การชำลูก กุ้งขาว ก่อนปล่อยลงบ่อ น้ำหมักสับปะรด ( ตอนที่ 2 )

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การชำลูก กุ้งขาว ก่อนปล่อยลงบ่อ น้ำหมักสับปะรด ( ตอนที่ 1 )

การชำลูก กุ้งขาว ก่อนปล่อยลงบ่อ น้ำหมักสับปะรด ( ตอนที่ 2 )

นิตยสาร สัตว์น้ำ
นิตยสาร สัตว์น้ำ

ตอนที่1 เราได้พูดคุยกับ คุณกิตบัณฑูรย์ สืบสมาน หรือ เฮียแฟท เรื่อง น้ำต้องดี ก่อนนำไปใช้, การสร้างอาหารธรรมชาติต้อนรับลูกกุ้งและวิธีการนำไปใช้ม การชำ สร้างความแข็งแรงก่อนปล่อยลงเลี้ยงจริง,เคล็ดลับที่ต้องเปิดเผย สูตรน้ำมันกระเทียมต้านเชื้อแบคทีเรีย และวิธีการนำไปใช้

ลูกชายและเฮียแฟท ฟาร์มผู้จัดการ
ลูกชายและเฮียแฟท ฟาร์มผู้จัดการ

โดยความเดิมตอนที่ 1 คือ เฮียแฟท เจ้าของผู้จัดการฟาร์มแห่งเมืองฉะเชิงเทรา ที่ใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ กับการเลี้ยงกุ้งเป็นผู้จัดการฟาร์มกุ้งขาว บนพื้นที่ราวๆ 50 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีทั้งหมด 9 บ่อๆ 2 ไร่ 2 บ่อ บ่อที่เหลือประมาณ 4 ไร่ ใช้เลี้ยงจริง 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อพัก บ่อชำ บ่อขี้เลน และบ่อเลี้ยง โดยที่ทุกบ่อจะมีท่อเชื่อมต่อกันเป็นทางเดินของน้ำ เรื่องแหล่งน้ำจะดูดเข้าปีละครั้ง ช่วงหน้าน้ำเค็มราวเดือนเมษายนโดยจะดูดน้ำเข้าให้เต็มทุกบ่อ สามารถหมุนเวียนน้ำใช้ได้ทั่วทั้งฟาร์ม ในรอบปีจะสามารถทำการเลี้ยงได้ 2 ครอป มุ่งเน้นรอบการเลี้ยงเพราะต้องการพักบ่อ ลดความเสี่ยง ตัดวงจรโรค เฮียแฟทกล่าวต่ออีกว่า ที่ฟาร์มจะเน้นความสะอาด การป้องกัน และระบบการจัดการ โดยถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ การเลี้ยงกุ้งจะมีลูกชายเป็นผู้จัดการฟาร์ม รวมถึง ว่าที่ ร..วิชัย สังขรรค์ หรือ คุณหน่อง นักวิชาการประจำฟาร์ม เป็นกำลังสำคัญ

กุ้งขาว ไซส์ดี
กุ้งขาว ไซส์ดี

การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อบำบัดคุณภาพน้ำและดิน น้ำและดินถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถควบคุมและจัดการได้ เมื่อดินดี น้ำดี การเลี้ยงกุ้งก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จุลินทรีย์ (ปม.1) สามารถนำไปใช้ในการบำบัด ปรับปรุงคุณภาพน้ำและดิน โดยการละลายน้ำสาดลงในบ่อ ในขั้นตอนการเตรียมบ่อและยังใช้เป็นโปรไบโอติกโดยการผสมลงไปในอาหารกุ้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย

ตากบ่อแห้ง ก่อนเริ่มครอปใหม่
ตากบ่อแห้ง ก่อนเริ่มครอปใหม่

การเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์(ปม.1) เพื่อใช้เป็นโปรไบโอติก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) 5 กรัม

2.กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 20 กรัม

ตอนที่1 เราได้พูดคุยกับ คุณกิตบัณฑูรย์ สืบสมาน หรือ เฮียแฟท เรื่อง น้ำต้องดี ก่อนนำไปใช้, การสร้างอาหารธรรมชาติต้อนรับลูกกุ้งและวิธีการนำไปใช้ม การชำ สร้างความแข็งแรงก่อนปล่อยลงเลี้ยงจริง,เคล็ดลับที่ต้องเปิดเผย สูตรน้ำมันกระเทียมต้านเชื้อแบคทีเรีย และวิธีการนำไปใช้ โดยความเดิมตอนที่ 1 คือ เฮียแฟท เจ้าของผู้จัดการฟาร์มแห่งเมืองฉะเชิงเทรา ที่ใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ กับการเลี้ยงกุ้งเป็นผู้จัดการฟาร์มกุ้งขาว บนพื้นที่ราวๆ 50 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีทั้งหมด 9 บ่อๆ 2 ไร่ 2 บ่อ บ่อที่เหลือประมาณ 4 ไร่ ใช้เลี้ยงจริง 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อพัก บ่อชำ บ่อขี้เลน และบ่อเลี้ยง โดยที่ทุกบ่อจะมีท่อเชื่อมต่อกันเป็นทางเดินของน้ำ เรื่องแหล่งน้ำจะดูดเข้าปีละครั้ง ช่วงหน้าน้ำเค็มราวเดือนเมษายนโดยจะดูดน้ำเข้าให้เต็มทุกบ่อ สามารถหมุนเวียนน้ำใช้ได้ทั่วทั้งฟาร์ม ในรอบปีจะสามารถทำการเลี้ยงได้ 2 ครอป มุ่งเน้นรอบการเลี้ยงเพราะต้องการพักบ่อ ลดความเสี่ยง ตัดวงจรโรค เฮียแฟทกล่าวต่ออีกว่า ที่ฟาร์มจะเน้นความสะอาด การป้องกัน และระบบการจัดการ โดยถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ การเลี้ยงกุ้งจะมีลูกชายเป็นผู้จัดการฟาร์ม รวมถึง ว่าที่ ร.ต.วิชัย สังขรรค์ หรือ คุณหน่อง นักวิชาการประจำฟาร์ม เป็นกำลังสำคัญ การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อบำบัดคุณภาพน้ำและดิน น้ำและดินถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถควบคุมและจัดการได้ เมื่อดินดี น้ำดี การเลี้ยงกุ้งก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จุลินทรีย์ (ปม.1) สามารถนำไปใช้ในการบำบัด ปรับปรุงคุณภาพน้ำและดิน โดยการละลายน้ำสาดลงในบ่อ ในขั้นตอนการเตรียมบ่อและยังใช้เป็นโปรไบโอติกโดยการผสมลงไปในอาหารกุ้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย การเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์(ปม.1) เพื่อใช้เป็นโปรไบโอติก 1.หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) 5 กรัม 2.กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 20 กรัม 3.อาหารกุ้งบดละเอียด 10 กรัม 4.น้ำสะอาด 1 ลิตร นำส่วนผสมทุกอย่าง ผสมรวมกันในภาชนะที่มีฝิด มีการให้อากาศ(เป่าลม) ระดับปานกลางและเพียงพอ เพื่อช่วยให้ส่วนผสมไม่ตกตะกอน ใช้เวลาในการขยายหัวเชื้อ 36-72 ชั่วโมง จากนั้นนำหัวเชื้อมาผ่านการกรองด้วยผ้าขาวเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำไปใช้ การนำไปใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) ปริมาณ 10-20 ซีซี/อาหาร 1 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับอาหารให้พอหมาด นำไปให้กุ้งกินทุกมื้อจนลูกกุ้งอายุ 30-60 วันหรือจนกว่าจะพ้นระยะเสี่ยงของการเกิดโรค ส่วนการจัดการเพิ่มเติมในบ่อชำ ในช่วงนี้เฮียแฟทจะเน้นมาก ไล่ลงไปตั้งแต่การจัดการขัดขอบบ่อ ลดการสะสมของเชื้อโรค ด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณ 10 เซนติเมตร การดูดน้ำออกทางเซ็นทรัลเลน วัดคุณภาพน้ำอาทิตย์ 6-8 ครั้ง โดยเฉพาะช่วงวันโกน วันพระ ใช้ระยะเวลาการชำลูกกุ้ง 1 เดือน แล้วจึงค่อยขยายลูกกุ้งลงบ่อใหญ่ บ่อเลี้ยงหรือบ่อชง เป็นบ่อที่เตรียมพร้อม เพื่อที่จะลงลูกกุ้งเลี้ยง การเคลื่อนย้ายลูกกุ้งจากบ่อชำหรือการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงจะเลือกปล่อยช่วงเช้าลงในอัตราการปล่อยลูกกุ้ง 100,000 ตัว/ไร่ วันแรกไม่มีการให้อาหาร อาศัยอาหารธรรมชาติที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้เป็นอาหาร วันที่ 2 แล้วค่อยให้อาหาร โดยในบ่อเลี้ยงจะลดการใช้แรงงานคน มาใช้เครื่องออโตฟีดแทน ปริมาณอาหารจะคำนวณตามโปรแกรมการกินอาหารของลูกกุ้งแต่ละบ่อ ตั้งความถี่และเวลาควบคู่ไปกับการเช็คยอเพื่อรู้ปริมาณอาหารที่แท้จริง การเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกอาทิตย์เพื่อลดแอมโมเนียและของเสียภายในบ่อ ลดน้ำ ดูคุณภาพน้ำ ดูค่าต่างๆ ควบคุมคุณภาพในแบบของเฮียแฟท คือ pH 7.5-8 อัลคาไลน์ 150-200 ออกซิเจน 3 ขึ้นไป แอมโมเนียไม่เกิน 1 แมกนีเซียมต้องมี 3 เท่า ของแคลเซียม โดยแคลเซียมจะยืนที่ 200 ขึ้น ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงมาจนได้กุ้ง 30-40 วัน ช่วงนี้แหละที่ถือเป็นปัญหาหนักใจของเฮียแฟท เป็นช่วงอันตราย รอด ไม่รอด ก็ช่วงนี้ เพราะกุ้งในช่วงนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลดไซส์ เพิ่มขนาดทุกวัน เฮียแฟทได้เล่าถึงสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันแบบไม่เจตนา คือ เจอไนไตรท์ และแอมโมเนียสูง และขี้ขาว โรคยอดฮิต ทำให้กุ้งตายไปบางส่วน แต่ยังดีที่เฮียแฟทเตรียมตัวมาดี บวกกับที่ได้ปรึกษากรมประมง ก็เลยเอาตัวรอดมาได้ การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ การตีน้ำเพิ่ม ดูดเลนออก เปลี่ยนถ่ายน้ำเข้า-ออกอยู่เสมอ ส่วนขี้ขาวไม่ต้องไปไหนไกล แก้ปัญหาด้วยน้ำมันกระเทียม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน หลังครบ 7 วัน กินอาหารเหมือนเดิมตามปกติ สูตรนี้ได้ผลดี คุมอยู่ เฮียแฟทพิสูจน์มาแล้ว ระยะเวลาการเลี้ยง การเลี้ยงกุ้ง 1 ครอปจะใช้เวลา 70-80 วัน จะได้ไซส์ 50-60 ตัว/ก.ก.งานนี้ทีมงานของผลยืนหยันล่าสุด ที่พึ่งจับผลผลิต สดๆร้อนของฟาร์ม คือ บ่อ 4 ไร่ ใช้บริการลูกกุ้ง Fo ของชุติกาญจน์ฟาร์ม ปล่อย 4แสนตัว ได้กุ้ง 4.2 ตันและบ่อที่กำลังลงเลี้ยงก็เป็นข้อมูลเดิม คือลุกกุ้งของชุติกาญจน์ฟาร์ม ปล่อยยอดเดิม ที่ 4 แสนตัว ตอนนี้เลี้ยงได้ 59 วัน มีดูข้อมูลย้อนหลังถือว่าไม่ธรรมดา นั้นคือการสุ่มครั้งแรกที่ 35 วัน ได้กุ้งไซส์ 158 ตัว/กิโลกรัม ครั้งที่ 2 สุ่มกุ้ง 47 วัน ได้กุ้งไซส์ 103 ตัว/กิโลกรัม ครั้งล่าสุด 54 วัน ได้กุ้งไซส์ 91 ตัว/กิโลกรัม จากข้อมูลเลี้ยงกุ้งไม่ถึง 60 วัน หลุดร้อยไปแล้ว ถ้าเป็นมวยก็เกาะติดตังค์สั่งน้ำรอได้เลย อาหารช่วงนี้ให้วันละ 125 ก.ก.อาหารใช้ไปแล้ว 3.5 ตัน และจะเพิ่มเป็น 150 kg. เมื่อได้ 60 วัน เริ่มเห็นลางๆ แล้วว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร จะยิ้มน้อยหรือยิ้มใหญ่เท่านั้นเอง และการเลือกใช้ลูกกุ้ง สายพันธุ์ดีของชุติกาญจน์(ไทยแลนด์) แฮทเชอรี่ ที่ทดลองปล่อยไปแล้ว 2 ครอป บอกได้ว่าพึ่งพอใจและไม่ทำให้ผิดหวังแต่อย่างใด สามารถเลี้ยงควบคู่ไปกับสายพันธุ์ของบริษัทซีพีได้อย่างลงตัว การเลี้ยงกุ้งขาวถ้ามีการจัดการที่ดี เน้นการป้องกัน และรู้จักพลิกแพลง ไม่ย่ำอยู่กับที่ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามก็มี เหมือนกับเฮียแฟท เจ้านายใหญ่ผู้จัดการฟาร์มที่ตอนนี้มีทั้งความสนุก ท้าทายกับการเลี้ยงกุ้งของคนวัยเกษียณ ชนิดเรียกว่าฮิตติดลมบนไปแล้ว สำหรับเกษตรกรนักเลงกุ้งด้วยกันเฮียแฟทยินดีที่จะให้คำแนะนำปรึกษาแบบไม่ต้องเกรงใจตามประสาคนกันเองที่เบอร์ 08-1687-6747 สุดท้ายนี้ทีมงานต้องขอขอบคุณ คุณกิตบัณฑูรย์ สืบสมาน (เฮียแฟท) ว่าที่ ร.ต.วิชัย สังขรรค์ (นักวิชาการหน่อง) โทร.08-9642-2097 สามารถติดต่อสอบถามเทคนิค เคล็ดไม่ลับของเฮียแฟทเพิ่มเติมได้ที่ 33/2 หมู่ 3 ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 และสำหรับเกษตรกรที่สนใจพลิกแพลง มาทดลองใช้ลูกกุ้งคุณภาพดี F0 ของ ชุติกาญจน์ (ไทยแลนด์)แฮทเชอรี่ ซึ่งในไม่ช้านี้กำลังจะเปิดตัวสายพันธุ์ พัฒนาการเจริญเติบโตควบคู่กับอัตรารอดสูง ออกสู่สายตาคนเลี้ยงกุ้งได้พิสูจน์นำไปเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้และลดความเสียหาย สามารถสั่งจองและสอบถามข้อมูลได้ที่ ชุติกาญจน์ฟาร์ม (ไทยแลนด์) แฮทเชอรี่ 44/6 หมู่ 1 ต.บางตีนเป็ด อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา หรือ โทร.08-1570-2418

4.น้ำสะอาด 1 ลิตร

  นำส่วนผสมทุกอย่าง ผสมรวมกันในภาชนะที่มีฝิด มีการให้อากาศ(เป่าลม) ระดับปานกลางและเพียงพอ เพื่อช่วยให้ส่วนผสมไม่ตกตะกอน ใช้เวลาในการขยายหัวเชื้อ 36-72 ชั่วโมงจากนั้นนำหัวเชื้อมาผ่านการกรองด้วยผ้าขาวเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำไปใช้

การนำไปใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) ปริมาณ 10-20 ซีซี/อาหาร 1 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับอาหารให้พอหมาด นำไปให้กุ้งกินทุกมื้อจนลูกกุ้งอายุ 30-60 วันหรือจนกว่าจะพ้นระยะเสี่ยงของการเกิดโรค

ส่วนการจัดการเพิ่มเติมในบ่อชำในช่วงนี้เฮียแฟทจะเน้นมากไล่ลงไปตั้งแต่การจัดการขัดขอบบ่อลดการสะสมของเชื้อโรคด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณ 10 เซนติเมตร การดูดน้ำออกทางเซ็นทรัลเลน วัดคุณภาพน้ำอาทิตย์ 6-8 ครั้ง โดยเฉพาะช่วงวันโกน วันพระ ใช้ระยะเวลาการชำลูกกุ้ง 1 เดือน แล้วจึงค่อยขยายลูกกุ้งลงบ่อใหญ่

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ตีน้ำ เพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยง
ตีน้ำ เพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยง

บ่อเลี้ยงหรือบ่อชง เป็นบ่อที่เตรียมพร้อม เพื่อที่จะลงลูกกุ้งเลี้ยง การเคลื่อนย้ายลูกกุ้งจากบ่อชำหรือการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงจะเลือกปล่อยช่วงเช้าลงในอัตราการปล่อยลูกกุ้ง 100,000 ตัว/ไร่ วันแรกไม่มีการให้อาหาร อาศัยอาหารธรรมชาติที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้เป็นอาหาร วันที่ 2 แล้วค่อยให้อาหาร โดยในบ่อเลี้ยงจะลดการใช้แรงงานคน มาใช้เครื่องออโตฟีดแทน ปริมาณอาหารจะคำนวณตามโปรแกรมการกินอาหารของลูกกุ้งแต่ละบ่อ ตั้งความถี่และเวลาควบคู่ไปกับการเช็คยอเพื่อรู้ปริมาณอาหารที่แท้จริง การเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกอาทิตย์เพื่อลดแอมโมเนียและของเสียภายในบ่อ ลดน้ำ ดูคุณภาพน้ำ ดูค่าต่างๆ ควบคุมคุณภาพในแบบของเฮียแฟท คือ pH 7.5-8 อัลคาไลน์ 150-200 ออกซิเจน 3 ขึ้นไป แอมโมเนียไม่เกิน 1 แมกนีเซียมต้องมี 3 เท่า ของแคลเซียม โดยแคลเซียมจะยืนที่ 200 ขึ้น ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงมาจนได้กุ้ง 30-40 วัน ช่วงนี้แหละที่ถือเป็นปัญหาหนักใจของเฮียแฟท เป็นช่วงอันตราย รอด ไม่รอด ก็ช่วงนี้ เพราะกุ้งในช่วงนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลดไซส์ เพิ่มขนาดทุกวัน เฮียแฟทได้เล่าถึงสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันแบบไม่เจตนา คือ เจอไนไตรท์ และแอมโมเนียสูง และขี้ขาว โรคยอดฮิต ทำให้กุ้งตายไปบางส่วน แต่ยังดีที่เฮียแฟทเตรียมตัวมาดี บวกกับที่ได้ปรึกษากรมประมง ก็เลยเอาตัวรอดมาได้ การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ การตีน้ำเพิ่ม ดูดเลนออก เปลี่ยนถ่ายน้ำเข้าออกอยู่เสมอ ส่วนขี้ขาวไม่ต้องไปไหนไกล แก้ปัญหาด้วยน้ำมันกระเทียม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน หลังครบ 7 วัน กินอาหารเหมือนเดิมตามปกติ สูตรนี้ได้ผลดี คุมอยู่ เฮียแฟทพิสูจน์มาแล้ว

นักวิชาการ ยกยอเช็คอาหาร
นักวิชาการ ยกยอเช็คอาหาร

ระยะเวลาการเลี้ยง การเลี้ยงกุ้ง 1 ครอปจะใช้เวลา 70-80 วัน จะได้ไซส์ 50-60 ตัว/..งานนี้ทีมงานของผลยืนหยันล่าสุด ที่พึ่งจับผลผลิต สดๆร้อนของฟาร์ม คือ บ่อ 4 ไร่ ใช้บริการลูกกุ้ง Fo ของชุติกาญจน์ฟาร์ม ปล่อย 4แสนตัว ได้กุ้ง 4.2 ตันและบ่อที่กำลังลงเลี้ยงก็เป็นข้อมูลเดิม คือลุกกุ้งของชุติกาญจน์ฟาร์ม ปล่อยยอดเดิม ที่ 4 แสนตัว ตอนนี้เลี้ยงได้ 59 วัน มีดูข้อมูลย้อนหลังถือว่าไม่ธรรมดา นั้นคือการสุ่มครั้งแรกที่ 35 วัน ได้กุ้งไซส์ 158 ตัว/กิโลกรัม ครั้งที่ 2 สุ่มกุ้ง 47 วัน ได้กุ้งไซส์ 103 ตัว/กิโลกรัม ครั้งล่าสุด 54 วัน ได้กุ้งไซส์ 91 ตัว/กิโลกรัม จากข้อมูลเลี้ยงกุ้งไม่ถึง 60 วัน หลุดร้อยไปแล้ว ถ้าเป็นมวยก็เกาะติดตังค์สั่งน้ำรอได้เลย อาหารช่วงนี้ให้วันละ 125 ..อาหารใช้ไปแล้ว 3.5 ตัน และจะเพิ่มเป็น 150 kg. เมื่อได้ 60 วัน เริ่มเห็นลางๆ แล้วว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร จะยิ้มน้อยหรือยิ้มใหญ่เท่านั้นเอง และการเลือกใช้ลูกกุ้ง สายพันธุ์ดีของชุติกาญจน์(ไทยแลนด์) แฮทเชอรี่ ที่ทดลองปล่อยไปแล้ว 2 ครอป บอกได้ว่าพึ่งพอใจและไม่ทำให้ผิดหวังแต่อย่างใด สามารถเลี้ยงควบคู่ไปกับสายพันธุ์ของบริษัทซีพีได้อย่างลงตัว

บ่อพักน้ำ ปูพีอี เพื่อให้การทำงานง่ายและสะดวก
บ่อพักน้ำ ปูพีอี เพื่อให้การทำงานง่ายและสะดวก

การเลี้ยงกุ้งขาวถ้ามีการจัดการที่ดีเน้นการป้องกันและรู้จักพลิกแพลงไม่ย่ำอยู่กับที่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามก็มีเหมือนกับเฮียแฟทเจ้านายใหญ่ผู้จัดการฟาร์มที่ตอนนี้มีทั้งความสนุกท้าทายกับการเลี้ยงกุ้งของคนวัยเกษียณชนิดเรียกว่าฮิตติดลมบนไปแล้วสำหรับเกษตรกรนักเลงกุ้งด้วยกันเฮียแฟทยินดีที่จะให้คำแนะนำปรึกษาแบบไม่ต้องเกรงใจตามประสาคนกันเองที่เบอร์ 08-1687-6747

โรงชำลูกกุ้งขาว 1 เดือนก่อนปล่อยลงบ่อใหญ่
โรงชำลูกกุ้งขาว 1 เดือนก่อนปล่อยลงบ่อใหญ่

สุดท้ายนี้ทีมงานต้องขอขอบคุณ คุณกิตบัณฑูรย์ สืบสมาน (เฮียแฟท) ว่าที่ ร..วิชัย สังขรรค์ (นักวิชาการหน่อง) โทร.08-9642-2097 สามารถติดต่อสอบถามเทคนิค เคล็ดไม่ลับของเฮียแฟทเพิ่มเติมได้ที่ 33/2 หมู่ 3 ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 และสำหรับเกษตรกรที่สนใจพลิกแพลง มาทดลองใช้ลูกกุ้งคุณภาพดี F0 ของ ชุติกาญจน์ (ไทยแลนด์)แฮทเชอรี่ ซึ่งในไม่ช้านี้กำลังจะเปิดตัวสายพันธุ์ พัฒนาการเจริญเติบโตควบคู่กับอัตรารอดสูง ออกสู่สายตาคนเลี้ยงกุ้งได้พิสูจน์นำไปเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้และลดความเสียหาย สามารถสั่งจองและสอบถามข้อมูลได้ที่ ชุติกาญจน์ฟาร์ม (ไทยแลนด์) แฮทเชอรี่ 44/6 หมู่ 1 .บางตีนเป็ด อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา หรือ โทร.08-1570-2418

สุ่มไซส์กุ้ง สายพันธุ์ชุติกาญจน์ ในบ่อ 4 ไร่
สุ่มไซส์กุ้ง สายพันธุ์ชุติกาญจน์ ในบ่อ 4 ไร่

tags: การชำลูก กุ้งขาว ด้วย น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์ น้ำหมักสับปะรด น้ำมันกระเทียม กิตบัณฑูรย์ สืบสมาน ฉะเชิงเทรา กุ้งขาว ลูกกุ้งขาว น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์

[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]

โฆษณา
AP Chemical Thailand