พันธุ์ทุเรียน “ทุเรียนจันฯ ลูกผสม” ปลูกง่าย กำไรดี มีอนาคต ดีเลิศไม่แพ้หมอนทอง!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากเกิดปรากฎการณ์ “มหัศจรรย์ทุเรียนไทย โดยแจ็คหม่า ฟีเวอร์” ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่ชาวจีนแห่ซื้อทุเรียนหมอนทอง และทุเรียนสายพันธุ์ไทย ผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซระดับโลก และอันดับหนึ่งของประเทศจีน อย่าง “อาลีบาบา” หมดเกลี้ยง 80,000 ลูก ใน 1 นาที! นั่นจึงเป็นสัญญาณที่ดี หรือเป็นอีกหนึ่งความหวังใหม่ของชาวสวนทุเรียนผู้ปลูก และล้งผู้ส่งออก ทั้งมือใหม่ และมือเก่า ที่คลุกคลีอยู่ในธุรกิจการส่งออกผลไม้มาอย่างยาวนาน ที่จะคว้าโอกาสสำคัญในการทำการค้าขายกับประเทศจีน สำหรับสินค้าเกษตรทุกชนิดที่กำลังขยายเพิ่มมากขึ้นทุกปี

1.ทุเรียนจันทบุรี-3
1.ทุเรียนจันทบุรี-3

การปลูกทุเรียน

ทั้งนี้ว่ากันด้วยเรื่องของ “ราชาผลไม้ทั้งปวง” คือ “ทุเรียน” ซึ่งถ้าให้ขึ้นชื่อคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์ชั้นเลิศ อย่าง “หมอนทอง” หรือ “ชะนี” ที่ขึ้นชื่อลือชาว่าอร่อย และราคาสูงที่สุด ในบรรดาทุเรียนทุกๆ สายพันธุ์ ทว่าย้อนกลับไปถึงกระบวนการปลูกของพี่น้องชาวสวนทุเรียน

อย่างที่ทราบกันดีว่า ทุเรียนหมอนทองถ้าจะให้ปลูกได้ผลผลิตคุณภาพ 100% นั้นค่อนข้างดูแลยาก ซึ่งต้องให้ความสนใจเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตการวิเคราะห์พิจารณาว่าพร้อมทั้งทำการตั้งแต่เตรียมดิน เตรียมหลุม การให้ปุ๋ย ให้น้ำ และคำนึงถึงสภาพอากาศ เป็นต้น

2.คุณสุรินทร์-อัคคะรัตน์
2.คุณสุรินทร์-อัคคะรัตน์

จุดเริ่มต้นการปลูกทุเรียนพันธุ์ลูกผสม

ด้วยเหตุนี้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนจึงหันเหปรับเปลี่ยนพัฒนาการปลูกทุเรียนรูปแบบใหม่ในปัจจุบันกันมากขึ้น ซึ่งก็คือ “ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่” ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันในการนำปลูกขยายพันธุ์ ได้แก่ “สายพันธุ์จันทบุรี” ที่กำลังได้รับความนิยม เกษตรกรต้องการนำพันธุ์มาขยาย เพราะขายส่งตลาดได้ราคางาม  และที่สำคัญตลาดผู้บริโภคทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีนพร้อมอ้าแขนรอรับได้อีกจำนวนมหาศาล

“ลุงสุรินทร์” เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรชาวสวนทุเรียนที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดและคลุกคลีอยู่กับทุเรียนมาตลอดกว่า 30 ปี ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่แปลงทำการเกษตรกว่า 30 ไร่ ได้ถูกเนรมิตไปกับการขยายต้น พันธุ์ทุเรียน ลูกผสม โดยลงปลูกสายพันธุ์จันทบุรีแทบทั้งสิ้น ซึ่งลุงสุรินทร์ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองทำสวนทุเรียนมากว่า 30 ปี ปลูกมาแล้วหลายสายพันธุ์ ทั้งหมอนทอง ชะนี ฯลฯ จนกระทั่งต่อมา “ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี” มีการวิจัยทุเรียนพันธุ์ลูกผสม จึงได้รับต้นพันธุ์มาเพาะปลูกและขยายพันธุ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา จากการเริ่มต้นปลูกสายพันธุ์จันทบุรี 1 เพียง 2-3 ต้น

3.ทุเรียนจันทบุรี-2-3-10
3.ทุเรียนจันทบุรี-2-3-10

สาย พันธุ์ทุเรียน

จนกระทั่งวันนี้ในสวนทุเรียนมีปลูกเอาไว้หลากหลาย อาทิ สายพันธุ์จันทบุรี 2, 3 และจันทบุรี 10 ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ (เฉลี่ยมากกว่า 30 ต้น)  ซึ่งทุเรียนพันธุ์ลูกผสมจะมีความแตกต่างกัน  ยกตัวอย่างเช่น  เนื้อทุเรียน และน้ำหนัก  แต่จุดเด่นที่สำคัญของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมจันทบุรี คือ รสชาติเนื้ออร่อย ขายได้ราคาดี ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย เมื่อเทียบกับสายพันธุ์หมอนทอง ที่เกษตรกรต้องควบคุมดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ จึงจะได้คุณภาพสูง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ใช้ปุ๋ยฉีดบำรุงโคนต้น-บำรุงใบ
4.ใช้ปุ๋ยฉีดบำรุงโคนต้น-บำรุงใบ

การบำรุงดูแลรักษาต้นทุเรียน

ลุงสุรินทร์ยกตัวอย่างการบำรุงรักษาทุเรียนพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์จันทบุรี เช่น การใช้ปุ๋ยฉีดบำรุงโคนต้น บำรุงใบ เช่น  ใช้ปุ๋ยเคมีเร่งดอกสูตร 8-24-24 สลับกับการให้น้ำอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม ไม่ต้องมากเกินไป แล้วปล่อยให้โตตามธรรมชาติ หรือสลับกับการใช้ปุ๋ยสูตรเสมอให้ 7 วันโดยฉีด 2 ครั้ง เป็นต้น ทั้งนี้อาจมีการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกในปริมาณ 25% ได้บ้าง โดยฉีดหนเดียวไม่ต้องฉีดซ้ำอีก แค่นี้ทุเรียนก็ออกผลผลิตงามตามความต้องการแล้ว

ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์จันทบุรีคุณภาพเทียบเท่าหมอนทอง ชะนี และพันธุ์อื่นๆ เนื้อหวาน และนุ่ม น้ำหนักแต่ละลูกที่ปลูกได้แล้วส่งขายตลาด เฉลี่ยลูกละไม่ต่ำกว่า 3 กก. อีกทั้งการปลูกง่าย ทนอากาศแล้งได้ดี  ซึ่งผมโชคดีที่ขยายพันธุ์เองได้ ในขณะที่ปัจจุบันมีเกษตรกรหลายรายที่ต้องลงทะเบียนจองกับศูนย์วิจัยฯ

 แต่อย่างไรก็ดีเกษตรกรที่สนใจต้นพันธุ์สามารถติดต่อสอบถามมาที่ผมโดยตรงได้ เพราะผมมุ่งเน้นขยายพันธุ์ และส่งกลับคืนศูนย์วิจัยฯ เช่นกัน เนื่องจากมีเกษตรกรที่ต้องการอีกจำนวนมาก เราจึงอยากมีส่วนช่วยเหลือ สนับสนุน  และผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์จันทบุรีกันเยอะๆ เพราะมองเห็นช่องทางตลาดที่ยังเปิดกว้างอีกมาก ลุงสุรินทร์กล่าว

5.ผลผลิตทุเรียนจันทบุรี-2
5.ผลผลิตทุเรียนจันทบุรี-2
เนื้อทุเรียนจันทบุรี-2-รสชาติอร่อย
เนื้อทุเรียนจันทบุรี-2-รสชาติอร่อย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตทุเรียน

ด้านการตลาด ลุงสุรินทร์เล่าให้ฟังต่อว่า ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์จันทบุรีมีตลาดรองรับที่ชัดเจน เกษตรกรไม่ต้องเป็นกังวล ยกตัวอย่าง ที่สวนของตนเองปัจจุบันปลูกแล้วส่งจำหน่ายให้กับ “ล้งที่รับซื้อเพื่อส่งออกตลาด ทั้งในและต่างประเทศ” ในราคาที่น่าพอใจ

โดยจากปีที่ผ่านๆ มา ขายหมดเกลี้ยง ซึ่งครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2561 นี้ เฉพาะทุเรียนลูกผสมที่สวนเก็บผลผลิตส่งขายไปแล้วร่วม 4 ตัน จากจำนวนทุเรียนประมาณ 30 ต้น เฉลี่ยส่งขายราคากว่า 100 บาท/กก.ขึ้นไป ในขณะที่ภายในสวนก็ยังคงปลูกทุเรียนสายพันธุ์เก่าสลับแซมๆ กันไป

โดยลุงสุรินทร์บอกว่าค่อยๆ ขยายไปทีละนิดละหน่อย ตั้งใจจะขยายสายพันธุ์ลูกผสมไปเรื่อยๆ เพราะตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง ขณะที่ทุเรียนสายพันธุ์ดั้งเดิมก็ยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จึงปลูกควบคู่กันไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ผลผลิตทุเรียนจันทบุรี-3
6.ผลผลิตทุเรียนจันทบุรี-3
เนื้อและสีสันของทุเรียนจันทบุรี-3
เนื้อและสีสันของทุเรียนจันทบุรี-3

แนวโน้มในอนาคต

ลุงสุรินทร์กล่าวถึงความประทับใจ  พร้อมยังได้กล่าวฝากข้อคิดดีๆ  สำหรับการปลูกขยาย พันธุ์ทุเรียน พันธุ์ลูกผสม    สายพันธุ์จันทบุรีว่า ประทับใจสายพันธุ์จันทบุรีมาก แต่ทั้งนี้ก็มองว่าถ้าหากภาครัฐ หรือมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาให้การช่วยเหลือ  ช่วยสนับสนุนให้องค์ความรู้ต่างๆ  หรือการสนับสนุนหาตลาด  หรือช่องทางการจำหน่ายก็ดีให้กับ

ชาวสวนทุเรียนมากยิ่งขึ้นกว่านี้  คิดว่าอนาคตของทุเรียนส่งออกน่าจะไปได้ไกลกว่านี้  เพราะอย่างที่บอกว่าใน       ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งมีจำนวนประชากรมากที่สุดของเอเชีย ซึ่งผู้บริโภคชาวจีนมีพฤติกรรมจับจ่ายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซแทบทั้งสิ้น และมีกำลังซื้อสูง ตลอดจนชื่นชอบอาหาร และผลไม้ ของประเทศไทยอยู่แล้วนั่นเอง

“ทุเรียน คือ ผลไม้ที่คนจีนชื่นชอบบริโภคมากๆ และพันธุ์ลูกผสมพันธุ์นี้ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าได้ภาครัฐช่วยทำตลาดมากกว่านี้ตนคิดว่าไม่แพ้หมอนทอง หรือชะนี อย่างแน่นอน อีกทั้งตลาดมีโอกาสเติบโตไปได้อีกไกล ตลอดจนการปลูกก็ง่าย  ดูแลง่าย  ผมกล้าการันตีได้เลยว่าชาวสวนทุเรียนสบายใจได้  ปลูกทุเรียนพันธุ์ลูกผสมพันธุ์นี้ยังไงก็ขายได้ล้านเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน” นั่นคือคำกล่าวยืนยัน พร้อมขอแรงสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบของลุงสุรินทร์ก่อนจากกันในวันนั้น  

7.รูปทรงลักษณะทุเรียนจันทบุรี-10
7.รูปทรงลักษณะทุเรียนจันทบุรี-10 พันธุ์ทุเรียน พันธุ์ทุเรียน พันธุ์ทุเรียน พันธุ์ทุเรียน พันธุ์ทุเรียน พันธุ์ทุเรียน

การพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียน

ความเป็นมา/เกร็ดความรู้ “ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์จันทบุรี” (อ้างอิงข้อมูลจากนักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี)

โครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดย ดร.ทรงพล สมศรี ผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตร ได้รวบรวม พันธุ์ทุเรียน ไทย 89 พันธุ์ มาปลูกในศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี มาพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ต่อมาปี พ.ศ.2533 พบว่า มีทุเรียน 18 พันธุ์ สามารถนำมาผสมกัน เพื่อให้ได้ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมที่มีคุณภาพดี และมีคุณลักษณะต่างๆ ตามที่ต้องการ จนกระทั่งได้ทุเรียนพันธุ์ใหม่ออกมาทั้งหมด 9 พันธุ์ (จันทบุรี 1-9) และเมื่อนำทุเรียนทั้ง 9 สายพันธุ์ ไปทาบกิ่งบนต้นตอทุเรียนพันธุ์ชะนี อายุประมาณ 10 ปี อีกส่วนหนึ่งนำไปลงปลูกในแปลงทดลอง ภายในสถานีทดลองยางทุ่งเพล จ.จันทบุรี

โดยหลังจากทุเรียนทั้ง 9 สายพันธุ์ ให้ผลผลิต ปรากฏว่าพันธุ์จันทบุรี 1-6 ให้ผลผลิตไม่เป็นตามเป้า มีเพียงพันธุ์จันทบุรี 7 จันทบุรี 8 และจันทบุรี 9 มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตสูง สี กลิ่น รสชาติอร่อย ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สายพันธุ์จันทบุรี 7
เป็นลูกผสมระหว่างแม่พันธุ์ก้านยาว พ่อพันธุ์ชะนี ลักษณะโดดเด่นมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นแค่ 95 วัน เนื้อเหลืองเข้ม รสชาติหวาน มัน เนื้อและเส้นใยเหนียวปานกลาง กลิ่นหอมอ่อน ผลมีรูปทรงกลมรี 1 ผล มี 4 พู แต่ละพูมีขนาดเท่ากัน

สายพันธุ์จันทบุรี 8
เกิดจากแม่พันธุ์ชะนี พ่อพันธุ์หมอนทอง อายุเก็บเกี่ยว 114 วัน เนื้อสีเหลือง รสชาติหวาน มัน ดีมาก เนื้อละเอียด  เส้นใยปานกลาง กลิ่นหอมอ่อน และมี 4 พู เท่ากันทุกพู

สายพันธุ์จันทบุรี 9
แม่ชะนี พ่อหมอนทอง รุ่นที่สอง อายุเก็บเกี่ยว 138 วัน สีเนื้อเหลือง รสชาติหวาน มัน เนื้อเหนียวละเอียด กลิ่นหอมแรง  มี 4 พู  ใหญ่เท่ากันทุกพู  อย่างไรก็ตามทุเรียนทั้ง 3 สายพันธุ์  ได้นำไปทดลองปลูกในหลายพื้นที่  พบว่าให้ผลผลิตดีตรงตามสายพันธุ์ เฉพาะในพื้นที่ จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด เท่านั้น โดยจังหวัดอื่นๆ ผลผลิตยังไม่ดีเท่าที่ควร

สำหรับเกษตรกรที่สนใจต้นพันธุ์สามารถสอบถาม พันธุ์ทุเรียน สายพันธุ์ใหม่ไปได้ที่ คุณสุรินทร์ อัคคะรัตน์ เลขที่ 18/16 หมู่ 8 ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี 22210 หรือโทร.098-440-0017 ได้ทุกวัน พันธุ์ทุเรียน