กำนันสำเริง เซียนบริหารต้นทุน จับมือ CPF เลี้ยง “กุ้งขาว” 85 วัน ไซซ์ 38 ตัว/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ณ ตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม แหล่งผลิตไม้ผลชื่อดังของจังหวัด เพราะดินเหมาะแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจ

1.กำนันสำเริง ช้อยจินดา
1.กำนันสำเริง ช้อยจินดา

การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว

แต่ก็มีคนนำที่ดินไปเลี้ยงกุ้งทะเล ตั้งแต่ปี 2535 ที่รู้จักกันในนาม กำนันสำเริง ช้อยจินดา พัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำจนมีชื่อเสียง วันนี้กลายเป็นนักเลี้ยง “กุ้งขาว” มืออาชีพ ทั้งๆ ที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากน้ำในคลองปนเปื้อนด้วยสารพิษต่างๆ

ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ของกำนันสำเริง ในการเรียนรู้การเลี้ยงกุ้งให้รอด ได้ไซซ์ที่ตลาดต้องการ ปรากฏว่าประสบความสำเร็จมาตลอดกว่า 30 ปี ซึ่งน้อยคนที่จะทำได้

พื้นที่ 10 กว่าไร่ ในชุมชน ถูกพัฒนาเป็นฟาร์มกุ้งแบบพัฒนา นำมาซึ่งความทึ่งของผู้คน รายได้จากกุ้งส่วนหนึ่งถูกนำมาลงทุนด้านธุรกิจคาร์แคร์ ที่รู้จักกันในนาม สำเริงคาร์แคร์ โดยมี คุณโจ้ บุตรชาย นักแข่งรถมือโปร เป็นคนดูแล รายได้อีกส่วนหนึ่งถูกนำไปพัฒนา วัดจินดาราม ที่กำนันเป็นมัคทายกมาตลอด

ยืนยันได้ว่า กำนันสำเริงเลี้ยงกุ้งแล้วรวย ด้วยการทุ่มสุดตัว ดูแลกุ้งยิ่งกว่าลูกอ่อน แต่ละครอปจึงรอด และมีกำไร

2.บ่อเลี้ยงกุ้งขนาด 2.2 ไร่
2.บ่อเลี้ยงกุ้งขนาด 2.2 ไร่

สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง

บ่อขนาด 2.2 ไร่ 3 บ่อ ลึก 3 วา ยาว 40 วา กว้าง 40 วา ขอบบ่อและรอบๆ หลุมปูด้วย pvc ใช้ “น้ำจืด” จากบ่อบาดาล ที่ กรมทรัพย์ฯ เป็นผู้ขุดให้ ใช้เงิน 3 แสนบาท และใช้แร่ธาตุผสมให้ได้ 3 เค็ม 3 แต้ม มีบ่อขนาดไร่ครึ่ง เป็นบ่อกักเก็บเลนขี้กุ้ง คันบ่อกว้าง ใช้เป็นทางเดิน และวางระบบการให้ “ออกซิเจน” ในบ่อกุ้ง ภายใต้ ระบบรูท อ๊อก ที่ประหยัดค่าไฟได้มาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพราะฟาร์มแห่งนี้ต้องใช้ไฟฟ้าในการดูดเลนไปเก็บ พร้อมๆ กับการเปิดเครื่องให้ออกซิเจนแก่กุ้ง เพื่อให้บ่อสะอาดตลอดเวลาของการเลี้ยงนั่นเอง เมื่อถึงเวลา “จับกุ้ง” ก็จ้างมืออาชีพมาจับ ซึ่งระบบการเลี้ยงจะอำนวยความสะดวกให้จับกุ้งได้ไว ต่างจากหลายๆ ฟาร์ม

3.การปูพลาสติก พีอี
3.การปูพลาสติก พีอี

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

เมื่อการวาง ระบบบ่อเลี้ยง ให้มาตรฐาน และจัดการง่าย ต่อไปเรื่อง น้ำเลี้ยง ก็ต้องจัดการให้มีคุณภาพ นั่นคือ “การหมักน้ำ” เริ่มจากการฆ่าเชื้อแล้วแช่ไว้ 15 วัน เมื่อน้ำคือ “หัวใจ” ของการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา จึงต้องจัดการน้ำเลี้ยงตลอดเวลา เพราะจะต้องทำให้ปล่อยลูกกุ้งแล้วรอด “พอกุ้งติดปุ๊บทำยังไงให้มันอยู่รอด ให้ยายังไง ให้แร่ธาตุยังไง กี่วันเข้าน้ำ ถ้าเราเข้าน้ำเป็นก็โอเค” กำนันสำเริง เปิดเผย

ซึ่งในช่วง 30-35 วัน ถ้ากุ้งรอด กำนันยืนยันว่า ไม่น่าผิดพลาด โอกาสขาดทุนมีน้อย ซึ่งคนเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่จะผิดพลาดกุ้งตายก่อน 30 วัน คนเลี้ยงกุ้งรายใหญ่ชื่อดังในบ้านแพ้วมีปัจจัยการผลิตพร้อมทุกอย่าง โดยเฉพาะ “อาหารกุ้ง” ยังไปไม่รอด ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งยุคนี้ต้องลุ้นทุกเดือนจะเจอโรคอะไรบ้าง

4.การตีน้ำให้ออกซิเจน 3 แขน
4.การตีน้ำให้ออกซิเจน 3 แขน
ปั๊ม Root blower
ปั๊ม Root blower

เทคนิคการให้ออกซิเจนในบ่อกุ้ง

เนื่องจากกำนันสำเริงใช้ลูกกุ้ง ซีพีเอฟ-เทอร์โบ พร้อมอาหารกุ้ง ดังนั้นต้องมีโปรแกรมการเลี้ยงร่วมกับ CPF เพื่อร่วมกันตรวจสอบการเลี้ยงตลอด 24 ชั่วโมง และกำนันสำเริงบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จึงต้องลงกุ้ง 4 บ่อ พร้อมๆ กัน เพื่อประหยัดต้นทุน เพราะได้ออกแบบระบบการให้ ออกซิเจน ที่ประหยัดไฟ เช่น การวางเครื่องแต่ละบ่อ ตีน้ำครั้งละ 3 แขน “1 เดือนแรก ผมตี 1 ตัว แต่ห้อยใบพัด 2 แขน พอ 35-40 วัน ตี 2 ตัว แล้วเริ่มดูดเลนเข้า 1 รอบ ถ้าเยอะก็ดูดเช้า-เย็น ใช้มอเตอร์ 1 ตัว” กำนันสำเริง เปิดเผยถึงเทคนิคการให้ออกซิเจนแบบประหยัดไฟ

ขณะเดียวกันกำนันสำเริงก็ลงทุนเครื่องให้ออกซิเจนใต้น้ำ ที่เรียกว่า “รูทอ๊อก” เมื่อกี้ลงกุ้งได้ 35 วัน ใช้จนกระทั่งจับกุ้ง แต่บางคนพอลงกุ้งก็ใช้รูทอ๊อก ซึ่งค่าไฟแพงมาก สู้ไม่ไหว มอเตอร์ 4 แรง ที่ใช้ย่อมกินไฟมาก ราคารูทอ๊อกมือ 2 วันนี้ 50,000-60,000 บาท 4 บ่อ ใช้รูทอ๊อกถึง 2 ตัว แต่คุ้มค่า เพราะการให้ออกซิเจนใต้น้ำจะช่วยทำให้น้ำสะอาดมากขึ้น

เพื่อให้การบำบัดของเสียขณะเลี้ยงถูกบำบัดเร็วขึ้น กำนันสำเริงได้ผลิต น้ำหมักจุลินทรีย์ ปม. ซองละ 30 บาท และกากน้ำตาล กก.ละ 9 บาท ปล่อยลงบ่อทางท่อ 2 วันครั้ง ซึ่งต้นทุนการหมักถังละ 100 กว่าบาท คุ้มค่ามากๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำหลุมกลางบ่อหรือ สะดือ ก็จำเป็น บ่อขนาด 2.2 ไร่ ขุดหลุมกว้าง 3 วา ลึกประมาณ 170-180 ซม. ปูผ้า PE รอบๆ หลุมรวมเลน มีท่อ PE จากใต้ดินมาเชื่อมเพื่อปั๊มดูดไปเก็บในบ่อ ดังนั้นทั้งผ้าและท่อ PE ต้องซื้อมาสำรองไว้ แม้ราคาจะสูงกว่าอดีต แต่กำนันสำเริงยืนยันใช้แล้วคุ้มค่า

5.ท่อดูดเลนที่ใช้ภายในบ่อ
5.ท่อดูดเลนที่ใช้ภายในบ่อ

การบำรุงดูแลกุ้ง

เนื่องจากกำนันสำเริงได้ผลิตอาหารธรรมชาติ เช่น หนอนแดง และ ลูกไร ไว้ในบ่อ เพื่อเป็นอาหารของลูกกุ้ง ในช่วงแรกๆ กุ้งบ่อละ 250,000 ตัว ให้อาหารวันแรกเช้า 1 กก. เย็น 1 กก. วันที่ 2 เช้า 2 กก. เย็น 2 กก. จนครบ 3 วัน ถ้าให้/วันมากกว่านี้มีปัญหาแน่นอน แต่พอกุ้งอายุ 50 วันขึ้นไป จึงค่อยอัดอาหาร เมื่อเลี้ยงได้ 13 วัน เช็คยอ ปรากฏว่ากุ้งโตเท่าก้านธูปแล้วทั้ง 4 บ่อ ซึ่งกำนันสำเริงยืนยันว่า ครอปนี้ 60 วัน น่าจะได้ 38 ตัว/กก. ปล่อยลูกกุ้งเมื่อ 13 ก.พ. 66 และครอปที่แล้ว 85 วัน ได้ไซซ์หน้า 4 รายได้เฉลี่ยบ่อละ 250,000 บาท

เรื่อง “โรค” ต้องระวังเป็นพิเศษ ดังนั้นการดูดเลนก็เป็นกลไกอันหนึ่งในการลดการเกิดเชื้อก่อโรค เช่นเดียวกับทุกสัปดาห์ต้องนำน้ำและกุ้งเข้าตรวจที่แลปของซีพีที่บ้านแพ้ว “เราอยู่กับกุ้ง ต้องดูว่าวันนี้หนวดกุ้งสดมั๊ย คางเป็นแผลมั๊ย ทุกอย่างต้องดูหมด ยิ่งกุ้งโตจะนอนหลับไม่ได้ทุกชั่วโมง ผมจึงต้องนอนที่บ่อ ต้องเช็คด้วยตัวเอง” กำนันสำเริง ยืนยันถึงความใส่ใจดูแลกุ้งยิ่งกว่าลูกอ่อน

การเลี้ยง กุ้งขาววานาไม ความเค็ม 3 แต้ม เมื่อกุ้งโตขึ้นก็ต้องตรวจสอบแร่ธาตุ ทั้ง แมกนีเซียม เพียว แคลเซียม และ แร่ธาตุรวม ซึ่งกำนันสำเริงเชื่อมั่นผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ไบโอวิชั่น อะควาคัลเจอร์ จำกัด จึงใช้มาตลอด โดยใส่เดือนละ 4 ครั้ง ใส่ครั้งละ 1 กระสอบ/บ่อ ทั้ง 3 ชนิด แม้จะต้องใช้เงินหลักแสนบาท/ครอป ก็คุ้มค่า เพราะแร่ธาตุจำเป็นมากๆ

เรื่อง FCR กำนันสำเริงสามารถคาดการณ์ได้ว่าวันนี้กุ้งกินอาหารกี่ กก. จะได้เนื้อกี่ กก. เช่น ถ้ากุ้งกินอาหาร 7 วัน จะต้องได้กุ้ง 6-10 ตัน เพราะอาหาร CPF เมื่อกุ้งรอดแล้วจะโต และแลกเนื้อได้ดี ยิ่งราคากุ้งโชว์ในมือถือแบบเรียลไทม์ ทำให้กำนันสำเริงวางแผนการจับกุ้งไซซ์ใหญ่ ได้ราคา ในวันที่ต้องการได้

6.ตัวใหญ่ ไซซ์ที่ตลาดต้องการ
6.ตัวใหญ่ ไซซ์ที่ตลาดต้องการ

แนวโน้มในอนาคต

เรื่อง “แรงงาน” กำนันสำเริงใช้คนๆ เดียวทำงานตามที่สั่ง เงินเดือน 9,000 บาท แต่มีโบนัสให้ โดยคิดเป็น กก.ละ 2 บาท แน่นอนถ้าเลี้ยงกุ้งติด โตไซซ์ใหญ่ ได้ราคา โบนัสย่อมมากกว่าเงินเดือนแน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จาก กุ้งก้ามกราม สู่ กุ้งกุลาดำ วันนี้กำนันสำเริงบุกหนัก กุ้งขาววานาไม เพราะมั่นใจในประสบการณ์ และต้องการให้ “ฟาร์มกุ้ง” ของตน เป็นทรัพย์สินที่ถ่ายทอดถึงคุณโจ้ บุตรชาย และอีก 1 บ่อ ที่ หมักน้ำ เสร็จแล้ว จะให้เป็นสมบัติของลูกคุณโจ้ ส่วนการขยายฟาร์มด้วยการเช่าบ่อนั้น รอให้คุณโจ้พร้อม ซึ่งธุรกิจกุ้งขาวเชื่อมั่นว่าระบบ CPF ที่มีอยู่ ยืนยันว่าเลี้ยง 5 ครอป ได้กำไร 2 ครอป ก็คุ้มกับการลงทุน แม้ค่าเช่าบ่อไร่ละ 2,000 บาท/ไร่/ปี ก็คุ้ม กำไรดีกว่าปลูกพืช ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็น

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 403