ทุเรียน กระดุม และ หมอนทอง 8 ไร่ ใช้ผลิตภัณฑ์ แอพพลายเค็ม รายได้ปีละกว่า 7 ล้านบาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ดินแดนแห่งนี้อยู่ใกล้ทะเล ย่อมได้รับอิทธิพลด้านอากาศ และธาตุไอโอดีน พอสมควร

ดังนั้นชาวขลุงทุกตำบล ปลูก ไม้ผล และ พืชสวน เป็นอาชีพหลัก แต่ละปีมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทำให้ จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองหลวงแห่งไม้ผล แต่ละปีนำเงินเข้าจังหวัดหลายล้านบาท ก่อให้เกิดอาชีพต่อเนื่องมากมาย

1.เทรซ-แคลเซียม
1.เทรซ-แคลเซียม

การปลูกทุเรียน กระดุม และ หมอนทอง

ชาวสวนรายย่อย อย่าง เจ๊อ้อน หรือ คุณจุฑาทิพย์ ไขศรี เกษตรกรชาวสวนทุเรียน อ.ขลุง จ.จันทบุรี และ เฮียหยอย หรือ คุณทะยอย ไขศรี ปลูก ทุเรียน กระดุม และ หมอนทอง กว่า 30 ปี มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำทุเรียนคุณภาพ

สวนทุเรียน 8 ไร่ ทำรายได้ปีนี้กว่า 7 ล้านบาท โดยมีต้นทุเรียน 170 ต้น ที่ให้ผลผลิต ซึ่งจำนวนกระดุมมากกว่าหมอนทอง

เหตุที่ต้องปลูก 2 สายพันธุ์ เพราะกระดุมเป็นทุเรียนพันธุ์เบา ตลาดต้องการมาก มีเท่าไหร่พ่อค้าซื้อหมด แต่หมอนทองเป็นพันธุ์หนัก ช่วงเวลาเก็บผลผลิตต่างกัน เป็นเดือน และราคากระดุมก็สูงกว่า แต่ทุนการจัดการผลผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก เจ๊อ้อนจึงปลูกกระดุมมากกว่าหมอนทอง อีกอย่างกระดุมเป็นทุเรียนที่กระจายความเสี่ยงในเรื่อง ภัยธรรมชาติ ได้ดีกว่า พูดง่ายๆ ว่า หนีน้ำ หนีลม ได้ดีกว่านั่นเอง และเมื่อลูกติดหางแย้ กระดุมจะแก่ใน 90 วัน แต่หมอนทองต้อง 120 วัน

2.ปุ๋ยเคมี ไบโอเมอร์ 7-24-34
2.ปุ๋ยเคมี ไบโอเมอร์ 7-24-34

การให้ น้ำ ปุ๋ย ต้นทุเรียน

ดังนั้นการเน้นกระดุมมากกว่าหมอนทอง จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ชาวสวนจะต้องรู้นิสัยใจคอทุเรียนเป็นอย่างดี จึงจะจัดการให้ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งเรื่องนี้เจ๊อ้อนและเฮียหยอยเข้าใจดี เพราะมีประสบการณ์กว่า 30 ปี แต่การทำทุเรียน ซึ่งเป็นพืชอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม ต้องไม่ประมาท เริ่มตั้งแต่การ ตัดแต่งกิ่ง ให้เหมาะสม การเร่งให้ทุเรียนออก ใบอ่อน และเร่งให้เป็น ใบแก่ การเร่งให้ออกดอก และการดูแลดอกให้สมบูรณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การจัดการดูแลผลอ่อน เทคนิคการจัดการศัตรูพืช และโรคพืช แต่ละช่วงอายุ การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ที่เหมาะสม การจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับตลาด รวมทั้งรสชาติตรงกับสายพันธุ์ เป็นต้น ดังนั้นเจ้าของสวนต้องเข้าใจปัจจัยการผลิต ทั้ง ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน และ ระบบน้ำ เป็นต้น โดยใช้ให้ถูกต้อง และปลอดสารทุกชนิด ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับมือใหม่

3.เทรซ-เอชพี 6
3.เทรซ-เอชพี 6

ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท แอพพลายเค็ม (ประเทศไทย) จำกัด

เจ๊อ้อนเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ บริษัท แอพพลายเค็ม (ประเทศไทย) จำกัด

ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทีลิส แบรนด์ ลาร์มิน่า ควบคุมโรคทางใบเป็นหลัก และ แบรนด์ไตรซาน ที่มีเชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียล ลัม ควบคุมโรคทางรากเป็นหลัก และ ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและหนอน ที่ใช้ เชื้อรา และ เชื้อแบคทีเรีย เป็นตัวหลัก มี 6 แบรนด์ ได้แก่

4.เทรซ-เอชพี 1
4.เทรซ-เอชพี 1

บูเวริน เชื้อรา บูเวเรีย บัสเซียน่า ป้องกันกำจัดเพลี้ย ไรแดง แมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ดำมวน แมงสิง และ หนอน เป็นต้น

เมทาซาน เชื้อราเมทาไรเซียม แอนนิโซเพลีย ป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปลวก เพลี้ยจั๊กจั่น ไรแดง แอฟริกัน ด้วงแรด เต่าแดง เต่าทอง แมลงดำหนาม หนอนหัวดำมะพร้าว หนอนเจาะลำต้น และ ผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

5.ปุ๋ยเคมี ไบโอเมอร์ 20-20-20
5.ปุ๋ยเคมี ไบโอเมอร์ 20-20-20

ไลซินัส เชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส ป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย รากปม เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยนาสาร เพลี้ยหอยรา กำมะหยี่ เพลี้ยแป้งสีชมพู ไข่หนอน ไข่หอย เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เซ็ทพอยท์ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส พันธุ์เคอร์สตากี้ 1.87+10 ยกกำลัง 30 ควบคุมหนอนผีเสื้อวัยอ่อนหลายชนิด เป็นต้น

6.เทรซ-สังกะสี
6.เทรซ-สังกะสี

ไลท์นิ่งค์ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส พันธุ์เคอร์สตากี้ 36,000 IU/mg. ควบคุมผีเสื้อทุกวัยหลายชนิด เช่น หนอนใยผัก เป็นต้น

เรดแคท เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส พันธุ์เคอร์สตากี้ 36,000 IU/mg. ควบคุมหนอนผีเสื้อทุกวัย และหนอนดื้อยาหลายชนิด

7.เทรซ-แคลเซียมโบรอน
7.เทรซ-แคลเซียมโบรอน

การตัดแต่งกิ่งทุเรียน

เจ๊อ้อนเปิดเผยถึงขั้นตอนการผลิตว่า หลังเก็บผลผลิตแล้วก็เริ่มตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ย ให้ยา บำรุงให้แตกใบอ่อน ทั้งทางดิน และทางใบ ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้ทุเรียนออกใบ 2 ชุด และต้นสมบูรณ์ ทุเรียนก็จะออกดอก สภาพอากาศทำจริงกับธรรมชาติ ไม่เหมือนทำจริง ชาวสวนเตรียมต้นสมบูรณ์ อากาศเอื้อ ฝนทิ้งช่วง ก็ออกดอก แต่ถ้าอากาศกะปริบกะปรอย สมมติเริ่มเป็นตาปู ฝนตก ดอกหาย ทิ้งระยะไปอีก ถ้าเปิดลมไม่มี อากาศไม่อำนวย ก็ไม่ออก ล่าไปอีก

ชาวสวนต้องช่วยในการดึงดอก โดยใช้ปุ๋ยและยา เช่น สังกะสี ช่วยได้เยอะ ยาฆ่าเชื้อราก็ต้องใช้ไปเรื่อยๆ ทิ้งไม่ได้  1 เดือน อาจฉีด 2 ครั้ง เชื้อราจะเริ่มตลอดฤดูฝน เมื่อน้ำค้างลง ฝนหมด เชื้อราก็ยังอยู่” เจ๊อ้อน เปิดเผย โดยเธอใช้ ลาร์มิน่า กับ ไตรซาน สลับกัน เชื้อราที่เข้าไปทำลายทุเรียนจะมีแผล มีน้ำสีดำออกมา ตอนเช้า 10 โมง จะหายไป โดยเฉพาะปลายฝน ราสีชมพูจะระบาด

8.ปุ๋ยเคมี ไบโอเมอร์ 30-12-12
8.ปุ๋ยเคมี ไบโอเมอร์ 30-12-12

การบำรุงดูแลต้นทุเรียน

การดูแล ดอกทุเรียน ต้องเอาใจใส่มาก อย่าง ช่วงเดือนตุลาฯ-พ.ย. ถ้าอากาศเหมาะสมจะออกดอกทันที แต่ถ้ามีหมอกจะต้องฉีดป้องกัน ราน้ำค้าง มิให้เข้าดอก ถ้าราระบาดดอกจะฝ่อและหลุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อดอกบานดีแล้ว ก็ต้องใช้ ไม้กวาดเล็กๆ หรือใช้มือปัดเกสร ตัวผู้ ตัวเมีย ให้ผสมกัน เพราะวันนี้ไม่มีแมลงช่วยผสมเกสร “ถ้าไม่ช่วยผสมตอนที่เราแต่งลูก มันจะเบี้ยวทุกพวง แต่ถ้าเราปัดลูกจะกลม สวย เราต้องช่วยมัน อาจจะมี 4 พู หรือ 5 พู ถึงจะสวย” เจ๊อ้อน ให้ความเห็น

ตั้งแต่ดอกบานจนมีผลอ่อนประมาณ 1 เดือน จากนั้นก็เริ่มแต่งลูก เช่น กระดุม 1 พวง ต้องตัดให้เหลือลูกเดียว อันนี้สำคัญ เพราะถ้าเอาไว้เยอะๆ ไม่ได้เบอร์ ตกไซซ์ หนามไม่สวย รูปทรงไม่สวย ตลาดไม่รับ และต้องฉีด แคลเซียม-โบรอน ทุกๆ 3-4 วัน แม้น้ำค้างลงก็ต้องฉีด หรือจะเพิ่มปุ๋ย เร่งลูกก็ได้ ฉีดทั้งทางดิน และทางใบ จะเห็นผลทุเรียนมี หนามเขียว แสดงถึงความสมบูรณ์ และใบก็เขียวมัน

ตรงกันข้ามถ้าไม่บำรุงมันจะร่วง ไม่โต หนามไม่เขียว เช่นเดียวกับยาป้องกันโรค แมลง หนอน จะละเลยไม่ได้ในช่วงนี้ เพราะ หนอน มีหลายชนิด เจาะผลอ่อน เจาะเมล็ดสารพัด แม้แต่ เพลี้ยแป้ง ก็ต้องระวัง ต้องใช้ บูเยอริง และ เซเลปแคท “ช่วงดูแลผลต้องละเอียด เพลี้ยแป้งตัวร้ายเข้าลูก และราดำก็มา อันนี้เป็นเหตุผลทำไมทุเรียนราคาแพง ต้องมีการจัดการที่ดี ต้องลงทุนสูง” เจ๊อ้อน ยืนยัน ถ้าเป็นไปได้ควรฉีดยาป้องกัน เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เพราะโรคและแมลงบางครั้งก็ไม่พบ เพราะตัวมันเล็ก อย่าง ไรแดง มีหลายชนิด ให้สังเกต

9.เทรซ-แมกนีเซียม
9.เทรซ-แมกนีเซียม

การบริหารจัดการสวนทุเรียน

เรื่องการจัดการสวนทุเรียนมันละเอียดอ่อนมาก แม้แต่การตัดแต่งกิ่งก็ต้องละเอียด กิ่งยับ ยอดหัก กิ่งแขนง และ กิ่งเป็นโรค ต้องเอาออกทั้งหมด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ ก็ต้องรู้จักแต่ละชุดว่าใช้ช่วงไหน ปุ๋ยก็ต้องใช้ทั้ง 3 สูตรๆ ดึงใบ 30-12-12 สูตรเสมอ 20-20-20 หรือสูตรเร่งคุณภาพผล มีหลายตัว

เรื่อง ความชื้นสัมพัทธ์ ก็ต้องเรียนรู้ “ตะวันออกโซนพื้นที่จากทะเล หัวใจ คือ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ บางที่ดินฟ้าอากาศไม่อำนวยก็ปลูกตายกันเป็นเบือ แต่ปลูกใกล้ทะเล ก็คือ รักษาระดับสมดุลความชื้นของทุเรียน” เฮียหยอย ให้ความเห็น

วันนี้ ชีวภัณฑ์ ของแอพพลายเค็ม เข้าไปมีบทบาทกับชาวสวนทุเรียนมาก ทดแทนสารเคมี ไม่สุ่มเสี่ยงต่อสารตกค้าง ซึ่งเจ๊อ้อน และเฮียหยอย ได้พิสูจน์คุณภาพมานาน ผลผลิตขายได้ราคา 8 ไร่ 7 ล้านกว่าบาท ดีกว่าหลายๆ อาชีพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจเรียนรู้การใช้ชีวภัณฑ์กับสวนทุเรียน โทร.086-378-2401

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 35