน้าดินด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ชีวภาพในการปรับปรุงหน้าดินเป็นหลัก โดยเฉพาะ “สวนทุเรียน” ที่ขึ้นชื่อว่า เกษตรกรประสบปัญหาการเพาะปลูกมาก

แต่เมื่อใช้แนวทางของอาจารย์บุญย์ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ทุเรียนลำต้นสมบูรณ์  ป่วยน้อย  แตกดอก  ออกผล  เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้ราคางาม และสภาพดินที่เคยเสื่อมโทรม ปลูกพืชอะไรก็ไม่ขึ้น ให้กลับกลายเป็นดินที่มีคุณภาพ ดินดำ ชุ่มน้ำ มีอินทรียวัตถุ และแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับอาจารย์บุญย์ บางเขน กว่า 20 ปี ที่ประกอบกิจการบริหารธุรกิจคลินิก “คลังเกษตรบางเขน” มีเกษตรกรฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และเป็นลูกค้า จำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีๆ โดยย้อนอดีตอาจารย์บุญย์การศึกษาจบโดยตรงจากภาควิชาปฐพีวิทยา ม.เกษตรศาสตร์ จึงมีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านดินและปุ๋ยอย่างลึกซึ้ง

ซึ่งอาจารย์บุญย์เล่าว่าตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ระดับมหาวิทยาลัย มีรุ่นพี่ชักชวนให้เข้าไปช่วยทำงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการผลิต-จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช เข้าไปดูแลการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวกำแพงแสน๑ และกำแพงแสน๒ ซึ่งตนเองได้ทำอยู่ 1 ครอป หรือประมาณ 6 เดือน เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ทั้งทางด้านทฤษฎี และได้ลงมือปฏิบัติเอง

2.ร้านคลังเกษตรบางเขนให้การต้อนรับอย่างดี
2.ร้านคลังเกษตรบางเขนให้การต้อนรับอย่างดี

เปิดคลินิกรักษา “ดิน” คลังเกษตรบางเขน

“หลังจากนั้นผมได้เข้าทำงานกับบริษัทปุ๋ยชื่อดังในสมัยนั้น ดูแลจัดการเรื่องการทดสอบปุ๋ย-ยา ทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์จริงๆ ในแปลงจริงของเกษตรกร ผลลัพธ์จะดีหรือไม่ดีเราทดสอบทั้งหมด เพื่อเก็บข้อมูลนำมาพัฒนาปรับปรุงต่อไป ทั้งนี้ผมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การทำงานหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2536 ได้ออกมาเปิดคลินิกพืชเล็กๆ มุ่งเน้นการแนะนำให้คำปรึกษาด้านการใช้ปุ๋ยและยา และการปรับปรุงดินให้กับพี่น้องเกษตรกร

ส่วนหน้าร้านก็มีจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งอินทรีย์และเคมี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นสูตรและผลิตขึ้นเองอีกด้วย กระทั่งปี พ.ศ.2538  ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างจริงจังในการทำคลินิก  เป็นที่ปรึกษา  และให้คำแนะนำ เกษตรกรที่ประสบปัญหาดินเสื่อมสภาพ และได้ปรับเปลี่ยนมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินอินทรีย์และชีวภาพ ซึ่งผมให้ความใส่ใจเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินเป็นหลัก

ผมมองว่าในการเพาะปลูกพืช เกษตรกรต้องใส่ใจเรื่องดินก่อน ดีกว่าไปหายามาฉีดพ่น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งนี้ผมเองโชคดีที่ได้เรียนและทำงานวิจัยโดยตรง เรื่องดินและปุ๋ย จึงได้นำมาปรับใช้ เพราะสมัยก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีการเกษตรอะไรมากนัก  เราจึงหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง หาความยั่งยืน และหาต้นเหตุว่า ทำไมปลูกพืชไร่ พืชสวน จึงป่วยถึงตาย

จึงต้องหันมาปรับปรุงบำรุงดินกันใหม่ เพราะดินมันหมดสภาพ ขาดหน้าดิน ขาดอินทรียวัตถุ และสัตว์ผิวหน้าดิน-จุลินทรีย์ดิน นั่นเอง เพราะจากประสบการณ์ การแก้ไขปัญหาปลูกพืช ต้องย้อนกลับมาแก้ไขเรื่องดินเสียก่อน เพราะเมื่อรักษาดินแล้ว ดินจะช่วยรักษาพืช และดินดีจะต้องมีจุลินทรีย์ ต้องมีไส้เดือนดินปรับปรุงโครงสร้างหน้าดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดินดีต้องมีหญ้าคลุมผิวหน้าดิน ซึ่งแนวทางที่ดีที่สุดก็คือ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีการผสมผสาน โดยใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับสารปรับปรุงดินอินทรีย์ที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ มีสารอาหารจำพวก N-P-K เป็นตัวเสริม ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นพืช เป็นสารอาหารให้พืชและจุลินทรีย์  เนื่องจากหากให้พืชกินสารอาหารจากอินทรีย์อย่างเดียว  ธาตุอาหารก็จะต่ำ  ไม่ได้สัดส่วน”

อาจารย์บุญย์เปรียบเสมือนอาจารย์ของเกษตรกร ที่ประสบปัญหาดินเสื่อมสภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากตัวเขาเองได้ลงมือปฏิบัติทำการเกษตรด้วยตัวเอง ทำการศึกษาเรียนรู้ สังเกตสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น และนำมาบอกเล่าประสบการณ์ให้เกษตรกรนำกลับไปปรับใช้จนประสบความสำเร็จอย่างแพร่หลาย

3.ผลิตภัณฑ์บำรุงยอดแตกใบ
3.ผลิตภัณฑ์บำรุงยอดแตกใบ

การใช้ปุ๋ยเชื้อ และปุ๋ยแร่ด่าง พลิกฟื้นผืนดินด้วยอินทรีย์ชีวภาพ

นอกจากนี้อาจารย์บุญย์ได้คิดค้นสูตรผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินมากมายหลายประเภท และที่ขึ้นชื่อรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ “ปุ๋ยเชื้อ และ ปุ๋ยแร่ด่าง” แก้ปัญหาพืชแคระแกร็น ป่วยและตายยืนเป็นต้น ใช้บำรุงปรับสภาพดินและพืชให้สมบูรณ์แข็งแรง

ซึ่งอาจารย์บุญย์กล่าวต่อว่าตนใช้แนวทางสารปรับปรุงดินอินทรีย์ชีวภาพร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยเคมี ในการฟื้นฟูปรับสภาพดิน และเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช โดยเมื่อก่อนนั้นปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ในไม้ผล หรือพืชทั่วไป มีเพียงแค่ปุ๋ยคอก ขี้ไก่ ขี้หมู ซึ่งกรรมวิธีการหมักก็ยังไม่สมบูรณ์ ยังมีความเป็นกรดอินทรีย์สูง ทำให้ดินเป็นกรดจัด เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเรื่อยมา

เพราะฉะนั้นจึงต้องนำอินทรีย์บางอย่างมาทำการเผาที่ความร้อนสูง เพื่อให้ได้แร่ธาตุที่สำคัญเพิ่ม อาทิ โพแทสเซียม ซิลิกา แคลเซียมฯลฯ และได้ความเป็นด่างจัดมาแก้ดินกรด จากนั้นใช้การตัดหญ้าสูง เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด โดยใส่ปุ๋ยเชื้อ เพื่อให้เพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน เบียดและคุมโรคพืช และต้องเลี้ยงหญ้าหรือหาวัสดุอินทรีย์ เศษซากพืช คลุมผิวหน้าดิน ให้สภาพแวดล้อม ความชื้น ให้ไส้เดือนดิน จุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์อยู่ได้ แล้วดินและพืชจะดีขึ้น ให้ผลผลิตสูง

อาจารย์บุญย์ยกตัวอย่างอีกว่า ดินที่เสื่อมสภาพเกิดจากถูกใช้มานาน แร่ธาตุและโครงสร้างดินที่ดีสูญเสียไปจนหมด แต่เกษตรกรก็ยังต้องทำเกษตรเชิงพาณิชย์ เพราะถ้าทำแบบอินทรีย์จากขบวนการหมักอย่างเดียว ก็ไม่ได้ผลผลิตที่ดี มีปริมาณ และคุณภาพ ที่ดีพอ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อนำไปขายจะได้เงินน้อย ไม่พอเลี้ยงชีพที่สุขสบาย จึงได้ทำกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้มีธาตุอาหารพืชที่เข้มข้น คือ นอกจากผ่านกระบวนการหมักแล้ว ก็ต้องเอาไปเผาเพื่อให้ได้แร่ธาตุสำคัญ เช่น โพแทสเซียม ซิลิกา แคลเซียม และแร่ธาตุรอง-เสริมหลายๆ ตัวที่เข้มข้น นำมาผสมผสานแร่ปรับปรุงดินหลายตัว กลายเป็น “สารอาหารปรับปรุงดิน” ที่มีคุณภาพ

ที่เรียกว่า แร่ด่าง เกษตรไท ซูก้า ลดความเป็นกรด แก้ดินที่เค็มและเสื่อมสภาพให้ฟื้นฟูดียิ่งขึ้น ช่วยการออกดอก แก้ต้นโทรม รากเน่า ยอดแห้ง กิ่งตาย ขอบและปลายใบไหม้ช่วงแล้ง สร้างเนื้อ  เพิ่มน้ำหนักผลผลิต

4.สารปรับปรุงดินอินทรีย์ชีวภาพ
4.สารปรับปรุงดินอินทรีย์ชีวภาพ

การผลิตและจำหน่ายสารปรับปรุงดินอินทรีย์ชีวภาพ

โดย “สารอาหารปรับปรุงดิน”  ที่อาจารย์บุญย์คิดค้นและผลิตขึ้นมาจำหน่ายให้กับเกษตรกร  ที่มีจำหน่าย ณ  “คลังเกษตรบางเขน” ตัวสำคัญๆ ได้แก่ “เกษตรไทย สตาร์” คือ สารปรับปรุงดินอินทรีย์ชีวภาพ ต่อยอดใช้แทนปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่เสริมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อสร้างฮอร์โมนเจริญเติบโตให้พืช เบียดและคุมโรคพืชต่างๆ

โดยอาจารย์บุญย์เผยว่ากระบวนการพัฒนานี้เป็นโนวฮาวที่ได้ศึกษาพัฒนาขึ้นมากว่า 20 ปี  หลังจากนั้นก็ปรับปรุงสาร ปรับปรุงดิน และชีวภาพมาเรื่อยๆ ต่อยอดใช้แทนปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เพื่อสร้างฮอร์โมนเจริญเติบโตให้ดีขึ้น จำหน่ายโดย “คลังเกษตรบางเขน”  คือ “เกษตรไทยสตาร์” เป็นสารชีวภาพที่ได้จากกากของ “บ่อเกรอะ” ที่มีความเข้มข้นจากหลายๆ โรงงาน นำมาผสมผสานกับมูลไส้เดือน, จุลินทรีย์กลุ่มไตรโคเดอร์มา และแร่ธาตุสำคัญๆ ที่ช่วยปรับปรุงดิน และพืชเพาะปลูกให้เจริญเติบโตสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

โดยจะมีแร่จากธรรมชาติ มีอินทรีย์สารที่ได้จากตะกรันบ่อเกรอะพักน้ำทิ้งของอุตสาหกรรมอาหารมนุษย์หลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารพืชที่หลากหลาย ที่ผ่านกระบวนย่อยสลายที่สมบูรณ์หมดแล้ว เป็นอาหารให้ไส้เดือนดิน จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน และบำรุงพืชได้ดี มีความเข้มข้นมาก

“สินค้าของที่ผมคิดค้นและผลิตขึ้นมานั้น ไม่ใช่แค่ปุ๋ย แต่เป็นทั้งยารักษารากเหง้าในดิน และก็ยังผลิตฮอร์โมนทำให้พืชเจริญเติบโต อีกทั้งต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะใช้สารชีวภาพในการผลิต อย่างไรก็ตามเราไม่ได้มุ่งเน้นขายสินค้าแพงให้กับเกษตรกร และจะบอกเสมอว่าหากดินสมบูรณ์ดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ หรือไม่ต้องใช้ในปริมาณที่มากก็ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้เรายังพัฒนาสินค้าออกมาเรื่อยๆ เพื่อใช้บำรุงดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับพี่น้องเกษตรกร ซึ่งในกลุ่มที่เป็นลูกค้าของร้านคลังเกษตรบางเขน นำผลิตภัณฑ์ไปใช้ ผลปรากฏว่าพืชหายป่วย ต้น ราก ผล ไม่เน่า ไม่ตาย แต่กลับออกดอก ออกผล ดีขึ้น เกษตรกรพึงพอใจ และมีความสุข”

5.อ.บุญย์-บางเขน-ให้คำแนะนำเกษตรกรที่สนใจ
5.อ.บุญย์-บางเขน-ให้คำแนะนำเกษตรกรที่สนใจ

การบำรุงดูแลรักษาดิน

อาจารย์บุญย์กล่าวเสริมพร้อมกับยกตัวอย่างต่อว่าย้อนกลับไปเกือบ 20 ปีที่แล้ว วิกฤตชาวสวนส้มในภาคกลางที่เคยรุ่งเรือง กลับต้องเผชิญปัญหาดินเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง ส่งผลให้สวนส้มล้มหายตายจากกันจำนวนมากในขณะนั้น เหตุเพราะดินเป็นพิษ เพราะดินแน่น รากเน่า

เนื่องจากการใช้สารเคมีกันจำนวนมาก และสะสมในดิน  เพราะฉะนั้นนี่คือตัวอย่างให้เห็นกันแล้วในอดีต ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุดให้กับเกษตรกร คือ ให้ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น และพยายามค่อยๆ ลด ละ เลิก  และให้หันมาใส่ใจปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ ทุกๆ พืชไร่ ผลไม้ ข้าว ฯลฯ จะเจริญเติบโตดีให้ผลผลิตงอกงาม

“การทำเกษตรถึงอย่างไรก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  หรือปุ๋ยเคมีได้  ซึ่งก็ยังมีความ   จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ออกดอก ติดผล ที่มีคุณภาพ ของทุกพืชที่ต้องการผลผลิตสูง และต้องใช้ผสมผสานร่วมกัน  ทั้งปรับปรุงดินอินทรีย์ชีวภาพ-ปุ๋ยเคมี  

ดังนั้นขอให้เกษตรกรเรียนรู้กับธรรมชาติ  และหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับตนเอง แต่หากเมื่อทำอย่างเดิมแล้วยังไม่สำเร็จ เกษตรกรต้องหมั่นเรียนรู้และคิดต่างเพื่อทำให้สำเร็จ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ที่สอดคล้องและเข้าใจหลัก”

6.เกษตรกรชาวสวนทุเรียน
6.เกษตรกรชาวสวนทุเรียน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

เสียงความประทับใจเกษตรกรที่มีต่อ “คลังเกษตรบางเขน” 

อาจารย์บุญย์กล่าวฝากตอนท้ายก่อนที่จะพาทีมงานและเกษตรกรที่สนใจเกือบร้อยชีวิตยกขบวนเดินทางไปชมสวนทุเรียนนอกฤดู จากการสอบถามและสังเกตเห็นปฏิกิริยาของเกษตรกรที่เข้ามาดูงานในวันนั้นแสดงออกมาทางด้านความสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับสวนที่ถือเป็นต้นแบบที่ดี มีการทำโดยได้รับการแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์จากอาจารย์บุญย์และทีมงานเป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารบังคับให้ออกดอกนอกฤดูแต่อย่างใด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณอุดม (ลุงแต้ว) และ คุณปราณี (ป้าติ๋ม) เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ต.ชากไท อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ที่ทำสวนทุเรียนมาอย่างยาวนานหลายสิบปี มีพื้นที่ปลูกทุเรียน และพืชอื่นๆ ผสมผสาน กว่า 120 ไร่ โดยทั้งสองคน เล่าให้ฟังว่า การบำรุงต้นทุเรียนจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี  มาตลอด แต่ที่ผ่านมาผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินของอาจารย์บุญย์ เน้นใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์-เคมีสูตร 6-3-6 และ “ปุ๋ยเชื้อ” บำรุงต้น ผลปรากฏว่าต้นสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้กำไรมากขึ้น

7.บำรุงดอกและผล
7.บำรุงดอกและผล

การบำรุงดูแลรักษาต้นทุเรียน

นอกจากนี้ลุงแต้ว และป้าติ๋ม ยังได้ใช้ผลิตภัณฑ์ “ปุ๋ยเชื้อ” เสริม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงพืช ป้องกันและรักษาโรค ทำให้ทุเรียนรอบล่าสุดไม่ป่วยเป็นโรค โดยใช้ในปริมาณเฉลี่ยเดือนละครั้ง วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

นอกจากนี้ยังเผยเทคนิคการใช้ผลิตภัณฑ์  “ฟรีเทคซัลเฟส” เป็นปุ๋ยบำรุงพืชอีกตัว ใส่/ต้น ในอัตราครึ่งกก.โดยประมาณ จากนั้นใส่ “ปุ๋ยแร่ด่าง” เพื่อขยายลูก ปรับโครงสร้าง ช่วยดึงใบและดอก โดยให้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพทางด้านคุณสมบัติทางด้านผสมผสานกัน ตามคำแนะนำของอาจารย์บุญย์ รับประกันผลผลิตเจริญเติบโตงอกงาม

ในตอนท้ายลุงแต้ว และป้าติ๋ม บอกด้วยว่าผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่ใช้บำรุงดินและพืชของอาจารย์บุญย์ ตนเองจะใช้ไปเรื่อยๆ และฝากบอกอาจารย์บุญย์ว่าอย่าขึ้นราคาผลิตภัณฑ์ และเปลี่ยนประสิทธิภาพ หรืออย่าลดปริมาณสารอาหารในตัวผลิตภัณฑ์นั่นเอง เพราะผลที่ตอบรับที่เห็นกับตาทางด้านความสมบูรณ์ของโครงสร้างลำต้นของพืชดีเหลือเกิน

ดังนั้นตนขอยืนยันว่าจะใช้สูตรนี้ต่อไปอย่างแน่นอน พร้อมกันนี้ตนก็ขอบอกกล่าวไปยังเพื่อนบ้านเกษตรกรชาวสวนทุเรียนด้วยกันว่าผลิตภัณฑ์ของอาจารย์บุญย์ไม่ทำให้ท่านต้องผิดหวังอย่างแน่นอน ของดีเราก็บอกว่าดี ของอะไรที่ไม่ดีเราก็ไม่อยากใช้เป็นเรื่องธรรมดา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคนด้วย วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

8.ผลิตภัณฑ์ล้างสารตกค้าง-ทำใบ
8.ผลิตภัณฑ์ล้างสารตกค้าง-ทำใบ วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

การใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ย และสารปรับปรุงดิน กับต้นทุเรียน

จากนั้นทีมงานนิตยสาร “เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ” ได้เข้าไปสัมภาษณ์เกษตรกรหญิงแกร่งอีกคนหนึ่งนั่นก็คือ  “คุณสุมาลี บริบูรณ์” ชาวสวนทุเรียน อ.แกลง จ.ระยอง  เป็นเกษตรกรอีกรายที่ใช้ผลิตภัณฑ์จาก “คลังเกษตรบางเขน” หลังเคยประสบปัญหาปลูกทุเรียนได้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยกล่าวว่า ตนมีสวนทุเรียนประมาณ 13 ไร่ ซึ่งมีแปลงใหม่ที่เพิ่งปลูกทุเรียนเพิ่มจากเดิมอีกจำนวน 5 ไร่ สมัยก่อนเคยประสบปัญหาทุเรียนต้นโทรม ใบไม่สมบูรณ์ เหลืองแห้ง และร่วงในที่สุด เคยใช้ปุ๋ยเคมีมาฉีดแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ดีตนก็ก้มหน้าก้มตาบำรุงผลผลิตที่พอมีอยู่ พอถึงช่วงที่ต้องนำผลผลิตไปขายก็แทบมองไม่เห็นกำไรเท่าที่ควรจะได้ ซึ่งพฤติกรรมในการทำดังกล่าวก็วนเวียนอยู่นี้มานานถึง 20 ปี

จนกระทั่งประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ตนได้มารู้จักกับอาจารย์บุญย์ ซึ่งท่านก็ได้เข้ามาให้คำปรึกษาและแนะนำว่าการดูแลทุเรียนที่ผ่านมาของตนเป็นวิธีที่ผิด ทั้งนี้อาจารย์บุญย์ได้ให้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ย และสารปรับปรุงดิน อีกทั้งก็มีเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แล้วบอกว่าเห็นผลในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ และหลังจากได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์สารปรับปรุงดิน โดยใช้กับแปลงที่เพิ่งลงทุเรียนปลูกใหม่จำนวน 5 ไร่ ก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของลำต้นค่อยๆ ดีขึ้น ใบที่เคยเหลืองก็เริ่มเขียวขจี นั่นก็แสดงว่าผลิตภัณฑ์ตามที่อาจารย์แนะนำตอบสนองได้เป็นอย่างดีทีเดียว

“ผลิตภัณฑ์ที่ทดลองใช้มีส่วนผสมของธาตุอาหารในการรักษาโรค ไม่ใช่แค่พืชอย่างเดียว แต่ยังใช้บำรุงปรับสภาพดินให้ดีขึ้นด้วย ส่วนกลุ่มปุ๋ยที่ใช้เป็นกลุ่มอะมิโนฮิวมิค ซึ่งอาจารย์บุญย์บอกว่าจะมีส่วนผสมของเคมีด้วย แต่เน้นธาตุสำคัญ ที่ดินและพืชจะดูดซึมไปใช้ เช่น ไนโตรเจน และโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัส ในดินมีเยอะแล้ว จึงไม่ต้องใส่เพิ่มอีก ซึ่งองค์ความรู้ทุกอย่าง อาจารย์บุญย์ได้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด   ซึ่งตนเองก็ประทับใจถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นตามลำดับเป็นอย่างมาก” คุณสุมาลีกล่าวส่งท้ายก่อนจากกันในวันนั้น

9.เกษตรกรที่เข้ามารับซื้อผลิตภัณฑ์อย่างคับคั่ง
9.เกษตรกรที่เข้ามารับซื้อผลิตภัณฑ์อย่างคับคั่ง

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจผลิตภัณฑ์จากร้านคลังเกษตรบางเขน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

สำหรับเกษตรกรที่สนใจในสินค้าผลิตภัณฑ์ หรือต้องการขอคำแนะนำสามารถติดต่อไปได้ที่ “อาจารย์บุญย์ บางเขน” หรือ ร้านคลังเกษตรบางเขน สาขาสี่แยกหนองแหวน ถนนสุขุมวิท 159/1-9 ม.5 ต.วังโตนด อ.นายายอาม จ.จันทบุรี 22170 โทร.081-888-6303

สำหรับเกษตรกรที่อยู่ใกล้เขตอำเภอมะขาม สามารถติดต่อไปได้ที่ สาขาหนองอ้อ ถนนมะขาม-จันทบุรี 33/3 ม.3 ต.มะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี 22150 โทร.084-886-6485

สำหรับเกษตรกรที่อยู่ในเขต อ.เขาคิชฌกูฎ สามารถติดต่อไปได้ที่ ถนนจันดำ-คลองพลู 49/5 ม.2 ต.คลองพลู  อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี 22210 โทร.086-346-8536

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับเกษตรกรที่อยู่ใกล้สาขาร้านวานิชการเกษตร (ร้านเครือข่าย) ถนนสุขุมวิท อยู่ข้างศูนย์มิตซูบิชิจังหวัดตราด โทร.081-532-0559 วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน

สำหรับเกษตรกรที่อยู่ทางภาคใต้สามารถติดต่อเครือข่ายตัวแทนและชมแปลงตัวอย่างได้ที่จังหวัดชุมพร อ.ถ้ำสิงห์ โทร.086-270-0836 อ.ปะทิว ติดต่อได้ที่ คุณสมศักดิ์ มั่นสวัสดิ์ โทร.089-288-2577 อ.ท่าแซะ ติดต่อได้ที่ ผู้ใหญ่ถาวร รักษาผล โทร.089-871-4799

ติดตามผลงานผ่านยูทูป *ร้านคลังเกษตรบางเขน *หรือ * บุญย์ บางเขน * มีวีดีโอเรื่องราวต่างๆ ให้ลองพิจารณา ในแนวทางการเกษตรยั่งยืน  หรือรับฟังวิทยุ ชื่อ รายการสารพันปัญหาเกษตร โดยบุญย์.บางเขน ช่วงเวลา 05.00-06.00น. / สถานีวิทยุทอ.๐๑๖ จันทบุรี 93.25MHz. / สทร.๑๐ เขาสมิง 93.75 MHz. / บ้านนา แกลง 97.5 MHz.เวลา 06.00-07.00น. / สทร.๔ จันทบุรี 88.75 MHz. เวลา 8.00 น.-9.00 น. และ 12.00-13.00น. / วิทยุชุมชนคนแหลมสิงห์ 102.50 MHz. เวลา 15.00-16.00น. และ 17.00-18.00 น. ทางเกวียนเรดิโอ 105.75 MHz. และอื่นๆ เวลา 05.00-06.00 น. และ 17.00-18.00 น. ประทิว 101.50 MHz. วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดิน