เลี้ยงกุ้งขาวใน บ่อ PE ขนาดใหญ่ สุ่มเสี่ยงจริงหรือ??

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดิ้นรนกันตลอด ในเรื่องการคัดสรร “รูปแบบ” บ่อเลี้ยงกุ้งขาววานาไม จนวันนี้ออกมาเป็น บ่อดิน บ่อลอย และ บ่อ PE ที่ชัดเจนมากขึ้น

ยังไม่มี “สถาบัน” ไหน ฟันธงว่าแต่ละบ่อมี จุดแข็ง จุดอ่อน อย่างไร ในการเลี้ยงกุ้งให้รอดจากโรค โตไว ได้ไซซ์ที่ต้องการ

สำหรับ “บ่อ PE” วันนี้ มีการใช้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายใหญ่ที่เลี้ยงกึ่งอุตสาหกรรม มีทุนสำรองตลอดการเลี้ยงแต่ละครอป ซึ่งมีทั้ง จุดเสี่ยง และ จุดแข็ง ที่ควรศึกษา

1.คุณไชโย ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดประจวบ
1.คุณไชโย ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดประจวบ

การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว

คุณไชโย เก่งตรง ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งประจวบ อยู่ในอาชีพมาหลายทศวรรษ ตั้งแต่กุลาดำมาสู่วานาไม เป็นคู่ค้าของ “ซีพี” มาตลอด ปลอดภัยจากโรคกุ้ง จึงเป็นผู้รู้ มีทักษะในการออกแบบบ่อเลี้ยงให้หลายๆ ฟาร์ม ทั้ง 2 ฝั่งทะเล ได้วิเคราะห์รูปแบบการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน อันเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวของหลายๆ คนว่ามาจากหลายๆ สาเหตุ

พันธุ์กุ้ง

ต้องยอมรับว่าขณะนี้มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ และพัฒนาให้เหมาะกับเมืองไทย มีหลายบริษัทเป็นธุรกิจเต็มตัว แน่นอนทุกบริษัทจะไม่บอกจุดอ่อนของตัวเอง เมื่อผู้เลี้ยงนำลูกกุ้งไปเลี้ยงจะเริ่มเห็นปัญหา เช่น อ่อนแอ โตช้า และเป็นโรคตาย โดยเฉพาะช่วงนี้คุณไชโยยืนยันว่า โรคขี้ขาวรุนแรงหนักขึ้นทั่วพื้นที่เลี้ยงกุ้ง “ผมสังเกตว่าเป็นบ่อเก่า โรคมาเป็นช่วงๆ ด้วยสภาพน้ำผสมกับพื้นบ่อ ทำให้เกิดสาหร่ายน้ำเขียว แพลงค์ตอนเยอะ ไนโตรเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สะสมที่พื้นและน้ำ ในธรรมชาติก็มีไนโตรเจนมากขึ้น” คุณไชโย ตั้งข้อสังเกต และให้ความเห็นว่า นักวิชาการทั้งหลายพยายามหาโรค แต่ไม่หาสมุฏฐานการเกิดโรค

แม้แต่ “น้ำฝน” ซึ่งมีไนโตรเจนสูง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ปริมาณสาหร่ายเพิ่มในบ่อ เรื่องใหญ่ ก็คือ กุ้งชอบกินสาหร่าย กินแล้วไม่โต เพราะสารอาหารไม่พอ เรื่องนี้คุณไชโยให้ความสำคัญมาก เพราะกุ้งอ่อนแอจากการขาดอาหาร และโรค EHP แทรก ไม่โต และตายในที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.บ่อเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่ของฟาร์ม
2.บ่อเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่ของฟาร์ม

เรื่องน้ำเลี้ยง ก็สำคัญ

คุณไชโยมองว่า น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งขาวมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ น้ำเค็ม จากการสูบในพื้นที่ชายทะเลหลายอำเภอ เช่น ที่บ้านแหลม เพชรบุรี เป็นต้น น้ำจากคลองธรรมชาติที่ไหลมาจากทะเล และ น้ำทะเลที่ต่อท่อดูดเข้ามาใช้ในฟาร์ม น้ำบาดาลที่เจาะขึ้นมาเลี้ยงเป็น “น้ำดี” เพราะผ่านการกรองจากดินและทราย เลี้ยงแล้วกุ้งรอด โตดี

วันนี้ชาวนากุ้งบ้านแหลม คลองโคน และ ปากน้ำชุมพร ได้เจาะบ่อบาดาลน้ำตื้นใช้เลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อบำบัดด้วย “คลอรีน” จะทำให้เชื้อโรคและสาหร่ายที่ปนอยู่ตาย แต่เคมีหรือยาอีกหลายตัว ใช้แล้วมีปัญหา ตั้งแต่สมัยเลี้ยงกุลาดำ “เราตั้งสมมติฐานผิด เอาเคมีมาใช้โดยไม่มีเหตุผล ทั้งที่จุดหลัก คือ ทำน้ำให้สะอาด และบาลานซ์น้ำในบ่อ ให้กุ้งอยู่ได้ตลอดการเลี้ยง แต่พอใช้เคมีก็เป็นโรค ผมไม่ได้ใช้ยา ทำไมไม่เป็นโรค” ประธานชมรมกุ้งประจวบ เปิดเผยถึงผลดีของการไม่ใช้ยา

อัลคาไลน์-pH เส้นผมบังภูเขา

ค่าน้ำที่หลายคนให้ความสำคัญ คือ pH และ อัลคาไลน์ แต่คุณไชโยมองว่า ค่าทั้ง 2 เกิดจากไหน การเลี้ยงกุ้งเมื่อโตขึ้นมันจะเกิดอัลคาไลน์โดยออโต้ แก้ด้วยการใส่ปูนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แม้แต่น้ำที่เป็นกรด เป็นด่าง (pH) ก็เกิดจากความไม่สมดุลของปริมาณแพลงค์ตอนพืช หรือ สาหร่ายสีเขียว “เมื่อการเลี้ยงเอา pH มาเป็นตัวตั้ง จริงๆ pH มันเป็นตัวดึงระหว่างจุลินทรีย์กับแพลงค์ตอนสังเคราะห์แสง มันทำให้น้ำเป็นกรด ถ้าหยุดแพลงค์ตอนได้ pH ก็จะต่ำโดยอัตโนมัติ” คุณไชโย ยืนยัน

3.การจับผลผลิตของฟาร์ม
3.การจับผลผลิตของฟาร์ม

อาหารกุ้งไม่ใช่ประเด็นหลักของขี้ขาว

เมื่อถามถึง “อาหาร” ว่ามีส่วนทำให้เกิดขี้ขาวหรือไม่ คุณไชโยมองว่า ไม่ต้องมองว่าบริษัทไหนดีกว่ากัน คุณภาพพอๆ กัน ทำอย่างไรให้กุ้งกินอาหาร และไม่เกิด EHP จากสาหร่าย

บ่อ PE คือ คำตอบจริงหรือ??

ในฐานะที่คุณไชโยเลี้ยงกุ้งในบ่อปู PE มาตลอด ได้เรียนรู้หลากหลาย ทั้ง จุดอ่อน จุดแข็ง ของระบบ พบว่า ถ้าน้ำดี ลูกกุ้งเกรด A เลี้ยงแบบพาเชียล ตอบโจทย์ชัดเจน “ของผมไม่เป็นขี้ขาว เพราะบ่อ PE ผมเอากุ้งตายขึ้นมาทุกวัน ไม่มีเน่าในบ่อ ตัดวงจรกุ้งกินกุ้งเน่าที่หัวหลุด” คุณไชโย ต้องการตัดวงจรเชื้อโรคจากกุ้งตายระบาดไปสู่กุ้งเป็น เพราะการกินกันเอง

ที่ต้องใส่ใจ คือ สาหร่ายแพลงค์ตอนพืช ที่จะเกิดและเกาะตามผิวผ้า PE ทั้งๆ ที่บ่อเพิ่งใส่น้ำ 20 วัน ก็เกิดแล้ว ยิ่งน้ำมีไนโตรเจนเยอะ สาหร่ายจะเกิดเร็ว “กุ้งกินสาหร่ายเป็นอาหาร เวลากุ้งตายจะเหม็นมาก ดังนั้นของเสียที่ออกมาจึงเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ ก๊าซไข่เน่า เป็นมลพิษในบ่อ ผมกลัวที่สุด คือ บ่อใหญ่ คุมไม่อยู่”  คุณไชโย ยืนยัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่คุมสภาพแวดล้อมในบ่อใหญ่ได้ แต่ตอนนี้คุมยาก น่ากลัวที่สุด ดังนั้นการเลี้ยงบ่อใหญ่ ปู PE ต้องได้ลูกกุ้ง เกรด A มาเลี้ยงแบบพาเชียล ประกันความเสี่ยงขั้นต้น แต่ถ้าได้ลูกกุ้งน้อย ปล่อยบาง ก็ไม่คุ้มกับต้นทุนการเลี้ยง ดังนั้นบ่อ PE วันนี้ไม่ใช่คำตอบเสมอไป

ท่ามกลางปัจจัยลบทั้งหลาย โดยเฉพาะสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกสลับแดดจัด การบริหารจัดการฟาร์มกุ้ง ให้น้ำสะอาด ปราศจากมลพิษ ตลอดการเลี้ยง แต่ละครอปต้องใช้ฝีมือมากขึ้น ซึ่งมืออาชีพหลายคนต้องทำงานหนัก แต่ถ้าต่างคนต่างทำก็ย่ำอยู่ในวัฏจักรเดิม

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 395