วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ พันธุ์ “ฮาร์โก้” ทนโรค ไข่ใหญ่ ไข่ดก 280-300 ฟอง/ตัว/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ละอองฟาร์ม ฟาร์มไก่ไข่ที่สานต่อการทำงานจากพ่อ-แม่ ยึดเป็นอาชีพหลักตั้งแต่รุ่นแรกจนก้าวเข้าสู่รุ่นที่ 3 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อีกทั้งการทำฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ยังสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ที่สำคัญไข่ไก่ยังเป็นที่นิยมบริโภค และนำไปแปรรูปเป็นอาหาร หรือขนมต่างๆ ได้มากมาย

ปัจจุบัน คุณละออง สุขศิริ อายุ 50 ปี เป็นเจ้าของและดูแลฟาร์ม จบการศึกษาระดับ ปวช. สาขาพาณิชย์รวม แต่สิ่งที่เรียนมาอาจไม่ตรงกับการทำฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ และเนื่องจากการใช้ชีวิตในประจำวันคลุกคลีอยู่กับการทำอาชีพปศุสัตว์ จึงต้องคอยช่วยเหลือคนในครอบครัวอย่างพ่อกับแม่อยู่เสมอ จากนั้นรับช่วงต่อจากท่านมาบริหารและจัดการในด้านต่างๆ โดยมีลูกชายอีก 3 คน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่คอยช่วยกันในรูปแบบครอบครัว

1.ไก่ไข่
1.ไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่

ธุรกิจครอบครัว การต่อยอดจากรุ่นสู่รุ่น การวางรากฐานที่มั่นคงจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการอยู่รอดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกและสภาพจิตใจของแต่ละคนภายในครอบครัวมากกว่าการบริหารธุรกิจทั่วไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นจากพ่อ-แม่ สู่ลูก หรืออื่นๆ ประสบการณ์ในแต่ละยุคและสมัยจึงต่างกัน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน “ความเข้าใจ” ไม่ว่าจะเป็นคนหรืองาน คือ สิ่งสำคัญในการผลักดันธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ

2.คุณละออง-สุขศิริ-และลูกชายคนที่-2
2.คุณละออง-สุขศิริ-และลูกชายคนที่-2
3.โรงเรือนไก่ไข่
3.โรงเรือนไก่ไข่

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่

บนพื้นที่จำนวน 6 ไร่ รวมทั้งบ้าน และโรงเรือน ที่ ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา สามารถสร้างโรงเรือนแบบเปิดโล่งได้ 2 โรงเรือน ขนาดไล่เลี่ยกัน กว้างประมาณ 15 เมตร และยาวประมาณ 100 เมตร สามารถจุจำนวนไก่ไข่ได้ 5,000 กว่าตัว ส่วนอีกหนึ่งโรงเรือนได้ประมาณ 4,000 กว่าตัว เลี้ยงในระบบเปิด เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อยู่สบาย ไม่แออัด

การซ่อมแซมโรงเรือน อย่างเช่น กรงไก่ จะคอยเช็คและตรวจสอบให้พร้อมใช้งานเสมอ แต่สภาพภูมิอากาศที่ร้อน เพราะพื้นดินเป็นดินทราย เป็นปัญหาสำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ของฟาร์ม เนื่องจากไก่ไม่ค่อยไข่ บางครั้งร้อนถึงขั้นไก่ตายก็มี แต่การทำโรงเรือนแบบเปิดโล่งจะต้องฉีดโฟมใต้หลังคาเพื่อกรองความร้อน ทำให้ใต้ร่มหลังคามีอุณหภูมิที่เย็นขึ้น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทางฟาร์มเลือกใช้ ส่วนงบประมาณในการลงทุนครั้งแรกประมาณ 7 แสนบาท สมัยนั้นอาจจะไม่แพงเท่าปัจจุบัน แต่อาศัยเก็บเงินจากการขายไข่ไก่ ปรับปรุงและพัฒนามาเรื่อยๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ พันธุ์ “ฮาร์โก้” ทนโรค ไข่ใหญ่ ไข่ดก 280-300 ฟอง/ตัว/ปี
4.วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ พันธุ์ “ฮาร์โก้” ทนโรค ไข่ใหญ่ ไข่ดก 280-300 ฟอง/ตัว/ปี

สายพันธุ์ไก่ไข่

ส่วนพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงในช่วงแรกๆ จะใช้พันธุ์ของ CP พันธุ์อิซ่าบราวน์ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเลี้ยงพันธุ์แบล็คร็อค หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พันธุ์ฮาร์โก้” ซึ่งเป็นไก่ไข่ลูกผสมที่มีลักษณะเด่น โดยเฉพาะความทนทานต่อโรค ไข่ลูกใหญ่ และให้ไข่ดก เฉลี่ยอยู่ที่ 280-300 ฟอง/ตัว/ปี

สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ ทางฟาร์มจะนำเข้าไก่สาวอายุ 18 สัปดาห์ เลี้ยงในกรงตับที่ทำจากไม้ประมาณกรงละ 2-3 ตัว ทั้งนี้การเลี้ยงในแต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 18 เดือน แต่ควรไม่เกิน 24 เดือน เพราะจะทำให้จำนวนไข่ลดลง ผิวไม่สวย และบาง จากนั้นจึงปลดไก่เพื่อนำไก่ไข่ชุดใหม่เข้า โดยหมุนเวียนกันอย่างสมดุล

ส่วนไก่ปลดจะได้ลูกค้าในละแวกชุมชนเข้ามาซื้อที่ฟาร์ม เนื่องจากทางฟาร์มมีไก่ในการปลดน้อย โดยขายเป็นกิโลกรัม แต่ถูกกว่าราคาของไก่บ้านตามท้องตลาดทั่วไป และหลังจากปลดไก่แล้วในแต่ละรุ่นจะทำการพักเล้าประมาณ 20 กว่าวัน ในขณะนั้นทำความสะอาดเล้า พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ จากนั้นรอเพื่อนำไก่ไข่รุ่นต่อไปมาเลี้ยง

5.ที่ผสมอาหารไก่
5.ที่ผสมอาหารไก่

การให้อาหารไก่ไข่

ความไว้เนื้อเชื่อใจยังมีให้เห็นในการทำอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ด้านอาหารจึงเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งทางด้านคุณภาพ ราคา และสิทธิพิเศษต่างๆ อย่าง การซื้อไก่สาวจากทางบริษัท ดังนั้นทางฟาร์มจึงเห็นว่าการใช้อาหารสำเร็จรูปง่ายต่อการจัดการ ลดความยุ่งยากในการหาวัตถุดิบ อย่างเช่น ข้าวโพด กากถั่วเหลือง ปลายข้าว และรำข้าว เป็นต้น มาผสมตามสูตรต่างๆ ตามอายุของไก่ให้ไก่กิน

การให้อาหารไก่ ในหนึ่งวันจะให้วันละ 3 รอบ (เช้า กลางวัน และเย็น) โดยให้ตามช่วงอายุ เพราะในแต่ละช่วงอายุความต้องการโปรตีนต่างกัน ดังนั้นควรให้ตามโปรแกรม เมื่อให้ไก่ไข่นั้นสามารถเจริญเติบโตตามความเหมาะสมของวัย และอีกอย่างเพื่อประสิทธิภาพในการออกไข่ เรื่องอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง

6.แท้งค์น้ำ
6.แท้งค์น้ำ

การให้น้ำไก่ไข่

ทางด้านระบบน้ำที่ใช้ภายในฟาร์มจะมีบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่ทางฟาร์มขุดขึ้นมาสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังเลี้ยงปลานิลไว้ในบ่ออีกด้วย วางเป็นระบบประปา มีแท้งค์น้ำขนาดใหญ่สามารถจุน้ำได้หลายหมื่นลิตร เป็นที่พักน้ำ จากนั้นจะมีระบบท่อส่งน้ำเข้าสู่โรงเรือนให้ไก่กิน โดยเปิดจากก๊อกน้ำสู่รางน้ำที่มีขนาดความยาวเท่ากับกรงไก่ ดูแลไม่ให้ขาด เพราะไก่จะกินบ่อย อีกอย่างสะดวกกว่าจุ๊บน้ำ หรือนิปเปิ้ล (nipple)

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ผสมยารักษาโรคลงในน้ำให้ไก่กิน
7.ผสมยารักษาโรคลงในน้ำให้ไก่กิน

วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ และ การบริหารจัดการโรงเรือนไก่ไข่

ช่วงที่ทำความสะอาดโรงเรือนสิ่งที่เห็นได้ชัด คือ “มูลไก่” แต่มีการจัดการที่ดีทุกวัน โดยการตักบรรจุใส่ถุงละ 10 กิโลกรัม จัดจำหน่ายอีกที เนื่องจากทางฟาร์มทำธุรกิจแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ พนักงานจึงเป็นคนในครอบครัว แต่ก็มีพนักงานที่ไว้ใจได้อีก 1 คน โดยได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท พักที่ฟาร์ม เพราะทางฟาร์มมีที่พักให้

ประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงเฝ้าระวังโรคระบาดเกี่ยวกับสัตว์ปีก และสัตว์อื่นๆ ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการรณรงค์ และเข้ามาดูที่ฟาร์ม นำตัวอย่างที่ได้จากไก่ไปตรวจในห้องแลป อีกทั้งยังแนะนำและวิธีการดูแลต่างๆ ให้สามารถป้องกันโรคได้ ส่วนด้านวัคซีนป้องกันโรค ทางฟาร์มสามารถดูแลในส่วนนี้ได้ เนื่องจากมีประสบการณ์และมีความชำนาญจากหมอที่ให้คำแนะนำ ส่วนวิธีการนั้นจะผสมยารักษาโรคลงในน้ำให้ไก่กิน จะผสมอ่อนๆ แต่ให้บ่อย เพราะว่ามีรสชาติขม วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ 

8.เครื่องคัดไข่
8.เครื่องคัดไข่
ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย
ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ วิธีการเลี้ยงไก่ไข่

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไข่ไก่

อัตราการผลิตไข่ของทางฟาร์มอยู่ที่ 6,000 กว่าฟอง/วัน ส่วนใหญ่ขนาดประมาณเบอร์ 3 โดยจำหน่ายในราคาไข่คละเบอร์ และแบบที่คัดไว้แล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าอยู่ 3-4 ราย ที่เป็นเจ้าใหญ่ในแถบจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนรายได้สามารถทำกำไรได้หลักหมื่น/เดือน ถือว่าไม่ธรรมดา แต่ก็มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ประมาณ 3,000 บาท/เดือน

หากถามว่าในอนาคตมองการขยายฟาร์ม หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร คุณละอองกล่าวว่า “อยากจะเน้นที่คุณภาพของไข่ไก่ก่อน โดยมีแผนจะเปลี่ยนพันธุ์ไก่ที่เลี้ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค CRD เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแล และแนวทางใหม่ๆ รองรับตลาดที่มีการขยายตัวในอนาคต ซึ่งทางฟาร์มยังมองภาพไม่ออกว่าจะออกมาในรูปแบบใด แต่ติดตามข่าวตลอด อาจจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือทรงตัว นั่นคือแผนในอนาคตที่ต้องรอดูกันต่อไป และการทำฟาร์มเลี้ยงไก่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรก คือ สิ่งแวดล้อมภายในชุมชน เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เป็นปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งที่สามารถทำให้การดำรงชีวิตอยู่ได้ในธุรกิจฟาร์ม”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณละออง สุขศิริ 16/4 หมู่ 5 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา