เร่งส่งออก 2 กุ้ง มุ่งตลาดภายใน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กว่า 3 ทศวรรษ  ที่  ประเทศไทย  ลุยอุตสาหกรรมกุ้งจากการเพาะเลี้ยงเป็นหลัก  จนกระทั่งครองตลาดโลก ด้วย กุ้งกุลาดำ นำเงินเข้าประเทศกว่าแสนล้านบาท/ปี

ภายใต้กฎไตรลักษณ์อวสานกุ้งดำ แต่ก่อเกิด กุ้งขาว พันธุ์อเมริกา ถูกพัฒนาในไทย ได้สายพันธุ์ที่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงในเอเชีย

นั่นเพราะภาคเอกชนขับเคลื่อนเป็นหลัก ซัพพอร์ตบางอย่างโดยภาครัฐ ก็พอจะรักษาคู่ค้าต่างแดนไว้ได้ระดับหนึ่ง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก ทำให้กุ้งไทยหลุดตำแหน่งต้นๆ ของโลก เพราะสู้ไม่ไหวในสงครามราคา ที่ “ตลาด” เป็นของผู้บริโภค  ครั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงก็ยาก เพราะขาใหญ่ เอกวาดอร์ ต้นทุนต่ำกว่า  จึงดั๊มราคาได้ง่าย

อย่างไรก็ดี การพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งเพื่อส่งออกของไทย จุดอ่อน กระจุกอยู่ในภาครัฐเป็นหลัก เพราะไม่ได้ร่วมพัฒนาเต็มกำลัง ปล่อยให้ กรมประมง ลุยเดี่ยว ทั้งๆ ที่หน่วยงานนี้มีภารกิจประมงชายฝั่ง และประมงนอกน่านน้ำ มาเกี่ยวข้องด้วย ขณะที่ผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมกลางและปลายน้ำ อย่าง แพ และ ห้องเย็น ก็มี สัตว์น้ำ ตัวอื่นๆ มาเล่น เพื่อให้ธุรกิจมีกำไร

กุ้งที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเป็นเพียง “ตัวเลือก” ไม่ใช่ “ตัวหลัก” ในธุรกิจ ขณะที่ขบวนการเพาะเลี้ยงก็มีจุดอ่อนมากมาย โดยเฉพาะ ต้นทุน อาหาร และ พลังงาน สูงขึ้น ไม่สามารถผลักภาระให้ใครได้ ซ้ำร้าย สารพัดโรค รุมเร้า ดุจยืนบนปากเหว แต่เพราะความที่ประเทศไทยมี กุ้งก้ามกราม ถูกพัฒนากระบวนการตั้งแต่พันธุกรรม และการเลี้ยงเชิงธุรกิจ มาเป็นทางเลือก และมีสัตว์น้ำจืด เช่น ปลานิล ทับทิม และ กะพง เป็นตัวเสริม ก็พอเป็นความหวังของเกษตรกรบางคนได้

ด้วยความที่ผู้เลี้ยงกุ้งบางคนยังหลงใหล กุ้งกุลาดำ โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน จึงเดินหน้ากลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง และกระจายไปหลายจังหวัด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นธุรกิจกุ้งและสัตว์น้ำของไทย ยังพอหายใจพะงาบๆ รอความจริงใจจากภาครัฐต่อท่อออกซิเจน

กิจกรรมการประชุมและสัมมนากุ้งภาคกลาง 19 กรกฎาคม 2566 ได้สะท้อนความจริงเรื่องกุ้งจากวิทยากรมืออาชีพหลายคน

1.คุณกฤษณะ หุ่นศิลป์ กฤษณะฟาร์ม
1.คุณกฤษณะ หุ่นศิลป์ กฤษณะฟาร์ม

เลี้ยงกุ้งขาวปนกุ้งก้ามฯ กฤษณะฟาร์ม ยังทำเงิน

ในนาม กฤษณะฟาร์ม สุพรรณบุรี คุณกฤษณะ หุ่นศิลป์ วันนี้เลี้ยงกุ้งขาวปนกุ้งก้ามฯ 12 บ่อ พื้นที่ 60 ไร่ ยอมรับว่าเลี้ยงครอปละ 90 วัน มีกำไรทุกบ่อ ทุกครอปปีละ 4 ครอป ซึ่งพื้นดินเป็น “สนิม” แต่คุณกฤษณะไม่หวั่น พอจับกุ้งเสร็จ ตากบ่อจนแห้ง แล้วหว่านปูนร้อน เอาน้ำเข้า ใส่ขี้ไก่หมักจุลินทรีย์ ใส่ตลอดประมาณ 7 ครั้ง ปรากฏว่า สนิม เพราะแคลเซียมสูง หายไป และได้สีน้ำเขียวตามธรรมชาติ pH ต่ำ เช้า 7.7 บ่าย 8.3 เป็นต้น

การเลี้ยงกุ้งขาวปนกุ้งก้ามฯ ใน 90 วัน โดยลงกุ้งก้ามฯก่อน 20 วัน และลงกุ้งขาวไร่ละ 2 หมื่นตัว พอกุ้งก้ามฯ 90 วัน กุ้งขาว 70 วัน ได้ไซส์กุ้งก้ามฯ 12-15 ตัว/กก. และกุ้งขาว 40 ตัว/กก. เป็นการเลี้ยงแบบบาง ไม่สุ่มเสี่ยงเรื่องโรค เป็นต้น

เมื่อถามถึงโรคขี้ขาว คุณกฤษณะยืนยันไม่เจอตั้งแต่ปีที่แล้วยันปีนี้ เรื่องสีน้ำก็ไม่ล้ม ดังนั้นการตั้งความหวังผลผลิต บ่อละ 30,000 ก็โอเค เมื่อน้ำไม่ล้ม กุ้งไม่ตาย และราคากุ้งปัจจุบัน 40 ตัว/กก. 115-160 บาท โดยเฉลี่ย

2.กฤษณะฟาร์ม02

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

“การเลี้ยงขาวปนก้ามกราม ปล่อยก้ามกรามก่อน 10 กก. 15 กก. 20 กก. ก็ได้ หรือ 3,000 ตัว/ไร่ ต้องยาว 100 วัน และ 3 อาทิตย์ไปแล้ว ต้องวัดความเค็ม ถ้าต่ำเอาเกลือมาลง ในความเค็ม 0.5-1 แต้ม ลงกุ้งขาว 2-3 หมื่นก็ได้ พอได้ 45 วัน ใช้คอนโดดักออก 90 ตัว/กก. ประมาณ 300 กก. จะได้เงิน 3 หมื่นบาท การเลี้ยงต้อง ADG ของกุ้งด้วย 70 วัน ก้ามกรามไซส์เท่าไหน กุ้งขาว 45-50 วัน ดักออกได้ หรือ 90 วัน 40-50 ตัว/กก. ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง” คุณกฤษณะ ให้คำแนะนำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และถ้าปล่อยกุ้งบาง ก้ามกรามไร่ละ 10 กก. 3 ไร่ 30 กก. ได้กุ้ง 4,200 ตัว (70%) ไร่ละ 120-150 กก. ราคากลางๆ กก.ละ 180-200 บาท 3 ไร่ 300 กว่ากก. เป็นเงิน 6 หมื่นกว่าบาท และรายได้จากกุ้งขาว 2 หมื่นบาท เห็นได้ชัดว่ามีกำไรแน่นอน

จากข้อคิดเห็นของวิทยากรทั้งหมด จะพบว่า วันนี้คนเลี้ยงกุ้งเริ่มพลิกแพลงรูปแบบการเลี้ยงให้กุ้งรอดจากโรค ลดการใช้ยา และหันมาใช้ จุลินทรีย์ ย่อยสลายของเสีย และเพิ่มภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงลดลง ปราศจากสารเคมีตกค้าง และได้กุ้งไซส์ใหญ่ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงเรื่องราคา จึงต้องเลี้ยงกุ้งขาวปนกุ้งก้ามกราม หากรัฐบาลเข้ามาร่วมพัฒนาอย่างจริงจัง หาทางเปิดตลาดกุ้งก้ามฯ เป็นๆ ส่งจีน ก็จะชดเชยรายได้จากตลาดโลกกุ้งขาวหดตัว ขณะเดียวกันก็หาทางกระตุ้นตลาดในประเทศให้เกิดการบริโภคมากขึ้น

สนับสนุนการจัดทำสกู๊ปพิเศษ โดย บริษัท เฮ้าส์เคม จำกัด

ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำ และ เว็บเพจพลังเกษตร.com ต้องขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนสำคัญในการจัดทำสกู๊ปพิเศษได้สำเร็จ

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 408