แนวทางผลิตกุ้ง ป้อนตลาดโลก 2566

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ 7 ส่งกุ้งป้อนตลาดโลก แต่ชริมพ์บอร์ดวางเป้าส่งออกปี 2565 จำนวน 400,000 ตัน อีก 3 เดือน จะทำได้หรือไม่??

ส่วนปี 2566 คงจะวางเป้ามากกว่าสี่แสนตัน ซึ่งเป็นภารกิจของคนในวงการกุ้งโดยตรง

1.อาจารย์วินิจ ตันสกุล และ รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ
1.อาจารย์วินิจ ตันสกุล และ รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ

แนวทางการผลิตกุ้ง

เรื่องนี้  อาจารย์วินิจ ตันสกุล  และ  รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ  2 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตลาดและการผลิตกุ้งเพื่อ ส่งออก ได้ให้ทัศนะต่อหน้าผู้ร่วมงาน “ก้าวไปอย่างมั่นคงและมั่งคั่ง ก้าวไปกับทีอาร์เอฟ” พิธีมอบรางวัลการแข่งขันทีอาร์เอฟแชมป์เปี้ยน ซีซั่น 1 ปี 2022 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565

อาจารย์วินิจให้กลยุทธ์การทำงานทำธุรกิจให้ก้าวไกลในระดับโลกว่าจะต้องคิด 4 แบบ ได้แก่

-THINK GLOBAL ACT LOCAL เพราะโลกเชื่อมถึงกันหมดด้วยอินเตอร์เน็ต ต้องคิดภาพรวมทั้งโลกว่าเป็นยังไง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น แมคโดนัลด์ เป็นอาหารระดับโลก เมื่อมาอยู่ในไทยต้องเพิ่มรสชาติแบบไทยเข้าไป จึงขายได้

-THINK GLOBAL ACT GLOBAL ทำธุรกิจแล้วขยายทั่วโลก เช่น การใช้ AI ในการเลี้ยงกุ้งในหลายๆ ประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-THINK LOCAL ACT GLOBAL คิดและทำในไทย แต่ขายทั่วโลก

-THINK LOCAL ACT LOCAL คิดและผลิตกุ้งในไทย แล้วขายในไทย ถ้าไปขายในต่างประเทศ ต้องบอกว่าเรามีมาตรฐาน บริโภคปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

2.ทีอาร์เอฟแชมป์เปี้ยน2

คุณค่าทางโภชนาการของกุ้ง

กุ้งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง บริโภคทั้งโลก ไร้ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมและศาสนา มี  โปรตีน  ไขมัน  โอเมก้า 3 มี สารแอสตร้าเซนทริน ต้านอนุมูลอิสระสูง และมี วิตามิน D เป็นต้น “กุ้งมันดีหลายอย่าง ช่วยปรับปรุงหัวใจ หลอดเลือด และมีซิลิเนียมไปลดปรอท กินกุ้ง 100 กรัม เท่ากับกินไข่ไก่ 3 ฟอง เป็นแหล่งไอโอดีน และมีทอรีนสูง กุ้งจึงเป็นที่ชื่นชอบของทุกประเทศ” อาจารย์วินิจ ยืนยันถึงคุณค่าทางโภชนาการของกุ้ง

โดยเฉพาะ คนจีน และ คนอเมริกัน ชอบกุ้งมาก นอกจากนี้การเอากุ้งมาแปรรูปเป็นอาหารก็ง่าย แค่เด็ดหัวแล้วปอกเปลือกก็กินได้เลย ต่างกับปลา ต้องตัดหัว ขอดเกล็ด เอาก้างออก นอกจากนี้ยังแปรรูปกุ้งเป็นเมนูอะไรก็ได้ เป็นอาหารพร้อมทาน กระบวนการง่ายกว่าปลามากๆ ความนิยมระหว่างกุ้งกับปลาแซลมอน สัดส่วน 10.1%/4.6% ซึ่งต่างกันมาก นอกจากนี้การเลี้ยงกุ้ง 100 วัน แต่แซลมอน 2 ปีครึ่ง แต่กุ้งที่เพาะเลี้ยงต้องปลอดยา ปลอดสาร ซึ่งเป็นจุดท้าทายของผู้เลี้ยงที่ไม่ใช้ยา

3.ทีอาร์เอฟแชมป์เปี้ยน3

สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง

สำหรับอุตสาหกรรมกุ้งโลกปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนพยากรณ์ว่า ผลผลิตประมาณ 5 ล้านตัน จากแหล่งผลิตหลัก 2 แหล่งใหญ่ ได้แก่ อเมริกาใต้ และ เอเชีย เอกวาดอร์ในแหล่งอเมริกาใต้ส่งออก 1 แสนตัน ภายในปี 2568 จะส่งออกถึง 2 ล้านตัน โดยเลี้ยงแบบไม่หนาแน่น ประมาณ 1.3 ล้านไร่ ซึ่งวันนี้ใช้พื้นที่เลี้ยงเพียง 25% เท่านั้น ต่างจาก อินเดีย ที่มีปัญหาการเลี้ยง เพราะไม่ได้ผลผลิต จึงมุ่งเลี้ยงชายฝั่งมากขึ้น เพื่อให้เกิน 1 ล้านตัน/ปี ส่วน จีน แม้จะเลี้ยงมากขึ้น แต่ป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก

“ต้นทุนการเลี้ยงของอินเดียสูงขึ้น เหมือนบ้านเรา ค่าเช่าที่ไร่ละเกือบ 2 หมื่นบาท ของเรา 5,000 บาท แต่รัฐบาลอินเดียช่วย โดยไม่เก็บภาษีนำเข้า กากถั่วเหลือง ปลาป่น เพื่อช่วยผู้ผลิตอาหารไม่ต้องขึ้นราคา จึงเป็นประเทศที่มาแรงในเอเชีย” อาจารย์วินิจ ให้ความเห็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.ทีอาร์เอฟแชมป์เปี้ยน4

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกุ้ง

ส่วนประเทศไทยส่งออกประมาณ 6% หรือสี่หมื่นตัน ส่งญี่ปุ่นอันดับ 1 จากนั้นก็หล่นเป็นอันดับ 2 เวียดนามเป็นอันดับ 1 แต่ตอนนี้อินโดฯ เกือบจะแซงเวียดนามในตลาดญี่ปุ่น เพราะคนญี่ปุ่นไปลงทุนถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กุ้งเทมปุระ หรือ “กุ้งปะหน้าข้าวเหนียว” แล้วซื้อกลับไปญี่ปุ่น เพราะต้นทุนแรงงานของอินโดฯ ต่ำกว่าญี่ปุ่นสูงมาก

สำหรับ ตลาดอียู อ.วินิจ เปิดเผยว่า บริโภคกุ้งเกือบ 9 แสนตัน/ปี เราส่งไม่ถึง 4,000 ตัน เพราะใน 10 ปีที่ผ่านมา เราเจอภาษี GSP ต้องเสีย 12% กุ้งแช่แข็ง ถ้าเป็นกุ้งแปรรูป 21% เมื่อกุ้งเราแพงในตลาดอียู ขณะที่เวียดนามได้สิทธิพิเศษทาง GSP ภาษี 0% เป็นเวลา 7 ปี แต่ปรากฏว่าเวียดนามส่งกุ้งเข้าอียูน้อย เพราะมาตรฐานกุ้งสูงมาก กุ้งเวียดนามจึงไม่ผ่าน แต่ของไทยผ่านทั้งหมด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ แต่เราต้องเจอภาษีถึง 21% อันเป็นอุปสรรคสำคัญ จำเป็นต้องให้รัฐบาลไทยช่วยเจรจาขอลดภาษี เพราะไทยเป็นเด็กดีด้าน IUU ของยุโรป

5.ทีอาร์เอฟแชมป์เปี้ยน5

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงกุ้ง

สำหรับการผลิตกุ้งของไทย ตั้งแต่เจอโรค EMS ปรากฏว่าลดลง 6.7%/ปี แต่ช่วงนี้เริ่มกระเตื้อง ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไร ทุกอย่างเหมือนเดิม โตขึ้น 3-5% ทั่วโลกโต 5% กว่าๆ แต่เอกวาดอร์โต 100%

ถ้าคิดแบบ THINK GLOBAL ทุกประเทศเจออุปสรรคเหมือนกันหมด ที่บ่นกันมาก คือ “ราคากุ้ง” ไม่ตอบสนองผู้เลี้ยง ส่วนการเลี้ยงก็ยังเจอปัญหาเรื่องโรคต่างๆ เจอกันทุกประเทศ ต่างก็พยายามป้องกันโรคด้วยระบบต่างๆ เช่น ระบบไบโอซีเคียว เริ่มตั้งแต่นำสายพันธุ์ใหม่ๆ ใช้อาหารที่มีโภชนาการสูง เป็นต้น หรือใช้ โปรไบโอติก เพื่อให้เป็นวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

แต่อาหารกุ้งที่ขึ้นราคา เพราะวัตถุดิบหายากเหมือนกันทั่วโลก แต่บางประเทศ อย่าง อินเดีย ไม่เก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ แม้แต่การสั่งพ่อแม่พันธุ์ดีๆ มาอนุบาลก็เสียภาษีไม่ถึง 10% 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดฯ อินเดีย และ เอกวาดอร์ 3 ประเทศ  ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ  แต่ ไทย เวียดนาม และ มาเลเซีย ต้นทุนสูง  แต่ถ้ามันแพงถึง 10% ผู้ส่งออกหนัก ไม่มีกำไร ปีนี้ห้องเย็นเปิดใจคุย ก็ต้องถามเรื่องรายละเอียด หรือสเปคที่ต้องการ อ.วินิจ ให้คำแนะนำ เพราะเกษตรกรกับห้องเย็นต้องลงเรือลำเดียวกัน

6.อาจารย์วินิจ ตันสกุล
6.อาจารย์วินิจ ตันสกุล

ข้อดีของระบบ APD

ในเรื่อง ไซซ์กุ้ง ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญ อ.วินิจ โฟกัสไปที่ไซซ์ใหญ่ ไม่ว่า กุ้งขาว หรือ กุ้งดำ เพราะอีก 3 เดือนข้างหน้า ตลาดต้องการสูงมาก เพราะกุ้งไซซ์ใหญ่มีน้อย โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่ได้วางแผนการผลิตไว้แล้ว อีก  2 ปีข้างหน้า จะผลิตไซซ์ใหญ่อย่างเดียว อีกอย่างเรื่องตลาดสากล ต้องการกุ้งที่ผลิตจากกระบวนการที่ได้มาตรฐานของระบบ ซึ่งเป็น APD ระบบที่สากลยอมรับ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ผมทำวิจัยให้กับองค์กรในยุโรป เขาบอกว่าระบบ APD ดีมาก สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ แต่ในบริบทของกรมประมงอาจต้องมาปรับตรงนี้ให้มีคุณภาพ ตรวจสอบย้อนกลับได้จริง ปัจจุบันผมทำข้อมูล APD ให้กรมประมง พบว่าข้อมูลบางอย่างมันคลาดเคลื่อนมาก ตั้งแต่ปี 61 ก็ให้เขาแก้ไข เพราะจะได้มีข้อมูลไปปล่อยกู้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงจริง ไม่ใช่มีแต่ใบอนุญาต มี GAP แล้วแบงก์ปล่อยกู้ ในอินโดฯ มีการทำอย่างนี้ แต่บริษัท อลิอันซ์ฯ ประกันผลผลิตกุ้ง ถ้าเสียหายก็จ่ายให้ มีการทำ 2 แสนบ่อ” อ.วินิจ เปิดเผยถึงข้อดีของระบบ APD และยืนยันว่า “ห้องเย็น” ก็ต้องการให้เกษตรกรผลิตกุ้งมาตรฐาน ASC ซึ่งเป็นมาตรฐานผู้บริโภค เพราะเป็นกุ้งที่เลี้ยงที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ บ้านเราไม่ได้ส่งเสริมเรื่องนี้ วันนี้มาเลเซียเจอโรค EMS เลี้ยงไม่ได้ เป็นโอกาสของไทยที่ผลิตป้อนมาเลฯ และ สิงคโปร์ นอกจากนี้เนเธอร์แลนด์มีกองทุนให้ประเทศต่างๆ ทำวิจัยเรื่องอุตสาหกรรมอาหารทะเล เพราะมีผลตอบแทนที่ดี

7.รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ
7.รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้คลุกคลีกับอุตสาหกรรมกว่า 3 ทศวรรษ ฟันธงว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตกุ้งเพื่อส่งออกเคยยืนอยู่ 6 แสนตัน/ปี ตกมาอยู่ที่ 2.5 แสนตัน/ปี ขณะที่หลายประเทศเน้นเลี้ยงกุ้งให้รอด แต่ไทยเน้นเลี้ยงให้โตเร็ว ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์ชลอย้ำมาหลายเวที ก็ยังเป็นอย่างนี้ และบางเวทีพูดให้เกษตรกรรายย่อยมั่งคั่ง ซึ่งอาจารย์ไม่เห็นด้วย เพราะตั้งแต่มีการรัฐประหาร ที่เน้นมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน วันนี้เกษตรกรไทยมั่งคั่งมั๊ย แต่ถ้า “ยั่งยืน” โอเค เพราะถ้าทำให้เกษตรกรรายย่อยมีความมั่นคงทางรายได้ จะเกิดความยั่งยืนให้ลูกหลาน โดยเฉพาะถ้าเลี้ยงรอด ได้กำไรทุกรอบ จะมั่งคั่งแน่นอน หรือพอสิ้นปีปิดบัญชียังมีกำไร

“เลี้ยงแล้วเหมาะกับ” คืออะไร ประเทศไทยเจอ EMS ตั้งแต่ปี 54 คนที่เจอตายด่วนแล้วยังอยู่ในวงการกุ้ง แสดงว่าได้พัฒนาตัวเองถึงระดับหนึ่ง แต่ 10 ปีที่ผ่านมา มีแต่รายใหญ่เป็นหลัก คุมปริมาณกุ้ง 70% โดยเฉพาะลูกกุ้ง ถ้าลูกกุ้งดีจริง ถือว่าโชคดีของประเทศ แม้เจ้าเดียว แต่ดีสุดๆ เลี้ยงตรงไหนก็ได้สุดๆ อัตรารอดดี ทั้งประเทศ ยุค EMS กุ้งที่โตเร็ว ตายเร็ว หรือเป็นขี้ขาว แก้ปัญหาไม่ได้ แม้โตหน่อย เป็นขี้ขาวยังพอแก้ได้ แต่ประเทศอื่นไม่ใช่ เขามีตัวเลือกด้านลูกกุ้ง โตปานกลาง แต่ทนโรค โตช้า แต่ไม่ขาดทุน ของไทยไม่ใช่อย่างนี้

“ตอนนี้รายย่อยเสียเปรียบเรื่องการคัดลูกกุ้ง หัวใจ คือ ลูกกุ้งดี อาหารดี ตอนนี้อากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว วางแผนไม่ถูกว่าจะปล่อยกุ้งตอนไหน เราต้องมองว่าการเลี้ยงกุ้งจะทำอย่างไร ปรับตัวแบบไหนก็ได้ แต่ต้นทุนไม่สูงมาก เรารายย่อยต้องมองว่าเหมาะกับเราคืออะไร” อ.ชลอ ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการปรับตัวในสภาวะอากาศสุดขั้ว

การมีบ่อเลี้ยงนิดเดียว แต่มีบ่อพักน้ำ 70% ต้องทรีตน้ำ 3 ชุด มันเหมาะกับรายย่อยหรือ??

8.ทีอาร์เอฟแชมป์เปี้ยน8

การบำรุงดูแลกุ้ง

ดังนั้นการเลี้ยงต้องมุ่งป้องกันโรคมากกว่าเป็นโรคแล้วรักษา เพราะกุ้งไม่เหมือนสัตว์เลี้ยง เป็นโรคแล้วรักษา แต่สัตว์น้ำต้องป้องกันไว้ก่อน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การใช้สารเคมีหรือยาในการเลี้ยงกุ้ง ประเทศไทยใช้ยาน้อยมาก จึงตรวจไม่เจอ ต่างจาก มาเลเซีย อินเดีย และ เวียดนาม ใช้ยามาก บางคนนำยาคนไปให้กุ้งกิน เป็นเรื่องอันตรายมาก

ส่วนคนที่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด น้ำฝนมากปีนี้ ต้องใช้เกลือแร่ เช่น เกลือสมุทร หรือเกลือแกง มากขึ้น ต้องตุนไว้ และ pH ต้อง 7.6-8.2 สำคัญมาก ต้องเตรียมวัสดุปูนให้พร้อม จะได้อัลคาไลน์ที่ดี นอกจากนี้ควรเช็คกุ้งเพื่อดูเลือดและตับ ซึ่งตับด้านหน้าจะใหญ่ ด้านหลังจะเล็ก ถือว่าตับดี เม็ดเลือดต้องเยอะ ซึ่งฟาร์มพื้นที่น้ำจืดต้อง สมพรฟาร์ม นครปฐม ซึ่งเลี้ยงจาก 10 บ่อ เป็น 160 บ่อ หลายๆ ฟาร์มรวมกัน

สรุปการเลี้ยงกุ้งที่ดีสำเร็จ 1. ลูกกุ้งต้องดี อาหารต้องดี และลูกกุ้งไม่ต้องเป็นสายพันธุ์โตไว ปล่อยไร่ละแสนตัว เพื่อพาเชียล 2 รอบๆ แรกไซซ์ 40-50 ตัว/กก. รอบ 2 ไซซ์ 30-35 ตัว/กก. และรอบสุดท้าย 22-25 ตัว/กก. ถ้ารอด 70% พาเชียลรอบละ 20,000 ตัว ถ้าทำอย่างนี้รายย่อยรอดแน่นอน

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 398