บริษัท กุ้งหลวงไทย จำกัด ปฏิวัติผลิต “ ก้ามกราม เพศผู้พรีเมี่ยม ” แช่แข็งส่งออก จำหน่ายต่างประเทศด้วยธุรกิจ “คลัสเตอร์” ในประเทศไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิกฤตเศรษฐกิจโลกจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 และ สงครามยูเครน-รัสเซีย ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ประเทศไทยโดยนักลงทุน-เอกชน พยายามจะขับเคลื่อนธุรกิจให้รอด โดยเฉพาะธุรกิจเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่ต้องใช้ฝีมือขั้นเทพ เนื่องจากมีแรงกดดันหลายด้าน แต่ประเทศไทยมี “จุดแข็ง” ด้าน พันธุกรรม อาหาร สภาพภูมิศาสตร์ และ ความสามารถของเอกชน ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ โดยเฉพาะพันธุกรรมกุ้ง ทั้ง กุ้งขาววานาไม กุ้งกุลาดำ และ ก้ามกราม ล้วนผลิตได้เอง

กุ้งก้ามกรามแม้ตลาดจะกระจุกอยู่ในประเทศเป็นหลัก แต่เวลานี้กระจายไปยังประเทศจีน และ ประเทศอื่นๆ เพราะ กุ้งก้ามกรามมีเอกลักษณ์แตกต่างจาก กุ้งกุลาดำ และ กุ้งขาววานาไม ในด้านรสชาติ และขนาดที่ใหญ่กว่า

1.คุณมินท์ และ คุณซิจิ คิว
1.คุณมินท์ และ คุณซิจิ คิว

การผลิตพ่อ-แม่พันธุ์กุ้ง

ดังนั้น  คุณมินท์ เนติคุณธรรม และ  คุณซิจิ คิว  นักธุรกิจสัตว์ปีก ผูกพันกับผู้บริโภคในจีนมาตลอด เล็งเห็นว่า  กุ้งก้ามกรามได้รับความนิยมจากชาวจีนมากขึ้น จึงได้ศึกษารูปแบบธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พูดง่ายๆ ว่า ได้เรียนรู้ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ในการลงทุน  จึงตัดสินใจ ลงทุน ลงแรง แสวงหาพันธมิตรมืออาชีพ ในธุรกิจกุ้งก้ามกราม

ในที่สุดได้ตั้ง บริษัท กุ้งหลวงไทย จำกัด ขับเคลื่อนธุรกิจทั้งระบบ โดยเริ่มจากการผลิตแม่พันธุ์-พ่อพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตลูกกุ้งเพศผู้มากกว่า 80% ในระบบ Biosecurity ของ “บริษัท โกลเด้นพรอน ซัพพลาย จำกัด” ซึ่ง สายพันธุ์กุ้งก้ามกรามโตเร็ว และแข็งแรง ส่วนนอเพลียสที่ผลิตได้ส่งให้กับทีม “บีเคเอสฟาร์ม” ผู้ผลิตกุ้งคว่ำให้มีความแข็งแรง P5-P7 ภายใต้ชื่อ “กุ้งหลวง P”

ด้วยนโยบายของบริษัทที่ต้องการเพิ่มอัตรารอดของลูกกุ้งหลวง จึงลดความเสี่ยงของเกษตรกรและลดระยะเวลาการชำลูกกุ้ง ด้วยการสร้างฟาร์มอนุบาลลูกกุ้งให้มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายใต้ชื่อ “กุ้งหลวง PL”

2.บ่ออนุบาลลูกกุ้งระยะ PL
2.บ่ออนุบาลลูกกุ้งระยะ PL

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

โดยเกษตรกรจะต้องมีคำสั่งซื้อล่วงหน้า แล้วนำไปเข้าสู่ระบบกุ้งชำใช้เวลา 50-60 วัน สำหรับกุ้งชำขนาด 300 ตัวต่อกิโลกรัม อัตราปล่อย 100,000 ตัวต่อไร่ เป็นสายพันธุ์เพศผู้มากกว่า 80% เกษตรกรสามารถเลือกใช้ “กุ้งหลวง P” หรือ “กุ้งหลวง PL” ได้ตามความถนัดและความพร้อมของแต่ละพื้นที่ ด้วยมาตรการผลิตพ่อ-แม่พันธุ์ในระบบ Biosecurity และฟาร์มผลิตกุ้งคว่ำ (PS-P7) ที่ได้จาก GAP ของกรมประมง จึงสามารถออกใบเกิดของผลผลิต “กุ้งหลวง P” และ “กุ้งหลวง PL” ให้กับเกษตรกรได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กุ้งหลวงมีอัตราแลกเนื้อที่ต่ำ [FCR ไม่เกิน 1.5] ในระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลง

ยอมรับว่า การผลิตลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ให้ได้คุณภาพนั้น คุณมินท์ได้เชิญบรีดเดอร์ขั้นอ๋อง เป็นที่รู้จักระดับประเทศ มาร่วมธุรกิจคลัสเตอร์

เช่นเดียวกับธุรกิจกลางน้ำ คือ ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเนื้อ ได้เชิญ “สหกรณ์ประมงบางแพ จำกัด” มาเป็นหัวรถจักร ขับเคลื่อนพื้นที่จังหวัดราชบุรี และในภาคพื้นที่ 2 น้ำ (น้ำจืด+น้ำเค็ม) มี “เอก-อร ฟาร์ม” เป็นผู้ส่งเสริมและรวบรวมเกษตรกรเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของจังหวัดฉะเชิงเทรา และยังเล็งเห็นอีก 2 พื้นที่ คือ จังหวัดนครปฐม และ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงาน

ประเทศไทยมีพื้นที่การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาประมาณ 1 แสนไร่ ปล่อยลูกกุ้ง 5,000 ตัวต่อไร่ เลี้ยง 3 รุ่นต่อปี ต้องใช้ลูกกุ้ง 120 ล้านตัวต่อเดือน  คิดผลผลิตกุ้งเนื้ออัตรารอด 50%  โดยไซซ์เฉลี่ย 20 ตัวต่อกิโลกรัม จะมี กุ้งก้ามกรามออกสู่ตลาดประมาณวันละ 100 ตัน

3.กุ้งชำ สายพันธุ์ผู้ล้วนที่แข็งแรง สมบูรณ์
3.กุ้งชำ สายพันธุ์ผู้ล้วนที่แข็งแรง สมบูรณ์
กุ้งก้ามกราม แข็งแรง สมบูรณ์
กุ้งก้ามกราม แข็งแรง สมบูรณ์

เป้าหมายของการผลิตกุ้ง

“สำหรับคลัสเตอร์กุ้งก้ามกราม ที่มีคุณมินท์ เป็นประธาน ได้วางเป้าการผลิตกุ้งเนื้อแช่แข็งเพียง 10% ของการผลิตกุ้งทั้งประเทศในเบื้องต้น และเตรียมการวางแผนที่จะส่งกุ้งเนื้อแช่แข็งส่งไปยัง ประเทศจีน และ ประเทศเกาหลี”

จึงต้องลงทุนสร้างห้องเย็นมาตรฐาน GMP ความจุ 2,500 ตัน บนเนื้อที่ 12 ไร่ ด้วยงบประมาณหลายล้านบาท เป็นการลงทุนอุตสาหกรรมปลายน้ำให้ครบวงจร และ ห้องเย็นเพื่อแช่แข็ง คือ หัวใจของการรักษาคุณภาพกุ้งเชิงโภชนาการ ในชื่อ “บริษัท สยาม อะโกร-ฟิช อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ในระบบขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ ตู้คอนเทนเนอร์ ทาง กลุ่มบริษัท กุ้งหลวงไทย จำกัด ก็ได้มีการดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัทดำเนินการเป็นของตัวเอง

จุดแข็งของกุ้งหลวงฯ ก็คือ ทุกส่วนในคลัสเตอร์เป็นมืออาชีพทั้งหมด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ชัดเจน โดยเฉพาะผู้เลี้ยงกุ้งเนื้อ ต้องได้ “ทบ.1” การันตี ตามด้วยมาตรฐาน GAP “เกษตรกรที่จะให้รับซื้อกุ้งคืน ต้องมี ทบ.1 และ GAP เพื่อให้เป็นไปตามที่กรมประมงต้องการ” คุณมินท์ ให้ความเห็น

4.กุ้งก้ามกรามเนื้อ ไซซ์ใหญ่ เตรียมส่งออก
4.กุ้งก้ามกรามเนื้อ ไซซ์ใหญ่ เตรียมส่งออก

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกุ้ง

สำหรับในจีน คุณมินท์ยืนยันว่า ทาง บริษัท กุ้งหลวงไทย จำกัด พร้อมทั้ง ทีมงาน ตัวแทนจำหน่าย และ ห้องเย็น และการเตรียมการ ตามกระบวนการกฎเกณฑ์การส่งออกกุ้งแช่แข็ง ระหว่างไทย และ จีน

การทำงานเป็นทีมธุรกิจแบบคลัสเตอร์นั้น จะมีรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านสื่อทุกแขนง ทั้ง ออฟไลน์ / ออนไลน์ เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้พร้อมๆ กัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างฉับไว เพื่อให้เป้าหมายธุรกิจที่วางไว้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือก้าวแรกของประเทศไทย ในการผลิตกุ้งก้ามกรามแช่แข็งพรีเมี่ยมส่งจีนด้วยธุรกิจคลัสเตอร์

มันเป็นงานท้าทายของ บริษัท กุ้งหลวงไทย จำกัด เพราะการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในประเทศ ที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันใช้ปัจจัยการผลิตได้เสรี โดยไม่ใช้สารต้องห้าม และขายกุ้งให้บริษัทในราคาตลาด โดยไม่จำเป็นต้องนำ  พรบ.เกษตรพันธสัญญา  มาใช้ ความเชื่อใจ และ ซื่อสัตย์ ต่อกัน คือ กติกาที่ทุกคนในคลัสเตอร์ ยึดมั่น น่าจะนำพาความสำเร็จรออยู่ข้างหน้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจเข้าร่วมโครงการ ติดต่อ บริษัท กุ้งหลวงไทย จำกัด เลขที่ 22 ถนนสุคนธสวัสดิ์ 34 แขวงลาดพร้าว 94 เขตลาดพร้าว กทม. โทร.097-492-6161, Email: [email protected]

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 392