ใช้ยีสต์ลด โรคขี้ขาวกุ้ง ยืนยันจากนายหัวเลี้ยงกุ้ง กุ้งตัวใสขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าพูดถึงอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีมาอย่างยาวนาน ก้าวสู่ในยุคปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยบางส่วนเป็นลูกหลานที่เข้ามาสานต่อธุรกิจ แต่ก็มีบางส่วนที่เข้ามาจากการนับหนึ่งด้วยตนเอง ทำให้วงการผู้เลี้ยงกุ้งมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเทคนิคและวิธีการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป โรคขี้ขาวกุ้ง

แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องการผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด

1.คุณเเจ๋ว เกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตัวจริง
1.คุณเเจ๋ว เกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตัวจริง

การเพาะเลี้ยงกุ้ง

ทำให้วันนี้อยากพาท่านผู้อ่านมาพบกับ คุณวิทยา เอี่ยมนนท์ หรือคุณแจ๋ว เกษตรกรผู้ที่สานต่อธุรกิจจากรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพัฒนาระบบและกระบวนการเลี้ยงให้มีมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น ด้วยการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตด้านอาหารและเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยให้ผลผลิตออกมาเป็นกุ้งที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยค่อยๆ พัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 15 ปี

2.บ่อเลี้ยงคุณภาพมีระบบไบโอซีเคียว
2.บ่อเลี้ยงคุณภาพมีระบบไบโอซีเคียว โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง โรคขี้ขาวกุ้ง

สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง

ปัจจุบันคุณแจ๋วเลี้ยงกุ้งทั้งหมด 18 บ่อ ขนาดของบ่อเลี้ยงประมาณ 3-8 ไร่ ในรูปแบบปูพีอี อัตราการปล่อยกุ้งโดยประมาณอยู่ที่ 100,000 ตัว/ไร่ ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ใส่ใจในทุกรายละเอียดของกระบวนการเลี้ยงกุ้ง จนความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก และยังคงพัฒนาต่อไป

คุณแจ๋วเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ อย่าง “ลูกกุ้งซีพี” เพราะเคยพบเจอกับปัญหาด้านลูกกุ้งเมื่อเจอปี พ.ศ.2557 ขาดทุนประมาณ 50 ล้านบาท หลังจากนั้นได้เริ่มต้นใหม่และเลือกใช้ลูกกุ้งซีพีทั้งฟาร์มเมื่อปีพ.ศ.2559-2563 สามารถฟื้นขึ้นมาได้ด้วยลูกกุ้งของซีพีในช่วงที่ผ่านมา

3.อัตราการโตของกุ้งที่มีคุณภาพ
3.อัตราการโตของกุ้งที่มีคุณภาพ

การอนุบาลลูกกุ้ง

ลงกุ้งพี 12 ตามปกติ นำมาอนุบาล 7 วัน ภายในบ่ออนุบาลพลาสติก (อัตราส่วนลูกกุ้ง 120,000 ตัว : น้ำ 3 ตัน) เนื่องจากเคยเจอกับปัญหาเรื่องการขนส่ง ทำให้ลูกกุ้งอ่อนแอ ทางฟาร์มจึงมีแนวคิดในการนำลูกกุ้งมาอนุบาลที่ปากบ่อ หลังจากนั้นเป็นต้นมาลูกกุ้งมีอัตราการรอดที่ดีขึ้น ใช้ระยะเวลาอนุบาลประมาณ 5-7 วัน หรือตัวลูกกุ้งมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก่อนลงลูกกุ้งในบ่อเลี้ยง ทางฟาร์มพักบ่อประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นลงปูนฆ่าเชื้อที่พื้นบ่อร่วมกับพวกไนโตรเจนคาร์บอเนต และปูนขาว ปล่อยน้ำเข้าบ่อครั้งแรกระดับความลึกประมาณ 1.2 เมตร เมื่อครบ 45 วัน เติมน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสูงสุด 1.6 เมตร โดยทางฟาร์มจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้หลุมกลางบ่อในการดูดของเสียออก เพื่อช่วยให้ระหว่างการเลี้ยงมีคุณภาพน้ำที่ดี โดยจะเลือกบางบ่อที่สามารถทำได้ ส่วนบ่อที่ไม่มีหลุมกลาง ทางฟาร์มจะใช้จุลินทรีย์ โดยจะใส่ในบ่อเลี้ยงทุกๆ วัน เริ่มตั้งแต่ตอนปล่อยกุ้งจนถึงวันจับ ในปริมาณ 100 ลิตร/ไร่

4.ผลิตภัณฑ์ยีสต์มาสเตอร์ ที่คุณเเจ๋วเลือกใช้
4.ผลิตภัณฑ์ยีสต์มาสเตอร์ ที่คุณเเจ๋วเลือกใช้

การให้อาหารกุ้ง

เคล็ดลับสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การเลือกใช้ปัจจัยด้านอาหารที่มีคุณภาพ โดยทางฟาร์มเลือกอนุบาลลูกกุ้งด้วย “อาหารกุ้งวัยอ่อนของซีพี” แบ่งให้สำหรับ 8 มื้อ ประมาณ 100-120 กรัม/วัน ร่วมกับการคลุกอาหารเสริมหรือวิตามินบำรุง โดยทางฟาร์มเลือกใช้ “เบต้าแซคพลัส, เนสิด พาวเดอร์, สไป-ซี พลัส และเทอร์แบค 15” จาก บริษัท ยีสต์ มาสเตอร์ จำกัด เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต และบำรุงร่างกายของลูกกุ้งให้แข็งแรงตลอดการเลี้ยง

โดยทางคุณแจ๋วเล่าให้ฟังว่า “รู้จักผลิตภัณฑ์ของยีสต์มาสเตอร์จากน้องๆ ที่มาแนะนำ จึงได้เปิดใจและเริ่มทดลอง ตอนนั้นตัวกุ้งไม่มีปัญหา แต่เจอปัญหาขี้ขาว ทำให้อัตราการรอดต่ำ หลังจากทดลองใช้เบต้าแซคพลัสคู่กับสไปซี และผลิตภัณฑ์เนซิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ทำให้มีประสิทธิภาพการแตกเนื้อที่ดีขึ้น คลุกร่วมกับอาหาร ผลปรากฏว่าเห็นผลภายใน 7 วัน กุ้งตัวใสขึ้น แข็งแรงขึ้น สุขภาพของกุ้งฟื้นตัวเร็วกว่าปกติ

อัตราการรอดดีขึ้น จากเดิมอัตราการรอด 65-75 % ตอนนี้เพิ่มขึ้นมา 80-85 % โดยเลือกจะให้เสริมตั้งแต่กุ้งเล็กถึงจับเลยในทุกมื้ออาหาร ใช้เบต้าแซคพลัสให้ประมาณ 10-20 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม และใช้สไป-ซีในกุ้งขาว 5 ซีซี. และกุ้งกุลาดำให้ประมาณ 10 ซีซี./อาหาร 1 กิโลกรัม”

5.การใช้เครื่องออโตฟีดช่วยลดการใช้แรงงานคนลงได้
5.การใช้เครื่องออโตฟีดช่วยลดการใช้แรงงานคนลงได้

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง ป้องกัน โรคขี้ขาวกุ้ง

ต่อมาเรื่องการจัดการอื่นๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน อาทิ การเติมออกซิเจนภายในบ่อเลี้ยง ทางฟาร์มเลือกใช้ระบบใบพัดตีน้ำ ภายในบ่อเลี้ยงขนาดประมาณ 7 ไร่ จะวางเครื่องใบพัดตีน้ำประมาณ 12 แขน ร่วมกับสายออกซิเจนแนวดิ่งบริเวณออโต้ฟีด เพราะกุ้งจะมาวนรอบๆ แถวนั้นตอนกินอาหาร

การพาเชี่ยน ทางฟาร์มจะเลือกพาเชี่ยนผลผลิตออกถ้าแน่นเกินไป โดยดูจากค่า DO ภายในบ่อเลี้ยง ถ้าค่า DO ตกมาอยู่ 3 จะเริ่มพาเชี่ยนออกที่ไซซ์ประมาณ 70 ตัว/กิโลกรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธีการจัดการของเสียพื้นบ่อ นอกจากใส่จุลินทรีย์อาจจะมีเพิ่มสารดักตะกอนและแร่ธาตุต่างๆ

การจัดการโรค โรคที่มักเจอในเขตพื้นที่ อย่าง พวกขี้ขาว จะเจอที่อายุ 35-45 วัน ทางฟาร์มจะเฝ้าระวังโดยเน้นเรื่องการให้อาหาร คุมอาหารในช่วงอายุ 35-50 วัน กุ้งอาจจะโตช้าบ้าง แต่ยังไม่เป็นขี้ขาว ทำให้สามารถเลี้ยงต่อได้ และอัตราการรอดไม่ลดลง

ตรวจสุขภาพกุ้ง ทางฟาร์มจะนำตัวอย่างน้ำและกุ้งภายในบ่อเข้าแลป เพื่อตรวจคุณภาพน้ำ และตรวจสุขภาพกุ้ง ทุกๆ 3 วัน เพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

6.การยกยอเพื่อเช็คคุณภาพของกุ้งเบื้องต้น
6.การยกยอเพื่อเช็คคุณภาพของกุ้งเบื้องต้น

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

สุดท้ายนี้คุณแจ๋วฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรไว้ว่า “การเลี้ยงกุ้งสำคัญทุกขั้นตอนเหมือนกันหมด แต่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องอาหาร ต้องให้อาหารที่พอดี วันนี้ต้องกินซักเท่าไหร่ สมควรกินได้กี่กิโลกรัม การให้ออโต้ฟีดก็เป็นเหมือนดาบสองคม กุ้งอาจจะได้กินมากกว่าปกติ แต่การกินมากก็ต้องถ่ายทิ้ง แล้วของเสียจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำไหม หรือบางทีให้เยอะ แต่กุ้งกินไม่หมด ก็จะกลางเป็นของเสียที่พื้น จึงต้องระมัดระวังให้ดี”

สำหรับท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลด้านสินค้า บริษัท ยีสต์ มาสเตอร์ จำกัด สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ยีสต์ มาสเตอร์ ฟาร์ม จำกัด   โทร : 087-054-5175 (เภสัชกร ชานนท์ ระวังเหตุ), ตัวแทนจำหน่ายภาคใต้  คุณมารียะฮ์ ทุมมาลี โทร : 098-246-6654, 074-830-224, Email : [email protected], www.yeastmasterfarm.co.th ทางบริษัทยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านด้วยความยินดี

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 371