ฟื้นฟูต้นทุเรียนป่วยจาก “โรครากเน่า โคนเน่า” ได้ด้วย “พีค รูทเตอร์”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรครากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไฟท็อปธอร่า (Phytophthora) ซึ่งเป็นเชื้อราที่กำจัดได้ยาก และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับพืชหลากหลายชนิด อย่างเช่น ทุเรียน สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน เชื้อราต้นทุเรียน

พืชจะแสดงอาการ คือ ราก จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ช้ำ และเน่า โคนต้น จะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกเยิ้มออกมาจากส่วนเปลือกของต้นที่แตก ใบ ดอก และผล เกิดอาการเน่าหรือไหม้เป็นวงกลมสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำตรงบริเวณกลางใบ

1.คุณภา ภรรยาคุณวีระ การันตี พีครูทเตอร์ ใช้แล้ว ทุเรียนหายป่วยจากโรค
1.คุณภา ภรรยาคุณวีระ การันตี พีครูทเตอร์ ใช้แล้ว ทุเรียนหายป่วยจากโรค

สภาพพื้นที่ปลูกทุเรียน

วันนี้ทีมงานนิตยสารพลังเกษตรได้พูดคุยกับ คุณวีระ อารีย์เพื่อน เจ้าของ สวนวีระ ธนาวดีอารีย์เพื่อน เกษตรกรชาวสวนทุเรียนจาก อ.ขลุง ออกมายอมรับกับทีมงานว่า ในอดีตสวนทุเรียนแห่งนี้ สมัยรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ เน้นการใช้สารเคมีในการดูแลสวนมาโดยตลอด ซึ่งการใช้สารเคมีไปนานๆ บวกกับการไม่บำรุงดูแลดิน จึงส่งผลให้ต้นทุเรียนเริ่มอ่อนแอ  ท้ายสุดต้นทุเรียนป่วยเป็น “โรครากเน่าโคนเน่า”

สวนทุเรียนตรงนี้เป็นสวนตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คุณย่า ทำมาก่อนแล้ว ต่อมาก็รุ่นคุณพ่อ เราเลยมาสานต่อธุรกิจนี้ เดิมตัวผมทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์มือสอง แต่พอคุณพ่อยกสวนทุเรียนให้เราก็มาดูแล ตอนนี้เข้ามาดูแลสวนทุเรียนได้ 4 ปีแล้ว

ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 แปลง เก่าแก่สุดอายุ 40 ปี เป็นหมอนทองส่วนใหญ่ประมาณ 350 ต้น และกระดุม 50 ต้น แต่กระดุมจะมีแปลงเล็กอีกประมาณ 140 ต้น เหตุผลที่ขยายพันธุ์กระดุมเพิ่ม เพราะทุเรียนสายพันธุ์กระดุมเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ทันต่อน้ำ ทันต่ออุทกภัย เมื่อปลูกแล้วสามารถให้ผลผลิตเพื่อนำมาขายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น คุณวีระกล่าวเพิ่มเติมถึงที่มาของการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน

2.เกษตรกรเจ้าของสวน และ ทีมงานพีครูทเตอร์
2.เกษตรกรเจ้าของสวน และ ทีมงานพีครูทเตอร์

ปัญหาและอุปสรรคภายในด้าน เชื้อราต้นทุเรียน

เดิมทีสวนแห่งนี้เน้นการดูแลสวนโดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เคมีเป็นหลัก เพราะทำสวนในเชิงพาณิชย์ แต่นานวันเข้าต้นทุเรียนเริ่มป่วย และยืนต้นตาย เสียหายไปประมาณ 20% จนเมื่อคุณวีระมาดูแลสวนในรุ่นต่อมา ได้พลิกตำราเดิมกลับมาดูแลสวนแบบเบาการใช้สารเคมีลง และเพิ่มผลิตภัณฑ์อินทรีย์ชีวภาพเข้าไปเพื่อบำรุงต้นทุเรียน ต้นก็เริ่มกลับมาดีขึ้น แต่ปัญหาหลักของสวน คือ ทุเรียนป่วยเป็นโรครากเน่าโคนเน่าที่ยังแก้ไม่ตก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์มาก จนเห็นรอยแตกของเปลือกตามลำต้น
3.ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์มาก จนเห็นรอยแตกของเปลือกตามลำต้น

การใช้ “พีค รูทเตอร์” ฉีดพ่นต้นทุเรียน

จนกระทั่งคุณวีระได้มารู้จักผลิตภัณฑ์ “พีค รูทเตอร์” ผ่านทางร้านสามเกษตร ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์อยู่ในพื้นที่ จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยคุณมีชัย เจ้าของร้านสามเกษตร เป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ให้

และตามมาดูสวนทุเรียนของตนที่ อ.ขลุง เพื่อดูอาการต้นทุเรียนและหาแนวทางการรักษา โดยเน้นใช้ผลิตภัณฑ์“พีค  รูทเตอร์” เป็นหลัก ทั้งฉีดพ่นลงรากและดิน รอบทรงพุ่ม และทา “พีค รูทเตอร์” บริเวณแผลของต้นที่มีน้ำไหลเยิ้ม

พอดีมารู้จักร้านสามเกษตร ช่วงนั้นทุเรียนที่สวนมีปัญหาเรื่องโรคใบเหลือง รากเน่าโคนเน่า ทางร้านแนะนำผลิตภัณฑ์ “พีค รูทเตอร์” พอใช้แล้วทุเรียนที่เป็นโรคอาการก็เริ่มดีขึ้น ใช้มาได้ 4 ปีแล้ว ในช่วงที่ฝนชุกจะใช้ประมาณ 3-6 ครั้ง ฉีดที่ใบ ราก ดิน โคน และลำต้น

ในตอนที่ใช้ครั้งแรกยังไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่นัก เพราะต้นป่วยหนัก แต่พอใช้ไปเรื่อยๆ ทุเรียนที่เป็นโรคอาการเริ่มดีขึ้น หรือจะใช้เพื่อป้องกันโรคก็ดี  และด้วยที่เป็นสวนเก่าแก่ ต้นไม้อายุเยอะ ให้ผลผลิตมาเยอะ ต้องดูแลอย่างดี ซึ่งตัว  “พีค รูทเตอร์” ก็ช่วยรักษาและป้องกันได้ดีมาก” คุณวีระกล่าวความรู้สึกหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์

ส่วนวิธีการใช้สำหรับต้นที่เป็นโรค ทางร้านแนะนำให้ใช้ทุกๆ 15วัน ให้ฉีดครั้งหนึ่ง แต่ทางคุณวีระจะใช้ทุกๆ 10วัน ฉีดลงดินครั้งหนึ่ง เพราะต้นทุเรียนที่สวนอาการค่อนข้างแย่ มีแผลน้ำไหล ใบเหลือง จึงเริ่มใช้ก่อน ส่วนที่มีแผลตามลำต้นก็จะขูดแผลออก แล้วเอา “พีค รูทเตอร์” ทาบริเวณที่ขูด

และในปัจจุบันทางสวนใช้ “พีค รูทเตอร์” เพื่อควบคุมป้องกันโรคแทนการรักษาซะเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีโรคอยู่บ้างแต่น้อยลงมามาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ใบทุเรียนที่สมบูรณ์ ใบหนา ใหญ่ ดำ มัน
4.ใบทุเรียนที่สมบูรณ์ ใบหนา ใหญ่ ดำ มัน

การบำรุงดูแลรักษาต้นทุเรียน

ด้วยคุณสมบัติ “พีค รูทเตอร์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยฟื้นฟูต้นและรากที่ถูกทำลายจากโรครากเน่า โคนเน่า ปัญหาเชื้อราโรคพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียน ช่วยในการปรับปรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ช่วยลดปัญหาการเกิดรากเน่า รากดำ และยังช่วยเพิ่มการแตกราก แตกใบ ทำให้พืชกินปุ๋ยและสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น  ต้นสมบูรณ์แข็งแรง

อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย และช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหารจากปุ๋ย ทำให้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยลงได้ นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันปัญหาปุ๋ยชื้นจับตัวเป็นก้อน สามารถเก็บปุ๋ยไว้ได้นานขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มธาตุซิลิคอนให้กับดินและพืช ช่วยลดการทำลายจากโรคพืชและแมลงอีกด้วย

ต่อมาการจัดการหลังจากเก็บผลผลิต  อันดับแรกเลย คือ การแต่งกิ่ง กิ่งไหนที่ไม่จำเป็นก็ตัดออก  เพื่อให้อากาศมันถ่ายเท ลมผ่านได้สะดวก ปลอดโปร่ง ให้ต้นมีแสงส่องเข้ามา เมื่อตัดกิ่งที่ไม่จำเป็นออก  สารอาหารจะได้ไปเลี้ยงกิ่งที่จำเป็นต่อ ลดการแย่งสารอาหาร

5.ต้นทุเรียนที่แข็งแรง สามารถไว้ลูกได้เยอะ
5.ต้นทุเรียนที่แข็งแรง สามารถไว้ลูกได้เยอะ เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน

การให้ปุ๋ย ต้นทุเรียน

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์อาจเห็นผลช้ากว่าการใช้ปุ๋ยเคมี แต่เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไปนานๆ ผลที่ได้จะเริ่มใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะพืชได้รับสารอาหารสม่ำเสมอขึ้น ต้นก็เริ่มสมบูรณ์ ณ ปัจจุบันนี้ถือว่าต้นที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ผลผลิตดีเทียบเท่ากับการให้ปุ๋ยเคมี เพราะต้นเริ่มแข็งแรง แต่ในช่วงแรกๆ ที่ปรับมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์เหมือนจะเห็นผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี เพราะต้นยังไม่แข็งแรง

ช่วงที่เริ่มเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในตอนแรกจะใช้ปุ๋ยคอกก่อน ประมาณ 10-20 วัน จะเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ยเม็ด ตามระยะการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน สูตรเร่งดอก สูตรเร่งใบ ตามความเหมาะสม และมี “พีค รูทเตอร์” เป็นธาตุอาหารรองเสริมเข้าไป และเมื่อเปลี่ยนมาใช้อินทรีย์มากกว่าการใช้เคมี ก็ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น สุขภาพของเราและคนงานก็ดีขึ้น ปัจจุบันนี้ก็ยังมีใช้เคมีอยู่บ้าง แต่ใช้น้อยลง

นอกจากนี้คุณวีระยังเผยเทคนิคการสังเกตทุเรียนที่เป็นโรค โดยพืชจะแสดงอาการไม่แตกใบอ่อน ใบเหลือง และให้สังเกตดูที่ราก เพราะต้นตอของปัญหาอยู่ที่ราก ต้องแก้ต้นเหตุที่รากและดินก่อน โดยต้องแต่งบริเวณโคนต้น แหวกหญ้าที่ดินออกก่อน เอาดินออกให้เหลือเห็นถึงราก แล้วใช้ “พีค รูทเตอร์” ผสมน้ำราดบริเวณโคน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ผลผลิตทุเรียนรอบที่ผ่านมา สวยสมบูรณ์ ไม่มีตกเกรดเลย
6.ผลผลิตทุเรียนรอบที่ผ่านมา สวยสมบูรณ์ ไม่มีตกเกรดเลย

การใช้มอเตอร์รถยนต์ในการสูบน้ำแทนไฟฟ้า

เมื่อถามถึงวิธีการให้น้ำที่สวน คุณวีระกล่าวว่า “การให้น้ำของทุเรียนจะให้เป็นช่วงๆ ถ้าทุเรียนเล็กจะให้น้ำปกติ ให้แบบสปริงเกลอร์อย่างน้อยให้ประมาณครึ่งชั่วโมง และทางสวนมีการดัดแปลงโดยนำมอเตอร์รถยนต์มาใช้ในการสูบน้ำ เพราะมีแรงดันที่แรงกว่าการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากบริเวณสวนที่ปลูกเป็นเนิน จึงต้องใช้แรงดันค่อนข้างสูงในการสูบน้ำมาใช้”

โดยจะใช้น้ำมันในการปั่นไฟแทนไฟฟ้า ซึ่งตอนที่ราคาน้ำมันสูง จึงได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สแทน สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการใช้ไฟฟ้า ทำให้มีต้นทุนในการผลิตลดลง ซึ่งคุณวีระได้ให้เหตุผลที่ไม่ได้นำโซลาร์เซลล์มาใช้ เนื่องจากโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่ใช้ได้กับมอเตอร์เล็กๆ หากนำมาใช้กับสวนใหญ่ๆ พลังงานจากโซล่าร์เซลล์อาจไม่เพียงพอ

7.ผลผลิตทุเรียนฤดูกาลที่ผ่านมา
7.ผลผลิตทุเรียนฤดูกาลที่ผ่านมา เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน เชื้อราต้นทุเรียน

ฝากถึงเกษตรกรทำสวนทุเรียน

สุดท้ายคุณวีระได้กล่าวทิ้งท้ายถึงอาชีพนี้ว่า  “การได้มาทำอาชีพเกษตร อยู่กับสวน กับธรรมชาติ มันก็เป็นความสุขอีกอย่าง อาจจะมีผลผลิตให้เก็บแค่ปีละครั้ง แต่หากเรารู้จักการใช้เงิน การวางแผนการเงิน อยู่ที่ตัวเราว่าจะวางแผนการเงินแบบไหน อยู่แบบประหยัดเกินไปก็เป็นทุกข์ หรือใช้เงินมากเกินไปก็จะทุกข์ทีหลัง ควรอยู่แบบพอมี พอกิน”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากคุณวีระ อารีย์เพื่อน 14/2 ม.6 ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ บริษัท พีค อโกรเคมี 2 จำกัด โทร.087-977-1590, 02-598-9207, 081-533-8499, Line : @peakagrokemee2, Facebook :พีค อโกรเคมี 2, เว็บไซด์ : www.peakagro.co.th

แสกน QR Code เพื่มเพื่อนใน Line
แสกน QR Code เพื่มเพื่อนใน Line

ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายพื้นที่ต่างๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จังหวัดจันทบุรี

-ร้านสามเกษตร อ.ขลุง โทร.088-582-8919

-ร้านอัมรินทร์การเกษตร อ.ขลุง โทร.091-009-5594

-ร้านอิสระการเกษตร อ.เมือง โทร.081-941-3425

-ร้านเกษตรสร้างสรรค์ (กระทิง) โทร.081-912-8529

-ร้านต้นพืชการเกษตร (จันทเขลม) โทร.098-363-4562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ร้านเพ็ญทิวาการเกษตร โทร.084-863-0033

-สหกรณ์การเกษตรใกล้บ้านท่านในจังหวัดจันทบุรี

จังหวัดตราด

-คุณจันทนา สมานโสตร โทร.095-749-5615

-สหกรณ์การเกษตรใกล้บ้านท่านในจังหวัดตราด

จังหวัดระยอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ร้านสองเกษตร (ตลาดผลไม้เขาดิน) อ.แกลง โทร.089-834-1393

จังหวัดเชียงใหม่

-คุณอินสอน วงษ์ตา โทร.087-177-5051

จังหวัดพิษณุโลก

-ร้านบิ๊กบอส การเกษตร โทร.087-739-9533

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร

ใบสมัครสมาชิก
ใบสมัครสมาชิก